Review เรื่อง หลักสูตร HighScope


สัปดาห์หน้ามีนัดถอดบทเรียนที่น่าสนใจของศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี โดย ดร.กี(ดร.สุพัตรา  ธรรมวงษ์) ประสานมาทางพี่กุ้ง Pornthip Kanung ได้ Review เอกสาร อ.ดร.กีส่งมาให้ และมาศึกษาเพิ่มเติม น่าสนใจมาก เพราะทาง ศอ.4 ได้นำแนวคิดนี้ไปทำและขยายผลในศูนย์เด็กเล็กในพื้นที่ของเขต 4 โดยเฉพาะจังหวัดลพบุรี

ระหว่างที่ review ก็มีคำถามมากมายที่เป็นต้นทุนในการนำไปออกแบบกระบวนการถอดบทเรียน

#KMEducation
วันนี้ Review เรื่อง หลักสูตร HighScope : ... เน้น Plan+Do+Review

น่าสนใจถ้าเป็นในแง่เศรษฐศาสตร์เป็นการลงทุนในวัยเด็ก ลงทุนต่ำแต่ให้ผลสูงในระยะยาว และที่สำคัญเป็นอีกหนึ่งแนวคิดที่นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพของคน

Note::
การลงทุนในเด็กที่มีอายุน้อยกว่าจะนำไปสู่อัตราผลตอบแทนที่สูงกว่า 

HighScope -> Cognitive Skill (ทักษะทางด้านสติปัญญา) + Personality skills (ด้านบุคลิกภาพ) + Academic motivation (แรงกระตุ้นด้านวิชาการ)

Factor -> Communication , Teamwork, Self-Confidence(ความมั่นใจในตนเอง),Self-control(ความสามารถในการควบคุมตนเอง),ความมุ่งมั่นไม่ย่อท้อ(Grit)

“ ข้อสรุป 

จาก ดร.วีระชาติ กิเลนทอง https://www.pier.or.th/list_of... เขียนไว้ว่า


โดยสรุป งานวิจัยจำนวนไม่น้อยได้ชี้ให้เห็นว่า การลงทุนในเด็กปฐมวัยให้ผลตอบแทนต่อสังคมที่คุ้มค่าอย่างยิ่ง ดังนั้น ผู้วางนโยบายควรตระหนักถึงความสำคัญและจำเป็นในข้อนี้ และหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยมุ่งเน้นไปที่การศึกษาระดับปฐมวัยที่มีคุณภาพที่ส่งเสริมทั้งทักษะด้านสติปัญญา (cognitive skills) และทักษะด้านบุคลิกภาพ (personality or character skills) รวมไปถึงนโยบายที่ส่งเสริมการอบรมเลี้ยงดูบุตรที่มีคุณภาพ (Heckman, 2013) ยิ่งไปกว่านั้น กราฟในรูปภาพที่ 1 ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า ทรัพยากรที่ภาครัฐจัดสรรเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ให้กับประชากรของชาติควรเป็นส่วนกลับกับอายุของผู้รับ กล่าวคือ งบประมาณต่อหัวของเด็กแรกเกิดจนถึงช่วงปฐมวัยควรจะสูงกว่างบประมาณของผู้เรียนระดับอุดมศึกษา เนื่องจากช่วงที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดคือช่วงที่อายุน้อยที่สุด
อย่างไรก็ตาม เรายังขาดองค์ความรู้ที่จะช่วยให้สามารถกำหนดรูปแบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพสูงสุดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย งานวิจัยส่วนใหญ่เป็นการศึกษาโครงการที่ดำเนินการในประเทศที่พัฒนาแล้ว เพราะเป็นโครงการที่มีข้อมูลเพียงพอที่จะวิเคราะห์ให้เกิดองค์ความรู้ได้ ในขณะที่โครงการพัฒนาในประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ไม่มีการเก็บข้อมูลที่เป็นระบบ หรือไม่มีรายละเอียดเพียงพอที่จะช่วยให้นักวิจัยสามารถวิเคราะห์องค์ความรู้จากกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้วได้ดีเท่าที่ควร ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้กำหนดนโยบายจะเข้าใจถึงความสำคัญของการทำวิจัยซึ่งต้องอาศัยข้อมูลที่ดีจากงานวิจัยที่มีคุณภาพ ควบคู่ไปกับการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับเด็กปฐมวัย เพื่อให้ประเทศไทยมีองค์ความรู้ที่จะช่วยให้สามารถวางนโยบายเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป”ที่มา https://www.pier.or.th/?post_t...

ตัวอย่างการจัดการการเรียนรู้::

คำสำคัญ (Tags): #km#HighScope
หมายเลขบันทึก: 646486เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2018 12:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2018 12:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท