การใช้ Google Drive : ชั้นเรียน Online


การสร้างชั้นเรียน Online : Google Drive

            จะเป็นการสร้างเอกสารต่างๆผ่าน Internet ผู้ใช้ควรมี Gmail เพื่อสมัครใช้ Google Drive

            Drive จะเป็นตัวเก็บข้อมูล เช่น การทำ Slide ใน Drive หรือ Slide ประกอบการสอน ซึ่งต้องมี Link เพื่อใช้ในการแบ่งปัน

            เมื่อกดเลือก Drive จะปรากฏหน้า

เมื่อเริ่มให้เลือก “ใหม่” จะมีการสร้างเอกสารผ่าน Google 3 รูปแบบ คือ

  • Google เอกสาร
  • Google ชีท
  • Google สไลด์

      ซึ่งเป็นการเน้นให้นักศึกษามีส่วนร่วม โดยเน้นทาง Online

 

Google Documents หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า Google Docs เป็นบริการออนไลน์ที่ให้สามารถจัดการเอกสารได้แบบไม่ต้องเสียเงิน เพียงแค่มีอีเมล์ของ Gmail และเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เพราะ Google Docs เตรียมมาให้หมดแล้วไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์รายงานแบบที่คุ้นเคย การทำสไลด์เพื่อนำเสนองานสำคัญ หรือจะจัดการเอกสารแบบ Spreadsheets ได้เหมือน Excel ก็สามารถทำได้ Google Docs ทำงานเหมือน Microsoft Office แต่ทุกอย่างจะทำงานอยู่บนเว็บ สามารถทำงานได้ทันทีที่มี การเชื่อมต่อ Internet โดยไม่ต้องเสียเวลาติดตั้งโปรแกรมลงในเครื่อง หรือเสียเงินค่าลิขสิทธิ์ก่อนใช้งานแต่อย่างใด เพียงแค่เข้าไปยัง Google Docs เราก็สามารถสร้าง แก้ไข หรือเปิดอ่านเอกสารได้เลย โดยตัวเอกสารนั้นจะถูกเก็บไว้ใน Server ของ Google และที่สำคัญ สามารถแชร์เอกสารให้กับเพื่อนเพื่อแก้ไข ข้อมูลไปพร้อมๆ กัน โดยจะเห็นว่าอีกฝ่ายกำลังพิมพ์อะไรอยู่

การสร้าง Google Slide

Google Slide เป็นเครื่องมือสำหรับสร้างงานในการนำเสนอ (Presentation) ในรูปแบบต่างๆ เช่นเดียวกับโปรแกรม Microsoft PowerPoint โดยผู้ใช้สามารถ ใส่ข้อความ รูปภาพเคลื่อนไหว แอฟเฟคเสียงดนตรี หรือ Template เพื่อเพิ่มความสวยงามและ ดึงดูดสนใจ โดย Google Slides ทำงานโดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรม และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นไปพร้อมๆ กันได้อีกด้วย นอกจากนี้ Google Slide ยังรองรับการทำงานบนอุปกรณ์ต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ทำงานได้ทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ ระบบมีการบันทึกทุกอย่างแบบอัตโนมัติ ทำให้ไม่ต้องกังวลว่าไฟล์ข้อมูลจะสูญหาย

 เลือก “งานนำเสนอเปล่า” 

จะปรากฏหน้าต่างหลัก Google Slideซึ่งจะมีฟังก์ชันการทำงานดังนี้

1 ชื่อชิ้นงาน คือ การตั้งชื่อไฟล์งาน/ผลงาน

2. แถบเมนูคือ แถบที่รวบรวมคำสั่งหลักทุกคำสั่งในการใช้งานโปรแกรม

3. แถบเครื่องมือการจัดการ คือชุดเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเกี่ยวกับข้อความและวัตถุต่างๆ บนสไลด์

4. Workspace คือ พื้นที่การทำงาน

5. แถบมุมมองและการแสดงความคิดเห็น คือ การดูตัวอย่างสไลด์งาน และการแสดงความคิดเห็น

 การแทรกวัตถุรูปภาพ และข้อความ การสร้างและการจัดการข้อความ

1. คลิกไอคอน “สไลด์” สังเกตว่าแถบเครื่องมือในการจัดการข้อความจะปรากฏขึ้น เช่น การใส่สีกล่องข้อความ สีตัวอักษร กำหนดรูปแบบ และขนาดตัวอักษร เป็นต้น

 2. การแทรกรูปภาพ คลิกไอคอน  จะปรากฏหน้าต่าง Insert image โดยจะสามารถแทรกรูปภาพได้จาก

- Upload คือ การอัพโหลดจากคอมพิวเตอร์

- Search คือ การค้นหารูปภาพจาก Google

- Drive คือ การแทรกรูปภาพจาก Google Drive

- Take a snapshot คือ การถ่ายรูปจากกล้อง

 - By URL คือ การแทรกรูปภาพจากลิงก์ URL

 - Your albums คือ การแทรกรูปภาพจากอัลบั้้ม

 

 การแบ่งปันไฟล์ Google Slide เพื่อใช้ร่วมกัน

Google Slides สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลายทั้งในรูปแบบการนำเสนอในชั้นเรียน กิจกรรมที่น่าสนใจ ที่นำไปประยุกต์ในการจัดกิจกรรมอภิปรายกลุ่มออนไลน์ในชั้นเรียนได้ ซึ่งสามารถกำหนดค่า การแบ่งปันให้กับบุคคลอื่น ไฟล์ที่เราแบ่งปันนั้นก็จะถูกอัพเดตตลอดเวลาได้ ดังนี้

1. เปิดสไลด์ที่ต้องการแบ่งปันใช้งานร่วมกัน จากนั้นคลิกปุ่ม Share หรือคลิกที่แถบเมนู File เลือกคำสั่ง Shareจะ ปรากฏหน้าต่าง Share with othersขึ้นมา ให้ใส่ Mail ของผู้ที่ต้องการแบ่งปัน

2. ป้อนชื่อหรืออีเมล์ที่ต้องการแบ่งปัน

3. คลิกไอคอน เพื่อกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลให้กับผู้ที่ต้องการทำงานร่วมกัน มี 3 รูปแบบดังนี้

- Can edit คือ สามารถแก้ไข ปรับปรุง ไฟล์หรือโฟลเดอร์ได้

- Can comment คือ สามารถแก้ไข ปรับปรุง ไฟล์หรือโฟลเดอร์ได้ แต่เมื่อบุคคลที่เราแบ่งปันไฟล์ให้แก้ไข ไฟล์หรือโฟลเดอร์จะเป็นการให้คำแนะนาแก่เจ้าของไฟล์

- Can view คือ สามารถดูไฟล์หรือโฟลเดอร์ได้เพียงอย่างเดียว

4. ส่งข้อความไปยังผู้รับได้ในช่อง Add a note (เพิ่มเติม)

5. คลิกปุ่ม “เสร็จสิ้น” เพื่อทำการส่ง

6. ในการแบ่งปันไฟล์เราสามารถเข้าไปตั้งค่าการแบ่งปันอื่นๆ โดยคลิกที่ Advance

 7. จะปรากฏหน้าต่าง Sharing settings สำหรับการตั้งค่าดังต่อไปนี้

1. คัดลอก link เพื่อนำไปแบ่งปัน

2. Share ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook Twitter หรือ Google+ เป็นต้น

3. ป้อนชื่อหรืออีเมล์ที่ต้องการแบ่งปัน

8. การตั้งค่าการเข้าถึงไฟล์ คลิก Change จะปรากฏหน้าต่าง Link sharing ซึ่งการตั้งค่าการแบ่งปัน มีดังนี้

- On – Public on the web (สาธารณะทางเว็บ) หมายถึง ผู้ใช้งานทุกคนสามารถค้นหาไฟล์ และโฟลเดอร์ที่ แบ่งปันนี้ได้ สามารถค้นหาเจอจากระบบค้นหาของ Google หรือระบบค้นหาจากทางอินเทอร์เน็ตได้ โดยผู้ใช้งานไม่ จำเป็นต้องมี Google Account ก็สามารถใช้งานไฟล์ หรือ โฟลเดอร์นั้นได้ ตัวเลือกนี้เหมาะสาหรับเอกสารที่ต้องการ เผยแพร่สู่สาธารณะ ไม่เป็นเอกสารที่มีความลับต้องปกปิด

- On – Anyone with the link (ทุกคนที่มีลิงค์) หมายถึง ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงไฟล์ หรือ โฟลเดอร์นี้ได้ โดยการ ได้รับลิงค์จากเจ้าของไฟล์ หรือ โฟลเดอร์ส่งให้เท่านั้น ส่วนคนอื่นที่ไม่มีลิงค์หรือไม่ได้รับลิงค์ก็ไม่สามารถเข้าถึงได้ ผู้เข้า ใช้งานไม่จำเป็นต้องมีGoogle Account ก็สามารถเข้าใช้งานได้ เพียงแค่มีลิงค์ที่ถูกต้องก็สามารถเข้าใช้ได้ ตัวเลือกนี้จึงเหมาะสำหรับการแชร์ไฟล์ หรือ โฟลเดอร์ให้เฉพาะบุคคล เช่น การส่งอีเมล์พร้อมแนบลิงค์ของไฟล์ หรือโฟลเดอร์นี้

- Off-Specific people (ผู้ใช้ที่ระบุเท่านั้น) หมายถึง ผู้ใช้ต้องมี Google Account และถูกระบุชื่อจากเจ้าของไฟล์ เท่านั้น ถึงจะเข้าใช้ได้ ตัวเลือกนี้เหมาะสำหรับเอกสารที่ต้องการแบ่งปันเฉพาะบุคคลเท่านั้น

9. เมื่อกำหนดการตั้งค่าเสร็จเรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม save เพื่อทำการบันทึก

10. หลังจากนั้นให้คลิกปุ่ม “เสร็จสิ้น” ที่หน้าต่าง sharing settings ก็เป็นอันเสร็จสิ้น

 

การสร้าง Google เอกสาร

 ซึ่ง Google Docs จะมีรูปร่างหน้าตาและการใช้งานคล้ายๆ Microsoft word

โปรแกรมจะทำการบันทึกเอกสารให้เองโดยอัตโนมัติเมื่อมีการพิมพ์ หรือ แก้ไขเอกสาร และเมื่อปิดโปรแกรมไฟล์เอกสารจะไปอยู่ใน Google Drive โดยอัตโนมัติ

การทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ การสร้างเอกสารหรือทำรายงานบน Google Docs นั้นไม่ได้แตกต่างจากการใช้งาน MS Office มากนัก ความสามารถในหลายๆ ด้านยังไม่อาจเทียบกันได้ แต่ที่ Google Docs พิเศษกว่าก็คือสามารถเข้าไปแก้ไขเอกสารจากที่ใดก็ได้ผ่านอินเทอร์เน็ต และยังสามารถแก้ไขเอกสารร่วมกับผู้อื่นได้พร้อมกันอีกด้วย ซึ่งช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย สมาชิกในกลุ่มไม่จำเป็นต้องเดินทางมานั่งทำงานร่วมกัน สามารถช่วยกันคิด ช่วยกันทำรายงานได้จากทุกสถานที่เพียงแค่นัดเวลากันล่วงหน้า หรือหากจำเป็นจริงๆ เวลาไม่ตรงกัน คนๆนั้นก็สามารถเข้ามาดูความคืบหน้าและแก้ไขในภายหลังได้เช่นกัน ซึ่งคนอื่นๆ ในกลุ่มสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ว่าใครเป็นผู้เข้ามาแก้ไขเพิ่มเติม พร้อมทั้งตรวจสอบเวลาการแก้ไขได้ด้วย รวมถึงเนื้อหาส่วนใดบ้างที่ถูกแก้ไขไป

  • การแชร์และการกำหนดสิทธิ์การใช้เอกสารร่วมกัน

การสร้างเอกสารแต่ละประเภทจะมีปุ่มการ share อยู่ / กดเมื่อต้องการแชร์เอกสาร หรือสามารถแชร์เอกสารจาก "Google drive" ก็ได้

  

ซึ่งเมื่อเพื่อนร่วมงานเข้ามาแก้ไขเอกสารร่วมกันกับเรา เราจะสามารถเห็นการทำงานของเพื่อนร่วมงานแบบเรียลไทม์

การติดตามการใช้งาน และแก้ไขเอกสารร่วมกัน: หากเราต้องการดูประวัติการแก้ไขเอกสาร สามารถทำได้โดยไปที่เมนู “File” แล้วคลิกเลือก “See revision history”

ระบบจะทำการแสดงประวัติการทำงาน และสามารถ restore กลับมาเวอร์ชันที่เราต้องการได้อีกด้วย

การดาวน์โหลดไฟล์ :หลังจากที่เราได้ทำการสร้างเอกสารบน Google Docs แล้ว หากต้องการนำไฟล์นั้นออกมา สามารถทำได้โดย คลิกเมนู “File” เลือก “Download as” แล้วเลือกชนิดของไฟล์ที่เราต้องการ

 

การสร้าง sheets (Google Sheets)

สามารถสร้างเอกสารโดยเลือกจากแม่แบบที่มีอยู่ก็ได้ (โดยเลือกแม่แบบที่ใกล้เคียงกับที่เราต้องการ แล้วเอามาแก้ไขก็ได้) หรือสร้างจากเอกสารเปล่าๆ (blank) ขึ้นมาใหม่ก็ได้ ซึ่ง Google Sheets จะมีรูปร่างหน้าตาและการใช้งานคล้ายๆ โปรแกรม Microsoft Excel ที่สามารถแทรกแผนภูมิ / ใส่สูตรการคำนวณได้

 

 

การสร้างแบบสอบถามด้วย Google Form

ความยุ่งยากในการจัดพิมพ์ทำสำเนา แจกจ่าย รวบรวม และประมวลผลแบบสอบถามหรือแบบ ประเมินต่างๆ จะหมดไป เพราะใน Google Docs มีเครื่องมือที่สามารถสร้างแบบสอบถามออนไลน์พร้อม กับแจกแบบสอบถามเหล่านั้นทาง Mail หรือจะนำขึ้น WebSite เพื่อเผยแพร่ และยังสามารถเก็บข้อมูลที่ได้มาทั้งหมดมาประมวลผลพร้อมสรุปให้ในทันที

  • เริ่มสร้าง โดย Click ที่ Google ฟอร์ม

2 หากต้องการตั้งค่าต่างๆ เพื่อความสวยงามให้เลือกที่ “การตั้งค่า”.)

3. ตั้งชื่อแบบสอบถาม ในช่อง “ฟอร์มไม่มีชื่อ”และพิมพ์คำอธิบายแบบสอบถามลงในช่องถัดลงมา (บางชุดรูปแบบจะไมแสดงภาษาไทย

ขั้นตอนการสร้างคำถาม Google Docs ได้เตรียมรูปแบบของคำตอบสำเร็จรูปให้ใช้ทั้งหมด 7 รูปแบบ ซึ่งจำเป็นต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับหัวข้อคำถามที่ตั้งไว้

 

  • การสร้างคำถามแบบให้ตอบเป็นข้อความ (Text) โดยผู้ตอบคำถามสามารถกรอกข้อความที่ไม่ยาวมากลงในช่องว่างที่เว้นไว้ให้
  • คำถามแบบให้ตอบเป็นคำบรรยาย (Paragraph Text) สำหรับให้กรอกคำอธิบาย หรือ บรรยายคำตอบที่ค่อนข้างยาว ลงไปในช่องว่างที่เว้นไว้ให้ ส่วนใหญ่จะเป็นการให้แสดงความคิดเห็น
  • คำถามแบบหลายตัวเลือก (Multiple Choice) สำหรับคำถามที่ให้เลือกตอบเพียงข้อใดข้อหนึ่งเท่านั้น
  • คำถามแบบช่องทำเครื่องหมาย (Checkboxes) เป็นคำถามที่ผู้ตอบสามารถเลือกคำตอบได้มากกว่า 1 คำตอบมีขั้นตอนการสร้างเช่นเดียวกับคำถามแบบหลายตัวเลือก
  • คำถามแบบสเกล (Scale) หัวข้อคำถามแบบให้ตอบเป็นคะแนน โดยเรียงลำดับการให้คะแนนจากมากไปหาน้อย หรือจากน้อยไปหามาก เช่น กำหนดว่าระดับคะแนนมี 1 – 5 และให้ 1 = ต้องปรับปรุงและ 5 = ดีมาก เป็นต้น
  • คำถามแบบเลือกจากรายการ (Dropdown List) ลักษณะคำถามแบบมีรายการคำตอบให้เลือก แต่สามารถเลือกได้เพียง 1 คำตอบเท่านั้น
  • คำถามแบบเส้นตาราง เป็นรูปแบบคำถามใหม่ที่ทาง Google เปิดให้ใช้งาน

การออกแบบ คือ กลุ่มที่ช่วยจัดรูปแบบการแสดงคำถาม (ไม่ได้เป็นคำถามให้ตอบ)

ส่วนหัวของส่วน – ใช้สำหรับแสดงข้อความอธิบายเพิ่มเติม หรืออธิบายก่อนตอบคำถาม

ตัวแบ่งหน้า – ใช้สำหรับแบ่งหน้าในการตอบคำถาม เมื่อมีคำถามค่อนข้างเยอะ

รูปภาพ – ใช้แสดงภาพประกอบการตอบคำถาม

วิดีโอ – ใช้แสดงวิดีโอสำหรับอธิบาย หรือตอบคำถาม

4.แยกคำถามเป็นส่วนๆ หรือแบ่งคำถามตามหัวข้อ (Section Header) โดยการใส่หัวข้อคำถามคั่นระหว่างคำถามในชุดต่างๆ แบ่งคำถามเป็นหมวดๆ เพิ่มความเข้าใจให้กับผู้ตอบคำถามว่าผู้ถามต้องการข้อมูลลักษณะไหน เช่น ข้อมูลส่วนตัว, ประสบการณ์หรือความคิดเห็น เป็นต้น

 5. ในกรณีที่ได้สร้างแบบสอบถาม หรือหัวของส่วนไปแล้วต้องการจะย้อนกลับไปปรับแก้ เลื่อนลำดับ หรือลบคำถามข้อนั้นๆ ออกไป สามารถทำได้โดยเลื่อนเมาส์ไปที่หัวข้อที่ต้องการจะแก้ไขจะปรากฏ แถบสีเหลืองอ่อนและมีไอคอนเครื่องมือปรากฏขึ้นทางขวามือ

- ถ้าจะสับเปลี่ยนลำดับให้คลิกเมาส์ค้างไว้แล้วเลื่อนคำถามหรือหัวของส่วนนั้นขึ้นหรือลง คำถามจะถูกเลื่อนสลับลำดับในทันที เมื่อปล่อยเมาส์คำถามก็จะถูกจัดเรียงลำดับใหม่ ตามที่เราเลื่อนตำแหน่งไว้

- ถ้าต้องการแก้ไขให้คลิกที่ไอคอน แก้ไข

- ถ้าต้องการทำสำเนาคำถามนั้นเพิ่ม ให้คลิกที่ไอคอนทำสำเนา

- ถ้าต้องการลบหัวข้อคำถามนั้นทิ้งเลย คลิกไอคอน “ลบ”

6. ควรเพิ่มคำขอบคุณ หรือให้กำลังใจทางบวก เมื่อตอบแบบสอบถามเสร็จ

7. ทำการบันทึกแบบสอบถาม โดยคลิกที่ปุ่ม “บันทึกแล้ว” บริเวณมุมบนขวามือ จะปรากฏ แบบสอบถามที่ทำเสร็จในหน้าหลักของ Google Docs

 

การเผยแพร่แบบสอบถาม

1. ส่งแบบสอบถามทาง Mail

2. นำแบบสอบถามไปโพสต์ตามเว็บต่างๆ เพื่อเป็นการกระจายแบบสอบถามไปยังกลุ่มเป้าหมายให้ ได้มากที่สุด ทำได้โดยการ Copy URL Address ของแบบสอบถามนั้นๆ ไป Paste ไว้ในเว็บไซต์ หรือเว็บบอร์ดต่างๆได้ ตามต้องการ

3. ฝังแบบสอบถามไว้ในหน้าเว็บ เป็นอีกหนึ่งวิธีในการกระจายแบบสอบถามไปยังหน้าเว็บไซต์หรือ blog ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะคล้ายกบการแทรกฟอร์มลงใน Mail

เนืองจาก  URL ทีได้จะมีความยาวมาก ยากต่อการจดจำและเว็บไซต์บางแห่งจำกัด จำนวนตัวอักษรเราจึงควรย่อ URL ให้สั้นลง โดยเข้าไปที่บริการย่อ URL ของ Google ได้ที่ http://goo.gl

สรุปและประมวลผลการตอบแบบสอบถาม หลังจากเราสร้างและกระจายแบบสอบถามไปยังกลุ่มเป้าหมายเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะต้องติดตามผลตอบรับที่ได้โดยข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามทุกช่องทางที่เราส่งออกไปนั้น จะถูกจัดเก็บไว้ ใน Spreadsheet โดยเราสามารถนำข้อมูลนี้ไปสร้างสรุปผลได้ทันที

4. ติดตามผลการตอบแบบสอบถามสามารถดูผลได้ทั้งแบบกราฟสรุป และแบบข้อมูลตาราง Excel เริ่มจากการกลับไปที่หน้าหลักของ Google Docs

5. ส่งออกข้อมูล เพื่อนำไปประมวลผลต่อด้วย MS Excel, SPSS, PDF หรือเว็บไซต์

หากต้องการข้อมลในลักษณะอื่นๆ เช่น PDF หรือเผยแพร่เป็นหน้าเว็บไซต์เราก็ใช้วิธีการแบบ เดียวกัน เพียงเลือกดาวน์โหลดเป็น PDF หรือ HTML เท่านั้น

หมายเลขบันทึก: 649402เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2018 16:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 สิงหาคม 2018 16:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท