สังคมศาสตร์ขั้นสูง Actor Agent Agency and Structure


สังคมศาสตร์ขั้นสูง Actor Agent Agency and Structure

                                                                                                                                     ตฤณห์ โพธิ์รักษา


Actor, Agent, Agency and Structure

  • ความหมายของ Actor (ปัจเจกผู้กระทำ), Agent(ผู้กระทำการแทน), Agency(ความสามารถกระทำการ) and Structure (โครงสร้าง)
  • ความสัมพันธ์ของ Actor (ปัจเจกผู้กระทำ), Agent(ผู้กระทำการแทน), Agency(ความสามารถกระทำการ) and Structure (โครงสร้าง)
  • การนำเรื่อง Actor (ปัจเจกผู้กระทำ), Agent(ผู้กระทำการแทน), Agency(ความสามารถกระทำการ) and Structure (โครงสร้าง) มาปรับใช้ในโครงร่างการวิจัย หรือมุมมองที่แตกต่างออกไปหลังจากได้ศึกษาเรื่องนี้

 

ความหมายของ Actor (ปัจเจกผู้กระทำ), Agent, Agency and Structure (โครงสร้าง)

Actor หมายถึงผู้กระทำ หรือผู้แสดงในสังคม ในที่นี้จะหมายถึงปัจเจกบุคคลนั่นเอง ซึ่งในโครงสร้างอันซับซ้อนทางสังคม จะมีความสัมพันธ์ระหว่าง Actor และโครงสร้าง ซึ่งในตัวของ Actor เองก็มีความซับซ้อนในตัวเองเช่นกัน เพราะ Body และ Mind เป็นส่วนหนึ่งใน Actor การจะตัดสินใจทำอะไรนั้น เกิดจาก “ความตั้งใจ(Intention)” ของ Actor ทั้งสิ้น ถึงแม้ว่า Actor จะมีหรือไม่มีความปรารถนาหรือต้องการที่จะทำสิ่งนั้นหรือไม่ก็ตาม ตัวอย่างเช่น บางคนแต่งงานทั้งๆที่ไม่อยากจะแต่ง เนื่องจากอาจโดนครอบครัว หรือสถานการณ์ต่างๆบีบบังคับเป็นต้น แต่ทุกๆการกระทำที่เกิดขึ้นนั้นจำเป็นที่จะต้องมีความตั้งใจ ดังนั้นการศึกษาสังคมวิทยาจึงแตกต่างจากการศึกษาวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างเช่น เมื่อนักเคมีที่กำลังหาทางทำความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติของน้ำเขาไม่จำเป็นต้องตั้งข้อสงสัยว่าอะตอมบางตัวของไฮโดรเจน ได้มีความตั้งใจ (Intention) ที่จะเข้าไปผูกพันกับอะตอมบางตัวของออกซิเจนเพื่อทำการผลิตสระน้ำทะเลสาบหรือมหาสมุทร หรือแม้แต่ การผสานอะตอมไฮโดรเจนเข้ากับอะตอมของออกซิเจนที่มีความแตกต่างกันเข้าด้วยกันแล้วทำให้เกิดน้ำตามมานั้นได้สร้างความหมาย (Meaning) อะไรขึ้นมา

      ความหมายของ Agent คือ ตัวแทนของผู้กระทำ เช่นในสังคมปัจจุบัน เราจะทำอะไรก็สามารถว่าจ้างให้ผู้อื่นไปทำแทนได้ กล่าวได้ว่า Agent คือ Actor กลุ่มหนึ่งนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น เราอยากหาผู้เช่าคอนโดในย่านกลางเมือง แต่เราไม่มีเวลาที่จะประชาสัมพันธ์ หรือ ไม่มีเครือข่ายที่จะบอกกล่าวต่อๆกันไป เราจึงตกลงให้ Agent ทำหน้าที่หาผู้เช่าให้แทน โดยมีส่วนต่างตอบแทน อาจเป็นค่าเช่า  1 เดือน หรืออะไรก็แล้วแต่ตามเงื่อนไขที่ตกลง Agent อาจจะเป็นการรวมตัวของ Actor ในรูปของบริษัทก็เป็นได้

          Agency มีความหมายคล้ายๆกับ Agent แต่แตกต่างกันตรงที่  Agency มี Capacity หรือ Authority ในการกระทำทางสังคมนั้นๆแทน Actor ตัวอย่างเช่นบริษัทประกัน เมื่อเราได้ตกลงทำสัญญาประกันความเสียหายของรถยนต์ เมื่อเรานำรถยนต์ที่ได้ทำสัญญาประกันภัยไว้นั้น ไปชนหรือ ประสบอุบัติเหตุ และคู่กรณีต้องการจะฟ้องร้อง ความผิดจะโอนย้ายไปยัง Agency ทันที ในที่นี้หมายถึงบริษัทประกันภัยจะเป็นตัวแทนของ Actor มีอำนาจหน้าที่และความสามารถรับผิดชอบความผิดแทน Actor ได้ และกรอบที่ใหญ่ที่สุดที่ครอบ Agency ไว้นั่นก็คือ วัฒนธรรม (Culture) เพราะในยุคก่อนๆ วัฒนธรรมทั้งหลายเกิดมาจาก ศาสนา แต่ในปัจจุบัน หรือยุค Modern culture ตัวเขียนกฎของสังคมยุคปัจจุบันคือ Right, Power, Justice, Authority and Moral

          ในอดีตนั้นในตัวศาสนา (Religion)เป็นตัวกำหนดสิ่งดีชั่ว ความถูกผิด แต่ปัจจุบันสมัยเราใช้ ความมีเหตุผล(Nationalise) ในการแบ่งแยกข้อแตกต่างนั้นๆ

 

          ความสัมพันธ์ของ Actor (ปัจเจกผู้กระทำ), Agent, Agency and Structure (โครงสร้าง)

          นักสังคมวิทยา พยายามหาทางทำความเข้าใจโลกทางสังคมซึ่งแตกต่างจากโลกเมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาแบบนักวิทยาศาสตร์ โลกทางสังคมซึ่งสมาชิกคนอื่นก็มีความเข้าใจอยู่ก่อนแล้ว “วัตถุ” ของการแสวงหาความรู้คือสิ่งที่คนทั่วไปพูดและกระทำ สิ่งที่คนทั่วไปเชื่อและปรารถนา คนทั่วไปสร้างสถาบันและมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไรแตกต่างจากวัตถุในการศึกษาของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น เคมี ฟิสิกส์ หรือชีววิทยาในแง่ที่การกระทำปฏิสัมพันธ์รวมตลอดถึงความเชื่อและความปรารถนาของคนในสังคมเป็นประเด็นหลักของโลกทางสังคมที่นักสังคมวิทยาอยากจะพิจารณาศึกษา ยิ่งไปกว่านั้นโลกทางสังคมนี้ไม่สามารถถูกลดทอนให้อยู่ภายใต้ชุดของความหมายหรือระบบอธิบายที่ถูกต้อง มีเพียงชุดเดียวได้โลกทางสังคมถูกอธิบายด้วยกรอบการให้ความหมายความเข้าใจและแบบแผนความเชื่อที่แตกต่างกันมากมายซึ่งบางครั้งก็มีความขัดแย้งกันเนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกผู้กระทำโครงสร้างของสังคมนั้นมีความซับซ้อนในตัวของตัวปัจเจกเองและในโครงสร้างเองไม่ต่างกัน

          สำนัก Structurism กล่าวว่าการสร้างโครงสร้างคือการ engage สังคมโดยการปฏิสัมพันธ์ หรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในสังคมนั้นๆ ซึ่งจะมีการ reflection ไปมา ทำให้เกิดความเข้าใจในโครงสร้าง ซึ่งก็เกิดจากการที่ Agent interact กัน Actor นั้นเป็นปัจเจกบุคคล แต่การร่วมกลุ่มของ Actor ซึ่งได้กลายเป็น Agent และ Agent นี้เองที่เป็นคนที่สร้างสังคม เมื่อมนุษย์สร้างสังคมขึ้นมาเป็นกรอบหรือแนวทางในการใช้ชีวิตร่วมกัน อย่างเป็นระบบและ ระเบียบแบบแผน ในทางกลับกันนั้น โครงสร้างที่มนุษย์เองเป็นผู้สร้างขึ้นมา ก็ครอบงำคนในสังคมเช่นกัน

          อีกตัวอย่างหนึ่งได้แก่ระบบ ทุนนิยม (Capitalist) ระบบทุนนิยมเป็นตัวควบคุม Agency และแรงงาน ความสัมพันธ์ระหว่าง ระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และความสัมพันธ์ ของอำนาจ (Power) ที่ไม่เท่ากัน สำนัก Symbolic Interaction เสนอว่า คนในสังคมนั้นมีส่วนร่วมในการออกแบบวัฒนธรรมได้ วิธีที่ปัจเจกใช้สร้างโลกของตนเองโดยมี Actor เป็นตัวหลัก

          ส่วน Phenomenology คือการศึกษา โครงสร้างของประสบการณ์ เช่นการศึกษาปริมาตรทั้งหลาย สนใจที่มาของการมีปริมาตร ไม่ใช่ตัวรูปแบบ ทรงเหลี่ยม หรือทรงกรวย

          ทฤษฎีว่าด้วยการสร้างโครงสร้าง (Structuration) สร้างโดยความสัมพันธ์ระหว่างคนหรือปัจเจกบุคคลกับโครงสร้างสะท้อนกลับไปกลับมา เนื่องจากมีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ได้  The Theory of Structuration/ Structuration Theory (ทฤษฎีการก่อตัวของโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม)[1] Durkheim เป็นนักสังคมวิทยาคลาสสิก ที่มีความสําคัญและมีอิทธิพลมากที่สุดต่อการนำเสนอทฤษฎีการก่อตัวของโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมของกิ๊ดเดนส์ (Gidden Anthony) เนื่องจากมรดกทางความคิดของ Durkheim การทำให้กิ๊ดเดนส์ ยอมรับมโนทัศน์เรื่อง “โครงสร้างทางสังคม” ในความหมายแบบเป็นทางการและเป็นนามธรรม(Formal and Abstract) อย่างมากขนาดที่มาร์กซ์ (Marx) ได้อธิบายโครงสร้างของระบบทุนนิยมโดยเชื่อมโยงกับสิ่งที่เป็นรูปธรรม เช่นโรงงานทำเครื่องจักรในการผลิต ความฟุ้งเฟ้อของชั้นนายทุน และการก่อตัวของขบวนการเคลื่อนไหวและพรรคของชนชั้นกรรมกรเป็นต้นแต่ Durkheim ได้อธิบายโครงสร้างโดยทางอ้อมมีการเปรียบเทียบกับเซลล์และอวัยวะของสิ่งมีชีวิตโครงสร้างทางสังคมถูกยึดโยงเข้าด้วยกันด้วยพันธะผูกพันทางสังคมหรือ Social Bonds ซึ่งเป็นสิ่งที่นักสังคมวิทยามองเห็นได้ในลักษณะที่เป็นนามธรรม แต่ถึงแม้ว่ากิ๊ดเดนส์จะใช้แนวศึกษาที่เปรียบเทียบโครงสร้างที่เป็นนามธรรมดังกล่าวแล้ว แต่เขาก็ได้โต้แย้งว่ามโนทัศน์เรื่อง Structure โดยตัวมันเองนั้นไม่สามารถนำมาใช้ศึกษาในสังคมวิทยาได้อีกต่อไป ควรจะศึกษาเรื่อง “คุณสมบัติของการก่อตัวของโครงสร้าง” ของปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Social interaction) ในฐานะที่คนทั่วไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของตน แต่ทฤษฎีการก่อตัวของโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมของกิ๊ดเดนส์ เริ่มต้นด้วยการสำรวจปัญหาที่ว่าปัจเจกบุคคลหรือพลังทางสังคมอย่างไหนกันแน่ที่เป็นตัวก่อรูปความจริงทางสังคม กิ๊ดเดนส์ ปฏิเสธการอธิบายแบบสุดโต่งในลักษณะทวิลักษณ์นิยมหรือ dualism หรือวิธีคิดแบบคู่ตรงข้ามโดยให้เหตุผลว่าแม้ว่ามนุษย์จะไม่มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการเลือกกระทำสิ่งต่างๆ ความรู้ของมนุษย์มีขีดจำกัด แต่พวกเขาก็สามารถเป็นผู้กระทำการหรือ Agency ซึ่งผลิตซ้ำโครงสร้างทางสังคมและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้ กิ๊ดเดนส์ ได้อธิบายว่าความเชื่อมโยงกันระหว่างโครงสร้าง (Structure) และการกระทำ (Action) เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของทฤษฎีสังคมโครงสร้างและผู้กระทำการ (Agency) จึงมีลักษณะเป็นทวิภาวะซึ่งไม่สามารถดำรงอยู่แยกออกจากกันได้

 

การนำเรื่อง Actor (ปัจเจกผู้กระทำ), Agent(ผู้กระทำการแทน), Agency(ความสามารถกระทำการ) and Structure (โครงสร้าง) มาปรับใช้ในโครงร่างการวิจัย และมุมมองที่แตกต่างออกไปหลังจากได้ศึกษาเรื่องนี้

 

Structure กับ Agency reflect ซึ่งกันและกันถ้าโยงเข้ากับระบบเศรษฐกิจซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการก่อให้เกิดอาชญากรรมจำเป็นต้องก่ออาชญากรรม structures บังคับซึ่งคนก่อตั้งโครงสร้างของสังคมก็คือกลุ่มของ Actor หรือเรียกว่า Agency อีกชื่อหนึ่งคือ Nation หรือ Stage นั่นเองทั้งสองอย่างส่งผลซึ่งกันและกันถ้า Actor สามารถหาทางออกได้ก็ไม่จำเป็นต้องกระทำความผิดซ้ำ ไม่ต้องก่ออาชญากรรม โครงสร้างทางสังคมประกอบด้วยความสัมพันธ์ของสถาบันหลายๆสถาบันมาประกอบกัน เช่นสถาบันครอบครัว สถาบันทางการเมือง โรงเรียน สถาบันทางเศรษฐกิจ สภาบันที่ควบคุมกลไกการตลาดซึ่งเชื่อมโยง กันอย่างมีนัยยะ และต้องพึ่งพาซึ่งกันและกันและถ้าโยง โครงสร้างสังคมเข้ากับระบบเศรษฐกิจซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดอาชญากรรมนั้น อาชญากรรมจึงเป็นผลของการที่โครงสร้างครอบงำ ปัจเจก  ซึ่งผู้ที่ สร้างโครงสร้างของสังคมขึ้นมานั้นก็คือกลุ่มของ Actor เช่นเดียวกันนี้ อาจจะพูดได้ว่าทั้งสองอย่างนี้ สะท้อนความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน อย่าง ทวิภาวะ หรือ Duality ซึ่งไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เป็นแบบพึ่งพาอาศัยกัน จากการที่ได้ศึกษาเรื่อง Agency และ Structure แล้วนั้น  ทำให้ผู้เขียนได้เล็งเห็นถึง ความสัมพันธ์ และความสำคัญระหว่างโครงสร้างและปัจเจกผู้กระทำ อย่างมีมิติ ที่แตกต่างออกไป ยกตัวอย่างเช่น ปัจเจกผู้กระทำความผิด มีเหตุผล ในการก่ออาชญากรรม เนื่องจากระบบเศรษฐกิจและสถานะทางสังคมที่ไม่เท่าเทียมกันหรือต่ำกว่าระดับ มาตรฐานของคนในสังคม ไม่เอื้ออำนวยต่อการหาเลี้ยงชีพหรือหาเงิน ได้อย่างสุจริต ซึ่งเงินเป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุดในระบบเศรษฐกิจ ยิ่งมีเงินมาก ก็จะสะท้อนถึงความสำเร็จ ในการประกอบ อาชีพ การทำงาน และเมื่อปัจเจกบุคคล ไม่สามารถ ทำตามวิถีทางที่สังคมตีกรอบไว้ได้ พวกเขาเหล่านั้นจึงต้องหาทางออกทางอื่นที่จะได้ผลหรือที่จะได้รับเงิน เหมือนๆกับวิธีที่สุจริต  ในขณะที่วิธีการที่ปัจเจกเลือกกระทำอาจจะเป็นวิธีการที่ขัดต่อกฎหมาย ผิดศีลธรรม หรือทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเป็นต้น ทั้งนี้ทั้งนั้น ดังที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าโครงสร้างสังคม มีความสำคัญอย่างมาก ที่ส่งผล ให้เกิดอาชญากรรมและอาจเรียกได้ว่าเป็นต้นเหตุของการเกิดอาชญากรรมเลยทีเดียว เพราะถ้าไม่มีโครงสร้างสังคมมาครอบงำ ความเป็นอยู่ของปัจเจกหรือกลุ่มของปัจเจกนั้น ปัจเจกบุคคลก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำตาม หรืออยู่ในกรอบ ของโครงสร้าง ที่ตัวกลุ่มของ Actor เองเป็นผู้สร้างขึ้นมา หากจะเปรียบเทียบ Agency ในสังคมซึ่งก็คือกลุ่มของ actor ที่มีอำนาจในการกระทำการ ก็อาจจะได้แก่ภาครัฐ ฝ่ายปกครอง ที่เป็นฝ่ายออกกฎหมาย ซึ่งกฎหมายเปรียบเสมือนโครงสร้างหรือข้อบังคับ ที่ทำให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และถ้ามีปัจเจก บุคคลกระทำผิด หรือ ขัดแย้งกับ วิถีทางที่รัฐได้สร้างกฎเอาไว้ ก็จะเรียกว่าเป็นผู้เบี่ยงเบนหรืออาชญากร และถ้าโครงสร้างไม่มีผลกระทบต่อ actor agent  หรือ agency ปัจเจกหรือกลุ่มของปัจเจก หรือแม้กระทั่งองค์กรอาชญากรรม ก็จะไม่พยายามดำรงอยู่ในโครงสร้างที่ตัวสังคมเองเป็นตัวกำหนดขึ้นมา เกียรติยศ ชื่อเสียง เงินทอง ฐานะ จะไม่มีความหมายเลย หากแต่สังคมดังกล่าวอ้างนั่นแหละที่เป็นผู้สร้างความหมายให้กับสิ่งที่เป็นนามธรรมเหล่านั้น

          และผู้ใดที่ไม่สามารถกระทำตามกระแสหลักของสังคมได้ อาจยกตัวอย่างได้เช่น ไม่สามารถมีอาชีพ สุจริตทำงาน หาเลี้ยงครอบครัวได้อย่างพอเพียง  ก็จะหาทาออกทางอื่น ซึ่งคาดหวังจะได้ผลที่เหมือนกัน หากแต่การกระทำนั้นๆเป็นที่บัญญัติไว้ในกฎหมายที่ออกโดยรัฐ หรือฝ่ายแกครอง ว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย อาจเป็นการหาเงินได้ปริมาณมากๆโดยการยักยอกเงินบริษัท การหลอกลวงผู้อื่น การลักทรัพย์ เพื่อนำไปขาย จุดประสงค์ที่อาชญากรและคนทั่วไปมีเหมือนกันก็คือการหาเลี้ยงชีพ แต่วิธีการเท่านั้นที่ต่างกัน

          ในการนำความรู้เรื่องนี้มาปรับใช้ในงานวิจัยเรื่อง “การดำเนินชีวิตของอดีตผู้ต้องขังที่มีอาชีพที่มั่นคงและไม่กระผิดซ้ำ” จะทำให้สามารถเข้าใจไปถึง สาเหตุ และความคิดในการตัดสินใจกระทำความผิดของปัจเจก ปัจเจก(Actor) บางคน ไม่ได้ทำความผิด หรือก่ออาชญากรรมเพราะตนเองอยากกระทำ แต่ปัจเจกบางคนทำหน้าที่เป็นผู้กระทำการแทน (Agent) อาจด้วยการเป็นมือปืนรับจ้าง เพื่อหาเงินมาเลี้ยงตนเองเท่านั้น ความรู้ในเรื่อง Actor และ Structure ทำให้เข้าใจการกระทำทางสังคมของปัจเจกที่มีผลสะท้อนกลับไปกลับมากับโครงสร้างได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้นยิ่งขึ้น เสมือนกับการได้ศึกษาจากระดับ Micro ไปสู่ Macro เมื่อเราสามารถมองเห็นภาพรวม เราก็จะสามารถอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่มีทั้งหมดในโครงสร้างได้ การศึกษาสังคมมีความซับซ้อนและมีความเป็น Dynamic ยิ่งถ้าศึกษาได้ลึกไปถึงต้นกำเนิดของความสัมพันธ์ ที่เกิดจากมนุษย์ หรือในงานเขียนนี้ก็คือ Actor ซึ่งเป็นส่วนย่อยที่เล็กที่สุดในสังคม ผู้ศึกษาก็จะสามารถนำแก่นของความรู้นี้เป็นตัวตั้งในการศึกษา เพื่อต่อยอดการศึกษาพัฒนาไปในเรื่องอื่นๆได้ เพราะสังคมประกอบด้วยปัจเจก ซึ่งชนิดของปัจเจกก็มีความหลากหลายแตกต่างกันไป มีความเป็น ผู้กระทำการแทน มีความเป็นผู้แทน ซึ่งจากมนุษย์สามารถปรับให้กลายไปเป็นองค์กรได้ในฐานะ ของ Agency นี่คือจุดเริ่มต้นของสิ่งที่ซับซ้อนที่สุดที่นักสังคมวิทยาจะศึกษาค้นคว้าได้

 

 

อ้างอิง

          เชษฐา พวงหัตถ์.วิธีคิดและปัญหาทางทฤษฎีในสังคมวิทยา.[ออนไลน์].2549.แหล่งที่มา:http://www.shi.or.th/download/170/[18 ธันวาคม 2560]

          เชษฐา พวงหัตถ์.วิวาทะ Structure-Agency และการหาทางออกให้กับปัญหาทวิลักษณ์นิยม: Marxism Versus Foucault .[ออนไลน์].2549.แหล่งที่มา:https://goo.gl/rG6CC4[18 ธันวาคม 2560]

          เชษฐา พวงหัตถ์.ทฤษฎีสังคมและการทำความเข้าใจสภาวะสมัยใหม่ของแอนโธนี กิ๊ดเดนส.[ออนไลน์].2551.แหล่งที่มา:http://www.shi.or.th/download/565/[18 ธันวาคม 2560]

          บทวิเคราะห์มโนทัศน์ทางสังคมวิทยา,95-165 [ออนไลน์].แหล่งที่มาhttps://goo.gl/SciSeM[18 ธันวาคม 2560]

          เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา,สิริพรรณ นกสวน และ ม.ร.ว. พฤทธิสาณ ชุมพล.คำและความคิดในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย.พิมพ์ครั้งที่3.จุฬาฯพจนานุกรม.กรุงเทพมหานคร.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2554

          John W. Meyer ,and Ronald L. Jepperson.The ‘Actors’ of Modern Society: The Cultural Construction of Social Agency[Online].2000.Available from :https://goo.gl/sTBUcU [2017,December 18]

[1] เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา,สิริพรรณ นกสวน และ ม.ร.ว. พฤทธิสาณ ชุมพล.คำและความคิดในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย.พิมพ์ครั้งที่3.จุฬาฯพจนานุกรม.กรุงเทพมหานคร.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2554

หมายเลขบันทึก: 649049เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2018 20:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 ธันวาคม 2019 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท