ตามรอยประวัติเรือพัทลุง


3 เรือขนาดเล็กที่ใช้ในการติดต่อราชการระหว่างมณฑลกับเมืองพัทลุง ตั้งชื่อว่า เรือพัทลุง

(เรือพัทลุงภาพจากอินเตอเน็ต)

        ทุกครั้งที่ มิตรรักแฟนเพลงชาว G2K มาเยี่ยมเยือน มักจะพาท่องพาชมพัทลุง โดยเพาะ วัดวาอาราม และสถานทางประวัติศาสตร์ 

 ซึ่งก็จะมีเรื่องเล่า ตำนาน ภูมิบ้านนามเมือง ให้ฟังเสมอ แต่เมื่อพาชมวังเก่าเจ้าเมืองพัทลุง และเรือลำที่นำภาพมาประกอบ

 ก็ไม่สามารถ บอกประวัติความเป็นมาได้......

       จนกระทั่งได้รับเอกสาร จา่กท่าน ธนู สรเสนีย์ ที่เสนอโครงการเพื่อการกู้และอนุรักษ์เรือพัทลุง ถึงหม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล 

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และได้แนบประวัติเรือพัทลุงมาด้วย จึงขอคัดลอกบางตอนมาบันทึกไว้ เพื่อได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้แบ่ง

ปันกัน

          "ประวิติเรือพัทลุง" 

"เนื่องจากมณฑลนครศรีธรรมราช เป็นหัวเมืองชายฝั่งทะเล การคมนาคมที่สำคัญที่สุดระหว่างเมือง กับเมือง ระหว่างชุมชนกับเมือง

 จะต้องใช้เรือเป็นพาหนะ ซึ่งสะดวกและรวดเร็วกว่าการคมนาคมทางบก  และประกอบกับขณะนั้นยังไม่มีถนนหนทางเชื่อมโยงติดต่อกัน

ได้ทั่วถึง  ฉะนั้นเรือจึงเป็นพาหนะที่สำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการบริหารงานราชการ  เพื่อสะดวกในการควบคุมและติดต่อ

ราชการของมณฑลนครศรีธรรมราช  รัฐบาลกลางจึงได้จัดส่งเรือสำหรับใช้ประโยชน์ทางราชการไปประจำที่ มณฑล

นครศรีธรรมราช(จังหวัดสงขลา)เป็นสถานที่ตั้งที่ว่าการมณฑล)   จำนวน 3 ลำ 

คือเรือขนาดใหญ่ 1 ลำ

 เรือขนาดกลาง 1 ลำ

 และเรือท้องแบนขนาดเล็ก 1 ลำ

        ตามความเหมาะสมในการใช้กับสถานที่ โดยใช้เรือขนาดใหญ่สามารถต้านแรงลมและกระแสคลื่นได้เป็นอย่างดี 

 ใช้สำหรับการเดินทะเล ติดต่อราชการระหว่างเมืองสงขลากับที่ว่าการมณฑ, กับรัฐบาลกลาง ที่กรุงเทพและกับเมืองนครศรีธรรมราช  

เรือขนาดกลาง(ลักษณะเป็นเรือยอร์ท) วิ่งได้เร็วเหมาะทั้งในน้ำที่ลึกและน้ำตื้น  ใช้สำหรับออกตรวจราชการของข้าหลวงเทศาภิบาล 

 สำหรับลำที่ 3 ซึ่งเป็นเรือขนาดเล็กนั้นเหมาะสำหรับวิ่งในทะเลน้ำตื้น ไม่มีกระแสคลื่นลม ใช้ออกตรวจและติดต่อราชการในทะเลสาบ

 สงขลา พัทลุง ชะอวด เชียรใหญ่ และปากพะนังส่วนที่สำคัญใช้ติดต่อใช้ติดต่อระหว่างเมืองสงขลาที่ว่าการมณฑลกับเมืองพัทลุง

 ในชั้นต้น เรือของทางราชการทั้ง 3 ลำนี้ ยังไม่มีชื่อเรียกที่แน่นอน 

        ต่อมาภายหลังครั้งที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศว์ ดำรงตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาล และอุปราช

มณฑลปักษ์ใต้(พศ 2453 -2469)จึงได้มีการขนานชื่อเรือทั้ง 3 ลำขึ้น โดยนิยมตามลักษณะที่ใช้ ดังนี้....

.1เรือขนาดใหญ่ ซึ่งใช้สำหรับการเดินทะเล ติดต่อราชการระหว่างเมืองสงขลาที่ว่าการมณฑลกับกับเมืองนครศรีธรรมราช ตั้งชื่อว่า "เรือมณฑลนครศรีธรรมราช

 2เรือขนาดกลางสำหรับออกตรวจราชการของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศว์ ข้าหลวงเทศาภิบาลและอุปราช

มณฑลปักษ์ใต้(ในช่วงแรกทรงประทับ ณ วัง สัณฐาคาร ในบริเวณที่ตั้งโรงเรียน วิเชียรชมในปัจจุบัน บริเวณเนื้อที่เขตนั้นชาวบ้านนิยม

เรียกว่า แหล่งพระราม)ตั้งชื่อที่ประทับตามสถานที่ว่า "เรือแหล่งพระราม

3 เรือขนาดเล็กที่ใช้ในการติดต่อราชการระหว่างมณฑลกับเมืองพัทลุง ตั้งชื่อว่า เรือพัทลุง

      ตามปกติเรือทั้ง3ลำในยามว่างจากการใช้งานราชการแล้ว เจ้าหน้าที่ประจำเรือจะนำเรือทณฑลนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นเรือขนาด

ใหญ่จอดลอยลำไว้กลางทะเลสาบวังสัณฐาคาร  ส่วนเรือแหล่งพระรามและเรือพัทลุง จะจอดเทียบท่าไว้ที่สะพานเทศาด้านหน้าวัง

สัณฐาคาร  พร้อมที่จะใช้ประโยชน์ทางราชการได้ทุกเวลา   "ปัจจุบันเรือพัทลุงถูกปลดระวาง จอดติดอยู่ริมริมคลองด้านหลังวังเจ้าเมือง

พัทลุง ตำบลลำปำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง  .......

.ขอบคุณข้อมูลจาก คุณ ธนู สรเสนีย์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ

หมายเลขบันทึก: 640488เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2017 23:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2017 02:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

-สวัสดีครับท่านวอญ่า

-ตามมาชมเรือใหญ่ขอรับ

-ด้วยความระลึกถึงครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท