ปกรณ์
ว่าที่ร.ต. ปกรณ์ ปกรรณกรณ์ คำกอง

ความรู้เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

หลัก ๒ ๓ ๔ และ ๓ ศาสตร์/ หลักการ 3 R หลัก 4 C

  • หลักการ ๒ เงื่อนไข คือ ความรู้และคุณธรรม
  • หลักการ ๓ ห่วง

ขอบข่ายของความรู้ คือ ฝึกตนให้แสวงหาความรู้เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ มีความรอบคอบระมัดระวัง ในการนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิต

ขอบข่ายของคุณธรรม คือ เสริมสร้างพื้นฐานจิตใจที่ดีและตระหนักในคุณธรรม ศีลธรรม เช่น ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ แบ่งปัน มีน้ำใจ ไม่โลภ เป็นต้น

ขอบข่ายของ ห่วงที่ ๑ พอประมาณ คือ รู้การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยความเหมาะสม พอเหมาะ พอควรกับสภาวะและศักยภาพไม่มากหรือน้อยเกิดไป ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน

ขอบข่ายของ ห่วงที่ ๒ มีเหตุผล คือ ตัดสินใจบนพื้นฐานของความถูกต้อง ความเป็นจริงตามหลักการวิชาการ กฎหมาย ศีลธรรม ค่านิยม โดยคำนึงถึงระยะสั้น ระยะยาว อย่างเป็นระบบ

ขอบข่ายของ ห่วงที่ ๓ มีภูมิคุ้มกัน คือ เตรียมตัวรับสภาพความเปลี่ยนแปลงต่างๆปรับตัวและหามาตรการในการรับมือกับผลที่อาจเกิดขึ้นอย่างทันท่วงที

*สมดุลพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง*

๓. หลักการ ๔ มิติ (หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง)

ขอบข่ายของ มิติที่ ๑ วัตถุ คือ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างประหยัด คุ้มค่า สอดคล้องกับศักยภาพและสภาวะอย่าง

มีเหตุผล

ขอบข่ายของ มิติที่ ๒ สังคม คือ เห็นคุณค่าและมีทักษะในการอยู่ร่วมกันในสังคม โดยการมีวินัย เคารพกฎกติกา

รู้จักแบ่งปัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ซื่อสัตย์ เพื่อสร้างความผูกพัน รักใคร่ สามัคคี

ขอบข่ายของ มิติที่ ๓ วัฒนธรรม คือ ภูมิใจในวิถีการดำเนินชีวิตที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น

ขอบข่ายของ มิติที่ ๔ สิ่งแวดล้อม คือ ตระหนักในคุณค่า เคารพ และระมัดระวังในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ

ของชุมชน สังคม ประเทศชาติและโลกโดยรวม และมีความรับผิดชอบต่อคนรุ่นหลัง

  • ๕ ด้าน ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

ด้านที่ ๑ ด้านการเกษตร , ด้านที่ ๒ ด้านวัฒนธรรม , ด้านที่ ๓ ด้านสังคม

ด้านที่ ๔ ด้านสิ่งแวดล้อม , ด้านที่ ๕ ด้านเศรษฐกิจ

๕.๓ ศาสตร์ หลักการทรงงานของพระราชา

ศาสตร์ที่ ๑ ศาสตร์พระราชา

  • จะทำอะไรต้องศึกษาข้อมูลให้เป็นระบบ
  • ระเบิดจากข้างใน
  • แก้ปัญหาจากจุดเล็ก
  • ทำตามลำดับขั้นตอน
  • ภูมิสังคม ภูมิศาสตร์
  • ทำงานแบบองค์รวม
  • ไม่ติดตำรา
  • ประหยัด เรียบง่ายได้ประโยชน์สูงสุด
  • ทำให้ง่าย
  • การมีส่วนร่วม

ศาสตร์ที่ ๒ ศาสตร์ภูมิปัญญา

  • ผู้รู้
  • วิทยากรท้องถิ่น

ศาสตร์ที่ ๓ ศาสตร์สากล

  • หนังสือและตำรา
  • งานวิจัย
  • การพัฒนาการอ่านจับใจความ
  • ข้อมูลจากสื่ออินเตอร์เน็ต

๖.หลักการ 3R คือการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความสามรถและทักษะ (Abilities and Skills) ดังนี้

  • การอ่าน (Reading)
  • การเขียน (Writing)
  • การคำนวณ (Arithmetic)

๗.หลักการ 4C คือทักษะในการสร้างนวัตกรรม ได้แก่

  • ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking Problem Solving)
  • ทักษะการสื่อสาร (Communication)
  • ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Collaboration)
  • ทักษะความคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creativity)

ข้อมูลจาก การอบรมโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย

หมายเลขบันทึก: 628324เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2017 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มกราคม 2023 16:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท