วิจารณ์นวนิยายเรื่อง คำพิพากษา


ไอ้ฟัก

บทวิเคราะห์ วิจารณ์วรรณกรรมเรื่องสั้น เรื่อง คำพิพากษา ใคร ฆ่า ฟัก...? โดย อนุภาพ วงศ์แปลก

วิเคราะห์ส่วนที่ ๑                         ผู้วิจารณ์มีการเกริ่นนำบทวิจารณ์โดยมีการกล่าวถึงที่มาของเรื่องว่าเป็นนวนิยายรางวัล      ซีไรต์ ประจำปี ๒๕๒๕ ซึ่งเป็นผลงานของ ชาติ กอบจิตติ และนวนิยายเรื่องนี้ตีพิมพ์ซ้ำมากกว่าห้าสิบครั้งและยังมีการแปลเป็นภาษาต่างประเทศอีกหลายภาษา ได้แก่ อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย เยอรมัน ฝรั่งเศส และยังมีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์ จึงทำให้นวนิยายเรื่องนี้น่าติดตามมากยิ่งขึ้น                                 ในส่วนของเรื่องที่ผู้วิจารณ์นำมาวิจารณ์นั้นน่าจะมาจากความน่าสนใจของด้านเนื้อหาของเรื่องที่เป็นเรื่องราวชีวิตของฟัก ที่ถูกกล่าวหาจากชาวบ้านว่าได้แม่เลี้ยงเป็นเมียจึงนำไปสู่การเกิดโศกนาฏกรรมในตำบลเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง ซึ่งในส่วนนี้น่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้วิจารณ์นั้นนำนวนิยายเรื่องนี้มาวิจารณ์ และพูดถึงประเด็นที่นำมาวิจารณ์ให้ได้เห็นในบทวิจารณ์เรื่องนี้                                 ผู้วิจารณ์เขียนให้ผู้ที่อ่านบทวิจารณ์สามารถเข้าใจถึงประเด็นสำคัญของเรื่อง ได้อย่างละเอียดและชัดเจน

วิเคราะห์ส่วนที่ ๒                         ผู้วิจารณ์มีการเล่าเรื่องย่อได้เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน ความยาวของเรื่องย่อมีขนาดที่พอดีไม่ยาวเกินไป ทำให้ผู้อ่านไม่เกิดความเบื่อหน่ายที่อ่านบทวิจารณ์และใช้เวลาในการอ่านไม่นาน ผู้วิจารณ์เล่าเรื่องราวที่ต้นนำมาวิจารณ์ได้เป็นอย่างดีทำให้เห็นถึงความเป็นไปของตัวละครในเรื่องได้เป็นอย่างดี                                 ผู้วิจารณ์ได้อธิบายถึงสาเหตุและปัญหาที่เกิดขึ้นในเรื่องได้อย่างละเอียดทำให้เห็นว่าเพราะเหตุใดที่ทำให้ตัวละครต้องพบกับปัญหาอยู่ตลอด และในเรื่องนั้นมีการผู้ปมในลักษณะใด และในเรื่องนั้นมีการคลายปมของเรื่องทั้งหมดในลักษณะใด ซึ่งทั้งหมดผู้วิจารณ์ก็ได้วิจารณ์งานเขียนชิ้นนี้ไว้เป็นอย่างดี

 วิเคราะห์ส่วนที่ ๓                                 ในส่วนหัวข้อของงานวิจารณ์ชิ้นนี้นั้น ผู้วิจารณ์ใช้ชื่อหัวข้องได้น่าสนใจเป็นอย่างงยิ่ง ซึ่งผู้วิจารณ์เองใช้ชื่อหัวข้อเรื่องวิจารณ์ว่า  “ใคร ฆ่า ฟัก”  จะเห็นได้ว่าเพียงแค่ชื่อหัวข้อก็สามารถดึงดูดความสนใจของผู้อ่านและผู้ที่สนใจได้เป็นอย่างดี  สิ่งที่ทำให้ผู้แต่งตั้งชื่อหัวข้อวิจารณ์ชื่อนี้ น่าจะมาจากส่วนของเนื้อเรื่องที่กล่าวถึง การที่ตัวละครเอกของเรื่องเป็นคนที่สังคมตราน่าว่าได้แม่เลี้ยงเป็นเมีย  ซึ่งก็ไม่เป็นความจริงอย่างที่ถูกกล่าวหาแต่คนในสังคมก็ไม่ยอมรับฟังความจริงและยังกล่าวหาอย่างเลือดเย็น  จนเป็นสาเหตุที่ทำให้ชายคนนี้ซึ่งเป็นตัวละครเอกกลายเป็นคนติดเหล้า และยิ่งทำให้คนในหมู่บ้านมองว่าไม่ดีไปกว่าเดิม ทำให้สภาพกายและสภาพจิตใจย่ำแย่ยิ่งกว่าเดิม และเหตูการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเขาก็ทำให้เขาต้องตายอย่างทรมาน

                                ผู้วิจารณ์ได้เลือกใช้แนวทฤษฎีการวิจารณ์ของ A.L. Richards มาเป็นแนวทางในการวิจารณ์งานวรรณกรรมนวนิยายเรื่องนี้ โดยมีการเรียงลำดับขั้นตอนการวิจารณ์ไว้อย่างเป็นสัดส่วน และวิจารณ์เป็นประเด็น ทำให้ผู้อ่านงานวิจารณ์นั้นอ่านได้อย่างเข้าใจและไม่สับสน                                 ในส่วนของงานวิจารณ์ของผู้วิจารณ์ในเรื่องนี้นั้น ตัวผู้วิจารณ์สะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมที่คนส่วนใหญ่ในสังคมมีความเห็นแก่ตัว และมองเห็นปัญหาของผู้อื่นเป็นเรื่องที่น่าอับอาย และไม่ทำตัวสวนกระแสสังคม เพื่อความอยู่รอดของตัวเอง โดยที่ไม่สนใจว่าเรื่องที่รู้มาจะ จริงหรือไม่จริง เพราะมนุษย์เป็นสัตย์สังคม

หมายเลขบันทึก: 645848เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2018 11:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มีนาคม 2018 11:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท