นวัตกรรมการจัดการทรัพยากรมนุษย์​ (Human Resource Management Innovation)


นวัตกรรมการจัดการทรัพยากรมนุษย์
(Human Resource Management Innovation) 

จัดทำโดย

 นางสาววันทนา  ธงฉิมพลี รหัสนักศึกษา 605812213


เสนอ

 ดร. วารนันท์  นิติศักดิ์

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี รหัสวิชา 2026104

ครุศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ



การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Management) 

   หมายถึง การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่จำเป็นเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้องค์กรมีทรัพยากรมนุษย์ที่เหมาะสมทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ ตลอดจนสามารถดำเนินงานได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด

การสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
     เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต ได้กล่าวถึงคำว่านวัตกรรมไว้ว่ คำว่านวัตกรรม หรือ นวกรรม มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Innovation คำว่านวัตกรรมนี้มีรูปศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลีคือ นว+อตต+กรรม กล่าวคือ นว หมายถึง ใหม่ อัตต หมายถึง ตนเอง และกรรม หมายถึง การกระทำ ดังนั้นคำๆ นี้จึงเกิดจากการนำ นว มาสนธิกับ อัตต กลายเป็น นวัตต และเมื่อนำคำว่า นวัตต มาสมาสกับคำว่า กรรม จึงได้คำใหม่ว่า “นวัตกรรม” จากรากศัพท์ดังกล่าว นวัตกรรมจะหมายถึง “การกระทำที่ใหม่ด้วยตนเอง” หรือ “การกระทำของตนเองที่ใหม่”
     ในวีกิพีเดียสารานุกรมเสรีได้ให้ความหมายของนวัตกรรมไว้ว่า นวัตกรรม คือ “การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ บริการ เทคโนโลยี หรือความคิดที่ดีกว่าหรือมีประสิทธิผลมากกว่าโดยเป็นที่ยอมรับของตลาด ภาครัฐ และสังคม นวัตกรรมต่างจากสิ่งประดิษฐ์ตรงที่นวัตกรรมเป็นการพูดถึงการใช้ความคิดหรือวิธีการใหม่ๆ ตรงกันข้ามสิ่งประดิษฐ์เป็นการพูดถึงการใช้ความคิดหรือวิธีการที่สร้างสรรค์ไปประดิษฐ์สิ่งใดสิ่งหนึ่ง”
     นอกจากนี้นักวิชาการต่างประเทศหลายคนได้ให้ความหมายของนวัตกรรมไว้เป็นจำนวนมาก เช่น เมื่อปี 2546 Everette M. Rogers ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมคือ ความคิด การกระทำ หรือวัตถุใหม่ๆ ที่ถูกรับรู้ว่าเป็นสิ่งใหม่ด้วยตัวของปัจเจกชนเองหรือการยอมรับของหน่วยอื่นๆในสังคม นอกจากนี้สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติได้ให้ความหมายของนวัตกรรมไว้ว่า นวัตกรรมหมายถึง “ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น”

จากความหมายของนวัตกรรมของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติดังกล่าวอาจสรุปได้ว่า
1) นวัตกรรมเป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดทำมาก่อน เช่น การประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพแบบดิจิตัล
2) นวัตกรรมเป็นสิ่งที่พัฒนาขึ้นใหม่จากสิ่งที่เคยมีในอดีต เช่น นวัตกรรมทางการบริหารที่เรียกว่า การรื้อปรับระบบ (reengineering) ที่พัฒนามาจากสิ่งสอดแทรกเพื่อการพัฒนาองค์การด้านกระบวนการดำเนินงาน
3) นวัตกรรมเป็นสิ่งที่เคยมีหรือเคยเป็นมาในอดีตแต่รื้อฟื้นขึ้นมาใหม่


การสร้างนวัตกรรมใหม่  โดยอาศัยการบริหารทรัพยากรมนุษย์

 การจะเกิดนวัตกรรมในองค์กรได้ ต้องอาศัยวัฒนธรรมของผู้นำที่มีวิสัยทัศน์คือ ต้องสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง ต้องไม่ขัดขวางการเปลี่ยนแปลง และสนับสนุนให้กล้าคิด กล้าทำ นวัตกรรมต้องเกิดจากผู้ตามหรือผู้ปฏิบัติงานและมีผู้นำคอยสนับสนุนทำเป็นตัวอย่าง และต้องอาศัยวัฒนธรรมของผู้ตามหรือผู้ปฏิบัติงานตามทฤษฎี 6 ก. กล่าวคือ 

1.กล้าคิด คิดนอกกรอบข้ามศาสตร์
2.กล้าพูด กล้าทำมากขึ้น ในสิ่งที่ตัวเองคิดว่าถูกต้อง
3.กล้าเปิดใจ รับฟัง
4.กล้าเสี่ยง กล้าริเริ่ม การทำผิดเป็นสิ่งที่ยอมรับ
5.กล้าเรียนรู้ ที่ต้องมีคนกล้าเพราะมีคนกลัวอยู่ กลัวล้มเหลว กลัวนายว่า ฯลฯ
6.กล้าทำ  ทำจริง พัฒนาอย่างต่อเนื่อง

กระบวนการสร้างนวัตกรรม

1.ต้องมีความคิด  คิดนอกกรอบ คิดข้ามศาสตร์ คิดสร้างสรรค์ คิดสิ่งใหม่ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เพื่อเอาชนะปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ของสาธารณะชน ฯลฯ
2.ต้องมี Project เมื่อคิดได้แล้วนำสิ่งที่คิดได้มาบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ทำเป็นโครงการ ทำ Action Plan ทำตัวชี้วัดความสำเร็จ  ( Key Performance Indicators (KPI) )
3.มีการประเมินผลโครงการ
ต้องมีการปรับแผน ใช้แผนสำรอง มีการปรังปรุงอย่างต่อเนื่อง


นวัตกรรมจะประสบความสำเร็จได้ต้องเกิดจากการประสมประสานที่ดีของ 3 ขั้นตอน (3 Stages) ดังต่อไปนี้

  1.เป็นสิ่งใหม่หรือนวัตกรรม โดยจะต้องคำนึงถึงด้านจริยธรรม (Ethic) เป็นหลัก จากการนำความรู้เดิมหรือความรู้ใหม่ที่เกิดจากการวิจัย นำมาพัฒนาขึ้นใหม่ให้เกิดเป็นสิ่งใหม่ที่เรียกว่านวัตกรรม

  2.นำมาทำหรือปฏิบัติให้เกิดได้ (Getting, Done) เกิดผลเป็นจริง ตรงประเด็น (Reality, Relevancy : 2R)

  3.เป็นประโยชน์ต่อด้านเศรษฐกิจ และสังคม  จากการใช้นวัตกรรมนั้น 

วิธีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
     การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยทั่วไปแล้วสามารถทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่นิยมทำกันเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ 1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการศึกษา 2) การพัฒนาในงาน 3) การฝึกอบรม กล่าวคือ
1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการศึกษา (Education) หมายถึง การจัดส่งผู้ปฏิบัติงาน/พนักงานเข้ารับการศึกษาเพิ่มเติมในสถาบันการศึกษาในระดับและหลักสูตรการศึกษาต่างๆ รูปแบบที่สำคัญของพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการศึกษา ได้แก่ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
2) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการพัฒนาในงาน(Development) หมายถึง การที่ผู้บังคับบัญชาหรือผู้รับผิดชอบอื่นๆ เช่น ฝ่ายการเจ้าหน้าที่/ฝ่ายการพนักงานได้ทำการสอนงาน (coaching) การแนะนำงาน การเพิ่มหน้าที่และความรับผิดชอบในงาน (Job enrichment) การหมุนเวียนงาน ( Job rotation) ให้พนักงานได้รับความรู้และประสบการณ์จากการทำงานเพื่อเพิ่มพูนทักษะในตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ วิธีการพัฒนาวิธีนี้เป็นการเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาทักษะในการปฏิบัติงาน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานมีขีดความสามารถในการปฏิบัติงานเพิ่มมากขึ้น
3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการฝึกอบรม (Training) หมายถึง การจัดให้ผู้ปฏิบัติงาน/พนักงานได้รับความรู้เพิ่มเติม ได้มีโอกาสฝึกฝนทักษะ และปรับทัศนคติในหลักสูตรต่างๆที่องค์การ/หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกได้กำหนดขึ้น โดยเป็นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านความรู้ ความสามารถ ทักษะ และมีทัศนคติที่เหมาะสมกับการทำงานที่เป็นความรับผิดชอบของพนักงานในปัจจุบัน


การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสถานศึกษา

     สถานศึกษาจำเป็นต้องมีความพร้อมและสร้างศักยภาพของโครงสร้างภายในเพื่อเป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง และมีความสามารถเด่นชัดในการบริหารจัดการเป็นเลิศ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาผู้บริหารและครูให้มีภาวะผู้นำเพื่อนำทุกคนในองค์กรให้มีค่านิยมร่วมในการทำงานอย่างมีอุดมการณ์เพื่อพัฒนาประเทศชาติ สถานศึกษาต้องกำหนดนโยบายส่งเสริมให้ครูสร้างนวัตกรรมทางการเรียนการสอน สนับสนุนให้ครูทำการวิจัยและพัฒนา และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเสริมให้สถานศึกษามีความคล่องตัวในการบริหารและจัดการสารสนเทศ มุ่งเน้นความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรร่วมกันแบบประสานพลัง


ตัวอย่าง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการฝึกอบรมด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีทางไกล


ตัวอย่าง โครงการ การพัฒนาครูรูปแบบครบวงจร

          ตามที่รัฐบาลมีภารกิจหลักในการขับเคลื่อนประเทศสู่ไทยแลนด์ 4.0 ภายใต้การนำของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อยกระดับประเทศไทยสู่ประเทศที่มีรายได้สูง (High Income Country) ด้วยการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม รวมถึงการเร่งพัฒนาบุคลากรภาครัฐให้มีความพร้อมในด้านทักษะดิจิทัล ซึ่งเป็นการพัฒนากำลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลตามยุทธศาสตร์ที่ 5 นอกจากนี้นายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการให้เร่งดำเนินการยกระดับศักยภาพบุคลากรภาครัฐทุกระดับ ด้านทักษะดิจิทัล (Digital Skills) โดยมีกรอบแนวทางการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลและกำหนดทิศทางในการยกระดับขีดความสามารถเชิงดิจิทัลของภาครัฐไทยให้มีประสิทธิภาพ เป็นรูปธรรม และยั่งยืน

          ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการนำไปประยุกต์ใช้ในรูปแบบการบริหารจัดการของภาครัฐ การนำไปเป็นเครื่องมือในการขยายขอบเขตการศึกษา การนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการขยายตลาดของธุรกิจฯลฯ ทำให้ประเทศต่างๆ ในโลกล้วนมีความพยายามที่จะลงทุนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มขึ้น ทำให้ตลาดสินค้าและบริการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของโลกมีมูลค่าเพิ่มขึ้น และมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

          การพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย จึงนับเป็นหัวใจสำคัญในการที่จะพัฒนาสังคมสังคมไทยให้ก้าวสู่สังคมโลกดิจิทัลเทียบเคียงกับอารยประเทศทั่วโลก อีกทั้งเป็นการที่จะทำให้คนไทยสามารถเข้าถึงและ ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต การพัฒนาอาชีพ และส่งเสริมคุณภาพชีวิต ตลอดจสภาพแวดล้อมให้รองรับกับความเจริญด้านอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของกระแสโลกและเพื่อเตรียมพร้อมต่อการก้าวเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0


หมายเลขบันทึก: 643342เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2017 13:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 ธันวาคม 2017 14:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท