พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)


                 พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๑-๑๖ มกราคม ๒๕๓๕ กำเนิน ณ บ้านจิกก่อ หมู่ที่ ๙ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อนายมา ว่งโชติ มารดาชื่อ นาวพิมพ์ ช่วงโชติ มีพี่น้องรวมบิดามารดาเดียวกันจำนวน ๑๐ คน

              หลวงปู่ชา สภทฺโท ขณะมีชีวิตอยู่ท่านได้อทิศชีวิตเพื่อการปฏิบัตะรรมและเผยแผ่พุทธศาสนา ท้งแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งบังเกิดผลทำให้ลงานที่เป้นประโยชน์อเนกอนันต์แก่พระศาสนา ทั้งที่เป้นพระธรรมเทศนาและสำนักปฏิบัติธรรมในนามวัดสาขาวัดหนองป่าพงมากมาย ซึ่งแม้ท่านจะมรณภาพไปนานแล้วแต่ศิษยานุศิษย์ของท่านก้ยังคงรักาแนวทางปฏิบัติธรรมที่ท่านได้สั่งสอนไว้จนถึงปัจจุบัน

             หลวงปู่ชาได้รับการศึกาชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนบ้านก่อ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จงหวัดอุบลราชธานี จบชั้นประถมปีที่ ๑ แล้วได้ลาอกจากโรงเรียนเพราะมีจิตใจใฝ่ทางบวชเรียนภายหลังเมื่อบวชเรียนแล้วได้เรียนหนังสือธรรมเรียนบาลีไวยากรณ์ เรียนมูลกัจจายน์ จนสามารถอ่านแปลบาลีได้ และได้ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้ชั้นสุงสุดสายนักธรรม คือสอบได้นักธรรมชั้นเอก

              เมื่ออายุ ๑๓ ปีหลังจากลาออกจากโรงเรียนประถมศึกษาแล้ว โยมบิดได้นำไปฝากกับเจ้าอาวาสเพื่อเรียรุ้บุพกิจเบื้องตนเกี่ยวกับบรรพชาวิธี จึงได้รับอนุญาตให้พรรบชาเป็น สามเณรชา โชติช่วง เมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ โดยมีท่านพระครูวิจิตรธรรมภาณี (พวง) อดีตเจ้าอาวาส วัดมณีวราราม อุบลราชธานี เป็นอุปัชาย์สามเณรชา โชิตช่วง ได้อยู่จำพรษาและศึกษาพระปริยัติธรรม ตลอดจนอยุ่ปฏิบัติคราจารย์ เป็นเวลา ๓ ปี เอาใจใส่ต่อภารกิจของสามเณรท่องสอดมนต์ทำวัตร ศึกษาหลักสูตรนักธรรมปฏิบัติพระเภระ แล้วจึงได้ลาสิกขาบทมาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนาทั้งนี้ด้วยความจำเป็นของครอบครัว แบบชาวไร่ชาวนาอีสานทั่วไป ด้วยจิตจที่ใฝ่ในการบวชเรียน จึงสำนึกอยู่ตลอดเวลาว่าจะต้องอุปสมบทเป็นพระให้ด้ เมื่อายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ภายหลังเมื่อตกลงกับบิดามารดและท่านทั้ง ๒ ก็อนุญาตแล้วจึงได้ฝากตัวที่วัดก่อในใกล้บ้าน แล้วได้รับอนุญาตให้อุปสมบทได้เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒  ณ พัทธสีมา วัดก่อใน ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานี โดยมีพระเภระสำคัญทีห้การอุปสมบทดังนี้ พระครูอิทรสารคุณ เป็นพระอุปัชาฌาย์ พระครูวิรุฬสุตการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการสอน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระชา สุภทฺโท ได้จำพรรษาอย่ ณ วัดก่อนอก ๒ พรรษา ตั้งใจศึกษาปริยัติธรรม ทั้งจากตำรับตำราและจากครูอาจารย์ จนสอบนักธรรมขั้นตรีได้ในสำนักวัดก่อนอกแห่งนี้

                เมื่อพระชา สุภทฺโท สอบนักธรรมตรีได้แล้ว ก็อยากเรียนให้สุงขึ้นเพราะมีจิตใจรักชอบทางธรรมอยู่แล้ว แต่ขดครูอาจารย์ในการสอนระดับสูงต่อไป นึกถึงภาษิตอีสานว่า “บ่ออกจากบ้านบ่ฮู้ ฮ่อมทางเที่ยว บ่เฮียนวิชาห่อนสิมีความฮู้” ชีวิตช่วงนี้จะเห้นได้ชัดว่า พระชา สุภทฺโท มุ่งเรียนปริยัติธรรมให้สูงสุด จึงทุ่มเทให้การศึกษาทั้งนักธรรมและบาลี และผ่านสำนักต่างๆ มากมายจนในที่สุดก็นสอบนักธรรมได้ครบตามหลักสุตร คือ สอบนักธรรมชั้นได้ ในสำนักของ พระครูอรรคธรรมวิจารณ์สอบนักธรรมชั้นเอกได้ในสำนักวัดบ้านก่อนอกถิ่นเกิด

              เสร็จภารกิจการศึกษา ประกอบกับเกิดธรรมสังเวชครวโยมบิดาเสียชีวิต จึงหันมาสู่การปกิบัติธรรม โดยออกธุดงค์และสึกษาหาแนวทางปฏิบัติในสำนักต่างๆ ผ่านอาจารย์ก็มากมาย เช่น ที่สำนักของหลวงพ่อเภา วัดเขาวงกฎ จ.ลพบุรี และพระอาจารย์ชาวกัมพูชาที่เป้ฯพระธุดงค์ซึ่งได้พบกันที่วัดเขาวงกฎ หลวงปู่กินรี อาจารย์คำดี หลวงปุ่ทองรัตน์ พระอาจารย์มั่น เป็นต้น พออินทรีย์แก่กล้าแล้วก็ออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมต่อไปเร่อยๆ โดยยังดำรงสมณเพศเป็นพระมหานิกายอยู่ตลอดเวลา จนในที่สุดดรับอาราธนาจากโยมมารดาและพี่ชาย เพื่อกลับไปโปรดสัตว์ที่บย้านเกิด เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ ก็ได้ดำเนินการสร้างวัดป่าขึ้น ซึ่งเรารุ้จักในปัจจุบัน คือ “วัดหนองป่าพง” และท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนี้มาโดยตลอด และถึงแก่มรณภาพเมื่อ ๑๖ มกราคม พงศ. ๒๕๓๕ ที่วัดหนองป่าพง อย่างสงวบท่ามกลางธรรมสังเวชของศิษยานุศิษย์จากทุกสารทิศ

              หลวงปุ่ขา สุภทฺโท ขณะมีชีวิตอยุ่ท่านได้อุทิศชิวิตเพื่อการปฏิบัติธรรม และเผยแผ่พุทธศาสนาทั้งแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งบังเกิดผลทำให้ผลงานที่เป็นประโยชน์อเนกอนันต์แก่พระศาสนา ทั้งที่เป็ฯพระธรรมเทศนาและสำนักปฎิบัติรรม อาทิตย์        

              ธรรมเทศนา สำหรับบรรพชิต สำหรับคฤหัสถ์ เสียสละเพื่อธรรม การเข้าสู่หลักธรรมธรรมะที่หยั่งรู้ยาก ธรรมะธรรมชาติ ปฏิบัติกันเถิดธรรมปฎิสันภาร สองหน้าของสัจธรรม ปัจฉิมกถา การฝึกใจ มรรคสามัคคี ดวงตาเห็นธรรม อยุ่เพื่ออะไร เรื่องจิตนี้ นำไหลนิ่ง ธรรมในวินัย บ้านที่แท้จริง สัมมาสมาธิ ขึ้นตรงต่อพระพุทธเจ้า ความสวบบ่อเกิดปัญญา พระองค์เดี่ยว....

              สำนักปฏิบัติธรรม มีสำนักปฏิบัติธรรม ในประเทศไทยซึงอยู่ทุกภาคของประเทศจำนวนทั้งสิ้น ๘๒ สาขา และในต่างประเทศอี ๗ สาขา และเฉพาะศิษย์ที่เป้นพระชาวต่างประเทศซึ่งอยู่เป็นประธานสงฆ์ผู้มีพรรษาต่ำสุดคือ ๑๖ พรรษา ...

            วัดหนองป่าพง เป็นวัดป่าฝ่ายอรัญวาสี มีจดเริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๖ โดยพระโพธิญาณเถร ต่อมาได้รับวิสุคามสีมาเมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๗ ตั้งอยู่บ้านพงสว่าง หมู่ที่ ๑๐ตำบลโนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ปัจจุบันัดหนองป่าพงมีวัดสาขาทั้งในและต่างประเทศจำนวนมาก จากการเผยแผ่ พระพทะสานาสายวิปัสสนากรรมฐาน โดยบรรดาพระลูกศิษย์ซึ่งศรัทธาในปฎิปทาของหลวงปู่ชา สุภทฺโทhttps://th.wikipedia.org/wiki/...

             วัดหนองป่าพงเป็นสำนักปฺฎิบัติธรรมที่แวดล้อมด้วยธรรมชาติมุ่งหมายที่การประพฤติพรหมจรรย์ตามรอยพระยุคลบาทของพระโคตมพุทธเจ้าทีทรงดำรงพระชนม์ชีพในป่าเพื่อค้นคว้าแสดงหนทางพ้นทุกข้อ แล้วทรงนำความรู้แจ้งเห็นจริงนั้น มาเผยแผ่เกื้อกูลความสุขแก่มหาชนทั่วไป

              วัดหนองป่าพงกำเนิเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ เมื่อหลวงปู่ชาพาคณะเดินางมาถึงดงป่าพงอันหนาทึบ ซึ่งอยุ่ห่างจากบ้านก่อ บ้านเกิดของหลวงปุ่ ปรมาณ ๒-๓ กิลโลเมตร ในวันนั้นคณะธุดงค์ได้ไปปักกลดค้างแรมที่ริมหนองน้ำชายป่า...

              ครั้งแรกก็อยุ่ด้วยกันสี่รูป ได้รับความทุกข์ยากลำบากสารพัอย่างแต่การประพฤติปฏิบัติเช้มช้นมาก การอดทนนี ยกให้เป็นที่หนึ่ง ฉันข้าวเปล่าๆ ก็ไม่มีใครบนเงียบ ไม่มีใครพุด

             ต่อมาได้มีการขุดบ่อน้ำ และใช้ดินที่ขุดขึ้นมาน้นถมพื้น สร้างงศาลาหลังเล็กๆ ซึ่งเป้นที่ประชุมสงฆ์ต่อมาอีกหลายปี หลวงปุ่ยังเล่าถึงสภาพของวดหนองป่าพง ในสมัยเริ่มก่อตั้งนั้นให้ญาติโยมฟังว่า

             “ วัดป่าพงสมัยก่อนนี้ลำบากมาก ที่แห่งนี้เป็นตงใหญ่ เป็นที่อยุ่ของพวกช้างพวกเสือต่างๆ มีหนองน้ำอยู่แห่งหนึ่งสำหรับสัตว์ป่าทั้งหลายอาศัยกิน อาตมามาอยุ่ที่นีที่แรกไม่มีอะไรทั้งนั้น มีแต่ป่าถนนหนทางอะไรอย่าไปพูดถึง การไปมาลำบากมาก ที่ของพวกชาวนาก็อยุ่ไกลเขาไปม่กล้าเข้ามาใกล้ป่านี้ เขาถือว่าเจ้าที่ที่นี่แรงมาก คือแต่ก่อนเจ้าที่เป็นนายโขลงช้าง พาลูกน้องไปคล้องช้างมาขาย ผ่านไปผ่านมาอยู่แถบนี้เสมอ และในที่สุดจึงตั้งหลักฐานอยู่ที่นี รักษาดงแห่งนี้ไว้ ป่าจึงพอมีเหลือจนอาตมาได้มาอาสัย ถ้าไม่อย่างนั้นป่าไหมดไปนานแล้ว เคยมีชาวบ้านผึ่ง บ้านบก เข้ามาจับจอง ถากถาง ทำไร่ทำนากัน แต่ก็ต้องมีอนเป็นไปต่างๆ นานา พวกที่เข้ามาตัดไม้ตัดฟืนในป่านี้ก็มักจะมีเหตุผลให้ล้มตายัน มันแกวมันสำปะหลังที่ขึ้นเองก็มีอยู่มาก แต่ไม่มีใครกล้าแตะต้อง พออาตมามาอยุ่แล้วจึงมีคคนมาทำนาอยู่ใกล้ๆ....

               หลวงปู่ตั้งชื่อวัดแห่งนี้ว่า “วัดหนองป่าพงฆ โดยอาสัยสภาพภูมิประเทศเป้นหลัก แต่ชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากก็คือ “วัดป่าพง”....https://th.wikipedia.org/wiki/...

หมายเลขบันทึก: 642697เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2017 15:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2017 15:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท