(168) วันเสาร์ที่ยังทำงานภายนอกและภายใน


(168)

วันเสาร์ที่ 17มิถุนายน

ภารกิจและกิจกรรมที่ทำในวันนี้;

ทำภารกิจส่วนตัว เตรียมอาหารขึ้นถวายพระ ได้ข้าวปลอดสารจากพี่อ้อย หุงถวายพระ รับข้าวเสร็จ นั่งทำงานและตามเด็กๆ มาพูดคุย ซึ่งเขาจะมีภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและรู้ความมากพอที่จะรับผิดชอบได้

สายๆ แม่รีกับหมอนีช่วยนวดคลายเส้นและถอนพิษร้อนให้โดยติ๋วมาช่วยทำน้ำคลอโรฟิลล์ให้ ในใจนึกอนุโมทนากับทุกคนที่คอยช่วยเกื้อหนุนอยู่เสมอ

วันทั้งวันทำงานออกแบบกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ฐาน KM ให้หลายหน่วยงาน พร้อมทั้งเขียนหนังสือ สลับกับการนั่งสมาธิภาวนา

ข้อปฏิบัติในชีวิต;

- สวดมนต์ทำวัตรเช้า

- เตรียมอาหารถวายพระ

- นั่งสมาธิภาวนา เดินจงกลม

- เขียนถอดบทเรียนใคร่ครวญในตนเอง

- ศึกษาธรรมะจากการฟังเทศน์

- ทำวัตรเย็น

สิ่งที่ได้เรียนรู้และคุณค่าที่เกิดขึ้นในชีวิต;

ใคร่ครวญในตนเองว่าคนเราชอบแบบไหนระหว่าง

1.ผู้สอนกำหนดให้ทำ 1,2,3,...

หรือ

2.ผู้เรียนเล่าให้ผู้สอนฟังว่าจะทำอะไร แล้วไปลงมือทำภายใต้การติดตามของผู้สอน ด้วยการทำ reflection ภายใต้คำถามหรือสถานการณ์ที่ผู้สอนให้ใคร่ครวญว่า "ทำไปแล้วได้เรียนรู้อะไรบ้าง"

แบบไหนน่าจะเกิด inspiration และ passion มากกว่ากัน?

"ความรู้ที่จับต้องได้ มักมีพลังไปสู่การปฏิบัติมากกว่าความรู้เชิงทฤษฎีที่ได้เพียงแค่เสพอารมณ์ทางความคิด"

https://www.facebook.com/nipaporn.lakornwong/posts...

ผู้สอนแบบที่ 1 เก่งผู้เรียนจะชื่นชมผู้สอนมาก ผู้สอนแบบที่ 2 ผู้เรียนเก่งผู้สอนจะรู้สึกชื่นชมผู้เรียนมากเพราะมองเห็นการเปลี่ยนแปลงในตัวเขา

กลับมาวิเคราะห์บทสนทนาระหว่างผู้สอนแบบที่ 2 ผู้เรียนจะมีความคิดพรั่งพรู ผู้สอนเพียงฟังและถามเพื่อให้กระจ่าง แต่พอตอนที่คุยกับผู้สอนแบบที่ 1 ผู้เรียนเป็นฝ่ายฟัง แม้จะได้ความรู้แต่เป็นความรู้เทียมที่เป็นเพียง information เราส่วนใหญ่มักแยกไม่ออก ศักยภาพของผู้เรียนดำเนินไปไม่เต็มที่ ความรู้ที่เกิดเป็นความรู้ของผู้สอน ไม่ใช่ความรู้ของผู้เรียน

และเมื่อคุยกับผู้สอนแบบที่ 2 ในสมองผู้เรียนจะเกิดกระแสไฟ เพราะเกิดการตื่นรู้ คิด และใคร่ครวญ ตกผลึก เป็นพลังพรั่งพรู

นี่แหละที่เขาเรียกว่าเกิดสภาวะการเรียนรู้และเกิดความรู้ แต่แบบที่เรียนกับผู้สอนเก่ง เราได้รับเพียงสาร/ข้อมูล (information) เท่านั้น

บทธรรมที่ได้ศึกษา;

"...จงทำ "ใจ" ให้เหมือน "แผ่นดิน" เพราะว่าแผ่นดินที่เราอาศัยอยู่ทุกวันนี้ ไม่ได้เคยโกรธใครทำอะไรใครเลย

จงทำ "ใจ" เหมือน "น้ำ" เพราะธรรมดาของน้ำย่อมเป็นของสะอาด ชำระของสกปรกได้ทุกเมื่อและเป็นของดื่มกิน

เพื่อมีชีวิตช่วยเหลือแก่สรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง

จงทำ "ตน" ให้เหมือน "ผ้าเช็ดเท้า" เพราะธรรมดาของผ้าเช็ดเท้า ย่อมไม่มีความรักความชัง ฉันใด ใจเราก็ทำเหมือนกัน ฉันนั้น

เมื่อเราตั้งใจฝึกฝนอบรมได้เช่นนี้แล้ว ไปอยู่ที่ไหนก็มีแต่ความสุข ความทุกข์ในใจก็จะไม่เกิด ดังสุภาษิตที่ท่านกล่าวไว้ว่า

"..จิตตัง ทันตังสุขาวหัง.." จิตที่ฝึกฝนมาดีแล้ว นำมาซึ่งความสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า..."

โอวาทธรรมหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล(ธฺ) ต.โนนทัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู

๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๐

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

#Noteเตือนตนเอง

17-06-2560


คำสำคัญ (Tags): #self reflection#mind#spiritual
หมายเลขบันทึก: 629959เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2017 21:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2017 21:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท