ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช


ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช

1. ดิน 
2. น้ำ
3. อากาศ
4. แสง
5. อุณหภูมิ 
6 .ธาตุอาหาร
7. โรคและแมลง 
8. การตัดแต่ง 
9. ตำแหน่งที่ปลูก 
10. สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่อยู่ร่วมกับพืช

----------

1. ดิน 
- ช่วยพยุงลำต้น 
- เป็นแหล่งให้น้ำให้อากาศตลอดจนแร่ธาตุต่าง ๆ 
- ควรมีความหนาแน่นและความละเอียดของเนื้อดินพอเหมาะในการยึดต้นไม้ 
- มีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศและเก็บความชื้นได้ดี 
- มีธาตุอาหารเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช 
- ควรมีค่าความเป็นกรด-ด่าง ประมาณ 6.5-7.0 
- ปราศจากสารพิษและศัตรูพืชต่างๆ 
- ดินสำหรับใส่ในภาชนะปลูก ควรมีน้ำหนักเบา หาได้ง่ายและราคาถูก 
2. น้ำ 
- ทำให้เซลล์พืชเต่งตัว ช่วยในการเคลื่อนย้ายสารต่าง ๆ ภายในพืช และยังเป็นตัวการสำคัญในการรักษาอุณหภูมิให้คงที่ภายในต้นพืช
- ช่วยละลายแร่ธาตุอาหารในดิน เพื่อให้รากดูดอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของลำต้นได้ 
- พันธุ์ไม้แต่ละชนิดต้องการน้ำในปริมาณที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับขนาดและอายุของพืช 
- ถ้าอากาศแห้ง พืชจะคายน้ำมากขึ้น ทำให้พืชต้องการน้ำเพิ่มมากขึ้น
- ในพืชสดจะมีน้ำอยู่ประมาณร้อยละ 75-92 
3. อากาศ
- ในบรรยากาศ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยก๊าซไนโตรเจน ( ร้อยละ 78) ก๊าซออกซิเจน ( ร้อยละ 20.96) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ( ร้อยละ 0.03) ไอน้ำและก๊าซเฉื่อยต่าง ๆ 
- พืชตระกูลถั่ว มีจุลินทรีย์ที่ปมของราก ที่สามารถเป็นตัวใช้ก๊าซไนโตรเจนได้ 
- ก๊าซออกซิเจนในอากาศจำเป็นต่อการหายใจของพืช 
- ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ พืชใช้เป็นวัตถุดิบร่วมกับน้ำในกระบวนการสังเคราะห์แสง 
- อากาศในดินที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืชควรเป็นดินที่ประกอบด้วยส่วนที่เป็นของแข็งร้อยละ 50 โดยปริมาตร และส่วนที่ไม่ใช่ของแข็งร้อยละ 50 โดยปริมาตร ซึ่งประกอบด้วยน้ำร้อยละ 25 และอากาศร้อยละ 25 โดยปริมาตร
- อากาศในดินส่วนใหญ่ประกอบด้วยก๊าซชนิดต่าง ๆ เช่นเดียวกับอากาศในบรรยากาศคือ ก๊าซไนโตรเจน ( ร้อยละ 78 โดยปริมาตร ) ออกซิเจน ( ร้อยละ 1-20 โดยปริมาตร ) และคาร์บอนไดออกไซด์ ( ร้อยละ 1-15 โดยปริมาตร ) 
- ก๊าซออกซิเจนในดินช่วยในการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของราก ทำให้พืชมีพื้นที่ผิวในการดูดน้ำและอาหารมากขึ้น 
- ก๊าซออกซิเจนยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดสารพิษบางอย่างขึ้นกับพืช เช่น ก๊าซมีเทนซึ่งเกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของอินทรียวัตถุในดินในสภาพที่มีออกซิเจนไม่เพียงพอ ส่วนไอออนของเหล็ก(Fe+2) และมังกานีส (Mn+2)  ที่เกิดขึ้นในสภาพที่ขาดออกซิเจนและสามารถละลายได้ง่ายอาจเป็นพิษต่อพืชได้ หากพืชดูดเข้าไปเป็นปริมาณมาก
- ควรทำให้ดินโปร่งร่วนซุยอยู่เสมอ เพื่อให้อาหารที่อยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดดินมีการถ่ายเทได้
- อากาศในดินมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชมาก เพราะรากพืชต้องการ แก๊สออกซิเจนในการหายใจ
4. แสง
- มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตของต้นพืชนับตั้งแต่เมล็ดเริ่มงอก การสร้างฮอร์โมนในพืช การสร้างเม็ดสี ตลอดจนการออกดอกผลและอื่น ๆ 
- พืชบางชนิดจะออกดอกเมื่อได้รับแสงสว่างเพียงพอ
- พืชต้องการแสงเพื่อนำไปใช้ในขบวนการสังเคราะห์แสง 
- พืชแต่ละชนิดต้องการความเข้มของแสงไม่เท่ากัน 
- ชนิดของแสงสีต่าง ๆ อาจมีผลต่อประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสงของพืชแตกต่างกัน 
- แสงสีแดง น้ำเงิน เขียวและเหลืองเป็นแสงที่มีประสิทธิภาพสูง เหมาะสำหรับกระบวนการสังเคราะห์แสง 
- แสงสีม่วงจะมีประสิทธิภาพในกระบวนการสังเคราะห์แสงต่ำมาก 
- พืชแต่ละชนิดมีความต้องการความเข้มของแสงแตกต่างกันไป 
- พืชที่ชอบร่มเงา ถ้าได้รับความเข้มของแสงมากอาจเป็นโทษ ทำให้ใบเหลือง แคระแกรน 
- พืชที่ชอบแสง เช่น พืชไร่ พืชสวนทั่วไปจะต้องการความเข้มของแสงมาก
5. อุณหภูมิ 
- ที่เหมาะสมต่อการเจริญของพืชอยู่ในช่วง 15-40 องศาเซลเซียส
- มีผลต่อการหายใจของพืช พืชจะหายใจช้าเมื่ออุณหภูมิต่ำ และหายใจเร็วเมื่ออุณหภูมิสูง ในกรณีที่อุณหภูมิสูงเกินไปพืชจะหายใจเร็วซึ่งจะเป็นผลให้พืชมีการใช้อาหารมากกว่าการสร้างอาหารจากกระบวนการสังเคราะห์แสง ทำให้พืชเจริญเติบโตช้าหรืออาจตายได้ 
- การสะสมคาร์โบไฮเดรตในต้น ใบและรากพืชจะลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น เนื่องจากพืชจะหายใจเร็วทำให้มีการใช้คาร์โบไฮเดรตมากจึงมีคาร์โบไฮเดรตเหลืออยู่น้อย
- การเคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบไปยังรากจะเกิดได้เร็วที่อุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิจะมีอิทธิพลต่อการดูดน้ำและธาตุอาหารพืชมากในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ แต่จะมีอิทธิพลต่อการดูดน้ำและธาตุอาหารพืชน้อยในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง
- การควบคุมไม่ให้อุณหภูมิของดินมีการเปลี่ยนแปลงมากเกินไปทำได้ 2 วิธีคือ การปลูกพืชคลุมดิน และการ
 ใช้วัสดุคลุมดิน
6 .ธาตุอาหาร
- พืชจะได้รับอาหารธาตุเหล่าส่วนใหญ่มาจากดิน 
- ธาตุอาหารที่พืชต้องการเป็นธาตุอาหารหลัก คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม และธาตุอาหารที่ต้องการรองลงมา เรียกว่า ธาตุอาหารรอง ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม และกำมะถัน
- ธาตุอาหารเหล่านี้จะต้องอยู่ในรูปสารละลายที่พืชนำไปใช้ได้ และต้องมีปริมาณที่พอเหมาะ
7. โรคและแมลง 
 - โรคที่เกิดกับพืชมีทั้งโรคที่เกิดจากเชื้อรา แบคทีเรีย 
- ส่วนแมลงนั้นมีมากมายหลายชนิด เช่น เพลี้ยหนอนต่าง ๆ 
- การป้องกันกำจัดโรคและแมลง จะช่วยให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดี
8. การตัดแต่ง 
- จะช่วยในการกำหนดรูปทรงของพืชให้เหมาะสม เช่น เป็นการตัดกิ่งที่ไม่ต้องการ ไม่มีประโยชน์ หรือเป็นโรคทิ้ง เป็นต้น
9. ตำแหน่งที่ปลูก 
- การเลือกสถานที่ที่จะปลูกพืชนั้น ๆ ให้เหมาะสมกับชนิดของพืชแต่ละชนิด จะทำให้พืชมีการเจริญเติบโตได้ดี เช่น พืชเมืองหนาว ถ้าปลูกในที่สูง จะมีการเจริญเติบโตได้ดี เป็นต้น
10. สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่อยู่ร่วมกับพืช 
- ชนิดที่เป็นโทษ ได้แก่ เชื้อโรคที่ทำลายพืช แมลงที่กินใบ ต้น ดูดน้ำเลี้ยงและเป็นพาหะของโรค วัชพืชที่แย่งน้ำ อาหาร อากาศจากพืชปลูก และเป็นแหล่งสะสมโรคแมลง
- ชนิดที่เป็นประโยชน์ ได้แก่ ไส้เดิอนดิน จุลินทรีย์บางชนิด เป็นต้น
- ควรรักษาชนิดที่เป็นประโยชน์ไว้ เช่น ไม่ใช่สารเคมีลงดินอันจะเป็นอันตรายแก่สิ่งมีชีวิตเหล่านั้น เป็นต้น

...

หมายเลขบันทึก: 644375เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2018 12:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2018 14:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท