โรคโรต้าไวรัส(Rotavirus) อุจจาระท้องร่วง


เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังศึกษาเรื่องโรต้าไวรัส

โรต้าไวรัส (Rotavirus)

1. ความสำคัญของปัญหา

             โรตาไวรัสเป็นเชื้อจุลชีพที่ก่อให้เกิดโรคท้องร่วงอย่างรุนแรงในทารกและเด็กเล็กทั่วโลก สําหรับความรุนแรงของโรตาไวรัส พบว่าในประเทศที่พัฒนาแล้วมีผู้ป่วยทารกและเด็กเล็กเขา รักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยอาการท้องร่วงจากโรตาไวรัสร้อยละ 35-52 และประมาณการกันว่าในประเทศสหรัฐอเมริกามีผู้ป่วยเด็กที่เกิดอาการท้องร่วงจากเชื้อดังกล่าว 3 ล้านรายต่อปี ในจํานวนนี้ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล 82,000 ราย และเสียชีวิต 150 ราย ส่วนใน ประเทศที่กําลังพัฒนา โรตาไวรัสเป็นสาเหตุของอาการท้องร่วงในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี ประมาณ 125 ล้านรายต่อปีในในจํานวนนี้มีเด็กต้องเสียชีวิตถึง 873,000 ราย (วิชัย สันติมาลีวรกุล และ ทศวรรณ จิตรวศินกุล, : ออนไลน์)

             โรคอุจจาระร่วงมักเกิดในฤดูร้อน ทั้งนี้เพราะส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น อหิวาตกโรค เชื้อบิด ไทฟอยด์ หรืออาหารเป็นพิษ ซึ่งเชื้อแบคทีเรียจะเจริญเติบโตได้ดีในฤดูร้อน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากส ิ่งแวดล้อม การรับประทาน อาหารและน้ำดื่มที่ไม่สะอาดหรือมีการปนเปื้อนเชื้อโรคดังกล่าว ในปัจจุบันสุขอนามัยของประเทศไทยดีขึ้นมากคล้ายคลึงกับ ประเทศทางตะวันตก ทำให้โรคดังกล่าวลดน้อยลงไปอย่างมาก เชื้อที่ทำให้เกิดท้องเสียส่วนใหญ่จึงเกิดจากเชื้อไวรัสที่ชอบอากาศเย็นหรือฤดูหนาว ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงในฤดูหนาวได้บ่อยขึ้น ดังจะได้เห็นจากข่าวทาง social media ในช่วงที่ผานมา ่ ไวรัสที่เป็นต้นเหตุของโรคทางเดินอาหารที่ส่งผลให้เกิดอาการอาเจียนหรือท้องเสียมีมากมายหลายชนิดแต่ที่พบบ่อย ได้แก่โรต้าไวรัส (Rotavirus) โนโรไวรัส (Norovirus) และแอสโทรไวรัส (Astrovirus) ซึ่งในที่นี่จะกล่าวถึงเฉพาะโรต้าไวรัสไวรัสโรต้าพบได้บ่อยมาก โดยทำให้เกิดท้องเสียในฤดูหนาว โรคนี้มีมานานเป็นร้อยๆ ปี แต่มาค้นพบในปี ค.ศ. 1973 โดยแพทย์ชาวออสเตรเลีย ตรวจน้ำจากลำไส้เล็กของเด็กที่มีอาการท้องเสีย แล้วดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน พบอนุภาคของไวรัสที่มีลักษณะคล้ายวงล้อเกวียน (rotor) จึงตั้งชื่อว่า โรต้าไวรัส โรต้าไวรัส เป็น อาร์เอ็น เอ ไวรัส (RNA virus) (ยง ภู่วรวรรณ, : ออนไลน์)

     2. ลักษณะของโรตาไวรัส

                ไวรัสโรต้า (Rotavirus) นี้เป็นไวรัสกลุ่มอาร์เอ็นเอ (Double-stranded RNA virus) ใน ตระกูล (Family) Reoviridae ซึ่งมี 7 สายพันธุ์ (A, B, C, D, E, F, G) เด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ขวบเกือบทุกคน จะติดเชื้อไวรัสนี้อย่างน้อยสักครั้งหนึ่ง การติดต่อของโรคนี้ เกิดจากการกินสิ่งปนเปื้อนอุจจาระที่มีเชื้อนี้ เช่น เด็กมือเปื้อนแล้วอมหรือดูดนิ้ว หรือเชื้อ/อุจจาระติดกับของเล่น หรือเครื่องใช้ จึงเป็นโรคป้องกันค่อนข้างยาก ดังนั้นจึงมักมีการระบาดของไวรัสโรต้าในโรงเรียนเด็กเล็ก หรือสถานเลี้ยงเด็ก เด็กเล็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อายุน้อยกว่า 3 เดือน จะมีภูมิคุ้มกันต้านทานต่อไวรัสโรต้าที่ผ่านรกมาจากแม่ตั้งแต่อยู่ในครรภ์และเด็กที่กินนมแม่จะมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโรต้ามากกว่าเด็กที่ไม่ได้กินนมแม่ จึงมักพบท้องร่วงจากไวรัสโรต้าในเด็กสองกลุ่มนี้น้อยกว่าเด็กกลุ่มอื่น ๆ เชื้อไวรัสโร้าาที่อยู่ในตัวเด็กที่เป็นโรค จะแพร่ไปให้ผู้อื่นทางอุจจาระได้ ตั้งแต่ประมาณ 1-2 วันก่อนมีอาการท้องร่วงจนกระทั่งประมาณ 10 วันหลังจากเริ่มมีอาการ ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้ม กันต้านทานโรคบกพร่อง จะพบเชื้อในอุจจาระนานกว่า 30 วันหลังจากการติดเชื้อทั้งนี้ เชื้อที่ออกจากร่างกาย ไปติดตามสิ่งของต่างๆ จะคงทนอยู่นานหลายเดือน หากไม่เช็ดออกด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ซึ่งเชื้อเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดการติดโรคได้เช่นกัน (อรุณี เจตศรีสุภาพ, : ออนไลน์)

      3. ระบาดวิทยา

                  เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสลงกระเพาะ หรือท้องเสียจากเชื้อไวรัสโรต้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งมักพบมากในช่วงหน้าหนาว โดยเฉพาะในเด็กโตและผู้ใหญ่ ว่า ปีนี้มีอากาศหนาวยาวนานกว่าหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ตรวจพบเชื้อไวรัสโรต้าจากอุจจาระตามสถานพยาบาลต่างๆ มากขึ้น สำหรับยอดผู้ป่วยอุจจาระร่วงเดือนธันวาคม 2560 มีผู้ป่วยถึง 9,433 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันในปี 2559 พบมีผู้ป่วย 6,610 รายเท่านั้น นอกเหนือจากไวรัสโรต้าเพิ่มขึ้นแล้ว ยังพบไวรัสโนโรเพิ่มขึ้นอีกด้วย ปัจจุบันยังไม่มียารักษา จะรักษาตามอาการ โดยให้กินยาลดไข้ เกลือแร่ ทดแทนการขาดน้ำ เพราะหากร่างกายขาดน้ำ แล้วมีอาการอาเจียนและถ่ายเหลวมาก จะยิ่งทวีความรุนแรงเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้ ดังนั้น เมื่อท้องเสียแล้วเริ่มมีอาการปัสสาวะน้อย สีเข้ม ปากแห้ง กินอาหารไม่ได้ ซึมและสับสน ควรรีบพบแพทย์ทันที (MATHICHON, : ออนไลน์)

         4. อาการและสาเหตุโรต้าไวรัส


          ภาพประกอบที่ 1 ลักษณะอาการและสาเหตุของโรคโรต้าไวรัส

          ที่มา: (Amarin Baby & Kids, : ออนไลน์)

                      ลักษณะอาการเบื้องต้นของโรค โดยทั่วไปมีดังนี้ อุจจาระเป็นน้ำ ซึ่งมักไม่มีเลือดปนแต่อาจเกิดขึ้นได้หากติดเชื้อรุนแรง เป็นตะคริวบริเวณท้อง และปวดท้อง โดยไม่ได้ปวดเฉพาะที่จุดใดจุดหนึ่ง คลื่นไส้ อาเจียน หรือทั้ง 2 อย่าง ปวดศีรษะกล้ามเนื้อ หรือข้อ มีไข้ต่ำ รู้สึกหนาวสั่นไม่อยากอาหาร น้ำหนักลด (Amarin Baby & Kids, : ออนไลน์)

                    สาเหตุของโรคติดเชื้อไวรัสโรต้า เชื้อไวรัสโรต้า นี้มีอยู่ได้ทุกที่ สามารถแพร่กระจายได้อย่างง่ายดาย และยังสามารถติดต่อได้จากการสัมผัสเชื้อที่อาจปนเปื้อนมากับน้ำ อาหาร สิ่งของ โดยเฉพาะของเล่นเด็ก เมื่อเด็กสัมผัสของเหล่านี้และนำมือเข้าปาก ก็สามารถติดเชื้อได้แล้ว (maerakluke, : ออนไลน์)

          5. การป้องกันโรต้าไวรัส

                      การป้องกันไวรัสโรต้า สำหรับเด็กวัย 6 – 12 เดือน เป็นวัยที่มักหยิบสิ่งของเข้าปาก ทั้งนี้ควรทำความสะอาดของใช้เด็กอยู่เสมอ สำหรับของใช้ให้หมั่นเช็ดแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ ส่วนของเล่นที่ลูกหยิบเข้าปากได้ควรลวกน้ำร้อนอยู่เป็นประจำ ส่วนสิ่งของที่ซื้อเข้าบ้านไม่ควรวางไว้ใกล้ลูกเพื่อป้องกันการรื้อของออกมาเล่นและป้องกันไวรัสที่อาจมาจากนอกบ้าน สำหรับเด็กวัยอนุบาลที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ควรฝึกวินัยการล้างมือก่อนหยิบของเข้าปาก หมั่นสอนให้ติดเป็นนิสัยจะช่วยสร้างสุขอนามัยที่ดีให้กับเด็กได้ ฉีดวัคซีนป้องกัน โรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้า ถึงแม้ไม่มียารักษาโดยตรงแต่โชคดีที่แพทย์สามารถค้นพบวัคซีนได้ ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตามวัคซีนก็ไม่สามารถป้องกันเชื้อไวรัสโรต้าได้ 100 % เพียงแต่ช่วยให้มีอาการท้องร่วงน้อยลง ปัจจุบันนี้พบว่าผู้ใหญ่เองก็พบการอุจจาระร่วงจากไวรัสชนิดนี้มากขึ้น ข้อเสียคือยังไม่มียารักษาโดยตรงจึงต้องทำหารรักษาเช่นอาการท้องร่วงโดยทั่วไปด้วยการฆ่าเชื้อ ไล่เชื้ออกให้หมด เสริมเกลือแร่หรือน้ำเกลือ และติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ต้องล้างมือทุกครั้งก่อนทานอาหารทาน เลือกอาหารที่ปรุงสุก สะอาด สด ร้อน เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่แฝงมากับอาหาร เครื่องดื่มที่ปลอดภัยเมื่อป่วยได้แก่ น้ำต้มสุก น้ำสะอาด กลูโคส และเกลือแร่ (HONESTDOCS, : ออนไลน์)

                      ข้อมูลทางด้านเชื้อไวรัสโรต้า ซึ่งได้เห็นถึงภาพโดยรวม ทั้งใน ความหมายทางแหล่งที่มาของโรต้าไวรัส และลักษณะอาการ นอกจากนั้นยังได้รู้ถึง ความหลากหลายทางสายพันธุ์ของไวรัสโรต้าแต่ละชนิด และการพัฒนาวัคซีนโรต้าไวรัส ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานที่มีประโยชน์มากในเรื่องของการ เฝ้าระวัง และสามารถนําไปประยุกต์ใช้ในการป้องกันไม่ให้ติดเชื้อไวรัสโรต้า ทำให้ไม่เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินที่มากมาย

            6. การพัฒนาวัคซีนโรต้าไวรัส

                        ในอดีตช่วงปี พ.ศ. 2541 - 2542 มีการจำหน่ายวัคซีนป้องกันโรคไวรัสโรต้าชนิด Tetravalent Rhesus rotavirus vaccineมีชื่อการค้าว่า RotashieldTM ซึ่งผลิตจากเชื้อไวรัสโรต้าของลิงที่มีคุณสมบัติเหมือนไวรัสโรต้าสายพันธุ์ในมนุษย์ ต่อมาพบว่าวัคซีนชนิดนี้สัมพันธ์กับการเกิดภาวะลำไส้กลืนกัน(Intussusception)ที่ส่งผลให้เกิดลำไส้อุดตัน ซึ่งเกิดขึ้นในเด็กที่ได้รับวัคซีนชนิดดังกล่าวภายในระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์หลังได้รับวัคซีนนี้ ทางผู้ผลิตจึงได้หยุดจำหน่ายวัคซีนชนิดดังกล่าวไป ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันไวรัสโรต้าที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่ ที่มีประสิทธิภาพ และความปลอดภัยสูง โดยวัคซีนที่มีจำหน่ายในปัจจุบันมี 2 ชนิด ได้แก่

                        1. วัคซีนชนิด Live attenuated human rotavirus vaccine มีชื่อการค้าว่า RotarixTM ผลิตจากเชื้อไวรัสโรต้าที่มีชีวิตแต่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง โดยเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดียวที่ได้จากมนุษย์ ทั้งนี้วัคซีน Rotarix สามารถเรียกว่าเป็น Monovalent vaccine(วัคซีนจากเชื้อชนิดเดียว)ได้ เนื่องจากวัคซีนชนิดนี้ผลิตจากเชื้อไวรัสชนิดเดียวที่แยกได้จากมนุษย์ รูปแบบวัคซีนนี้เป็นยาน้ำแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน (Oral suspension) ขนาด 1.5 มิลลิลิตรต่อโด๊ส/Dose/ต่อการใช้ 1 ครั้ง บรรจุในหลอดยาพร้อมใช้ (Prefilled syringe)

                        2. วัคซีนชนิด Bovine-human reassortant rotavirus vaccine มีชื่อการค้าว่า RotaTeqTM ซึ่งถูกผลิตโดยการผสมกัน(Reassortment) ระหว่างเชื้อไวรัสโรต้าที่มีชีวิตแต่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลงที่มีที่มาจากมนุษย์และจากวัว ทั้งนี้วัคซีนRotaTeq สามารถเรียกว่าเป็น Pentavalent vaccine เนื่องจากวัคซีนชนิดนี้ผลิตขึ้นจากเชื้อไวรัสโรต้าจำนวน 5 ชนิดที่ได้จากมนุษย์และจากวัว รูปแบบวัคซีนนี้ เป็นยาน้ำแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน (Oral suspension)เช่นกัน ในขนาด 2 มิลลิลิตรต่อโด๊ส บรรจุในหลอดพลาสติก

              อนึ่ง ได้มีการศึกษาถึงประสิทธิผลของวัคซีนทั้ง 2 ชนิดพบว่า ทั้งRotarixTM และ RotaTeqTM มีประสิทธิผลที่ดีในการป้องกันโรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้า และมีอาการข้างเคียง(ผลข้างเคียง)ไม่แตกต่างกัน กลไกการทำงานของวัคซีนทั้ง 2 ชนิดนี้ คือ วัคซีนฯจะเสริมสร้างให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน/ภูมิคุ้มกันต้านทานโรคให้แก่ผู้ที่ได้รับวัคซีนนี้ ที่เรียกว่าเป็นภูมิคุ้มกันแบบ Active immunization วัตถุประสงค์ของการให้วัคซีนนี้ คือ เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโรต้า และถึงแม้ว่าวัคซีนนี้จะป้องกันโรคนี้ไม่ได้ทั้งหมดในเด็กทุกคนที่ได้รับวัคซีนนี้ แต่ก็ทำให้ความรุนแรงของโรคนี้ลดลงได้ (วิชญ์ภัทร ธรานนท์, : ออนไลน์)

              7. การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการส่งต่อสถานพยาบาล

                        เนื่องจากปัจจุบันไม่มียารักษาการติดเชื้อไวรัสโรต้า เพราะโดยปกติภูมิคุ้มกันภายในร่างกายของเราจะช่วยกำจัดเชื้อไวรัสโรต้าให้เอง ทว่าเมื่อติดเชื้อไวรัสโรต้าและมีอาการท้องร่วงแล้ว ควรดูแลผู้ป่วยด้วยวิธีดังต่อไปนี้ เพื่อเป็นการพยาบาลเบื้องต้น (พรเทพ สวนดอกไม้, : ออนไลน์)

                • ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไป โดยอาจใช้เกลือแร่ชนิดน้ำหรือชนิดผงละลายกับน้ำต้มสุกก็ได้
                • ให้ผู้ป่วยจิบน้ำเกลือแร่บ่อย ๆ ในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่ควรดื่มเกลือแร่ครั้งละมาก ๆ เพราะอาจอาเจียนหรือถ่ายเหลวออกมาหมดได้
                • ไม่ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำอัดลมหรือเกลือแร่ชนิดขวดสำหรับนักกีฬา เพราะปริมาณน้ำตาลและเกลือแร่ไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสียหรือท้องร่วง

                         สรุปได้ว่าโรคโรต้าไวรัสเป็นโรคที่แฝงมากับอากาศเย็นหรือฤดูหนาว เป็นเชื้อไวรัสที่เกิดขึ้นกับเด็กเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดอาการท้องเสียและยังไม่มียาที่สามารถรักษาได้ตรงตามโรค มีเพียงวัคซีนที่ช่วยป้องกันเท่านั้นและกำลังพัฒนาอยู่เสมอ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เป็นการจิบน้ำเกลือแร่ชนิดที่เหมาะกับอาการท้องเสียเพื่อบรรเทาอาการและส่งต่อสถานพยาบาลเพื่อการรักษาต่อไป

                บรรณานุกรม

                กรมควบคุมโรค. (2561). “โรคต้าไวรัสอุจจาระล่วง”. จากเว็บไซด์ http://www.riskcomthai.org/th/news/
                mass-medidetail.php?id=36783&pcid=69&pcpage=2. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2561.

                กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. (2561). “การป้องกันโรต้าไวรัส”. จากเว็บไซด์ http://www3.dmsc.moph.go.th/
                    post-view/255. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2561.

                พรเทพ สวนดอก. (2561). “โรต้าไวรัส”. จากเว็บไซด์ http://www.pidst.or.th/A282.html. สืบค้นเมื่อวันที่ 23
                        สิงหาคม 2561.

                ยง ภู่วรวรรณ. (2561). “โรต้าไวรัส”. จากเว็บไซด์http;//pthaigastro.org/Document/l2gsiy5550bzwd2pvtw
                        5ge3vvirusrota1.pdf. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2561.

                วิชญ์ภัทร ธรานนท์. (2559). “วัคซีนโรต้าไวรัส”. จากเว็บไซด์ http://haamor.com/th/. สืบค้นเมื่อวันที่ 23
                        กันยายน 2561.

                วิชัย สันติมาลีวรกุล และ ทศวรรณ จิตรวศินกุล. (2561). “ปัญหาของโรต้าไวรัส”. จากเว็บไซด์ http://l.facebook
                          .com/l.php?u= สืบค้นเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2561.

                วิบูลย์ โกมารภัจกุล. (2561). “โรคโรต้าไวรัส”. จากเว็บไซด์ http://dlibrary.childrenhospital.go.th/handle/
                         6623548333/701. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2561.

                สุพร ตรีพงษ์กรุณา. (2561). “โรคโรต้าไวรัสในเด็ก”. จากเว็บไซด์ http://med.mahidol.ac.th/atrama/issue
                         005/health-station. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2561.

                อรุณี เจตศรีสุภาพ. (2560). “โรต้าไวรัส”. จากเว็บไซด์ http://haamor.com/th/. สืบค้นเมื่อวันที่ 26
                        กันยายน 2561.

                Amarin Baby & Kids. (2561). “อาการโรต้าไวรัส”. จากเว็บไซด์ http://www.amarinbabyandkids.com/
                         family/lifestyle-news/viral-gastroenteritis-children/3/. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2561.
                HONESTDOCS. (2561). “การป้องกันโรต้าไวรัส”. จากเว็บไซด์ http://www.honestdocs.co/do-not-under
                         estimate-contagious-rotavirus. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2561.

                maerakluke. (2561). “สาเหตุโรต้าไวรัส”. จากเว็บไซด์ http://www.maerakluke.com/topics/934.
                         สืบค้นเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2561.     

                MATHICHON. (2561). “ระบาดโรต้าไวรัส”. จากเว็บไซด์ http://www.matichon.co.th/local/quality-life/
                         news_834158. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2561.


                         

                หมายเลขบันทึก: 658097เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2018 23:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2018 11:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


                ความเห็น (0)

                ไม่มีความเห็น

                พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
                ClassStart
                ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
                ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
                ClassStart Books
                โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท