บทบาทของนักกิจกรรมบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย


มะเร็งระยะสุดท้าย

ก่อนอื่นเรามารู้จัก มะเร็ง กันก่อน

มะเร็งเกิดจากเซลล์ที่มีการแบ่งตัวผิดปกติเนื่องจากขาดสารพันธุ์กรรมบางตัวที่เป็นตัวควบคุมการแบ่งเซลล์จึงทำให้ไม่สามารถควบคุมการแบ่งเซลล์ของเซลล์นั้นๆได้จึงแบ่งเซลล์ออกมาเรื่อยๆไม่หยุดจนเกิดเป็นก้อนเนื้อขึ้น

มะเร็ง มีทั้งหมด 5 ระยะ คือ ระยะที่ 0 ระยะที่ 1 ระยะที่ 2 ระยะที่ 3 และ ระยะที่ 4

ซึ่งแบ่งตามความรุนแรงในการกระจายตัวของเซลล์มะเร็ง โดยผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งระยะสุดท้ายที่คนเขาเรียกกันคือผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งระยะที่ 4 นั่นเอง ซึ่งเป็นระยะที่มีการกระจายตัวของเซลล์มะเร็งไปยังอวัยวะอื่นทั่วร่างกาย

มาถึงบทบาทของนักกิจกรรมบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งในระยะนี้บ้าง

สิ่งที่แรกที่นักกิจกรรมบำบัดพิจารณาในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งไม่ว่าจะระยะไหน คือ ความต้องการและความปรารถนาของแต่ละบุคคล ใช้เป็นศูนย์กลางในการรักษา โดยทุกๆการรักษาควรจะใช้ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง ไม่ให้การรักษาโดยปราศจากการร่วมกันวางแผนการรักษากับผู้รับบริการ

การให้การฟื้นฟูผู้ป่วยมะเร็งมีเป้าหมายคือ เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้สามารถทำสิ่งต่างๆได้อย่างอิสระโดยปราศจากการช่วยเหลือให้มากที่สุด

เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งระยะนี้เป็น ระยะที่ ส่วนมากจะไม่สามารถรักษาให้หายได้เขาจึงได้รับการรักษาแบบประคับประครอง ในต่างประเทศ ผู้ป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายที่หมอสามารถกำหนดเวลาที่เหลือที่อยู่ของเขาได้ จะได้รับการดูแลเป็นพิเศษเพื่อให้เขาใช้ชีวิตช่วงสุดท้ายได้อย่างมีความสุขมากที่สุด โดยการดูแลผู้ป่วยมะเร็งในระยะนี้ นักกิจกรรมบำบัด สามารถที่จะช่วยได้เป็นอย่างดี

สิ่งที่นักกิจกรรมบำบัดทำคือ

1.การประเมิน

Ex.

- ความต้องการ

-ความเข้าใจในสภาพร่างกายและจิตใจของตน

-การปรับความคิดและการวางแผนการใช้ชีวิตที่เหลืออย่างไรให้มีคุณค่า

2.การให้คำแนะนำแก่คนที่ผู้ป่วยรัก

Ex.

- เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างหมอและผู้ป่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจและยอมรับสภาวะของร่างกาย

-ให้กำลังใจและยอมรับความต้องการของผู้ป่วยในการวางแผนการทำกิจกรรมต่างๆ ในช่างเวลาที่เหลืออยู่

-จัดหาอาหารที่ผู้ป่วยชอบมาให้ทาน

-ญาติชวนผู้ป่วยจัดกิจกรรมยามว่างในโรงพยาบาล เพื่อเบี่ยงเบนความที่คิดเกี่ยวกับมะเร็งและความตาย

3.การจัดการกับความเครียดและความวิตกกังวลของผู้ป่วย

Ex.

-หาเทคนิคการผ่อนคลายสภาอารมณ์ที่มีประสิทธิผลแก่ผู้รับบริการร่วมกับผู้รับบริการ

-ให้ผู้รับบริการนึกถึงคำพูดหรือการกระทำใดๆ(Stress-coping thoughts) ที่ตนคิดว่าเป็นหนทางการผ่อนคลายความวิตกกังวลได้

4.ทำให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด


สิ่งต่างๆเหล่านี้จะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งระยะสุดท้าย มีคุณภาพชีวิตและความสุขกับการใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ได้อย่างมีคุณค่ามากที่สุด


อ้างอิง

1.ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง.(2553). การจัดการตนเองเมื่อเป็นมะเร็ง. นนทบุรี: เทพประทานการพิมพ์.

2.ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง.(2551).กิจกรรมบำบัดพัฒนาชีวิต. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

3.Sarah L. Penfold.(1996).Cancer Treatment Reviews.Journal of St Thomas’ Hospital,22, 75-81

4. สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์.ระยะของโรคมะเร็ง (Stage of Cancer)

. สืบค้นจาก http://www.chulacancer.net/faq-list-page.php?id=32...



หมายเลขบันทึก: 625895เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2017 16:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มีนาคม 2017 14:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท