นักกิจกรรมบำบัดกับมะเร็งระยะสุดท้าย


บทบาทของนักกิจกรรมบำบัดในผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย


มะเร็งระยะสุดท้ายคือเซลล์มะเร็งได้ลุกลามไปไกลและลงลึกมาก หากรู้ในครั้งแรกผู้ป่วยอาจปฏิเสธความจริงที่เกิดขึ้นกับตนเอง บางรายอาจจะมองข้ามและไม่ยอมรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับตนเอง ดังนนั้นการรักษาจะมีประสิทธิผลที่ดีได้ จิตใจของผู้ป่วยต้องยอมรับที่ความเป็นไปของโรคและยอมรับตัวเองให้ได้ ซึ่งในส่วนนี้นักกิจกรรมบำบัดนั้น มีบทบาทสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยปรับทัศนคติและสภาพจิตใจของตนให้ดีขึ้นได้ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาซักระยะที่จะทำให้ผู้ป่วยยอมรับตนเองให้ได้


จากในหนังสือ “การจัดการตนเองเมื่อเป็นมะเร็ง” กล่าวไว้ว่า “กิจกรรมบำบัด หมายความว่า การกระทำเกี่ยวกับความสามารถของบุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้ และการพัฒนา เกี่ยวกับเด็ก โดยกระบวนการตรวจประเมิน ส่งเสริม ป้องกัน บำบัด และฟื้นฟูสมรรถภาพ ให้สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ เพื่อให้บุคคลดำเนินชีวิตได้ตามศักยภาพโดยการนำกิจกรรม วิธีการ และอุปกรณ์ที่เหมาะสมมาเป็นวิธีการในการบำบัด”

(จากพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขากิจกรรมบำบัด เป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 พ.ศ.2545)


ผู้ป่วยอาจจะมีความบกพร่องในการทำงานหรือกิจกรรมด้านต่างๆ ซึ่งอาจจะส่งผลต่ออนาคตของเขา นักกิจกรรมบำบัดจะเข้าไปประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมของเขา ประเมิน Occupational area ด้านต่างๆ เช่น ADLs ,Social เพราะว่าการเป็นโรคนานๆทำให้เขาต้องโดดเดี่ยวจากสังคมภายนอก ดูความต้องการของเขาคืออะไรแล้วเขาจะสามารถทำอะไรได้บ้างและฟื้นฟูตามความสามารถที่เขาเหลืออยู่


บทบาทของผู้ป่วยเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากำด้รับรู้ว่าเกิดโรคขึ้น ดังนั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นสิ่งสำคัญ การเปลี่ยนแปลงบทบาทหรือพฤติกรรม(Role Behavior Shift) นักกิจกรรมบำบัดต้องเข้าไปทำให้เขาสามารถดำเนินชีวิตด้วยบทบาทใหม่อย่างมีความสุขและมีคุณค่าในชีวิต


แนะนำการรักษาตัวเองให้ผู้ป่วย (Self Treatment)ควบคู่ไปกับการรักษาทางการแพทย์ เป็นการแนะนำให้ผู้ป่วยดูแลตนเอง ทั้งในด้านการรับประทานอาหาร กินวิตามินควบคู่ การออกกำลังกาย ลดความเครียดโดยการคิดบวก และนักกิจกรรมบำบัดสามารถจัดโปรแกรมตารางการดูแลตัวเองให้ผู้ป่วยอีกด้วย นอกจากนี้ยังสามารถปรับสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวของผู้ป่วย ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วย


กำลังใจ สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่มีความสุข ลดความทุกข์ทรมานจากโรคได้ นักกิจกรรมบำบัด ให้คำแนะนำกับครอบครัวและคนดูแลผู้ป่วย ถึงสิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยต้องการ แนะนำการดูแลผู้ป่วย หากผู้ป่วยไม่สามารถดูแลตนเองได้ และสิ่งสำคัญคอยอยู่ข้างๆมอบรอยยิ้มและกำลังใจให้ผู้ป่วยเสมอ ให้เขารู้สึกไม่โดดเดี่ยวและไม่ต้องเผชิญกับโรคนี้ตามลำพัง


สำหรับในระยะนี้ จะเน้นเรื่องกำลังใจและการมีความหวัง และยังเน้นถึงความเป็นจริงของโรค ให้ผู้ป่วยยอมรับและอยู่กับโรคให้ได้ดีที่สุดจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต



อ้างอิง

ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง.(2553). การจัดการตนเองเมื่อเป็นมะเร็ง. นนทบุรี: เทพประทานการพิมพ์.

รศ.เบญจวรรณ อิทธิจารุกุล(2546).มะเร็ง ต้องสู้. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพิมพ์ดีจำกัด.

Sarah L. Penfold.(1996).Cancer Treatment Reviews.Journal of St Thomas’ Hospital,22, 75-81.

หมายเลขบันทึก: 625900เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2017 17:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มีนาคม 2017 17:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท