สุธิดา
หนูหวาน สุธิดา หวาน ยาทองไชย

พยาบาลหลังคลอดกับการช่วยทารกปากแหว่งเพดานโหว่ดูดนมจากเต้านมแม่


ทารกปากแหว่งเพดานโหว่ก็ดูดนมแม่จากเต้าได้

ฉันทำงานที่นี่มา  22 ปีแล้ว  หอผู้ป่วยหลังคลอด โรงพยาบาลศรีนครินทร์  ที่ซึ่งรับดูแลทารกแรกเกิดและแม่หลังคลอดที่คลอดปกติและทารกที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ที่ส่งตัวมาจากโรงพยาบาลอื่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  เพื่อเข้าโครงการกับศูนย์ตะวันฉายและส่งขึ้นมาฝึกให้ทารกดูดนมจากเต้าแม่ได้ให้ได้    ภาวะความพิการมีผลกระทบต่อตัวทารก บิดามารดาและครอบครัวทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ  ทางเศรษฐกิจและสังคม ทุกครั้งที่ทารกส่งเข้ามาที่หอผู้ป่วย จะมีสาย OG Tube  สำหรับให้นมทารกมาด้วยทุกครั้ง   การส่งเสริมการให้นมแม่ในทารกกลุ่มนี้มีความสำคัญเนื่องจากประโยชน์อันมากมายของนมแม่จะมีผลต่อภาวะสุขภาพของทารกทั้งในระยะสั้นและระยะ                ทารกปากแหว่งเพดานโหว่มีความลำบากในการดูดกลืน   เนื่องจากไม่สามารถทำให้เกิดสุญญากาศในปากเพื่อดูดกลืนนมอย่างปกติได้   ต้องใช้เวลาในการดูดนมนาน ทำให้เหนื่อย มีการกลืนลมเข้าไปขณะดูดและกลืน เป็นสาเหตุให้ทารกแน่นอึดอัดไม่สบายท้อง อาเจียนนมบ่อย  หลายๆโรงพยาบาลจึงต้องใส่สาย OG เพื่อเป็นช่องทางให้นมทารกหรือบางครั้งใช้ช้อนป้อนนม

                แต่ละครอบครัว รายแล้วรายเล่าที่ผ่านเข้ามา  มาด้วยสีหน้าวิตกกังวลและเต็มไปด้วยน้ำตาแห่งความผิดหวังเสียใจและสงสารลูกไม่แตกต่างกัน ทีมพยาบาลเข้าให้การพยาบาลจนครอบครัว ยอมรับได้  ยิ้มได้อย่างมีความหวังและจากที่ไม่เคยคาดคิดว่าลูกจะสามารถดูดนมจากเต้านมแม่ได้  กลายเป็นรอยยิ้มและความพยายามที่จะฝึกฝนให้นมทารกตามแนวทางการดูแล  จนทารกน้ำหนักขึ้นได้ดี  แม่มีน้ำนมเก็บเพื่อคงสภาพน้ำนมจนถึงวันผ่าตัด 

                ในฐานะพยาบาลหลังคลอดที่ได้มีโอกาสเรียนรู้การใช้ทักษะ การให้นมแม่ในทารกกลุ่มนี้ จนมีประสบการณ์ มีการถ่ายทอดความรู้และการปฏิบัติจากรุ่นสู่รุ่น พยาบาลทุกคนในหอผู้ป่วยหลังคลอดสามารถช่วยเหลือมารดาที่มารับการฝึกให้นมได้ทุกคน และภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของทีมสหสาขาวิชาชีพ  ที่สามารถช่วยให้ครอบครัวก้าวผ่านภาวะวิกฤติจากการคลอดทารกพิการโดยการเป็นจุดเริ่มต้นของการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อส่งเสริมสุขภาพให้ทารกที่มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าทารกปกติ  รอยยิ้มของแม่และครอบครัวอย่างคลายกังวลต่อปัญหาการดูดกลืนของทารก   ทำให้พยาบาลมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้าให้การพยาบาลและอยากจะถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคนิคที่ช่วยให้ทารกดูดนมแม่จากเต้าได้ ให้พยาบาลในโรงพยาบาลสามารถทำได้เช่นกัน 

หมายเลขบันทึก: 648418เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2018 11:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2018 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท