อุปสรรคของ Node กับโจทย์ยากของชุมชนบ้านสระพังแพลอย



วันที่ 14 มีนาคม 60 คณะทำงาน Node นครปฐมนำโดยอาจารย์พีรพัฒน์ พันศิริ ลงพื้นที่ติดตามโครงการ การผลิตและบริโภคผักปลอดสารเคมีในครัวเรือน ชุมชนบ้านสระพังแพลอย ตำบลนิลเพชร อำเภอบางเลน เป็นครั้งที่ 4 อำเภอบางเลน จัดเป็นอำเภอชายแดนของจังหวัดนครปฐมที่ระยะทางห่างไกลกว่า 62 กิโลเมตร ประกอบกับสภาพอากาศในเวลา 14.00 น. ที่ร้อนกว่า 37 องศา ... และถนนหนทางของชุมชนที่เป็นหลุมเป็นบ่อ พร้อมกับความไม่ชำนาญเส้นทางเราจึงพึ่งพา GPS ซึ่งก็พาเราอ้อมโลก เสียเวลาพอสมควรนั่นถือเป็นอุปสรรคในการทำงานของ Node เล็กๆสำหรับการลงชุมชนครั้งนี้ แต่นั่นไม่ได้ทำให้เราย่อท้อเพราะเรารู้ว่า เราจะต้องไปถึงจุดหมายให้ได้เร็วที่สุด " ชาวบ้านรอเราอยู่ "

ผูู้รับผิดชอบโครงการนี้ คือคุณป้าโฉมศรี เกษตรกรแท้ๆ คนหนึ่งที่อยากเห็นชุมชนของตนพัฒนา แม้จะไม่ได้เรียนจบสูงแต่มีความมุ่งมั่นและตั้งใจสูง ทุกครั้งที่ Node ติดตามโครงการนี้ ทุกครั้งที่เจอ " ป้าโฉม " สิ่งหนึ่งที่ทำให้ Node เชื่อมั่นว่าโครงการนี้จะต้องประสบความสำเร็จ และไปรอดได้แม้จะล้มลุกคลุกคลานกันบ้าง ผิดบ้างถูกบ้างคือ แววตาแห่งความมุ่งมันของป้าโฉม ความเป็นนักสู้ ที่บอกกับ Node ทุกครั้งว่า " ยังไงก็จะสู้ให้ถึงที่สุด " ถึงแม้ไม่เข้าใจในระบบเอกสาร การทำรายงานตามระเบียบของ สสส. บริหารจัดการด้านเอกสารได้ไม่ดีด้วยความเป็น ชาวบ้าน แต่สิ่งหนึ่งที่ Node เห็นและรับรู้มาตลอดคือการพยายามพัฒนาตนเอง อย่างเช่น ครั้งแรกๆที่ Node ไปติดตามขอดูบันทึกการทำรายงานของคณะทำงานปรากฎว่าคณะทำงานจดบันทึกการทำรายงานไว้รวมกับโครงการอื่นๆ ที่ได้รับรวมเป็นเล่มเดียวกัน ทำให้ไม่มีความเป็นระเบียบ Node จึงให้คำแนะนำว่า คุณป้าควรจะแยกเล่มให้ชัดเจน จะได้ไม่เกิดความสับสนและเป็นระเบียบง่ายต่อการทำงานรวมถึง เอกสารอื่นๆ ก็ควรจะแยก ซึ่งเมื่อไปติดตามครั้งนี้ขอดูอีกทีก็พบว่า คณะทำงานแยกไว้ชัดเจนแล้และบอกกับเราว่า มันง่ายกว่าจริงๆด้วย นี่เป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ที่ทำให้ Node ยิ้มได้ ดั้งนั้นอาจเรียกได้ว่าศักยภาพของป้าโฉม อาจยังไม่ได้เรียกว่าเป็นอุปสรรคหรือโจทย์ที่เราบอกว่ายากของชุมชนบ้านสระพังแพลอย

แต่สิ่งที่ถือเป็นโจทย์ยากที่ Node สัมผัสได้อย่างชัดเจนของโครงการนี้ คือความแตกต่างทางความคิดของคณะทำงาน แม้จะมีเป้าหมายเดียวกันแต่ ทัศนคติ ความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ต่างฝ่ายต่างไม่รับฟังความคิดเห็นของกันและกันทำให้การมีส่วนร่วมของสมาชิกในโครงการลดน้อยลงไปจากเดิม ซึ่งอาจารย์พีรพัฒน์ได้แนะนำว่าควรจะต้อง ประชุมทีมงานเพื่อหาแนวทางแก้ไขร่วมกันว่าจะทำอย่างไร ซึ่งป้าโฉมและทีมงานรับปากว่าจะรีบประชุมทีมงานและ มองว่าทางออกของการแก้ปัญหาครั้งนี้จะต้องอาศัย บารมีผู้ใหญ่บ้าน เข้ามาช่วย ซึ่งเชื่อว่าผู้ใหญ่บ้านพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาและผลักดันโครงการได้ อย่างไรก็ตามจากการติดตามการดำเนินงานโครงการในครั้งนี้ทราบว่าโครงการกำลังดำเนินกิจกรรมและเกิดผลลัพธ์อยู่ในบันไดขั้นที่ 2 โครงการมีการจัดการอบรมให้ความรู้และเริ่มลงมือปลูกผักแล้ว และกำลังจะก้าวต่อไปตามกิจกรรมที่วางไว้


ซ้ายมือเป็นสมุดที่เคยจดรายงานรวมกันทุกอย่าง ขวามือเป็น สมุดที่จดเฉพาะรายงานของ สสส.


หมายเลขบันทึก: 625880เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2017 10:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มีนาคม 2017 13:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท