บทบาทนักกิจกรรมบำบัดในผู้ที่มีประสบการณ์ Oncology ระยะแรก


เมื่อเกิดวันหนึ่งเราพบว่า จากร่างกายที่แข็งแรง กลับกลายเป็นร่างกายที่ไม่ปกติกำลังตกอยู่ในโรคร้าย ชีวิตที่เหลืออยู่ของคุณจะเป็นไปในทิศทางใด คุณจะมีวิธีจัดการกับความเครียดหรืออาการซึมเศร้าได้อย่างไร

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งนั้นเกิดได้จากหลายปัจจัย

1. ควบคุมหรือป้องกันได้ เช่น การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม (35%) ,การสูบบุหรี่ (30%) และการติดเชื้อต่างๆ (10%)

2. ควบคุมหรือป้องกันไม่ได้ เช่น การถ่ายทอดทางพันธุกรรม

กระบวนการกิจกรรมบำบัดช่วยเหลือในผู้ป่วยที่หมดหวังหรือสิ้นหวังที่พบ ได้แก่

  • ให้ผู้รับบริการได้ทบทวนความสามารถของตนเองในปัจจุบัน
  • ส่งเสริมความคิดด้านบวก
    • เปลี่ยนแนวคิดจากที่มองว่ามะเร็งเป็นสิ่งที่น่ากลัว ให้มองว่ามะเร็งคือเพื่อนชีวิต เราจะใช้ชีวิตต่ออย่างไรให้มีความสุข
  • แนะนำให้ผู้รับบริการทำความเข้าใจถึงผลกระทบของโรค
  • พูดคุยกับผู้รับบริการให้เปิดใจยอมรับกระบวนการดูแลตัวเอง และแนะนำให้ผู้รับบริการวางแผนการดูแลตนเอง
  • เน้นให้ผู้รับบริการทำกิจกรรมที่เป้าหมาย มีความสุขต่อตนเอง
  • ส่งเสริมให้ผู้รับบริการคิดว่ามีเพียงร่างกายของตนที่อ่อนแอลง แต่จิตวิญญาณของผู้รับบริการยังแข็งแกร่ง
  • ส่งเสริมให้ผู้รับบริการใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย มีความรับผิดชอบในการทำกิจกรรม และทำกิจกรรมเพื่อส่วนรวมด้วยความภาคภูมิใจ
  • แนะนำวิธีการจัดการกับความเจ็บปวด หรือรับมือกับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น
  • จัดการทัศนคติและความเชื่อด้านการเจ็บปวดของผู้รับบริการ
  • เรียนรู้ความสัมพันธ์ของผู้ดูแลและผู้รับบริการ รวมถึงดูสิ่งแวดล้อมที่ผู้รับบริการจะต้องใช้ชีวิตอยู่ หากพบอะไรที่ไม่เหมาะสมให้ปรับ
  • สอนเทคนิคการจัดการความเครียดที่เกิดขึ้น (ความแปรปรวนทางอารมณ์)
    • สาเหตุของโรคคืออะไร

สิ่งที่ได้รับ หากผู้รับบริการทราบถึงสิ่งที่ทำให้เกิดโรค ก็จะจัดการกับอารมณ์และอาการลุกลามได้มากขึ้น

    • ยิ้มให้กับตัวเอง

สิ่งที่ได้รับ เราเจ็บเพียงแค่นี้ ยังดีกว่าคนอื่นอีกหลายพันหลายหมื่นคน

    • ไม่คิดแง่ลบ

สิ่งที่ได้รับ คิดว่าโรคมะเร็งนั้นสามารถรับมือได้ ไม่ใช่ว่าไม่มีทางรักษาหรือเยียวยา

    • คิดว่าก่อนหน้าที่ผู้รับบริการจะตรวจพบ ผู้รับบริการก็ยังสามารถทำงานได้มากมาย ตอนนี้เป็นแบบนี้ก็ยังมีความสามารถที่ทำได้
    • ไม่เปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่นที่แข็งแรงกว่า

สิ่งที่ได้รับ เพราะยิ่งเปรียบเทียบยิ่งทำให้จิตใจของผู้รับบริการห่อเหี่ยว หมดแรงจะสู้กับความเจ็บป่วย

    • ไม่ควรอยู่เฉยๆ

สิ่งที่ได้รับ ผู้รับบริการได้ใช้เวลาไปกับการทำกิจกรรม ไม่ใช่คิดแต่เรื่องความเจ็บป่วย

    • ระบายความเครียดออกมา
    • พยายามช่วยเหลือผู้อื่นเท่าที่ผู้รับบริการจะทำได้
    • สิ่งที่ได้รับ ผู้รับบริการจะรู้สึกเห็นถึงคุณค่าของตนเอง
    • ฝึกจิตใจให้สงบ


    อ้างอิง

    พระครูสันติธรรม. (2549.) ชีวิตกับสุขภาพ. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา สถาบันบันลือธรรม

    คณาจารย์สาขากิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล. (2555.) กิจกรรมบำบัดเพื่อประชาชน. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์แสงดาวจำกัด

    สำนักจัดการความรู้ กรมการควบคุมโรค. (ม.ป.ป.) 7 กลุ่มโรคไม่ติดต่อ. ม.ป.ท.

หมายเลขบันทึก: 625897เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2017 16:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มีนาคม 2017 16:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท