ชนิดของประโยคในภาษาไทย


ชนิดของประโยคในภาษาไทย

ชนิดของประโยคในภาษาไทยแบ่งตามลักษณะ เป็น 3 ชนิด คือ

1.ประโยคความเดียว(เอกรรถประโยค) คือ ประโยคที่มีใจความสำคัญเพียงหนึ่ง คือ มีประธานตัวเดียว กริยาสำคัญเพียงตัวเดียวและอาจมีกรรมหรือไม่มีก็ได้ โดยมีโครงสร้าง ประธาน+กริยา+(บทกรรม) เช่น เราเดินอย่างรวดเร็ว เจ้าหน้าที่ซื้อปลาจากแหล่งเพาะพันธุ์ การเดินเป็นการออกกำลังกาย โปรดนั่งเงียบ เมื่อคืนนี้พายุพัดบ้านพัง

2.ประโยคความรวม(อเนกรรถประโยค) คือ ประโยคที่เกิดจากประโยคความเดียว ตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปมารวมกันโดยมีสันธานเป็นตัวเชื่อม โดยมีโครงสร้าง ประโยคความเดียว+สันธาน+ประโยคความเดียว ประโยคความรวมแบ่งเป็น 4 ชนิด

2.1ประโยคความรวมเชื่อมความคล้อยตามกัน ได้แก่ และ และแล้ว แล้วจึง...ก็ แล้ว...ก็ ทั้ง...และ กับ ครั้น...จึง เมื่อ....ก็

2.2ประโยคความรวมเชื่อมความขัดแย้งกัน ได้แก่ แต่ แต่ทว่า กว่า...ก็ แม้ว่า... แต่...ก็ ถึง....ก็

2.3ประโยคความรวมเชื่อมความให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ หรือ หรือไม่ก็ มิฉะนั้น ไม่เช่นนั้น ไม่...ก็

2.4ประโยคความรวมเชื่อมความเป็นเหตุเป็นผล ได้แก่ จึง ดังนั้น...จึง ฉะนั้น...จึง เพราะฉะนั้น...จึง

3.ประโยคความซ้อน (สังกรประโยค) คือประโยคที่ประกอบด้วยประโยคหลักและประโยคย่อยซึ่งเป็นประโยคซ้อนอยู่ในประโยคหลัก โดยมีสันธานเป็นตัวเชื่อม

องค์ประกอบของประโยคความซ้อนมี 2 ชนิด คือ ประโยคหลัก(มุขยประโยค) คือ ประโยคที่เป็นใจความสำคัญของประโยคใหญ่ และประโยคย่อย(อนุประโยค) คือ ประโยคที่ทำหน้าที่ช่วยประโยคหลักให้มีใจความชัดเจนสมบูรณ์มากขึ้น โดยประโยคย่อยแบ่งเป็น 3 ชนิด

3.1นามานุประโยค คือประโยคย่อยทำหน้าที่เหมือนคำนาม โดยจะทำหน้าที่เป็นบทประธาน บทกรรม และส่วนเติมเต็มของประโยคหลัก

3.2คุณานุประโยค คือ ประโยคย่อยทำหน้าที่เหมือนวิเศษณ์ โดยจะทำหน้าที่ขยายคำนามหรือสรรพนาม ในส่วนที่เป็นประธานหรือเป็นกรรมของประโยคหลัก สันธานเชื่อมประโยค(เป็นประพันธสรรพนาม) คือ ที่ ซึ่ง อัน ผู้ ทำหน้าที่เชื่อมประโยคและแทนคำนามหรือสรรพนามที่อยู่ข้างหน้า

ปากกาที่วางบนโต๊ะซื้อมาจากญี่ปุ่น ประโยคหลัก ปากกาซื้อมาจากญี่ปุ่น

สันธาน ที่ (ประพันธสรรพนาม แทน ปากกา)

ประโยคย่อย ปากกาวางบนโต๊ะ(ทำหน้าที่ขยายคำนาม “ปากกา” ซึ่งทำหน้าที่เป็นประธานของประโยคหลัก)

3.3 วิเศษณานุประโยค คือ ประโยคย่อยทำหนาที่เหมือนวิเศษณ์ โดยจะทำหน้าที่ขยายกริยาหรือวิเศษณ์ ในส่วนที่เป็นกริยาหรือวิเศษณ์ของประโยคหลัก สันธานเชื่อมประโยคได้แก่(ประพันธวิเศษณ์)ได้แก่ ที่ เมื่อ ระหว่างที่ ตั้งแต่ จนกระทั่ง เพราะ ตาม ราวกับ ขณะที่ โดย เป็นต้น ทำหน้าที่เชื่อมประโยค เช่น

เขามาเมื่อฉันหลับ ประโยคหลัก เขามา

สันธาน เมื่อ

ประโยคย่อย ฉันหลับ(ขยาย “มา”)

หมายเลขบันทึก: 624966เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2017 15:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มีนาคม 2017 15:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท