การจัดการความรู้ในองค์กร


km ในองค์กร
วันนี้ก็มีตัวอย่างองค์กรที่จัดทำเกี่ยวกับเรื่องการจัดการความรู้มาเล่าสูกันฟัง  ซึ่งก็คือการจัดการความรู้ของโรงพยาบาลศิริราชนั่นเอง  มาดูกันดีกว่าว่าโรงพยาบาลศิริราชเค้าจัดการความรู้กันอย่างไรวัตถุประสงค์ที่จัดการความรู้ในองค์กร

-ต้องการเรียนรู้วิธีการจัดการความรู้

-เพื่อนำไปพัฒนาองค์กรให้เหมาะสมกับการบริหารจัดการและวัฒนธรรมองค์กร และใช้ความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพวิธีดำเนินการวิธีดำเนินการ1.ใช้ Model “Knowledge Management Cycle ofImplementation”2.ประชุม พร้อมทั้งมีการประเมินและวิเคราะห์องค์กรขั้นต้น และแต่งตั้ง คณะทำงานจัดการความรู้3.เป้าหมาย คือ มีระบบเครือข่ายของการถ่ายโอนความรู้(ด้าน CQI ทางคลินิก) เพื่อให้มี Best Practices ในการดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลศิริราช แผนการทำงาน1.Transition and Behavior Managementกิจกรรม- วิเคราะห์วัฒนธรรมในด้านต่าง- แต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงการ กำหนดหน้าที่รับผิดชอบ- สื่อสาร ผู้บริหาร ถึง ผู้ปฏิบัติ- วางแผน/กำหนดผู้รับผิดชอบและขอบเขต2.Comunicationกิจกรรม- กำหนดคำจัดความ รูปแบบ และกระบวนการ- ให้ความรู้เรื่อง การจัดการความรู้ในองค์กร- ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ เพื่อสร้างกระแสแลกเปลี่ยนเรียนรู้3.Process and Tool  กิจกรรม - ฐานข้อมูล CQI และฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ- ชุมชนแห่งการเรียนรู้ COP (Community of Practice) - ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ เพื่อสร้างกระแส แลกเปลี่ยนเรียนรู้-ระบบสารสนเทศที่เอื้ออำนวยต่อการจัดการความรู้4.Learningกิจกรรม- จัดฝึกอบรมทักษะที่เกี่ยวข้องในการแลกเปลี่ยนเรียนให้แก่บุคลากร5.Measurementsกิจกรรม- พิจารณาคัดเลือกเครื่องชี้วัดที่เหมาะสม-กำหนดแนวทางและสร้างแบบประเมิน/ติดตาม-ดำเนินการเก็บข้อมูลวิเคราะห์และปะเมินผล 6.Recognition and Rewardsกิจกรรม- กำหนดผู้รับผิดชอบการให้รางวัล-กำหนดกิจกรรม/เกณฑ์/พฤติกรรม ของกลุ่มเป้าหมาย

- มอบรางวัล/ประกาศ เผยแพร่ ภาพถ่าย

ที่มา : http://www.tsu.ac.th/office/eso/KM/กรณีศึกษาโรงพยาบาลศิริราช.pdf

ดูองค์กรในประเทศกันไปแล้วทีนี้มาดูกันดีกว่าว่าองค์กรในต่างประเทศที่เด่นๆ เค้าจัดการความรู้กันอย่างไร  ตัวอย่างที่นำมาเสนอกันในวันนี้ก็คือ บริษัท Fuji Xerox ของประเทศญี่ปุ่น

บริษัท Fuji Xerox ประเทศญี่ปุ่น  มีการจัดตั้งหน่วยที่เรียกว่า KnowledgeDynamics Initiative (KDI) ขึ้นมา โดยเป็นหน่วยที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทต่างๆ ในเครือในการพัฒนาระบบ KM ขององค์กร รวมทั้งสามารถหารายได้จากการเป็นที่ปรึกษาให้กับองค์กรอื่นๆ ด้วย ซึ่งในการพัฒนาระบบ KM นั้น บริษัท Fuji Xerox ได้ให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการบุคลากรในองค์กร (Human Oriented Management) ส่วนการพัฒนา IT เป็นเพียงปัจจัยสนับสนุน ไม่ใช่ปัจจัยนำของการพัฒนา ซึ่งจากประสบการณ์ที่ผ่านมาของบริษัทพบว่า การใช้การพัฒนา IT เป็นปัจจัยนำ เพื่อพัฒนาระบบ KM ขององค์กร เป็นความผิดพลาดอย่างมาก และจะนำไปสู่ความล้มเหลวในที่สุด ดังนั้น บริษัทจึงให้ความสำคัญกับคนและสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้คนมีปฏิสัมพันธ์ (interaction) กันในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะความรู้ที่เป็น Tacit Knowledge ในการจัดการความรู้ของ  Fuji Xerox นั้นเน้นความสัมพันธ์ของ 3 มิติ คือคน (Human Perspective) บรรยากาศแวดล้อม (Environment Perspective) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Perspective) โดยจากวิสัยทัศน์ของบริษัทที่กำหนดว่า สร้างบรรยากาศเพื่อสนับสนุนบุคลากรที่ใช้องค์ความรู้ (Provide environment to support knowledge worker)”จะเห็นได้ว่า บริษัท Fuji Xerox ให้ความสำคัญอย่างมากในการสร้างปัจจัยด้านบรรยากาศแวดล้อม ซึ่งที่เรียกว่า “Ba” ที่กระตุ้นและเอื้อให้คนในองค์กรเกิดความใฝ่เรียนรู้ และใช้องค์ความรู้เพื่อให้เกิดผลในทางธุรกิจ (Leverage individual ideas and passion into businessresults) รวมทั้งมีการสร้าง Community of Practice (CoP) เพื่อต้องการเชื่อมโยงคนในองค์กรให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันอยู่เสมอ โดยใช้กระบวนการที่ไม่เป็นทางการ(informal) และจุดเน้นที่สำคัญคือ “การเชื่อมโยงคน” ไม่ใช่ “การรวบรวมข้อมูล” (KM is not “Collecting Data” but “Connecting People”) นอกจากนี้ บริษัทมีค่านิยมพื้นฐาน คือเปิดโอกาสให้ทุกคนที่มีความคิด (ideas) สามารถเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ได้เสมอ สำหรับ  Fuji Xerox ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทเล็งเห็นความสำคัญขององค์ความรู้และมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาองค์กรโดยใช้ความรู้ จึงได้กำหนดเป้าหมายขององค์กร 3ประการ คือ (1) สร้างสภาวะแวดล้อมสำหรับการสร้างสรรค์และการใช้องค์ความรู้ที่มีประสิทธิผล (2) เสริมสร้างความก้าวหน้าของชุมชนโลก (global community) ด้วยการส่งเสริมความเชื่อใจซึ่งกันและกัน (mutual trust) และเพิ่มคุณค่าของวัฒนธรรมที่หลากหลาย และ (3) บรรลุถึงการเจริญเติบโตขององค์กรโดยเติมเต็มความเป็นมืออาชีพและชีวิตส่วนตัวของคนในองค์กร รวมทั้งได้มีการกำหนดสโลแกนขององค์กร คือ“Strong, Considerate, and interesting” และผู้บริหารได้สื่อสารวัฒนธรรมองค์กรใหม่ให้แพร่กระจายไปยังบริษัทต่างๆ ในเครือทั่วโลก ผ่านทาง campaign “New Work Way”ซึ่งพนักงานทุกคนในบริษัทจะได้รับการสนับสนุนให้เกิดแรงจูงใจของตนเอง (Selfmotivated) ในการทำตามแนวทางการทำงานแบบใหม่ (New Work Way) และในปี1998 บริษัทได้กำหนดพันธกิจ (Mission Statement) ว่า ความรู้เป็นแกนสำคัญของธุรกิจขององค์กร (Knowledge is at the core of its business)”นอกจากนี้ ผู้บริหารของบริษัทยังเล็งเห็นความสำคัญว่าจุดเน้นสำคัญของการพัฒนาระบบKM ไม่ใช่อยู่ที่ “กระบวนการ (Process)” เท่านั้น แต่จะต้องให้ความสำคัญต่อ “แนวปฎิบัติ (Practice)” ดังนั้น จึงเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาระบบ KM ของบริษัทอย่างต่อเนื่อง จึงได้ริเริ่มจัดตั้งกลุ่มธุรกิจใหม่ (new business group) เรียกว่าKnowledge Dynamic Initiatives Group (KDI) ขึ้น เพื่อทำหน้าที่เป็นกลุ่มที่ปรึกษาที่จะสนับสนุนการสร้างสรรค์ความรู้ของบริษัท และลูกค้า โดยมีจุดเน้นที่การกระตุ้นพนักงานแต่ละคน (Motivated Individuals) และการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีพลวัตร(Dynamic “ba”) ความจริงจังมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนระบบ KM ของผู้บริหารบริษัท FujiXerox เห็นได้ชัดเจนจากการที่ผู้บริหารเข้าร่วมกิจกรรม KM ของบริษัทในทุกกิจกรรมและเปิดโอกาสให้พนักงานร่วมทำงานในโครงการด้าน KM ต่างๆ เช่น Virtual Hollywoodซึ่งเป็นกิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของพนักงาน โดยอนุญาตให้พนักงานใช้เวลางานบางส่วนในการดำเนินโครงการได้ ที่มา : http://www.nesdb.go.th/news/template/interestingdata/data/data46.pdf
คำสำคัญ (Tags): #mit#km#class
หมายเลขบันทึก: 63015เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2006 11:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท