นโยบาย QE ในสหรัฐอเมริกา


QE มาตรการผ่อนคลายในเชิงปริมาณทางการเงิน


QE เป็นที่รู้จักว่าเป็นการพิมพ์ธนบัตรเพิ่มเติม (Printing Money) ซึ่งก็คือเม็ดเงินใหม่ๆ ที่อัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจนั่นเอง

QE4 13 ธันวาคม 2555 เพิ่มวงเงินการเข้าซื้อพันธบัตรกระทรวงการคลังเพิ่มเติมอีก 45,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อเดือน จากเดิมใน QE3 เป็นการเข้าซื้อพันธบัตรหรือตราสารหนี้ในตลาดจำนองอสังหาริมทรัพย์ ในวงเงิน 40,000 ล้านเหรียญฯต่อเดือน ส่งผลให้ “เฟด” ปล่อยเงินเข้าระบบต่อเดือนเพิ่มจากเดิมรวมเป็น 85,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เหตุผลคือต้องการขยายผลการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่องนอกจากนโยบายการเงินและเสถียรภาพด้านราคา “เฟด” ถูกกำหนดไว้ให้ดูแลการจ้างงานของประเทศด้วย เนื่องจากประเทศมีการจ้างงานต่ำมาก “เฟด” จึงออกมาตรการเพิ่มการจ้างงาน เพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจของประเทศ


ผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย

เมื่อมีการพิมพ์เงินออกมาเป็นจำนวนมาก จะทำให้เงินเหล่านั้นทะลักเข้าไปลงทุนเก็งกำไรในสินค้าโภคภัณฑ์ น้ำมันและอาหาร ทำให้สินค้าปรับตัวขึ้น กำลังซื้อของประชาชนลดลง อาจมีการไหลเข้าของเงินทุนของต่างชาติอย่างมหาศาล จะส่งผลต่อค่าเงินของประเทศที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ทำให้มีการเก็งกำไรค่าเงินที่ส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเงิน การส่งออกได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ช่วงนี้เราจึงได้เห็นข่าวผู้ที่มีส่วนรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ อย่างกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงค์ชาติ) เฝ้ามองและเตรียมออกมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดความผันผวนในอัตราแลกเปลี่ยน เพราะถ้าหาก GDP ของประเทศไทยเราซึ่งส่วนใหญ่มาจากการส่งออก (Export)

คำสำคัญ (Tags): #ผลกระทบ#นโยบาย QE
หมายเลขบันทึก: 625273เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2017 15:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มีนาคม 2017 15:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท