แนวทาง 5 ประการในการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ (The Five Disciplines)


กฎ 5 ข้อ สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ --> The Five Disciplines
     องค์กรแห่งการเรียนรู้ เกิดจากการเรียนรู้ของบุคคลในองค์กร กล่าวคือ บุคคลเป็นผู้สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้นั่นเอง 
      Peter Senge ได้เสนอแนวความคิดของการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ด้วยกรอบความรู้ 5 สาขา วิชาการ ที่เรียกว่า The five disciplines ซึ่งจะเป็นแนวทางหลักในการสร้างองค์การการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น The five disciplines หรือแนวทางสำคัญ 5 ประการที่จะผลักดันและสนับสนุนให้เกิดองค์การแห่งการเรียนรู้ขึ้นประกอบด้วย
  • การใฝ่เรียนใฝ่รู้ของสมาชิกในองค์กร (Personal Mastery)
           คือลักษณะการเรียนรู้ของคนในองค์การซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงการเรียนรู้ขององค์การได้สมาชิกขององค์การ ที่เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้นั้น จะมีลักษณะสนใจและใฝ่หาที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอมีความปรารถนาที่จะเรียนรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพ ของตน มุ่งสู่จุดหมาย และความสำเร็จที่ได้กำหนดไว้
  • ความมีสติ หรือ มีแบบจำลองความคิด (Mental Model)
            คือ แบบแผนทางจิตสำนึกของคนในองค์การซึ่งจะต้องสะท้อนถึงพฤติกรรมของคนในองค์การองค์การแห่งการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้เมื่อ สมาชิกในองค์การมีแบบแผนทางจิตสำนึกหรือความมีสติที่เอื้อต่อการสะท้อนภาพที่ถูกต้องชัดเจน และมีการจำแนกแยกแยะโดยมุ่งหวังที่จะปรับปรุงความถูกต้องในการมองโลกและปรกกฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นรวมทั้งการทำความเข้าใจในวิธีการที่จะสร้างความกระจ่างชัด เพื่อการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องหรือมีวิธีการที่จะตอบสนองความเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏอยู่ได้อย่างเหมาะสม มี Mental Ability ไม่ผันแปรเรรวนหรือท้อถอยเมื่อเผชิญกับวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ซึ่งการที่จะปรับ Mental model ของคนในองค์การให้เป็นไปในทางที่ถูกต้องอาจจะใช้หลักกการของศาสนาพุทธ ในการฝึกสติรักษาศีล และดำรงตนอยู่ในธรรมะ
  • การมีวิสัยทัศน์ร่วมกันของคนในองค์การ
    (Shared Vision)
            คือ การมีวิสัยทัศน์ร่วมกันของคนทั้งองค์การองค์การแห่งการเรียนรู้จะต้องเป็นองค์การที่สมาชิกทุกคนได้รับการ พัฒนาวิสัยทัศน์ของตนให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์รวมขององค์การซึ่งจะสนับสนุนให้เกิดการรวมพลังของสมาชิกที่คาดหวังต่อความเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าต่อไปภายใต้จุดมุ่งหมายเดียวกันของคนทั้งองค์การ

  • การเรียนรู้เป็นทีม ( Team Learning )
             คือ การเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกในองค์การโดยอาศัยความรู้และความคิดของสมาชิกในการแลกเปลี่ยน และพัฒนาความฉลาดรอบรู้และความสามารถของทีมให้บังเกิดผลยิ่งขึ้น เรียกว่า การอาศัยความสามารถของสมาชิกแต่ละบุคคล องค์การแห่งการเรียนรู้จะเกิดได้เมื่อมีการรวมพลังของกลุ่มต่าง ๆ ภายในองค์การเป็นการรวมตัวของทีมงานที่มีประสิทธิภาพ สูงซึ่งเกิดจากการที่สมาชิกในทีมมีการเรียนรู้ร่วมกันมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์กันอย่างต่อเนื่องและ สม่ำเสมอ

  • การคิดอย่างเป็นระบบของคนในองค์การ
    (Systems Thinking)
             
              คือ กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ เป็นกระบวนการในการหาความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเห็นแบบแผน เห็นขั้นตอนของการพัฒนา คือ เห็นทั้งป่า และเห็นต้นไม้แต่ละต้นด้วย (See Wholes instead of part, See the forest and the trees)

               จากหลักการทั้ง 5 ข้อในข้างต้น สามารถสรุปลักษณะของผู้ที่จะรอบรู้ ได้นั้น ต้องมีลักษณะดังนี้ คือ เปิดใจกว้าง และรักความก้าวหน้า คนที่ใจกว้าง จะยอมรับได้ว่าตนมีความรู้ความสามารถเพียงใด เมื่อเปรียบเทียบกับผู้อื่น จะยอมรับในความสามารถของผู้อื่น ยอมรับฟัง ข้อเสนอแนะต่างๆที่เป็นประโยชน์ และปฏิบัติตามเทคนิควิธีการต่างๆ อย่างเต็มใจ การรักความก้าวหน้า ทำให้อยากพัฒนาตนให้เท่าเทียมคนอื่น ก็จะเข้าไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้อื่นได้โดยง่าย จึงส่งผลให้ กลายเป็นผู้รอบรู้ ในที่สุด


    อ้างอิงจาก http://www.fridaycollege.org/blog.php?&obj=blog.view(97)&PHPSESSID=8ae6d9

คำสำคัญ (Tags): #the#five#disciplines
หมายเลขบันทึก: 64492เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2006 19:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ผมว่า Fifth Disciplines ของ Peter Senge เนี่ยจริง ๆ คือ วินัยข้อที่ 5 ไม่ใช่ วินัย 5 ข้อ นะครับ แล้วคนไทยเราแปลเพี้ยนจากความต้องการนำเสนอของ  Senge นะครับ เราน่าจะลองหาจากต้นฉบับดู เด๋วใครต้องการ original source กับการแปลในแนวของผมจะเอามาลงให้ในบล๊อกหน้านะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท