สถาบันอุดมศึกษากับการพัฒนาประเทศ : เครือข่ายไทย-ลาว


วันที่ 15 มีนาคม 2560 มีโอกาสได้เข้าร่วมการประชุม University-Business-Industry Roundtable networking and Promoting Thai-Loa PRD Economic Development

ถามกันว่าทำไมเราต้องมา วัตถุประสงค์เป็นอันดับแรกที่จะทำให้ผู้ทำงานมีความเข้าใจบทบาทและทิศทางของมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน และลำดับต่อมาคือเรียนรู้ความต้องการ และแนวโน้มความร่วมมือ ซึ่งจะเป็นโอกาสที่ห้องสมุดจะเรียนรู้ในการจัดทรัพยากรและบริการที่อาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนในเรื่องเหล่านั้น ดร.ณรงค์เดช อัครเศรณี นายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้บรรยายพิเศษในพิธีเปิดเกี่ยวกับบทบาทของสถาบันอุดมศึกษากับการพัฒนาความเข้มแข็งของภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยและประเทศ สปป.ลาว


ท่านณรงค์ กล่าวว่า สถาบันอุดมศึกษานั้นมีส่วนสำคัญในสังคม เพราะการผลิตบัณฑิตเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจ ศึกษาวิจัยและนำผลความรู้ไปสู่การปฏิบัติและพัฒนา แก้ปัญหาต่างๆ ของประเทศ และเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต

มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงเน้นการผลิตบัณฑิตให้มีทักษะทางวิชีพเพิ่มเติมจากหลักสูตรเพื่อที่จะตอบโจทย์ความต้องการของภาคธุรกิจได้ มีการจัดการอุทยานการเรียนรู้สาขาต่างๆ เช่น TCDC Khon Kean โดยใช้ความเชี่ยวชาญของบุคลากรเพื่อปรับกรอบแนวคิดของนักศึกษา (Mind Set) ให้เรียนรู้การบูรณาการความรู้ การประกอบอาชีพละการเรียนรู้ชุมชนไปด้วยกัน เป็นศูนย์วิจัยเฉพาะทางสำหรับการทดสอบวิจัยต่างๆ ที่สนับสนุนห่วงโซ่การผลิต (Support Supply Chain) โดยที่ภาคธุรกิจไม่ต้องซื้อเครื่องมือและเสียเวลาศึกษาเอง ร่วมกับผู้ผลิตในการทำการวิจัยและพัฒนา (Research&Development)

ด้านธุรกิจนั้น ประเทศลาวนั้นมีความร่ำรวยทางทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ไฟฟ้า ถ่านหิน แร่ธาตุ และสิ่งที่เหมือนกับประเทศไทยคือ ความร่ำรวยทางศิลปะและวัฒนธรรม ที่จะนำมาซึ่งเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อันประกอบด้วยนำวิถีชีวิต วัตนธรรมประเพณี ภูมิปัญญามาออกแบบและใช้เทคโนโลยให้สามารถขายได้ ขายบนความสามารถในการใช้งานได้และความสวยงาม (Innovation+Design) ดังนั้นการพัฒนาความเข้มแข็งของภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยกับสถาบันอุดมศึกษานั้น ต้องมีการเชื่อมโยงที่เกิดจากความร่วมมือในการพัฒนาวิจัยร่วมกัน การผลิตบัณฑิตได้ตรงกับงาน และการทำงานของนักธุรกิจและนักวิชาการในการแปลงความรู้สู่เชิงพาณิชย์ ความรู้นี้นอกจากการวิจัยแล้ว ยังมาจาก การสัมมนา การประชุมวิชาการ

นอกจากการบรรยายแล้ว มีจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการบรรยายของอีกช่วงคุณเข็มชาติ สมใจวงษ์ ประธานหอการค้าจังหวัดขอนแก่นในเรื่องบทบาทของภาคธุรกิจกับความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจไทย-ลาว นั้น ที่เล่าถึงการพัฒนาจังหวัดขอนแก่นในเป็นศูนย์กลางต่อเชื่อมระหว่างไทยกับลาวในยุค AEC ฉันสรุปได้ว่าแนวโน้มของอาชีพที่จำเป็นที่จะตอบสนองความต้องการของความเข้มแข็งของธุรกิจของ 2 ประเทศ ต้องเกี่ยวข้องกับ

-การบริหารจัดการ

-การบริหารจัดการพลังงาน: น้ำ ไฟฟ้า ลม

-เขื่อน

-อุตสาหการ

-โลจิสติกส์

-การออกแบบผลิตภัณฑ์

-การวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม

-การจัดการท่องเที่ยวแบบเชื่อมโยงระหว่าง Herritage Place ของประเทศเพื่อนบ้านที่มีอาณาเขตติดต่อกัน

-การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

-ด้านการแพทย์ในฐานะเป็น Health Hub


สิ่งที่ผู้บริหารห้องสมุดจะต้องทำประการหนึ่ง คือ การนำแผนภาพของมหาวิทยาลัยมาเล่าสู่ผู้ปฏิบัติงานฟัง ให้รบรู้รับทราบความฝันและการเปลี่ยนแปลง แผนงานระยะยาวของมหาวิทยาลัย เพื่อที่ผู้ปฏิบัติจะได้เกิดแรงบันดาลใจ และมองอนาคตของวิชาการร่วมกัน

ในส่วนห้องสมุดเองก็คงต้องอัพเดตตัวเอง เพื่อให้สามารถจัดทรัพยากรและบริการให้สามารถสนับสนุนการเรียนการสอน และการวิจัยที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

ห้องสมุดอาจะเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนข้อมูล จัดเก็บ และวิเคราะห์เนื้อหาที่สนับสนุนการวิจัยของคณาจารย์ และภาคธุรกิจต่อไปได้ ในระดับมหาวิทยาลัย ห้องสมุดอาจจะต้องใช้ความชำนาญในการวิเคราหะ์ จัดหมวดหมู่การวิจัยที่ทำกันมาตั้งแต่อดีตของมหาวิทยาลัย ให้ภาคธุรกิจเห็นว่า มหาวิทยาลัยเก่งอะไรและจะช่วยเติมเต็มภาคธุรกิจอย่างไร

หมายเลขบันทึก: 625884เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2017 13:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มีนาคม 2017 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณในสารความรู้เป็นอย่างยิ่ง ผมคิดว่าจะส่งหนังสือจากประเทศไทยที่เหลือเฟือไปให้ที่นี่เสียแล้ว เพราะดูน่าจะมีคุณค่าและเป็นที่ต้องการอย่างแท้จริงจากคนที่นั่นนะครับ….วิโรจน์ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท