(122) สำโรงทาบ


(122)

วันอังคารที่ 2 พฤษภาคม

สองวันนี้คือ 2-3 พฤษภาคมมีภารกิจร่วมขับเคลื่อน R2R ที่สำโรงทาบ จ.สุรินทร์ ที่พักที่หมอพรเตรียมไว้ให้สัปปายะดี ไม่วุ่นวาย สงบ และครอบครัวหมอพรดูแลต้อนรับเรื่องอาหารการกินด้วยตนเอง ซึ่งกลับมาเคร่งครัดการทานอาหารมื้อเดียว ทำให้เบาตัว จิตมีกำลังและภาวนาได้ดีมาก

ช่วงเช้าได้พบกับท่าน ผอ.รพ.สำโรงทาบซึ่งท่านมีวิสัยทัศน์ที่ดีมากๆ ต่อการทำวิจัยและการนำ R2R มาเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนพัฒนางาน และตัวท่านเองก็ได้ทำวิจัยในงานประจำไปด้วย

ได้สรุปที่ท่าน ผอ.รพ.บรรยายพิเศษช่วงเช้า : R2R รพ.สำโรงทาบ

Re ac รอบนี้ครั้งที่สอง มีการพัฒนาต่อเนื่องมาตลอด มีความเชื่อว่าในการทำงานประจำที่ผ่านมาทำวิจัยเล็กๆ ในงานประจำ เช่น มีบุคลากรคนหนึ่งทำคัดกรองคนไข้ที่มาตรวจนำไปเข้าคลินิกอดบุหรี่

ประเด็นที่นำมาสู่การตัดสินใจเลือกมาพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ

High cost การเจ็บป่วยที่ใช้เงินมาก

High volume โรคที่มีคนไข้ที่เยอะมาก

เช่น โรคตา โรคไต

นำแพทย์ทางเลือกมาใช้ผสมผสาน/เสริมในการรักษาดูแลผู้ป่วยโรคไต (เช่น แพทย์แผนจีน กินยา )ผลจะเป็นอย่างไร

- คัดกรอง CKD

- นำแพทย์ทางเลือกมาใช้ผสมผสาน

แล้วเจาะ Cr เพื่อดูผล

"สำโรงทาบโมเดล"

นำไปใช้ในคนไข้กลุ่มอื่นได้อีก แพทย์ทางเลือกไม่ได้สร้างอันตรายแก่ผู้ป่วยน่าจะเป็นส่วนเสริมให้ผู้ป่วยฟื้นฟูได้ดีขึ้น

ขณะที่ฟังสังเกตได้ว่าท่านผู้อำนวยการได้มีการสะท้อนถึงวิธีและทักษะทางการวิจัยเข้ามาใช้ในการทำงาน

ส่วนความคาดหวังของปู้เข้าร่วมในการอบรม R2R ครั้งนี้คือ

- มีความรู้ความเข้าใจในการทำ R2R

- นำไปพัฒนางานประจำที่ทำหน้าที่อยู่ให้เป็นงานวิจัย

- มีผลงาน R2R ของหน่วยงาน

- มีแรงจูงใจในการทำ R2R

- มีความมั่นใจในการทำ R2R

- มีความสุขในการทำ R2R

- เข้าใจถึงกระบวนการทำ R2R

- สามารถวิเคราะห์ปัญหาในหน่วยงานไปสู่การทำวิจัย

- สามารถถ่ายทอดความรู้การทำ R2R แก่บุคคลอื่นๆ ได้

กระบวนการเรียนรู้ได้ให้ทุกคนได้ลองช่วยกันค้นหาคุณค่าจากการทำ R2R สรุปได้คือ

ต่อคนทำงาน

- เกิดนวัตกรรมขึ้นมาใหม่

- ได้งานประสบความสำเร็จ

- จัดการสุขภาพชุมชนแบบองค์รวม

- มีความสุข

- เกิดการเรียนรู้ มองเห็นปัญหาแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ

- เข้าถึงปัญหาของชุมชน

- เป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน

- มีคุณค่าในตนเอง

- ลดการเกิดโรค

ต่อผู้ป่วย

- ได้เข้าถึงระบบบริการแบบองค์รวม

- ได้รับการดูแลอย่างครอบคลุม

- มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สุขภาพดีขึ้น

- ปรับทัศนคติต่อการรับบริการสุขภาพ ยอมรับบริการ

- ได้รับการดูแลและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

- สามารถดูแลตนเองได้ในขั้นพื้นฐาน

ต่อองค์กร

- มีความร่วมมือเป็นเครือข่ายไม่แยกส่วน

- ตอนสนองนโยบาย

- ภาพลักษณ์ดี

- มีทีมและการประสานงาน

- ได้รับความพึงพอใจ

- มีแบบอย่าง โมเดล

- ทำงานเป็นทีม ภาคีเครือข่าย

- ลดความแออัด

02-05-2560


คำสำคัญ (Tags): #self reflection#mind#spiritual
หมายเลขบันทึก: 628297เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2017 09:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2017 09:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท