คำสรรพนาม


คำสรรพนาม

          สวัสดีค่ะ   เรารู้จักคำนามกันไปแล้ว  ยังมีอีกคำหนึ่งที่ใช้แทนนาม โดยไม่ต้องกล่าวถึงนามซ้ำ  ทุกคนคงเคยได้ยินหรือใช้กันจนเป็นเรื่องปกติไปแล้ว  ในคำว่า ฉัน  เธอ  เขา  มัน  ท่าน  ผม  กระผม  ข้าพเจ้า  ฯลฯ  เราเรียกคำเหล่านี้ว่า “คำสรรพนาม”  
               คำสรรพนามในภาษาไทย  แบ่งออกเป็น 6 ชนิด  ด้วยกัน  มีชนิดไหนบ้าง   ครูสรเฉลยค่ะ

1. บุรุษสรรพนาม
2. ประพันธสรรพนาม
3. วิภาคสรรพนาม
4. นิยมสรรพนาม
5. อนิยมสรรพนาม
6. ปฤจฉาสรรพนาม

               คำสรรพนามในแต่ละชนิดดังกล่าว มีหลักการใช้แตกต่างกันออกไป  ซึ่งทุกคนต้องเลือกใช้คำสรรพนามให้ถูกกาลเทศะในการพูดหรือเขียน  โดยเฉพาะการพูดและเขียนอย่างเป็นทางการ  หากเลือกใช้คำสรรพนามไม่ถูกต้องจะกลับกลายเป็นคำไม่สุภาพได้เช่นกัน  หรือมีความหมายเปลี่ยนไปจากเดิมทันที  ครูสรจะขอกล่าวถึงคำสรรพนามในแต่ละชนิดตามลำดับดังนี้

1. บุรุษสรรพนาม
         เป็นสรรพนามที่ใช้แทนผู้พูด  ซึ่งรวมทั้งตัวผู้พูดเอง   ผู้ที่กำลังพูดด้วย  และผู้ที่ถูกกล่าวถึง   บุรุษสรรพนามจะแบ่งออกเป็น  3 ลักษณะ คือ
        บุรุษที่ 1  จะใช้แทนตัวผู้พูด     ตัวอย่างเช่น  ฉัน  ดิฉัน  ผม  กระผม  ข้าพเจ้า  กู (ไม่สุภาพ)
        บุรุษที่ 2  จะใช้แทนผู้ที่กำลังพูดด้วย  ตัวอย่างเช่น  เธอ  ท่าน  มึง (ไม่สุภาพ)
        บุรุษที่ 3  จะใช้แทนผู้ที่ถูกกล่าวถึง   ตัวอย่างเช่น  เขา  มัน

2. ประพันธสรรพนาม
      คำที่ใช้แทนคำนามหรือคำสรรพนาม โดยมีคำว่า  ที่  ซึ่ง  อัน  ผู้  ดัง  ผู้ที่   ผู้ซึ่ง  เขียนไว้ข้างหน้าคำนามหรือสรรพนามนั้น ๆ ตัวอย่าง เช่น 

สุนัขที่อยู่ในกรงดุร้าย  

สมชายเป็นผู้ที่ได้รับคัดเลือกข้าราชการดีเด่น  

เรารักแผ่นดินไทยอันเป็นประเทศของเรา
เจ้านายรักลูกน้องซึ่งตั้งใจทำงาน


3. วิภาคสรรพนาม
     คำที่ใช้แทนคำนาม  ในความหมายว่าแยกออกจากกันเป็นส่วน ๆ  หรือเป็นสิ่ง ๆ   โดยมีคำว่า “ต่าง”   “บ้าง”  และ “กัน” อยู่ในประโยค    ตัวอย่าง เช่น   

ชาวไทยต่างไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้แทนราษฎร            นักกีฬาซ้อมกีฬากันอย่างเอาจริงเอาจัง

นักเรียนต่างแยกย้ายไปทำความสะอาดห้องเรียน      

4. นิยมสรรพนาม

    คำสรรพนามลักษณะนี้  จะมีความหมายเฉพาะเจาะจงในสิ่งที่กล่าวถึง เป็นการเน้นเพื่อความชัดเจน จะมีคำเหล่านี้อยู่ในประโยค เช่น  นี่  นั่น  โน่น  นี้  นั้น  ทั้งนี้  ทั้งนั้น  เช่นนี้  เช่นนั้น  อย่างนี้  อย่างนั้น  เป็นต้น

เช่น   เขาอยู่ที่นี่ดีกว่าอยู่ที่นั่น     น่นคือประเทศพม่า    แม่ทำอาหารอย่างนี้อร่อยกว่าอย่างนั้น 

ทั้งนี้เป็นนโยบายของรัฐบาล  

5. อนิยมสรรพนาม
    คำสรรพนามลักษณะนี้  จะใช้แทนคำนาม จะมีความหมายตรงข้ามกับ นิยมสรรพนาม  มีความหมายว่าไม่ชี้เฉพาะเจาะจง   มักจะมีคำว่า  ใคร  อะไร  ไหน  อื่น  ผู้อื่น

เช่น   พ่อไม่เห็นคร     ไม่มีผู้อื่นนอกจากเขา   เขาไม่รู้ว่าบ้านอยู่    จะไปกับฉันก็ได้  

ที่อื่น ก็ไปได้


6. ปฤจฉาสรรพนาม
     คำสรรพนามใช้แทนคำนาม  ใช้เป็นคำถาม  ซึ่งจะมีคำว่า ใคร  อะไร  ที่ไหน  อยู่ในประโยคเสมอ 

มีคำที่คล้ายกับอนิยมสรรพนาม  แต่ต่างกันตรงที่ ปฤจฉาสรรพนาม ใช้เป็นคำถาม  ส่วนอนิยมสรรพนามใช้แทนคำนามที่ไม่เจาะจง  หรือไม่ชี้เฉพาะ

ตัวอย่างปฤจฉาสรรพนาม  เช่น   ครมา   ของอะไรตก    อะไรเปียก   บ้านอยู่ที่ไหน   ประเทศอะไร  

หมายเลขบันทึก: 658130เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2018 10:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2018 10:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท