ธรรมรัต
พระมหา ธรรมรัต อริยธมฺโม ยศขุน

อักษรภาษาสันสกฤต


บทเริ่มต้นของการเรียนภาษาใดๆ มักจะเป็นเรื่องของอักษร    คำว่าอักษร (ภาษาบาลีใช้ว่า อักขร, อกฺขร) ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงตัวหนังสือแต่หมายถึง เสียงในภาษา ซึ่งในที่นี้หมายถึง สระ และพยัญชนะ. โดยทั่วไปถือว่า สระมาก่อน พยัญชนะมาทีหลัง

*อักษร (อกฺษร) ในภาษาสันสกฤตมีหลายความหมาย อาจหมายถึง พยางค์ เสียง สระ หรืออื่นๆ ก็ได้ ในที่นี้หมายถึงเสียงสระและเสียงพยัญชนะ แต่เราไม่สามารถนำเสียงมาให้ปรากฏตัวได้ จึงแทนด้วยตัวเขียน ซึ่งใน “ภาษาไทย” เรียกว่า ตัวอักษร, โปรดอย่าสับสน.

อักษรในที่นี้ หมายถึงตัวหนังสือ. เทวนาครีเป็นตัวชื่ออักษรที่ใช้เขียนภาษาต่างๆ ของอินเดีย โดยอาจมีเครื่องหมายต่างๆ เพิ่มเติม เพื่อให้ตรงกับเสียงในภาษานั้นๆ แต่ไม่เหมาะกับเขียนภาษาไทย เพราะมีสระไม่ตรงกัน. นับเป็นอักษรที่นิยมใช้เขียนภาษาสันสกฤตมากที่สุด.    อักษร เทวนาครีนั้น คล้ายกับอักษรไทย คือแยกสระ และพยัญชนะ เมื่อต้องการเสียงอะไรก็ นำพยัญชนะกับ สระประสมกันก็ได้เสียงที่ต้องการ

ภาษาสันสกฤตมีรูปอักษร ๔๘ ตัว แบ่งเป็นพยัญชนะ ๓๔ ตัว สระ ๑๔ ตัว การศึกษาภาษาสันสกฤตในประเทศไทย นิยมใช้อักษร ๓ ชนิด คือ อักษรไทย อักษรเทวนาครี และอักษรโรมัน     ในบทเรียนนี้จะใช้ตัวเขียน ๓ แบบ คือ ตัวไทย ตัวโรมัน และตัวเทวนาครี เนื่องจากตำราสันสกฤตทางตะวันตกส่วนใหญ่ใช้อักษรโรมันในการอธิบายรูปคำ และเนื้อหาวรรณคดีส่วนใหญ่เขียนด้วยอักษรเทวนาครี ผู้เรียนจึงต้องจดจำอ่านออก และเขียนตัวเขียนได้ทั้ง ๓ แบบ

๒.๑ สระ

สระในภาษาสันสกฤตมีเพียง ๑๓ ตัว (หากรวม ฦๅ จะมี ๔ ตัว)  อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ ไอ เอา แบ่งได้เป็น ๓ ขั้นคือ ขั้นปกติ ขั้นคุณ ขั้นพฤทธิ์    และแบ่งเป็นได้หลากหลายประเภท อาจแบ่งตามแหล่งที่เกิดได้ ดังนี้

 ลักษณะ           ที่เกิด                    เสียงสั้น        เสียงยาว

สระเดี่ยว           คอ                       อะ a             อา ā

                       เพดาน                  อิ  i              อี ī

                       ริมฝีปาก                อุ u              อู ū

                       ศีรษะ                   ฤ ṛ              ฤๅ ṝ

                       ฟัน                      ฦ ḷ              [ฦๅ*]

สระประสม        เพดาน                  เอ e             ไอ āi

                                  ริมฝีปาก             โอ o                เอา āu

*สระ โดยทั่วไปถือว่าไม่มี แต่บางครั้งก็ใส่ให้ครบตำแหน่ง กลายเป็นมีสระทั้งหมด ๑๔ ตัว

หากจัดฦๅตามลำดับขั้น ก็จะได้ดังนี้ (อ่านตามแนวตั้ง จากบนลงล่าง เป็นกลุ่มๆ)

สระ  หากเขียนเป็นอักษรเทวนาครี   จะได้ดังนี้

สระเดี่ยว                           เสียงสั้น                             เสียงยาว

                                      อะ      अ               อา      आ

                                      อิ        इ                อี        ई

                                      อุ        उ                อู        ऊ

                                      ฤ        ऋ               ฤๅ       ॠ

                                      ฦ        ऌ                ฦๅ       ॡ

สระประสม              เอ ए            ไอ ऐ             โอ ओ           เอา औ

 

(๑)สระเดี่ยว

อะ a

อา ā

อิ I

อี ī

อุ u

อู ū

ฤ ṛ

ฤๅ ṝ

ฦ ḷ

ฦๅ ḹ*

(๒) สระประสม (ขั้นคุณ)

อะ a

อา ā

เอ e

โอ o

อรฺ ar

อลฺ al

(๓) สระประสม

(ขั้นวฤทธิ)

อา ā

ไอ āi

เอา āu

อารฺ ār

อาลฺ āl

*สระฦๅ โดยทั่วไปถือว่าไม่มี แต่บางครั้งก็ใส่ให้ครบตำแหน่ง กลายเป็นมีสระทั้งหมด ๑๔ ตัว

สระสามขั้นนี้ กำหนดตามการเลื่อนของเสียง เช่น อิ เมื่อเลื่อนไปหนึ่งขึ้นจะเป็น เอ เมื่อเลื่อนสองขั้นจะเป็น ไอ. เราจะได้ใช้สระสามขั้นเมื่อต้องสร้างกริยา สร้างคำนาม หรือในกรณีสนธิพื้นฐาน โดยมีข้อกำหนดว่า ให้เปลี่ยนเป็นจากขั้นใดเป็นขั้นใด

๒.๒ พยัญชนะ

พยัญชนะในภาษาสันสกฤตแบ่งได้เป็น ๒ กลุ่ม คือ พยัญชนะในวรรค (แบ่งตามตำแหน่งเกิดเสียง) และพยัญชนะนอกวรรค (ตำแหน่งเกิดเสียงไม่อาจระบุได้ชัดเจนอย่างกลุ่มแรก) รวมทั้งหมด ๒๕+๙ = ๓๔ เสียง, ดังนี้

พยัญชนะวรรค แบ่งเป็น ๕ วรรค รวม ๒๕ ตัว คือ

 

วรรค/แถว 

 

 

 

 

วรรค กะ เสียงเกิดที่คอ

วรรค จะ เสียงเกิดที่เพดาน

วรรค ฏะ เสียงเกิดที่ปุ่มเหงือก

วรรค ตะ เสียงเกิดที่ฟัน

วรรค ปะ เสียงเกิดที่ริมฝีปาก

เศษวรรค

ย ร ล ว  ส  ศ ษ ห ฬ   ํ(อัง)

 ท่องจำด้วยคำว่า

วรรคกะ         ไก่               ขี่                 ควาย           ฆ่า               งู

วรรคจะ         จับ               ฉิ่ง               ช่วย             เฌอ             หญิง

วรรคฏะ         ฏัก               ฐาน             ฑอ              เฒ่า             ณิง

วรรคตะ         เต่า              ถูก               ทิ้ง               ธง               หนู

วรรคปะ         ปลา             ผึ้ง               พัก              ภู                ม้า

เศษวรรค       ยาย    เรา     เล่า     ว่า      เสือ     ศาลา    ษาง   หาย  แฬ้ว    ํ(อัง)

 

การออกเสียงพยัญชนะวรรค (สฺปฺรศ sparśa แปลว่าสัมผัส เพราะลิ้นสัมผัสกับตำแหน่งในปากอย่างสมบูรณ์)

ที่เกิดเสียง(วรรค) ¯

เสียงไม่ก้อง

เสียงก้อง

ลมน้อย

ลมมาก

ลมน้อย

ลมมาก

ขึ้นจมูก

คอ

ก क k

ข ख kh

ค ग g

ฆ घ gh

ง ङ ṅ

เพดาน

จ च c

ฉ छ ch

ช ज j

ฌ झ jh

ญ ञ ñ

กลางศีรษะ

ฏ ट ṭ

ฐ ठ ṭh

ฑ ड ḍ

ฒ ढ ḍh

ณ ण ṇ

ฟัน

ต त t

ถ थ th

ท द d

ธ ध dh

น न n

ริมฝีปาก

ป प p

ผ फ ph

พ ब b

ภ भ bh

ม म m

 

          พยัญชนะอวรรค ๙ ตัว แบ่งเป็น

ย य  ร र    ล ल  ว व   ศ श  ษ ष   ส स  ห ह   ฬ  ळ

เสียงกึ่งสระ ได้แก่ ย เสียงเกิดที่เพดาน ร เสียงเกิดที่ปุ่มเหงือก ล เสียงเกิดที่ฟัน ว เสียงเกิดที่ริมฝีปาก

เสียงเสียดแทรก ได้แก่ ศ เสียงเกิดที่เพดาน ษ เสียงเกิดที่ปุ่มเหงือก ส เสียงเกิดที่ฟัน

เสียงหนักมีลม ได้ แก่ ห    ฬ และ อัง(อํ)

ย य y                ร र r          ล ल l         ว व v         ศ श ś

ษ ष ṣ                ส स s        ห ह h         ฬ  ळ l      

 

ไทย

เทวนาครี

โรมัน

 

ไทย

เทวนาครี

โรมัน

k

 

c

kh

 

ch

g

 

j

gh

 

jh

 

ñ

 

t

ṭh

 

th

 

d

ḍh

 

dh

 

n

p

 

h

ph

 

y

b

 

ร,

r

bh

 

l

m

 

ล,

l

 

 

 

 

v

 

 

 

 

ś

 

 

 

 

 

 

 

 

s

 

 

 

 

อํ  (นิคหิต)

अं

 

เทีย

พยัญชนะกึ่งสระ (อนฺตะสฺถ antaḥstha แปลว่า ยืนอยู่ระหว่าง, หมายถึงเสียงที่อยู่ระหว่างสระและพยัญชนะ) ทั้งหมดเป็นเสียงก้อง. พยัญชนะกลุ่มนี้อาจเปลี่ยนเสียงไปเป็นสระ หรือเปลี่ยนจากสระมาเป็นพยัญชนะได้ ดังจะได้เห็นในบทต่อๆ ไป

           เพดาน                                            ย y

           ศีรษะ                                              ร r

           ฟัน                                                 ล l

           ริมฝีปาก                                          ว v

นอกจากนี้ยังมีเสียงพ่นลม (อูษฺมนฺ ūṣman) ได้แก่ ส สามตัว (เสียงไม่ก้อง)และ ห (ตามหลักไวยากรณ์เป็น เสียงก้อง, แต่การออกเสียงจริงนั้น ไม่ก้อง)

เพดาน                                           ศ ś

ศีรษะ                                            ษ ṣ

ฟัน                                               ส s

คอ                                                ห h

อักษรพิเศษคือ ฬ ḷ นั้น ปกติไม่ใช้ในภาษาสันสกฤตแบบแผน แต่ก็มีพบบ้าง ถือว่าเป็นตัวแทนของ ฑ, โดยมีค่าเสียงทางไวยากรณ์เท่ากัน, ใช้ทั่วไปในภาษาพระเวท.

อักษร  ศ ษ ส ( )

อักษร  ศ ษ ส (श ष स)   เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย ออกเสียงเหมือนกันหมด ไม่ว่า ศาลา (สาลา) ฤษิ (รึสิ) รส (ระสะ)    นักศึกษามักบ่นว่าจะมี ส ทำไมตั้งสามตัว ทั้งๆ ที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่ความจริงแล้ว ในภาษาเดิม (สันสกฤต) ออกเสียงต่างกันพอสมควร

ส ทั้งสามเรียกกันว่าเสียงซ่า หรือเสียงอูษมัน คือ เสียงเหมือนพ่นไอน้ำออกมา ภาษาอังกฤษเรียก sibilant มีค่าเป็นเสียงไม่ก้อง

การออกเสียง ส นั้นไม่ยาก เหมือน ส ในภาษาไทย นั่นคือส่วนปลายลิ้นอยู่ตำแหน่งเดียวกับการออกเสียง ต ท ด น คือโคนฟันติดกับเหงือก (สันสกฤตเรียกทันตะ หรือ ทนฺตวฺย) ลองนึกจะออกเสียงพยัญชนะเหล่านี้ แล้วสังเกตตำแหน่งปลายลิ้น)

ส่วน ศ นั้น ตำแหน่งปลายลิ้นเหมือนกับเมื่อเราออกเสียง จ ฉ สังเกตว่าลิ้นไปแตะตรงไหน (ตำแหน่งนี้เรียกเพดานอ่อน สันสกฤตเรียก ตาลวฺย) เแล้วลองพยายามออกเสียง ส จะได้เสียงคล้าย ศ ในภาษาสันสกฤต ซึ่งคล้ายกับ sh ในคำว่า shoe ในภาษาสันสกฤต

สำหรับ ษ ยากหน่อย เพราะไม่มีเสียงนี้ให้เทียบในภาษาไทย ตำแหน่งปลายลิ้นอยู่ระหว่างการออกเสียง จ กับ ด คือระหว่างเพดานอ่อน ค่อนมาทางด้านหน้า ก่อนถึงโคนฟัน (อาจเรียกว่าเพดานแข็ง ภาษาสันสกฤตเรียก มูรฺธนฺย อาจแปลว่า ศีรษะ) เมื่อปลายลิ้นถึงตำแหน่งนี้แล้ว ลองออกเสียง ส ก็จะได้เสียง ษ แบบสันสกฤต (ถ้าลองออกเสียง ต ถ น ก็จะได้ ฏ ฐ ณ แบบสันสกฤตไปด้วยเลย)

ดังนั้น หากออกเสียงภาษาสันสกฤต คำว่า กฺษตฺริยะ ศาลา สฺวาคต ฯลฯ เสียง ศ ษ และ ส ควรจะแตกต่างกันตามลักษณะที่กล่าวมาแล้ว

 

ในบทนี้ ให้เนื้อหาเกี่ยวกับสระและพยัญชนะเพียงคร่าวๆ พอให้เห็นว่าเสียงใดอยู่ในกลุ่มใด ยังไม่ต้องพยายามจดจำตำแหน่งอะไรมากนัก แต่ผู้เรียนควรรู้รายละเอียดเพิ่มเติมอีกมาก ซึ่งอาจเขียนในส่วนอื่นแยกต่างหาก (เพื่อไม่ให้รู้สึกว่ายาวเกินไป).

๒.๓ พยัญชนะซ้อน

เมื่อเราเรียนรู้วิธีการเขียนพยัญชนะเดี่ยวๆ และการประสมสระแล้ว ก็จะต้องมารู้จักพยัญชนะซ้อนกัน    พยัญชนะซ้อน หรือ สังโยค संयोग หรือ สังยุกต์ संयुक्त หมายถึง สัญลักษณ์แทนเสียงพยัญชนะหลายเสียงเรียงตามกัน โดยไม่มีสระคั่นกลาง เช่น   ในคำว่า ตฺวา มีพยัญชนะซ้อนกัน ๒ ตัว ตฺ และ ว. พยัญชนะ ต ไม่มีเสียงสระตามมา จึงใส่จุดไว้  แต่ในการเขียนเทวนาครี จะมีวิธีการเขียนพยัญชนะแบบนี้ त्वा เพื่อให้ทราบว่าไม่มีสระที่ ต. นั่นคือ เขียน ต เพียงครึ่งตัว ส่วน ว นั้นเขียนเต็มตัว.

ลองดูอีกสักตัวอย่าง สํสฺกฺฤต คำนี้ สฺ และ กฺ ซ้อนกัน เมื่อเขียนเทวนาครี ส จะเหลือครึ่งตัว ส่วน ก เขียนตามปกติ อย่างนี้ संस्कृत     วิธีการซ้อนตัวเพื่อบอกว่าตัวข้างหน้าไม่มีสระนั้น ใช้กันมาตั้งแต่อักษรพราหมี ต้นตระกูลของอักษรอินเดียเลยทีเดียว ปัลลวะ ขอม ก็ใช้กันแบบนี้ เสียอักษรไทยเราไม่ใช้ (ดูเหมือนว่าอักษรไทยพ่อขุนรามใช้วิธีเขียนตัวชิดกันเพื่อบอกคำควบกล้ำ, ไม่แน่ใจ) ทั้งนี้ก็เพราะกติกาของการเขียนอักษรเหล่านี้มีว่า พยัญชนะเดี่ยวๆ ถือว่ามีสระอะอยู่ด้วย เช่น นคร (อ่านว่า นะคะระ) หากไม่เอาสระอะ ก็ต้องหาวิธี

อีกวิธีการหนึ่งที่ทำให้ทราบว่าไม่มีเสียงสระตามหลังพยัญชนะ ก็คือใส่เครื่องหมายวิรามใต้ตัวพยัญชนะ ดังนี้ त् เทียบกับอักษรไทยคือ ตฺ นั่นเอง. แต่คำสันสกฤตนั้นมีเสียงพยัญชนะควบหรือซ้อนเป็นจำนวนมาก หากใส่วิรามไปเสียหมดก็คงจะรกรุงรัง อ่านลำบาก แถมยังไปเกะกะสระอีก จึงใช้วิรามเฉพาะพยัญชนะสุดท้ายของคำ หรือพยัญชนะที่ไม่มีรูปซ้อนจริงๆ

สำหรับอักษรโรมันนั้นสะดวกกว่า เพราะพยัญชนะเดี่ยวๆ ของเขาไม่มีค่าสระอยู่ด้วย เช่น n ออกเสียงไม่ได้ บอกได้แค่ว่าเป็นอักษรเอ็น. แต่ no มีสระมาประสม จึงออกเสียงได้เป็น โน. หลักการเขียนพยัญชนะซ้อน

โดยทั่วไปใช้วิธีที่กล่าวมาข้างต้น คือ ตัวที่ไม่ออกเสียงสระ จะเขียนครึ่งตัว คือไม่มีเส้นตั้งด้านหลัง เช่น क् ซ้อนกับ क จะเป็น क्क. กมฺป क म् प ตัว ม ไม่มีเสียงสระ จึงเหลือครึ่งตัว कम्प.

พยัญชนะซ้อนส่วนมากจะดูง่าย เพราะมีเค้าเดิมให้เห็น ยกเว้นเพียงบางตัวที่ใช้บ่อย จึงมีรูปพิเศษ (อาจจะเขียนบ่อยทำให้รูปเส้นเปลี่ยนไปในทางที่เขียนได้สะดวก รวดเร็วขึ้น) ได้แก่ กฺษ क्ष. ชฺญ ज्ञ, ศฺร श्र, ตฺร त्र.

 

ข้อสังเกตอื่นๆ มีดังนี้

พยัญชนะที่ซ้อนแล้ว ไม่มีการลดรูป ใส่วิรามใต้พยัญชนะที่ไม่มีเสียงสระ – ง ยกเว้น งฺก, งฺค. งฺฆ. งฺม ङ्क ङ्ग ङ्घ ङ्म – ฉ ยกเว้น ฉฺย छ्य ฉฺร, छ्र ฉฺว छ्व (บางฟอนต์อาจคงใช้วิรามใต้ ฉ) – ฏ ยกเว้น ฏฺฏ ฏฺฐ ฏฺร ฏฺว ट्ट ट्ठ ट्य ट्र ट्व ร เป็นตัวพิเศษ พยัญชนะ ร र นั้นเมื่อซ้อนหลังตัวอื่น หรือซ้อนหน้าตัวอื่น จะมีรูปพิเศษ ดังนี้ เมื่ออยู่หน้า จะเขียนเป็นเส้นโค้งด้านบนพยัญชนะนั้น เช่น สรฺว सर्व. กรฺม कर्म เมื่ออยู่หลัง จะเขียนเป็นเส้นตรงเฉียงใต้พยัญชนะ เช่น ปฺรถม प्रथम ภฺราม भ्राम

การเขียนพยัญชนะซ้อนอาจมีทั้งซ้อนในแนวนอน หรือซ้อนแนวตั้ง บางตัวอาจเขียนได้หลายแบบ (ฟอนต์ในคอมพิวเตอร์ก็ต่างกัน)

โปรดสังเกตว่า ตัวเทวนาครีนั้นสามารถมีพยัญชนะซ้อนได้ตั้งแต่ ๒, ๓, 4, ๕ ตัวก็ได้ แต่พยัญชนะซ้อนนั้นไม่สามารถมีท้ายคำได้ ถ้าจำเป็นต้องมี ด้วยวิธีการทางไวยากรณ์ที่จะต้องเติมนู่นนี่อะไรก็ตาม เมื่อเต็มเสร็จแล้ว ต้องตัดทิ้งเหลือแค่ตัวเดียว คือตัวที่ตามติดหลังสระเท่านั้น. พูดง่ายๆ ว่า คนพูดภาษาสันสกฤตไม่สามารถออกเสียงพยัญชนะท้ายได้เกิน ๑ เสียง. ข้อนี้คงเหมือนในภาษาไทย ที่ไม่มีเสียงท้ายเกิน ๑ เสียง. เราจึงออกเสียงภาษาอังกฤษ desk, ask, grand, fast ไม่สะดวก ได้แค่ เดส, แอส, แกรน, ฟาส ตัดเสียงท้ายที่เกินทิ้งเหมือนกัน. วิธีที่ดีที่สุดในการศึกษาพยัญชนะซ้อนก็คือ อ่านมากๆ เขียนมากๆ เดี๋ยวก็จำได้ ๒.๔ นิคหิตและวิสรรค

ภาษาสันสกฤตมีอักษรที่เป็นสัญลักษณ์ในการเขียนภาษาที่ควรทราบในเบื้องต้น ๒ อย่าง คือ นิคหิต (˚) และ วิสรรค (ะ)

นิคหิต  ในภาษาสันสกฤต เรียกว่า อนุสวาร เป็นรูป ˚ เขียนไว้เหนืออักษรอื่น เช่น สํ สารํ กมลํ กนฺยำ เป็นต้น นิคหิตในภาษาสันสกฤตถือว่ามิได้มีอยู่เดิม แต่เปลี่ยนมาจาก มฺ ตามกฎเกณฑ์ในการเขียนกรือการเรียงคำในประโยคและในการสร้างคำใหม่

วิสรรค เป็นรูป  ะ เหมือวิสรรชนีย์ในอักษรไทย ภาษาสันสกฤตตัวอักษรเทวนาครีและ อักษรเขมรจะเขียนเป็นรูปจุดคู่ ( : )  เหมือนเครื่องหมายโคลอน (Colon)  ในภาษาอังกฤษเขียนไว้ในบรรทัดเหมือนพยัญชนะ โดยทั่วไปจะมาท้ายคำ เช่น คชะ  ปุรุษะ  มาลาะ  กวะ  คุระ  วธะ  มุเนะ  เทวะ  ภาโนะ  เคาะ  ที่มากลางคำมีบ้าง  เช่น  ทุะขม  แต่จะไม่มาเป็นตัวแรกของคำ เพราะต้องตามหลังสระตัวใดตัวหนึ่งเสมอ  พึงสังเกตว่าภาษาสันสกฤตที่เขียนด้วยภาษาไทยใช้สัญลักษณ์ที่ภาษาไทยเรียกว่าวิสรรชนีย์เขียนแทนอักษรหรือวิสรรคในภาษาสันสกฤต  ดังนั้น  ตัววิสรรชนีย์ที่ใช้เขียนหรือปรากฏในคำสันสกฤตจึงไม่ใช่ส่วนประกอบของรูปสระตัวใดตัวหนึ่งอย่างที่ใช้ในภาษาไทย

          นิคหิต(˚) และ วิสรรค (ะ) นับเป็นอักษรตามหลักภาษาสันสกฤตด้วยและจะปรากฏในคำได้จะต้องมาหลังสระตัวใดตัวหนึ่งเสมอตามหลักอักขระ (วิธีที่ว่าด้วยลำดับอักษรในคำ) ข้างต้นเช่นคำว่า อศฺวํ นิคหิตมาหลังสระ อะที่ผสม ว และถือเป็นอักษรสุดท้ายของคำ คำว่า สํเทศ นิคหิตมาหลังสระอะที่ผสม ส และมาหน้า ท   (สระเอที่ผสม ทฺ มาหลัง ทฺ และหน้า ศ)  นิคหิตที่ไม่ได้มาเป็นตัวสุดท้ายของคำจะเรียกว่านิคหิตกลางคำส่วนนิคหิตต้นคำไม่มี  เพราะจะต้องมาหลังสระตามหลังภาษา เช่นคำว่า อํศุมาลินฺ   ในคำนี้นิคหิตมาเป็นตัวที่๒ คือมาหลัง สระอะ  (อ คือสระ อะที่ไม่ผสมพยัญชนะหรือเรียกว่าสระลอย)

 การเปลี่ยน มฺ ท้ายคำเป็น ํ (นิคหิต)

          อดีตที่ปรากฏเป็นตัวสุดท้ายของคำหรือเรียกว่านิคหิตท้ายคำนี้ ตามหลักภาษาถือว่าเป็นสัญลักษณ์ในการเขียนภาษาที่เปลี่ยนมาจาก มฺ ที่เป็นอักษรสุดท้ายของคำมีข้อกำหนดในการเขียนคําสันสกฤตที่ลงท้ายด้วย มฺ ว่า ในประโยคเดียวกันคำที่ลงท้ายด้วย มฺ ให้เปลี่ยน มฺ ใช้คำนั้นเป็น  ํ (นิคหิต)

ถ้ามีคำที่ตามหลังซึ่งมีอักษรตัวแรกเป็นพยัญชนะ(ตามหลักภาษาว่าด้วยลำดับอักษรในคำ) เช่นประโยคว่า วานระ ผลมฺ ขาทติ ฯ คำว่า ผลมฺ ในประโยคนี้ต้องเปลี่ยน ผลํ เพราะ มีคำที่ตามมาคือ ขาทติ ซึ่งมีอักษรตัวแรกเป็นพยัญชนะ (คือ ข) ในทางตรงกันข้ามถ้ามีคำที่ตามมามีอักษรตัวแรกเป็นสระหรือคำที่ลงท้ายด้วย มฺ นั้นเป็นตัวสุดท้ายของประโยคก็คง มฺ ไว้ดังเดิมไม่ต้องเปลี่ยนเป็น  ํ  เช่นประโยคว่า  ชนาะ นครมฺ  อาคจฺฉนฺติฯ ไม่ต้องเปลี่ยน นครมฺ เป็น ครํ เพราะคำที่ตามหลังขึ้นต้นด้วยสระอะ (คือ อา) ประโยคว่า  วิทฺยา สรฺวสฺย  ภูษณมฺ ฯ ภูษณมฺ ไม่ต้องเปลี่ยนเป็น ภูษณํ เพราะเป็นคำสุดท้ายของประโยค

 

การเปลี่ยน ํ (นิคหิตกลางคำ) เป็นพยัญชนะที่สุดวรรค

นิคหิตในคำสันสกฤตที่ไม่ได้มาท้ายคำ  ซึ่ง จะเรียกว่านิคหิตกลางคำ สามารถเปลี่ยนเป็นพยัญชนะที่สุดวรรคได้ตามเกณฑ์คือถ้าในคำนั้นพยัญชนะที่มาหลังนิคหิตเป็นพยัญชนะวรรคอาจเปลี่ยนนิคหิตเป็นพยัญชนะที่สุดวรรคได้  เช่นคำว่า  สํกฺรานฺต จะเขียนเป็น สงฺกรานฺต  สํเทศ  เป็น สนฺเทศ   สํพนฺธ    เป็น สมฺพนฺธ ก็ได้ จะพบเห็นการเขียนลักษณะนี้ทั้ง สอง แบบ สำหรับการอ่านจะอ่านเหมือนกันทั้ง สอง รูปแต่ถ้านิสิตคำนั้นตามด้วยพยัญชนะอวรรค ซึ่งตามปกติจะอ่านนิคหิตเป็น ง  สะกดแต่กรณีนี้จะไม่เปลี่ยนนิคหิตเป็น งฺ หรือพยัญชนะที่สุดวรรคตัวอื่นให้คงนิคหิตไว้อย่างเดิม เช่น สํสาร  มีมำ สิงฺหนาท สํโย จะไม่เขียนเป็น สงฺสาร  มีมางฺสา  สิงฺหนาท และ สงฺโยค

๒.๕ การอ่านคำสันสกฤต

          ๒.๕.๑ การอ่านพยัญชนะ

การอ่านพยัญชนะ  พยัญชนะในภาษาสันสกฤตมีบางตัวที่มีพื้นเสียงไม่ตรงกับพื้นเสียงของพยัญชนะภาษาไทยที่ต่างกันได้แก่ ฑ  ท  พ  ศ  ษ  ส  และ  ห  คือ ฑ  ออกเสียงคล้าย ด เหมือน  ฑ  ในคำไทยว่า  มณฑาบ  บัณฑิต  บุณฑริก  ภัณฑาคาร  เช่นคำว่า  มณฺฑิตมฺ  อ่านว่า  มัน - ดิ - ตัม  ท  ออกเสียงเหมือน ด  เช่นคำว่า  นที  อ่านว่า  นะ - ดี  พ  ออกเสียงคล้าย บ เช่นคำว่า  พุทฺธ  อ่านว่า  บุด - ทะ  คำว่า พินฺทุ  อ่านว่า  บินดุ  ศ ษ และ ส  ออกเสียงคล้าย ออกเสียงต่างกันทั้ง ๓ ตัว ใกล้เคียงกับเสียง ซ เช่น ศลฺย  อ่านว่า  ซัน - ลฺยะ  ศิกฺษา  อ่านว่า  ซิก -ซา โษฑศนฺ  อ่านว่า  โซ - ดะ  - ซัน   สฺตมฺภ  อ่านว่า ซฺตัม - ภะ      

สูกร  อ่านว่า  ซู  - กะ - ระ   ห  ออกเสียงคล้าย ฮ  เช่น  อโหราตฺรมฺ อ่านว่า  อะ - โฮ - ราด -ตฺรัม  หิมารศฺมิ  อ่านว่า  ฮิ  - มา - รัด - ซฺมิ  ไหมวตี  อ่านว่า  ไฮ - มะ - วะ - ตี

เนื่องจากสันสกฤตเป็นภาษาที่ไม่มีคำต่างกันด้วยความต่างของเสียงวรรณยุกต์หรือที่พูดว่าเป็นภาษาที่ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ซึ่งเป็นลักษณะทั่วไปของภาษามีวิภัตติปัจจัยพื้นเสียงของพยัญชนะสันสกฤตจึงคล้ายหรือใกล้เคียงกับพื้นเสียงพยัญชนะอักษรโรมันในภาษาอังกฤษมากกว่าพื้นเสียงพยัญชนะในภาษาไทย  อย่างไรก็ตามปัจจุบันภาษาสันสกฤตไม่ได้เป็นภาษาพูดหรือใช้สื่อสารกันในชีวิตประจําวันแล้วการศึกษาภาษาสันสกฤตในประเทศไทยโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการอ่านนิยมอ่านไม่ออกเสียงตามอักขระวิธีของไทย

๒.๕.๒ การอ่านนิคหิต ในภาษาสันสกฤตมีข้อกำหนดการอ่านดังต่อไปนี้

          ก. นิคหิตท้ายคำ  คือนิคหิตที่ปรากฏเป็นอักษรตัวสุดท้ายของคำ ให้อ่านเป็น ม สะกด เสมอ (ต่างจากภาษาบาลี ที่อ่านเป็น ง สะกด) คำว่า  กมลํ  อ่านว่า  กะ – มะ – ลัม   คำว่า กนฺยำ อ่านว่า  กัน–นฺยาม  คำว่า นารี อ่านว่า  นา–รีม  คำว่า  วธู ํ  อ่านว่า  วะ – ธูม

          ข.  การอ่านนิคหิคกลางคำ  คือ นิคหอตในคำที่มิได้มาเป็นตัวสุดท้ายของคำ  มีเงื่อนไขการอ่านโดยมีพยัญชนะที่มาหลัง นิคหิตนั้นเป็นตัวกำหนด

๒.๕.๓ การอ่านวิสรรค  วิสรรคเป็นสัญลักษณ์ซึ่งแปลงมาจาก สฺ และ รฺ ใช้ในการเขียนอักษรภาษาสันสกฤตแทนการออกเสียงลักษณะคล้ายเสียง ฮ ภาษาสันสกฤตกำหนดให้วิสรรคที่ปรากฏในคำต้องมาหลังสระตัวใดตัวหนึ่งเสมอ อ่านออกเสียงกระแทกหนักแต่ไม่ก้อง ถ้ามาหลังสระ อ อา ออกเสียง ฮ่ะ เช่น ศิวะ  อ่านว่า ศิ – วะ – ฮ่ะ   มาละ  อ่านว่า  มา – ลา – ฮ่ะ มาหลังสระ อิ อี เอ และ ไอ เช่น มุนิะ อ่านว่า มุ – นิฮิ่   ศรีะ อ่านว่า  ศฺรีฮิ่

ข้อสังเกตว่าในภาษาสันสกฤต วิสรรค ไม่ใช่สระ และจะปรากฏในคำได้ต้องมาหลังสระตัวใดตัวหนึ่งเสมอ และที่ออกเสียง ฮ่ะ ฮิ่ ฮุ่ นี้ เป็นการออกเสียงในการอ่านเท่านั้น จะเขียนเป็นคำศัพท์ไม่ได้ เช่น คำว่า พาลกะ จะเขียนเป็นคำสันสกฤตว่า พาลกะฮ่ะ ไม่ได้

๒.๖ สระลอย  สระจม

สระในระบบอักษรเทวนาครีนั้น มีลักษณะเฉพาะแบบเดียวกับอักษรอินเดียส่วนใหญ่ นั่นคือ มีสระสองชุด เป็นสระลอย และสระจม

 สระลอย คือ สระที่อยู่โดดเดี่ยวได้ โดยมีเสียงของตัวมันเอง

 ส่วนสระจม  เป็นสระที่ต้องประสมกับพยัญชนะอื่น สระจมของเทวนาครี มีทั้งที่เขียนด้านหน้า เช่น อิ เขียนด้านหลัง เช่น อา อี เขียนด้านบน เช่น เอ และเขียนด้านล่าง เช่น อุ หรือ อู นอกจากนี้ยังมีแบบเขียนสองตำแหน่ง เช่น ไอ โอ และเอา ที่เขียนทั้งบนและหลังพยัญชนะ

का

कि

की

कु

कू

कृ

कॄ

कॢ

कॣ

กา

กิ

กี

กุ

กู

กฺฤ

กฺฤๅ

กฺฦ

กฦๅ

के

को

कै

कौ

कं

कः

क्

เก

โก

ไก

เกา

กํ

กะ

กฺ

แหล่งอ้างอิงข้อมูล

ธวัชชัย ดุลยสุจริต  , ภาษาสันสกฤตง่ายนิดเดียว, https://www.gotoknow.org/blog/...เข้าถึง ๑ ม.ค. ๖๑

ผศ.อภิชาญ ปานเจริญ , ภาษาสันสกฤต ๑, มหาวิทยาลัยรามคำแหง , พ.ศ. ๒๕๕๗

https://th.wikipedia.org/wiki/... เข้าถึงข้อมูล ๒ ม.ค. ๒๕๖๑

https://palicoach.com/%E0%B8%8...  เข้าถึงข้อมูล ๒ ม.ค. ๒๕๖๑

หมายเลขบันทึก: 644129เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2018 10:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มกราคม 2018 10:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ประโยคและการเรียงภาษาสันสกฤตคืออะไรคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท