เรียนรู้ Team- based learning


เรียนรู้ Team- based learning 

วันที่ 27 มีนาคม 2561

ณ ห้องประชุมทิพยวรรณ นิลทยา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

วิทยากร รศ.ดร.วันดี สุทธรังษี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Active learning คือ กระบวนการที่ทำให้นักศึกษาบรรลุให้ได้ เกิดเมื่อเขามีเวลาในการพัฒนาตนเอง เป็นคนคิด หน้าที่ครูเป็น facilitator encourage การเข้าใจลึกซึ้งมากกว่าและ ใช้resource ที่มี ในครั้งนี้เรียนรู้ Team- based learning  สามารถตกผลึกการเรียนรู้จากกิจกรรม ในชั้นเรียน ดังนี้

กิจกรรม

การสะท้อนคิด

อาจารย์แบ่งกลุ่มแบบสุ่มโดยใช้โปรแกรม

ทำให้ได้เรียนรู้ว่าการใช้โปรแกรมดังกล่าวเหมาะกับนักศึกษาในปัจจุบันเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สร้างความทันสมัย แทนวิธีที่เคยใช้กันอยู่ เช่น การนับ การแบ่งกลุ่มตามความชอบ

ตื่นเต้นและลุ้นว่าตนเองจะได้อยู่กลุ่มร่วมกับใคร

เมื่อผลออกมาพบว่า มีการกระจายของผู้เรียน ในกลุ่มมีความแตกต่างของผู้เรียนทั้งในเรื่อง อายุ ตำแหน่ง เป็นต้น

การเข้ากลุ่ม ส่งรอยยิ้มให้กัน ทำให้ต้องมีการปรับตัว มีโอกาสปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันละกันมากขึ้นในกลุ่มของอาจารย์ บรรลุ TQF การสร้างสัมพันธภาพ

ซึ่งหากไปทำการสอนอาจต้องออกแบบเครื่องมือวัดในส่วนนี้

ทำแบบทดสอบก่อนเรียนรายบุคคล

แบบทดสอบปรนัยภาษาอังกฤษ สร้างความตื่นเต้นพร้อมความพยายามในการอ่านข้อคำถามและคำตอบ เหมือนกับวัดผลการเรียนรู้(ELO)ด้านการใช้ภาษาอังกฤษ

อาจารย์แจกแผ่นขูดให้กลุ่มละ 1 แผน จากนั้นให้หาคำตอบโดยผ่านการแลกเปลี่ยนในกลุ่มและหาข้อตกลงร่วมกัน

โดยคำตอบมี 4 ตัวเลือก เมื่อสมาชิกกลุ่มตกลงว่าเป็นข้อไหนให้ใช้เหรียญขูดดูเฉลยคำตอบจากแผ่นกระดาษขูดที่อาจารย์แจกให้

หากตอบถูกในครั้งที่ 1ได้ 4 คะแนน

หากตอบถูกในครั้งที่ 2ได้ 2 คะแนน

หากตอบถูกในครั้งที่ 3ได้ 1 คะแนน

หากตอบถูกไม่ถูก ได้ 0 คะแนน

เห็นfeedbackทันที เกิดcollaborative classroom เป็นการตรวจสอบคำตอบจากการทำแบบทดสอบได้ทันท่วงที

เกิดบรรยากาศของความแตกต่างในการทำงานแต่ละกลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ทำเสร็จเร็วในระยะเวลาที่กำหนด มีวิธีคิด คือ ดูจากผลการตอบของสมาชิกกลุ่มได้คะแนนน้อยที่สุด เพราะความมุ่งมั่นในการรักษาเวลา

กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุดมีการแปลโดยผู้เชี่ยวชาญในกลุ่ม มีการค้นคว้าเพิ่มเติมจากสื่อออนไลน์ มีการแลกเปลี่ยนความคอดเห็นระหว่างสมาชิกในกลุ่ม

อาจารย์สอบถามผลคำตอบของแต่ละกลุ่ม และถามความสำเร็จในวิธีการทำงานของแต่ละกลุ่ม และอธิบายในสิ่งที่ผู้เรียนสงสัย โดยการมีส่วร่วมแสดงความคิดเห็นของผู้เรียน

เป็นการสะท้อนให้เห็นการทำงานกลุ่มที่มีความแตกต่างกัน การเลือกใช้วิธีที่ต่างกันทำให้ผลงานของกลุ่มแตกต่างกัน หรืออาจจะมีผลกระทบเรื่องของความเชี่ยวชาญในการแปลภาษาอังกฤษเป็นตัวแปรด้วย

ซึ่งในเวลาที่นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ต้องดูที่ ELO ว่ากิจกรรมดังกล่าวมุ่งเน้นอะไร ความเร็ว ผลของคำตอบ บรรยากาศของการมีปฏิสัมพันธ์ในกลุ่ม กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การค้นคว้าเพิ่ทเติม ใช้สื่อออนไลน์ เป็นต้น

Team- based learning  ต่างกับ Team Teaching Team- based learning  1979 ขณะสอนทำอย่างไรให้เกิดความรู้ร่วมกัน เป็นstudy of form ของsmall group learning ทำทั้งรายวิชา หรือ apply Team- based learning  ในบางหัวเรื่อง

อาจารย์บรรยายโดยใช้ PPT

บรรยายเนื้อหาพร้อมกับการแสดงความคิดเห็นของผู้เรียน ดังนี้

Team- based learning เป็น การเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพโดยนักศึกษาสามารถ integrated concept ครอบคลุมกับสิ่งต้องการสอน และได้ค้นคว้า ต้องสามารถ create ได้ ผ่านการคิดการสังเคราะห์ ประเมินอย่างต่อเนื่อง ตามโครงร่างที่ครูวางแผนไว้

เด็กต้องprepare out of classจุดต่างกับ Problem  based learning  Team- based learning  เป็นประเภทหนึ่งของflipped classroom เรียนจากบ้านมาทำงานในห้องเรียน การบรรยายจะลดลงเกิดactivityมากขึ้น

TBL ทำให้นักศึกษาเกิด high motivation ขั้นตอน ทั้งรายวิชา ฟรือสามารถจัดเป็นช่วงๆ ต้อง provide concept 5-7 ชม. TBL ขึ้นกับconcept ต้องใช้เวลาในการเตรียมมากกว่าการสอนแบบธรรมดา เช่น เตรียมข้อสอบ ขั้นตอน TBL 1.pre class Individual study อาจให้ นศ อ่าน Paper VDO ที่ครูมอบหมายนอกเวลาก่อนเข้าชั้นเรียน ประเมินความพร้อม 20-30%เช่นทำข้อสอบเดี่ยว  ทำข้อสอบ2ชุด Individual test เป็นปรนัยclose book 2.เข้ากลุ่ม In mediate feedback

assessment toolขูดกระดาษ กระตุ้นความอยากเรียนโดยอัตโนมัติ

เปิดโอกาสให้ นักศึกษา appealโต้ระหว่างครูกับศิษย์ ต้องมาrereadทบทวน อ่าน ครูอธิบายสรุปประเด็น ต่อจากนั้น มีโจทย์ใหม่ลองapply หัวใจสำคัญเด็กต้องอ่านมาก่อนหนึ่ง สัปดาห์ต้องมีแผนการเรียน อาจใช้เป็นคะแนนเก็บเพื่อให้พัฒนาปรับปรุงตัวเอง Applyการเอาcaseใหม่มาใช้หรือสามารถออกข้อสอบapplication สามารถบูรณาการ Individual test

ให้ทีมคุยcaseว่าจะได้คำตอบอย่างไร

อาจารย์สรุปข้อสังเกต

 

สรุปวิธีการ

1 กระจายเด็กในแต่ละกลุ่ม

2 ทุกคนต้องรับผิดชอบเรียนรู้มาก่อน ต้องเตรียมงาน เนื้อหาให้เด็กได้อ่าน หนึ่ง สป.ก่อนถึง ชม สอนต้องให้เขาเห็นความสำคัญ 

3 กระตุ้นสร้างความรู้สึกร่วมในการทำงานเป็นทีม 

 4 รู้ข้อมูลป้อนกลับอย่างทันควัน

แบ่งสัดส่วนประเด็นสำคัญ สลับด้วยteam base3hrs. เช่นสูติ ระยะก่อนคลอดแล้วteam base สร้าง reading test ออกapplicationและแนวทางประเมิน

การออกแบบ 1.ต้องมีLO 2.ใช้เวลาเท่าไร 3.ความรู้อะไรที่ นร.จะเชื่อมโยง 4.แบ่งกี่กลุ่ม 5.แบ่งกลุ่มอย่างไรให้มีการกระจาย 6. Individual test ใช้เวลาเท่าไร 7. Group Assessment  test ใช่เวลาเท่าไร 8.จากLOอาจแบ่งเป็นคำถามย่อยๆ

 

สรุป เป็นการเรียนรู้ที่มีคุณค่าน่าสนใจเนื่องจากวิทยากรสาธิตพร้อมกับการสอนเนื้อหา ได้ทั้งเนื้อหา วิธีการและซึมซับบรรยากาศของการเป็นผู้เรียนว่าได้เกิดการพัฒนาทั้งการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ โดยการมีส่วนร่วมของกลุ่ม ได้ความสนิทสนมสร้างความสามัคคี ที่ทุกคนช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

หมายเลขบันทึก: 646098เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2018 11:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2018 11:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น่าสนใจมากเลยครับ

กำลังทำ Active learning อยู่ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท