ทำไมหมอลำต้องขึ้นต้นด้วย “ฟ้า” สัมมนาวิชาการ “แคน” มนต์เสน่ห์ศิลปวัฒนธรรมอีสาน-ลาว


อ.สุจิตต์ วงษ์เทศ

การประชุมสัมมนาวิชาการ ขอนแก่น-ลาวศึกษา “แคน” มนต์เสน่ห์ศิลปวัฒนธรรมอีสาน-ลาว

วันที่ 13 กันยายน 2561  ณ โรงแรมราชาวดี รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล ขอนแก่น

 

อ.สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรยายเรื่อง “หมอแคนหมอขวัญ” ต้นทางสร้างสรรค์วรรณกรรมและเพลงดนตรีนานาชาติพันธุ์

“เสียงแคนทำหน้าที่สื่อสารกับแถนแทนหมอขวัญ”... หมอขวัญหรือหมอลำ ทำหน้าที่ส่งสารผ่านไปยังแถน แต่แถนไม่อาจฟังได้เข้าใจ จึงต้องใช้เสียงแคน เป็นสื่อแปลงสารไปยัง “แถน” ให้รับรู้รับทราบความต้องการของ “คน” ...ที่สวดอ้อนวอนขอพรแถนฟ้า

“คนตาย ขวัญไม่ตาย” จึงต้องใช้ดนตรี การละเล่น เสพงัน เรียกขวัญคนตาย

 “ความเป็นคน” สำคัญกว่าความเป็น “ไทย”  ...

ทำนอง “ลูกคอ” ในหมอลำ เป็นต้นเค้าของการขับกล่อมในรูปแบบต่าง ๆ แม้กระทั่งการเทศน์มหาชาติ

 

การเสวนาในหัวข้อ “แคน” มนต์เสน่ห์ศิลปวัฒนธรรมอีสาน – ลาว วิทยากรโดย รศ.วีณา  วีสเพ็ญ  ผศ.ดร.เจริญชัย  ชนไพโรจน์  หมอแคนสมบัติ สิมหล้า อ.พงศธร อุปนิ (อ้น แคนเขียว) ดำเนินรายการโดย คุณสุมาลี สุวรรณกร

 

รศ.วีณา  วีสเพ็ญ

“ใบบอก” เมืองอุบลราชธานี มีการบันทึกเรื่อง “แคน” ไว้เป็นต้นทางของการศึกษา “มีเพลงแลขับแคนตามเพทบ้านเมือง” แคนในวรรณกรรมอีสานและภาพจิตรกรรมฝาผนังตาม “สิม”

แคนกับไค้ ที่มาที่ไปเป็นอย่างไร?

 

ผศ.ดร.เจริญชัย  ชนไพโรจน์ “ดนตรีประภทแคน มีอยู่ในหลายชนชาติ” มีเครื่องเป่าที่มีลักษณะคล้ายใกล้เคียงแคนทั่วไปในโลก แต่การจะอนุรักษ์และพัฒนาต่อไปอย่างไร? การอนุรักษ์แคนก็ต้องอนุรักษ์ในพื้นที่ที่เหมาะสมเหมือนเลี้ยงปลา “แคน” ก็ต้องมีหมอแคน หมอซ่อมแคน มีหมอลำเขียนกลอนลำประกอบแคน...ถ้อยคำที่กินใจ มีเนื้อหาสาระที่ดี...อีกส่วนที่สำคัญคือ “ผู้ฟัง” ที่จะช่วยอนุรักษ์สืบสาน เพราะถ้าไม่มีผู้ฟัง จะอนุรักษ์สืบสานได้อย่างไร

ในอดีต ถือแคนไปสนามบิน มักจะถูกทักท้วงว่าไปเล่นที่ไหน อย่างไร คนต่างชาติเขาฟังรู้รื่องเหรอ??? แต่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ดนตรีและการแสดงพื้นบ้านถูกยกระดับด้วยการศึกษา เพราะเปิดหลักสูตรด้านดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน หลังจากที่เคยมีคนดูถูกและเหยียดหยามมาตลอด แต่เมื่อมีสาขาที่สอนระดับปริญญาถึงขั้นปริญญาเอก ทำให้สังคมยอมรับและเปลี่ยนทัศนคติหรือมุมมองของ ศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่น การศึกษาจึงเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเท่าเทียม

แคนจึงมีเสน่ห์และมีมนต์...หมอแคนหมอลำทำไมถึงเล่นได้หามรุ่งหามค่ำ “หมอแคน สะออนเสียงลำ หมอลำสะออนเสียงแคน” เลยทำให้อยู่ด้วยกันได้ตลอดวันตลอดคืน

หมอแคนสมบัติ สิมหล้า "ดนตรีเป็นความงดงาม ต้องตั้งใจฝึกซ้อม ประยุกต์ใช้และพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ"

 

หมอแคนอ้น แคนเขียว "การนำใช้ พัฒนาและต่อยอดในภาคนานาชาติ...คนต่างชาติ ให้ความสนใจในรายละเอียดมากเมื่อเวลาไปแสดงให้คนต่างชาติดูชม...แคน เปรียบเสมือนข้าวปั้นญี่ปุ่น ... ทำไมข้าวปั้นญี่ปุ่น จึงขายได้ตลอด เพราะเขาประยุกต์และพัฒนาให้เข้ากับยุคสมัยและสามารถเข้าถึงได้... แคน ก็ยังต้องพัฒนา ประยุกต์ แล้วนำใช้ แต่มุมหนึ่งก็ต้องอนุรักษ์ความดั้งเดิมไว้ให้ได้..."

หมอลำ หมอแคน ต้องไปด้วยกัน... ต่างคนต่างเล่นได้ แต่จะไม่สมบูรณ์ ...

เรียนแคน แต่ก็ศึกษาเรื่อง “หมอลำ” ด้วย เพื่อให้เข้าใจทำนองลำ เพราะถ้าเข้าใจจะช่วยให้มีเสน่ห์มากขึ้น... ถ้าหมอแคน สามารถ “ลำ” ได้ จะช่วยให้เข้าใจมากขึ้น...

คำถาม “ทำไมกลอนลำต้องมีฟ้า”... อ.เจริญชัย ตอบว่า “ฟ้ามีอาญาสิทธิ” ให้คุณให้โทษ และเสียง “ฟ้า” มีอิทธิฤทธิ์ มีอิทธิพลต่อชีวิตมนุษย์ โดยเฉพาะทางจิตใจ และมีแรงบันดาลใจ ได้ยินเสียงฟ้าทำให้คิดถึงเรื่องราวในชีวิตได้... แม่ฉวีวรรณ เสริมว่า “ฟ้า” อยู่ในอารมณ์ของศิลปิน ฟ้าเป็นสิ่ง “สูงสุด” แล้วฟ้ายังเป็นสื่อส่งถึงกัน เกิดจากอารมณ์ความคิดฮอดคิดถึง “ฝนตกอยู่บ้านน้อง ฟ้าฮ้องอยู่บ้านอ้าย”... แม่บุญช่วงยังใช้ฟ้าเป็นบทบ่นก่นด่าได้ด้วย... “แคน” คือมนต์เสน่ห์ของศิลปะสองฟากฝั่ง “แคน” เป็นตัวนำชีวิต “ฟ้า” จึงเป็นสื่อแทนความคิดถึง...

 

พี่หน่อย สุมาลี เล่าว่า “ทางอีศาน” บอกว่าการร้องหา “ฟ้า” เป็นการร้องหา “แถน” ให้มาช่วยมาส่งเสริมสนับสนุน เพราะ “แถน” เป็นของสูง “ฟ้า” ก็เปรียบเสมือน “แถน”... การร้องหา “ฟ้า” เป็นการต้องการสื่อสารถึงฟ้าถึงแถน  

 

ดร.สุเนตร โพธิสาร “แคน” เป็นบทเรียนของ “คน”... แคน อยู่ที่ไหนบ้าง หรือเรื่องราวของ “แคน” และเรื่องกลองมะโหรทึกที่มีเรื่องราวของ ความเชื่อ  “แคน” เป็นวัฒนธรรม และวัฒนธรรมคือความเจริญ... เป็นตัวแทนของ “จินตนาการ”... สะท้อนความรู้สึกนึกคิดของคนในสังคม เป็นตัวบ่งชี้ความเจริญของชนชาติ

อ.เจริญชัย...การอนุรักษ์ คือการเชิดชูเกียรติศิลปินทุกเพศวัย ในทุก ๆ รูปแบบ จะช่วยอนุรักษ์ ส่งเสริม สนับสนุน และกำลังจะจัดตั้ง “กองทุน” เพื่อเป็นสวัสดิการแก่ศิลปิน

อ.สมบัติ บอกว่า การอนุรักษ์ ศิลปินต้องปรับตัว ประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัย เพื่อทั้งอนุรักษ์และต่อยอด

อ.อ้น การอนุรักษ์ ก็ต้องปลูกฝังตั้งแต่เด็ก เช่น ผู้ปกครองเปิดเพลงเปิดหมอลำให้ฟัง เด็ก ๆ ก็จะซึมซับตั้งแต่เด็ก... การสร้างสรรค์เสียงแคน สิ่งใหม่ในปัจจุบัน จะกลายเป็นสิ่งเก่าในอนาคต ... ทุกสิ่งทุกอย่างมีกาลเวลาของมัน การนำสิ่งเก่ามาเรียนรู้ให้แน่น เป็นต้นทุนที่ดี แล้วนำมาสร้างสรรค์งานใหม่ เพื่อต่อยอดและสืบสาน


เขมรป่าดง ณ เมืองตลุง,๒๕๖๑

ปล. ผมช่างอ่อนด้อยในการสรุปความนักแล

หมายเลขบันทึก: 652566เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2018 23:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กันยายน 2018 08:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นดนตรี ที่เป็นความฝันว่าสักครั้งในชีวิตผมอยากเล่นได้บ้างครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท