โครงการปริญญาเอก หลักสูตรการจัดการนวัตกรรม PHD 8205 การจัดการทุนมนุษย์ และทุนสังคม รุ่น 14


สวัสดีครับลูกศิษย์ทุกท่าน ผมเปิด Blog นี้ขึ้นมาเพื่อให้เป็นช่องทางในการรวบรวมข้อมูลการเรียนในวิชา PHD 8205 การจัดการทุนมนุษย์ และทุนสังคม อาทิ การสรุปการเรียนรู้ในเเต่ละครั้ง. การใช้เป็นช่องทางในการส่งการบ้านหรือการอภิปรายต่าง ๆ จากการ...
มีต่อ

ผมขอเข้ากลุ่มด้วยนะครับ


ผมขอเข้าร่วมกลุ่มนี้ด้วยนะครั

ปรัชญาของนักปราชญ์จะนานหรือเก่าขนาดไหน ก็ไม่ล้าสมัย

โดยเฉพาะถ้าเราสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมเข้ามาช่วย

เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาทุนมนุษย์

บทสัมภาษณ์คุณพารณ พูดเกี่ยวกับทุนมนุษย์สามารถนำมาเป็นเพิ่มศักยภาพของพนักงานในองค์กรให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพได้

สามารถใช้กับยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 ได้ โดยต้องนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ร่วมในการพัฒนาทุนมนุษย์

ซึ่งในปัจจุบันสอดคล้องกับการแข่งขัน สภาพแวดล้อม การพัฒนาทุนมนุษย์ โดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่และนวัตกรรมมาใช้ในการพัฒนาทุนมนุษย์ ตรงกับหัวข้องานวิจัยของชมภู สายเสมา หัวข้อคือ “บุพปัจจัยของระบบ e-Learning ที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ในโครงการอบรมบุคคลากรของกรมการขนส่งทางบก ในประเทศไทย”

e-Learning คือนวัตกรรมที่นำมาพัฒนาทุนมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในยุค Digital Economy

ประสิทธิภาพ หมายถึง Any Time, Any Place, Any Device

ประสิทธิผล หมายถึง จำนวนคนมาก ๆ และ การอบรมทางไกล เช่นหน่วยงานที่มีหลายสาขาทั้งในและนอกประเทศ

จิรัฐพงศ์ นาคโนนหัน

2. จะเพิ่มประเด็นอะไรบ้างในยุคปัจจุบัน 2560 (โจทย์เดิม 2517)

ประเด็นที่อยากเพิ่มเติมคือ

  1. เรื่องแนวคิดการให้เน้นการใคร่ครวญพิจารณาเกี่ยวกับข่าวสารข้อมูลที่ได้รับเข้ามา ยุคปัจจุบันนั้นเต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายและมีอัตราความเร็วสูงมาก มีทั้งที่เป็นคุณประโยชน์หากรู้จักนำมาใช้และเป็นโทษหากไม่ได้รับการกลั่นกรองที่ดีพอจากผู้รับสื่อ ซึ่งองค์กรก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ทัศนะคติ, ความรู้และช่วยเตือนสติบุคลากรในองค์ให้รู้จักพินิจพิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารต่างๆที่เข้ามาอย่างรอบด้าน มิฉะนั้นอาจมีผลกระทบต่อทัศนะคติโดยรวมของคนในองค์กรไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง.
  2. ปลูกฝังเรื่องทัศนะคติเกี่ยวกับความยืดหยุ่นในการทำงาน จากแนวคิดเกี่ยวกับการศักยภาพของคนที่ไม่มีขีดจำกัด เราอาจนำแนวความคิดนี้มาใช้ในการปรับเปลี่ยนหน้าที่ในการทำงานให้แต่ละคนสามารถรับการมอบหมายให้สามารถเข้าไปร่วมรับผิดชอบงานลักษณะที่แตกต่างออกไป ในขณะที่การบริหารจัดการประสิทธิภาพองค์รวมจะต้องมีความพร้อมอย่างเพียงพอ ประโยชน์ที่ได้รับนั้นจะช่วยให้องค์กรณ์มีศักยภาพในการยืดหยุ่นต่อความเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกซึ่งปัจจุบันมีทักษะรูปแบบใหม่เกิดขึ้นมากมายและต้องการความรวดเร็วในการดำเนินการเพื่อให้ลุล่วงไป.
  3. สนับสนุนการศึกษาด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะเรื่องของเทคโนโลยีด้านการสื่อสารข้อมูลและการใช้โปรแกรมทางด้านอิเลคทรอนิคส์ เพราะให้สามารถที่จะรู้ได้เท่าทันและสามารถควบคุมเทคโนโลยีเหล่านั้นได้ ให้เป็นเครื่องมือสำหรับจัดการความยุ่งยากหลายหลายในกระบวนการทำงาน ทำให้การทำงานได้ง่ายได้ปริมาณงานที่หลากหลาย.
นายสุทัด ครองชนม์

การบ้านจากการดูวีดีโอเมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม 2560 ที่ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้สัมภาษณ์ท่าน พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ในหัวข้อเกี่ยวกับทุนมนุษย์ ซึ่งเป็นวีดีโอที่บันทึกไว้กว่า 30 ปีแล้วนั้น

ในบทสัมภาษณ์ท่านพารณ พูดถึงเรื่องความเชื่อและความศรัทธา โดยท่านเชื่อว่าคนเป็นทรัพย์สินที่เพิ่มมูลค่าต่อองค์กร เมื่อพนักงานทำงานอยู่ในองค์กรนานก็จะยิ่งมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแตกต่างจากทรัพย์สินอื่นที่มูลค่าจะลดลงเมื่ออยู่หรือใช้งานไปนาน ๆ ศักยภาพขององค์กรจึงขึ้นอยู่กับการพัฒนาคนในองค์กร ทำให้คนในองค์กรมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นตลอดเวลา นอกจากนี้เมื่อเทคโนโลยีทันสมัยขึ้น มีเครื่องจักรใหม่ ๆ เกิดขึ้น หากคนไม่พัฒนาก็จะไม่สามารถควบคุมเครื่องจักรใหม่ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น หากจะนำแนวคิดจากบทสัมภาษณ์นี้มาปรับใช้กับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลปัจจุบัน ผมมีความคิดเห็นดังนี้

รัฐบาลควรต้องกำหนดนโยบายการจัดการทุนมนุษย์ให้สอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เนื่องจากนโยบายไทยแลนด์ 4.0 พูดถึงการเปลี่ยนความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบไปสู่ความได้เปรียบในเชิงแข่งขันด้วยนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ โดยการยกระดับขีดความสามารถใน 4 กลุ่มเป้าหมาย คือ

เกษตรแบบดั้งเดิม เป็นเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี

SME แบบเดิม ที่รัฐต้องให้การช่วยเหลือตลอดเวลา เป็น Smart SME และ Start-up ที่มีศักยภาพสูง

การบริการที่มีมูลค่าต่ำ ไปสู่ High Value Services

แรงงานที่ขาดทักษะ ไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง

ซึ่งทั้ง 4 กลุ่มเป้าหมาย คนเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ซึ่งจากการศึกษาเรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์นั้น เราต้องเริ่มจากการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม เป็นอันดับแรก พัฒนาปัญญา เป็นลำดับถัดมา พัฒนาความสุขในการทำงานเป็นลำดับที่สาม สร้างเครือข่ายเป็นลำดับที่สี่ ความยั่งยืนเป็นลำดับที่ห้า เราจึงจะสามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) และสร้างนวัตกรรม (Innovation) เพื่อให้การพัฒนาคนเป็นไปอย่างมั่นคงและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ การสร้างไทยแลนด์ 4.0 ไม่ใช่เพียงการจัดงานสัมมนา หรือการเสาะหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายเท่านั้น การจัดงานสัมมนาเป็นเพียงการเผยแพร่แนวคิดหรือแนวนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ให้ประชาชนได้รับทราบ การเสาะหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น IoT (Internet of Things) ก็เป็นเรื่องที่นำมาสนับสนุนนโยบายเพียงบางส่วน แต่รัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างจริงจัง เพราะหากรัฐบาลสามารถพัฒนาคุณสมบัติพื้นฐานของประชาชนในเรื่องทุนมนุษย์ได้แล้ว การพัฒนาประเทศไทยของเราตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ก็จะสามารถดำเนินการได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน

สมชัย เลขะพจน์พานิช

4. จะใช้ใน 4.0 ได้หรือไม่ อย่างไร

Thailand 4.0 เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบาย ที่ต้องการเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี และ นวัตกรรม บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง และธรรมาภิบาล

เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม”

เปลี่ยนการขับเคลื่อนประเทศด้วย

ภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม

การเกษตรเปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิม ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและใช้เทคโนโลยีหรือ Smart Farming เป็นเกษตรกรแบบเป็นผู้ประกอบการ

เปลี่ยนจาก SMEs แบบเดิมไปสู่การเป็น Smart Enterprises และ Startups ที่มีศักยภาพสูง

เปลี่ยนจากรูปแบบบริการแบบเดิมซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำ ไปสู่บริการที่มีมูลค่าสูง

เปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้และทักษะสูง

ตัวอย่างองค์กรที่ประสพความสำเร็จในนวัตกรรมการจัดการ

  • ธนาคารกสิกรไทย ผู้นำ Digital Banking ของไทย
  • การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยผู้นำด้านพลังงานของภุมิภาคอาเซี่ยน
  • Heineken เปลี่ยนจากบริษัทที่กำลังจะล้มละลายกลายเป็นบิษัทเบียร์พรีเมี่ยมอันดับ 1 ของโลก

Thailand 4.0 จึงเป็นนโยบายที่ต่อยอดการพัฒนาทุนมนุษย์ให้เกิดนวัตกรรม ผ่านทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ เพื่อยกระดับระบบเศรษฐกิจของไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิด ความก้าวหน้า มั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืนแก่สังคมไทย

จิตวิทยาปรัชญา

เศรษฐศาสตร์, สังคมศาสตร์ + นิติศาสตร์

การเงิน, รัฐศาสตร์

วิทยาศาสตร์, จิตวิทยา

เทคโนโลยี ทรัพยากรมนุษย์ ----

นวัตกรรม ----> Thailand 4.0

พอเพียง + ธรรมภิบาล ----

นวัตกรรมการจัดการ

ก้าวหน้า มั่งคั่ง มั่นคง ยังยืน

จะเห็นว่าความสำเร็จหรือล้มเหลว ล้วนมีปัญจัยเริ่มต้นมาจากมนุษย์ทั้งสิ้น

ปัจจัยอื่นๆ เช่น เงินทุน ที่ดิน ทรัพยากร เป็นส่วนประกอบหรือสนับสนุนที่ตามมาให้เกิดความสำเร็จ

กระบวนการในการพัฒนาประเทศภายใต้นโยบาย Thailand 4.0

กำหนดวิสัยทัศน์ให้ทุนมนุษย์เป็นผู้สร้าง 3V

  • Value Added
  • Value Creation
  • Value Diversity

โดยขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี และ นวัตกรรม บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง และธรรมาภิบาล

การพัฒนาทุนมนุษย์ต่อยอดให้สนองตอบต่อนโยบายจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยมีปัจจัยแวดล้อมที่ต้องพิจารณา คือ

ข้อจำกัด อุปสรรค และโอกาส

  • ต้นทุนทางสังคม ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ทัศนคติ ความเชื่อที่แตกต่าง
  • โลกไร้พรมแดน โอกาสและการแข่งขันที่สูงขึ้น
  • ทุนมนุษย์ไทยเชื่อมโยงภูมิภาค
  • โครงสร้างประชากรเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ

แนวทางการพัฒนาทุนมนุษย์

  • สภาวะแวดล้อม
  • การศึกษา การอบรม
  • การจูงใจ
  • การบริหารจัดการในแนวขวาง Cross Function Management

การบูรณาการ

  • การอบรม หลักสูตร สภาพแวดล้อม
  • การสื่อสาร สภาวะแวดล้อมทางสังคม
สพ.ญ.พิกุล ตันสกุล

บทสัมภาษณ์คุณพารณ

เห็นด้วยอย่างยิ่ง เกี่ยวกับแนวคิดของคุณพารณเรื่องคน โดยเฉพาะเรื่องคนเป็นทรัพย์สินขององค์กรที่เพิ่มมูลค่าต่อองค์กรตามเวลาที่ผ่านไป แนวความคิดที่ดีไม่มีล้าสมัย สามารถใช้ได้เสมอ

ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องของการเพิ่มเติม แต่เป็นเรื่องของการให้น้ำหนักหรือเน้นประเด็นที่แตกต่าง เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย ในยุคปัจจุบัน การติดต่อสื่อสารสะดวกรวดเร็วและง่าย กระแสทุนนิยมที่รุนแรง การแข่งขันทางด้านวัตถุ ซัดสาดถาโถมรุนแรง คนดีเสียได้ง่ายขึ้นจากสิ่งยั่วยวนที่เห็นได้ง่าย เข้าถึงได้ง่ายกว่าในอดีตมาก อีกทั้งคนมีโอกาสได้รับความรู้ที่สูงได้ง่ายดายขึ้น เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตนำพามาซึ่ง ความรู้อันไร้ขีดจำกัด มากกว่ายุคก่อนมาก แต่ขณะเดียวกัน ก็เป็นสื่อที่สามารถสร้างโทษได้มหันต์เช่นกัน เรื่องที่เราควรให้ความสำคัญและเน้นให้เข้ากับยุคสมัยเมื่อพัฒนาคนคือ

  • การเน้นการพัฒนาทางอารมณ์ ต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างมาก เพราะคนหนี่งคนที่มีคุณภาพ ไม่ได้หมายเฉพาะถึงความรอบรู้ทางเทคนิคหรือในงานที่ทำเท่านั้น แต่ที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อน หรือยิ่งกว่า คือ ความรู้ทางอารมณ์ และวุฒิภาวะ การอ่านสถานการณ์ การอ่านผู้คนรอบด้าน และ ที่สำคัญ คือ การอ่านตัวเอง การฝึกการรับรู้อารมณ์ตัวเองให้ไว และเท่าทัน
  • เน้นการพัฒนาทางด้านความสัมพันธ์ คนในสมัยปัจจุบันติดอยู่กับเทคโนโลยี ทุกองค์กรใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการทำงาน จนทำให้รูปแบบการทำงานเปลี่ยนแปลงไปมาก เราได้ประสิทธิภาพและความฉับไว แต่เรากำลังสูญเสียความสามารถในการสื่อสาร ศิลปการสื่อสารยังคงเป็นสิ่งสำคัญไม่ว่าจะยุคสมัยไหน
  • เรื่องของความสามารถในการติดต่อสื่อสาร เนื่องจากกระแสโลกาภิวัฒน์ เราจึงไม่ได้ติดต่อแค่คนชาติเดียวกันเป็นส่วนใหญ่อีกต่อไป ความรู้ในเรื่องความแตกต่างระหว่างเชื้อชาติ วัฒนธรรม วิธีคิดและตรรกะที่แตกต่าง เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเรียนรู้เช่นกัน
  • เน้นการพัฒนาเรื่องความอดทน อดกลั้น ซึ่งขาดหายไป เนื่องจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมปัจจุบันที่ทุกอย่างทุกความสงสัย สามารถหาคำตอบได้แค่ใช้ปลายนิ้ว

คนเก่ง ในเรื่องวิชาความรู้ที่ได้เล่าเรียนมา จะกลายเป็นคนที่อันตรายยิ่ง ถ้าไม่ได้ถูกพัฒนาทางอารมณ์ วุฒิภาวะ และการรับฟังผู้อื่น ความรู้หลายอย่างต้องได้มาด้วยการผ่านประสบการณ์จริง เพราะตำราไม่สามารถบอกได้ทุกอย่าง ความน่ากลัวคือ การหลงว่าตัวเองได้เรียนมาสูง ความรู้มาก ทฤษฎีที่ร่ำเรียนมานั้นสุดยอด และ ใช้มากำหนดกฎเกณฑ์หรือกลยุทธให้คนเดินตาม ไม่รับฟังคำท้วงติง แต่มุ่งมั่นเดินไปสู่สิ่งที่กว่าจะรู้ว่าไม่ใช่ก็สายเสียแล้ว

พรรณวิภา ปิยัมปุตระ

๔. จะใช้ใน ๔.๐ ได้หรือไม่อย่างไร

บทสัมภาษณ์คุณพารณนำเสนอแนวทางในการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่องค์การ การความเชื่อมั่น การมีจิตสำนึก/จริยธรรม ความสุข ความผูกพันธ์ของบุคลากร ซึ่งเป็นแนวทาง/เทคนิคที่ทันสมัย และใช้ได้ในทุกยุคสมัย

ทิศทางการพัฒนาประเทศไทยสู่ไทยแลนด์ ๔.0 มุ่งสู่การการพัฒนาเศรษฐกิจโดยปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจสู่ Value-Based Economy หรือ โครงสร้างเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เปลี่ยนจากสินค้าโภคภัณฑ์ เป็น สินค้าเชิงสร้างสรรค์ โดยมีเป้าหมาย ๔ ด้าน ได้แก่ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความอยู่ดีมีสุขของสังคม การยกระดับคุณค่ามนุษย์ และการรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งถึงแม้ว่าแนวทางการพัฒนาตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จะมีประเด็นเกี่ยวกับการยกระดับคุณค่ามนุษย์ แต่เน้นในเชิงความรู้ ความสามารถในการยกระดับด้านเศรษฐกิจ ซึ่งหากใช้แนวทางจากบทสัมภาษณ์ฯ อาจเป็นอีกประเด็นในการใช้เป็นฐานการในยกระดับของคน ให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ หรือเป็นทุนมนุษย์ในการพัฒนา โดยส่วนของ

๑. สร้างความรู้ เข้าใจ และสร้างความเชื่อ (Believe) ของบุลากร ถึงทิศทางการพัฒนาต่าง ๆ เพื่อให้คนทุกระดับสามารถเป็นทุนในการพัฒนาปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับแนวนโยบายที่กำหนด ซึ่งเมื่อเกิดความเชื่อ ความศรัทธาย่อมเกิดการมีส่วนร่วมในคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนา ซึ่งจะประสบความสำเร็จและยั่งยืน

๒. ส่งเสริมคนให้มีมุมมองที่รอบด้าน หลากหลายทั้งปัจจัยภายในประเทศ และปัจจัยนอกประเทศ ซึ่งจะได้ให้เห็นการเปลี่ยนแปลง และความต้องการ (Demand-side) จากภายนอก เพื่อใช้ในการร่วมขับเคลื่อนจากทรัพยากร และทุนในประเทศ (Supply-side)

๓. ใช้การสื่อสารเพื่อให้เกิดการรับรู้ ความเข้าใจ โดยใช้การสื่อสารทั้งจากรัฐบาล /ภาครัฐ (Top-down) และต้องรับฟังเสียงของคน/ประชาชนที่ร่วมขับเคลื่อน (Buttom-up) เพื่อให้เกิดการยอมรับ ความเชื่อ และนำไปสู่เป้าหมายเดียวกัน

๔. สร้างบรรยายกาศการเพิ่มองค์ความรู้ และมีความคิดเชิงนวัตกรรม ทั้งการรับรู้/การคิดแบบใหม่ ๆ การปรับมโนทัศน์ในการใช้ชีวิต/การจัดการ การคิดวิธีการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และการอำนวยความสะดวกทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) หรือสื่อดิจิทัลเพื่อลดต้นทุน ได้นวัตกรรมใหม่ และสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการ

๔. พัฒนาแนวคิดการทำงานเป็นทีม มีความหลากหลายทางเทคนิค/แนวคิด สร้างการทำงานในลักษณะเครือข่ายเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งเรียนรู้จาก Best Practice และปัญหาอุปสรรค

๕. สร้างจิตสำนึก คุณธรรม จริยธรรมในการดำรงชีวิต ทั้งชีวิตประจำวัน และในการทำงาน เนื่องจากการขาดคุณธรรม จริยธรรมของคน ย่อมส่งผลให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบ แตกแยก ขาดความสามัคคี ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา

๖. พัฒนาคุณภาพชีวิต และความสุขตามระดับเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้พร้อมในการพัฒนา

ทุนมนุษย์เป็นทุนสำคัญในการขับเคลื่อนงาน ส่งเสริมการพัฒนา สร้างนวัตกรรม ซึ่งทุนมนุษย์ยิ่งพัฒนายิ่งเกิดมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น การพัฒนาสู่ไทยแลนด์ ๔.๐ ต้องตระหนักถึงการพัฒนาทุนมนุษย์รอบด้าน เป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อน

จตุพจน์ ปิยัมปุตระ

แนวคิดของคุณพารณเรื่องคน ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร

เห็นด้วยกับแนวคิดของคุณพารณ การบริหารงานบุคคลเป็นแนวคิดที่มีความทันสมัยเสมอ เนื่องจากคนเป็นสัตว์สังคม เป็นสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible assets) แนวคิดในการบริหาร/การพัฒนาคนถือเป็นการลงทุน เพื่อรอผลสำเร็จจากการลงทุน โดยการบริหาร/พัฒนาคนต้องพิจารณารอบด้าน ทั้งความคิด ความรู้สึก ความไว้เนื้อเชื่อใจ ความสุข การให้ความเคารพ ความมีศักดิ์ศรี ให้เกียรติซึ่งกันละกัน ซึ่งจะทำให้เกิดความผูกพัน ความมุ่งมั่นในการทำงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย การทำงานเป็นทีม และเครือข่ายซึ่งจะทำให้การทำงานงานขึ้น ลดระยะเวลา เกิดแนวความคิดที่หลากหลาย และประสานส่งเสริมซึ่งกันและกัน

อย่างไรก็ตาม ในบริบทโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง ความไร้พรมแดนเป็นสิ่งที่ทุกประเทศต้องตระหนัก ประกอบกับทิศทางการพัฒนาประเทศ ที่ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเป็นแนวทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ การบริหาร/พัฒนาคน ต้องส่งเสริมความคิดแบบนานาประเทศ ( International) ความหลากหลายในความต้องการ และนโยบาย/แนวพัฒนาของนานาประเทศ ส่งเสริมการใช้การคิดนอกกรอบ วิเคราะห์ ดัดแปลง และสร้างนวัตกรรมในด้านต่าง ๆ ซึ่งสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อไร้สาย ดิจิทัลทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นเครื่องมือ

-------------------------------------

จะเพิ่มประเด็นอะไรบ้างในยุคปัจจุบัน 2560



การสัมภาษณ์คุณพารณ ที่พูดถึงทุนมนุษย์สามารถนำมาเพิ่มศักยภาพของพนักงาน เมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา ท่านได้ให้ประด็นที่ครอบคลุมและมีประโยชน์ม ซึ่งในยุคปัจจุบันเป็นยุคที่การสื่อสารไร้พรหมแดน เราอาจจะต้องมีการเพิ่มประเด็น ในความคิดเห็นของผมดังนี้



- การสื่อสารในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อผ่านทาง จดหมายอิเล็คโทรนิค ทางโทรศัพย์มือถือ ซึ่งเป็นไปอย่างรวดเร็วและกระจายได้ทั่วถึง ซึ่งข่าวสารต่างๆเหล่านี้มีทั้งที่มีการตรวจสอบและไม่มีการตรวจสอบ ซึ่งขึ้นอยู่กับการรับรู้ของผู้ได้รับ ว่าจะมีการกลั่นกรองข่าวสารนั้นๆได้อย่างไรบ้าง ซึ่งข้อมูลบางอย่างอาจทำให้เกิดความเสียหายกับองค์กรได้ ประเด็นนี้จะต้องมีการเตรียมรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้น
- การเพิ่มความปฎิสัมพันธ์ในองค์กร ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันเราติดต่อกันทางโทรศัพย์ จดหมายอิเล็คโทรนิค แม้กระทั่งผ่านแอฟพิเคชั่น ทางมือถือ ลดการประชุมร่วมกัน การสื่อสารเป็นการรับส่งทางจดหมายอิเล็คโทรนิค ซึ่งเราอาจจะไม่มีการพบหน้ากันเลย เจอกันแต่ในตัวหนังสือ หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่วิธีการทำงานแบบใหม่ คือการทำงานที่บ้าน ซึ่งทำให้พนักงานรู้จักกันน้อยมาก ความสัมพันธ์ในที่ทำงานน้อยลง ซึ่งประเด็นนี้ยังใหม่มากสำหรับประเทศไทย แต่ก็กำลังเป็นที่นิยมในประเทศที่พัฒนาแล้ว
- การพัฒนาเรื่องคุณธรรมและจริยธรรม ปัจจุบันมีกลุ่มบริษัท ข้ามชาติเข้ามาในประเทศเรามาก วัฒนธรรมองค์กร ก็มีความแตกต่างกันในแตะละภูมิภาค จะเห็นได้ว่าบางแห่งเน้นแต่ กำไรสูงสุด โดยวัดผลเป็นเป็นหมายต่างๆเป็นตัวชี้วัด ซึ่งบางอย่างก็อาจจะไม่เป็นธรรมกับคู่ค้า ซึ่งบริษัทข้ามชาติเหล่านี้ได้เข้ามาเปลี่ยนคุณธรรมและจริยธรรมของเราหรือไม่

จากบทสัมภาษณ์คุณพารณ

ข้อ 3 นำมาใช้ในภาคราชการได้หรือไม่อย่างไร

ในการอภิปรายครั้งนี้ขอนำประเด็นเกี่ยวกับ “ความเชื่อ ศรัทธา และผู้นำ” ในเบื้องต้น
ขอตอบอย่างเต็มปากเต็มคำว่าสามารถนำมาใช้ได้อย่างแน่นอน

หากวิเคราะห์ให้ดีจะเห็นได้ประเด็นที่เกี่ยวกับคน ทรัพยากรมนุษย์ และทุนมนษย์ ต้อบอกว่าเป็นประเด็นคลาสสิค เพราะไม่ว่าเวลาจะผ่านไปกี่วัน กี่เดือน และกี่ปี สถานการณ์จะผันผ่านไปสักเท่าใด ประเด็นหลักๆ ที่เราได้พูดถึงเรื่องคนก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปเท่าใดนัอาจมีเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดซึ่งก็ผันแปรไปตามสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ต่างๆ

เข้าประเด็นครับ บทสัมภาษณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 30 กว่าปีมาแล้ว แต่เกือบคุกถ้อยคำของคุณภาพารณ และท่าน ศ.ดร.จีระ ยังคงเป็นความจริงจนถึงทุกวันนี้ และน่าจะเป็นความจริงไปอีกนานจนกว่าจะมีวิวัฒนาให้พวกเราเรียน วิชาการจัดการทุนหุ่นยนต์และสังคม

ความเชื่อ ผมเห็นด้วยว่าเป็นสิ่งที่ทรงพลัง เพราะหากเราเชื่อว่าสิ่งนั้นดี เชื่อว่าสิ่งนั้นใช่ จิตใจของคนเราก็จะเอนเอียงไปกับสิ่งนั้น ซึ่งก็สอดคล้องกับหลักศาสนาต่างๆ ที่ใช้ความเชื่อเป็นเครื่องมือในการนำพาให้ผู้คนเข้ามาสนใจศาสนา และกิจกรมต่างๆ ของศาสนานั้นๆ

ศรัทธา ผมเห็นว่าเป็นสิ่งที่เกิดจากความเชื่อที่สั่งสมมานาน จนเกิดเป็นแรงศรัทธา
ไม่ว่าผู้ใดผู้หนึ่งหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งที่ได้รับความศรัทธา จะเกิดเหตุการณ์หรือวิกฤตขึ้นมา แรงศรัทธาที่ผู้คนมีต่อบุคคลหรือองค์กรก็จะเป็นตัวที่จะช่วยให้บุคคลหรือองค์กรนั้นๆ ผ่านวิกฤตไปได้รวมถึงเรื่องการส่งเสริมให้ประสบความสำเร็จด้วยนะครับ

ผู้นำ จึงจำเป็นต้องทำให้บุคลกรในองค์กรเกิดความเชื่อก่อนว่าท่านจะสามารถนำองค์กรไปสู่เป้าหมายได้ เมื่อผู้นำไปในทิศทางที่ถูกต้องและดีแล้ว จนสามารถทำให้บุคลากรเห็นความสำเร็จโดยลำดับ เมื่อนั้นก็จะเกิดพลังศรัทธาขึ้น ผู้นำผู้นั้นก็จะสามารถนำพลังศรัทธาเป็นกลไกสำคัญที่จะนำพาองค์กรค์ไปสู่ความสำเร็จได้อย่างสวยงาม

ดังนั้นผมจึงเชื่อว่าทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน จึงสามารถนำแนวความเรื่อง “คน” ที่คุณพารณได้กล่าวไว้นำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างแน่นอนครับ

ธนานันต์ เอื้ออารักษ์

แนวคิดของคุณพารณเรื่องคน ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร

การที่ได้ฟังบทสัมภาษณ์ระหว่างท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เกี่ยวกับเรื่องทรัพยากรมนุษย์นั้น สามารถเติมเต็มสิ่งที่ผมเคยคิดว่ามีความเข้าใจอยู่แล้วในระดับหนึ่ง ให้เห็นภาพกระจ่างใสมากขึ้นกว่าที่เคยเป็น เห็นภาพตัวอย่าง และเข้าใจลึกซึ้งกว่าที่เคยรู้มา

ผมเคยเรียนรู้มาว่า มนุษย์ เป็นทรัพยากรที่สำคัญและทรงคุณค่าที่สุด เนื่องจากทุกๆ สิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม อะไรก็แล้วแต่บนโลกใบนี้ ถูกขับเคลื่อนด้วยมนุษย์ทั้งสิ้น เมื่อย่อขนาดลงมาสู่ระดับองค์กร พนักงานในองค์กรก็เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนให้หน่วยงานก้าวไปข้างหน้า

ประโยคที่ผมได้ยิน และกระตุ้นให้ผมยิ่งให้ความสำคัญกับเรื่องทรัพยากรมนุษย์คือ คน จะมีมูลค่าเพิ่มในระยะยาว ซึ่งเมื่อฟังแล้วนำกลับมาคิด จะเข้าใจได้ว่าเป็นเรื่องจริงอย่างที่สุด

แต่ทำอย่างไร จึงจะสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับ คน ได้จริงๆ โดยที่เมื่อเราสามารถสร้างให้ คนๆ นั้น มี "มูลค่า" เพิ่มขึ้นได้แล้ว ยังจะรักเรา ยังจะใช้ความสามารถที่มีนั้นเพื่อองค์กรของเรา

ท่านพารณก็ได้ยกตัวอย่างในสิ่งที่ท่านได้ทำ ในการบริหารคน ซึ่งมีลักษณะในการใช้ใจ ซึ่งผมฟังแล้วเห็นว่า เป็นหนึ่งในแนวทางการบริหารคนที่ดีมากจริงๆ การสร้างความเป็นกันเองกับพนักงาน การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การประสานความสัมพันธ์ของผู้คนในองค์กร

ตัวอย่างเช่น ท่านเข้าใจและรู้ว่า บางครั้ง สิ่งที่พนักงานต้องการ ไม่ใช่แค่เพียงค่าตอบแทนที่เป็นเงินเท่านั้น แต่พวกเขาเหล่านั้นยังต้องการสิ่งตอบแทนทางจิตใจอีกด้วย เช่น คำชมเชย หรือกำลังใจ

สิ่งเหล่านี้ฟังดูเหมือนเป็นพื้นฐานง่ายๆ ที่ใครๆ ก็สามารถทำได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วการจะทำให้เกิดผลใช้ได้จริงนั้น เป็นเรื่องยากอย่างที่สุด

เพราะผู้ที่เป็นผู้นำ ผู้ที่จะนำเรื่องนี้ไปดำเนินการ ไปประยุกต์ใช้จริง จะต้องมีความรู้ความเข้าใจ ในสิ่งที่เขาจะดำเนินการเสียก่อน จะต้องทำความเข้าใจก่อนว่า สิ่งที่ผู้ตามนั้นต้องการ มีอะไรบ้าง และต้องทำอย่างไรเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนในองค์กร โดยที่สามารถทำให้องค์กรเจริญเติบโตไปพร้อมๆ กัน

แนวความคิดของท่านพารณนั้น เป็นสิ่งที่ผมเห็นพ้องด้วยอย่างที่สุด และไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า เป็นหนึ่งแนวคิดในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ทรงคุณค่าที่สุดที่เคยมีมา

วลัยลักษณ์ วิทย์กิตติลักษณ์

ดิฉันเห็นด้วยอย่างยิ่งกับแนวคิดการบริหารทุนมนุษย์ เพราะมนุษย์นั้นสำคัญกว่าสิ่งอื่นใดหากองค์กรขาดมนุษย์ที่ดีมีคุณภาพแล้วจะขับเคลื่อนไปข้างหน้าไม่ได้เลย และการพัฒนาทุนมนุษย์นั้น นอกจากจะพัฒนาคนให้เก่งยังต้องพัฒนาคนให้ดีไปด้วย เพราะฉะนั้นการยกระดับทุนมนุษย์นี้ดิฉันก็อยากให้พัฒนาทั้งสองอย่างทั้งด้านจิตใจและกายภาพควบคู่ไปด้วยกัน ในยุคปัจจุบัน นี้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้นเข้ามามีบทบาทสำคัญกับการตลาดเป็นอย่างยิ่ง ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจด้านการบริการไม่เป็นที่น่าประทับใจหากขาดการพัฒนาบุคคลากรด้านการบริการให้มีความเป็นเลิศทางการบริการแล้ว การบริการนั้นก็ไม่สามารถซื้อใจลูกค้าได้ และอาจเกิดการช่วงชิงลูกค้าเราไปให้บริษัทอื่นได้ หรือเสีย Market share ไปนั่นเอง ดังนั้นการพัฒนาทุนมนุษย์นั้น เป็นเรื่องที่จำเป็น และสำคัญอย่างยิ่ง ไม่เพียงแต่พัฒนาคนในองค์กร และยังต้องพัฒนาให้ทุกๆคนในประเทศไปด้วย องค์กรไหนหรือประเทศไหนที่มีการพัฒนาทุนมนุษย์แล้วก็ก็จะนำพาองค์กรหรือประเทศนั้นเจริญก้าวหน้าไปได้อย่างยั่งยืน

วลัยลักษณ์ วิทย์กิตติลักษณ์

1.การปฏิรูปการศึกษาไทยในยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 (การบ้านของวันที่ 15 มกราคม 2560)

ตอบ ดิฉันเห็นว่าจะต้องปฏิรูป 2 ทางใหญ่ๆด้วยกัน

ทางที่ 1 ปฏิรูปโครงสร้างตั้งแต่ระบบบริหารให้มีความยืดหยุ่นในหน้างาน ยกตัวอย่าง เช่น (1.)จัดตั้งผู้อำนวยการการศึกษาลงไปบริหารทุกจังหวัดทั่วประเทศเพื่อให้อำนาจการบริหารเป็นเอกเทศ และมีความคล่องตัวในการบริหารตัดสินใจได้ทันท่วงที สามารถหารายได้เอง และทำรายรับรายจ่ายได้ด้วยตนเอง ดังจะขอกล่าวในการบ้านข้อต่อไปนี้

ทางที่ 2 ปฏิรูปเกี่ยวกับรายวิชาให้เน้นความเข้าใจพร้อมลงมือทำยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น

2.1 ปฏิรูปวิชาคณิตศาสตร์จะพบว่าปัจจุบันเด็กนักเรียนที่เรียนนั้นไม่เข้าใจคณิตศาสตร์ต้องมาประยุกต์เป็นรูปภาพเพราะกระบวนความคิดของคนเราโดยพื้นฐานแล้วสมองมนุษย์จะจำเป็นรูปภาพก่อน ซึ่งระบบการเรียนวิชาคณิตศาสตร์สมัยก่อนไม่ได้เป็นรูปภาพทำให้ยากต่อความเข้าใจ ต่อมามีการประยุกต์เอารูปภาพเข้ามาใช้ให้เด็กเข้าใจวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยังจำกัดในวงแคบคือ ในโรงเรียนกวดวิชา และโรงเรียนเครือสาธิตเท่านั้นซึ่งก็จะทำให้เกิดความเหลือมล้ำของการศึกษาเกิดขึ้นนั่นเอง

2. เสนอโครงการเพื่อปฏิรูปการศึกษาไทยในปัจจุบัน

โครงสร้างบริหารส่วนภูมิภาค

2.1 ผู้อำนวยการด้านการศึกษาจังหวัด

2.1.1 หน่วยตรวจสอบในจังหวัด

2.1.2 รองผู้อำนวยการฝ่ายโรงเรียน 2.1.2.1 ผอ.โรงเรียนประถม 2.1.2.2ผอ.โรงเรียนมัธยม

2.1.3 รองผู้อำนวยการด้านสถาบันกวดวิชา2.1.3.1เจ้าของสถาบันกวดวิชา

โดยหน้าที่ของผู้อำนวยการการศึกษาจังหวัด สามารถทำหน้าที่ได้ดังต่อไปนี้

1.บริหารโรงเรียน และสถาบันกวดวิชาในแต่ละจังหวัดให้เป็นไปตามนโยบายที่วางไว้ โดยจะต้อง

เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งหวัด เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของคนในจังหวัด

2. มีการจัดทำรายรับรายจ่าย และหารายได้ด้วยตนเอง

2.1 สามารถจัดเก็บค่าเทอมนักเรียนเอง และปรับให้เหมาะสมกับค่าครองชีพของคนในจังหวัดได้ด้วย เพราะรายได้ค่าครองชีพ ในแต่ละจังหวัดไม่เท่ากัน ดังนั้นค่าเทอมก็ไม่ควรจะเท่ากัน

2.2 มีการเรียนกวดวิชาที่ยกเว้นค่าเรียนในนักเรียนที่มีฐานะยากจนแต่สามารถเรียนกวดวิชาได้เท่าๆกับเพื่อน ตลอดจนอุปกรณ์การเรียนด้วย

3 แก้ไขปัญหาด้ายบุคลากรได้อย่างรวดเร็วและตรงจุด

3.1 สามารถโยกย้ายครูในจังหวัดเพื่อไปสอนยังโรงเรียนที่ขาดครูได้

3.2 สามารถขึ้นเงินเดือนครู หรือโบนัส เมื่อครูทำผลงานได้ตามเป้าหมาย เช่น หากเด็กนักเรียนสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้เกินร้อยละ 90 แล้ว ครูผู้รับผิดชอบสามารถปรับเงินเดือนได้5% พร้อมโบนัส 2 เดือน เป็นต้น

3.3 หากครูท่านไหนมีผลงานความสามารถที่โดดเด่น สามารถโยกย้ายไปมาระหว่างจังหวัด หรือระหว่างภูมิภาคต่อไปได้ (เหมือนการซื้อขายนักเตะในต่างประเทศ) ซึ่งข้อนี้จะตอบโจทย์ความก้าวหน้าในวิชาชีพครูได้ ปลอดภาระหนี้สิน และยังทำให้ครูต้องพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา ยังเป็นการหารายได้ให้ต้นสังกัดไปอีกทางนึงด้วย ซึ่งเด็กนักเรียนก็จะได้รับประโยชน์มากที่สุดจากโครงสร้างบริหารแบบนี้

สมชัย เลขะพจน์พานิช

การปฏิรูปการศึกษา Thailand 4.0

เป้าหมาย: คนไทยมีศักยภาพเต็มที่ ในการประกอบอาชีพตามความถนัดของแต่ละบุคคล มีจริยธรรมในสังคม

สภาพแวดล้อม

ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ส่งผลให้สังคมมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพิ่มทั้งโอกาสและอุปสรรคในการดำรงชีวิต โครงสร้างทางการศึกษาของไทยจึงต้องเตรียมคนไทยให้พร้อม โดยเพิ่มจากการเรียนรู้ในห้องเรียน มาเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่จะสนับสนุนให้มีทางเลือกอาชีพที่มั่นคง มีรายได้ที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต และมีความยืดหยุ่นเพียงพอในการปรับเปลี่ยนอาชีพที่เหมาะสมกับตลาดแรงงานในอนาคต

ตลาดแรงงานในยุค Thailand 4.0 ซึ่งระบบเศรษฐกิจจะเข้าสู่ยุค Creative Economic ที่วัดคุณค่าของผลงานด้วย3V

1. Value Added

2. Value Creation

3. Value Diversity

ระบบเศรษฐกิจจะพึ่งพาเทคโนโลยีขั้นสูง นอกเหนือจากแรงงานพื้นฐาน และเครื่องจักรกล เช่น

หุ่นยนต์หรือแขนกลอัตโนมัติ งานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

- การควบคุมหุ่นยนต์

- การเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ เพื่องานตัด งานเขื่อม งานยกสินค้า

- การบำรุงรักษาหุ่นยนต์

- การสร้างประกอบหุ่นยนต์

- การออกแบบโครงสร้างหุ่นยนต์

ระบบควบคุมอัตโนมัติ (Automation) ระบบเครือข่ายสารสนเทศ ระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง

เทคโนโลยีชีวภาพ การพัฒนาพันธุกรรม การเกษตรแผนใหม่ Smart Farming การพัฒนาเครื่องจักร กลการเกษตร

ระบบการศึกษาจึงต้องสร้างสังคมบนฐานความรู้ขึ้นมา Knowledge Base Society และพร้อมที่จะเรียนรู้ต่อเนื่อง ตามเส้นทางอาชีพที่ก้าวหน้า หรือ การเปลี่ยนแปลงตามสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ได้ทำงานที่ตนเองถนัด เข้าใจคุณค่าของงานที่ตนเองมีส่วนร่วมในความสำเร็จ (Execution)

การศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับเด็กและเยาวชน จึงต้องมีกิจกรรมเพื่อสร้างความผูกพันและรักท้องถิ่นที่อาศัย มีทัศนคติที่ดีต่อโลกและการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การดูงานนอกสถานที่ เปิดโลกทรรศ์ แนะแนวให้รู้จักตัวเอง เรียนรู้สิ่งที่ตัวเองถนัดและท้าทายอยากเรียนรู้ การมีกิจกรรมกลุ่ม กิจกรรมเพื่อสังคม ฝึกการอยู่ร่วมกันในสังคม

ในระดับอาชีวศึกษา เยาวชนจะสามารถเลือกหลักสูตรที่ตนเองสนใจ มีความถนัด เพื่อพัฒนาเป็นแรงงานทักษะ ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน มีข้อมูลการจ้างงาน จำนวนตำแหน่งงาน และรายได้ เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมในการแข่งขัน พัฒนา ปรับตัวสู่สมดุลย์ของตลาดแรงงานและการจ้างงาน ขณะเดียวกันจะมีการประชาสัมพันธ์ของตลาดจ้างงานโดยการจัดทำเป็นโครงการ CSR, Cooperate Social Responsibility ให้ผู้สนใจเข้าดูงานและอบรม เพื่อรับทราบข้อมูลและแนะแนวลักษณะของงานและความก้าวหน้าในวิชาชีพ

ในระดับอุดมศึกษา จะพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษามีความรู้และทักษะ ในการเป็น นักวิเคราะห์ นักวิจัย นักออกแบบ นักบริหาร สามารถที่จะพัฒนาการเรียนรู้นอกเวลาเรียน และการเรียนรู้นอกหลักสูตร มหาวิทยาสัยมีการร่วมมือกับหน่วยงานที่สนใจ ในการเข้าดูงาน ฝึกงาน มีทักษะในการเชื่อมโยงความรู้ในการเรียนเข้ากับความรู้จากการฝึกงาน เพื่อต่อยอดเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต

หน้าที่ของครูและผู้ปกครอง

ครูและผู้ปกครองต่างมีหน้าที่ที่จะต้องให้ความรู้กับเด็ก ครูเป็นผู้มีทักษะ จิตวิทยาในการสอน ให้การศึกษาแก่เด็กและเยาวขน สามารถที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และ ทัศนคติของลูกศิษย์ได้ ถ้าสามารถสร้างความเชื่อ ความศรัทธาให้บังเกิด ขณะเดียวกัน ครูเองก็จำเป็นต้องพัฒนาองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญของตนเอง เพื่อเป็นแหล่งความรู้และจริยธรรมให้กับลูกศิษย์ หน่วยงานและองค์กรต้องให้ความสำคัญในการอบรม ดูงาน เปิดโลกทรรศ์ ให้แก่ครู เช่นเดียวกับเด็ก มีการประเมินวัดผลเพื่อให้ครูมีความก้าวหน้าในอาชีพ ผลตอบแทนของครูควรเป็นอาชีพที่มีเกียรติและรายได้สูง เพื่อเป็นแรงจูงใจในการคัดเลือกคนที่คุณภาพสูงทั้งทางวิชาการ จริยธรรม และจิตวิญญาณ

ผู้ปกครอง เป็นผู้ที่รู้จักและเข้าใจเด็กมากที่สุด เป็นที่น่าเสียดายที่การดำรงชีพในปัจจุบัน ทำให้ผู้ปกครองไม่มีเวลาให้แก่บุตรหลาน บางคนก็ไม่รู้จักคุณค่าและความสำคัญของตนเองที่มีต่อเด็ก ทำให้เกิดการผลักภาระหน้าที่การสอนทั้งหมดให้แก่ครู ผู้ปกครองคือแบบอย่างหรือปฏิปักษ์ที่เกิดแก่เด็ก หน่วยงานประชาสัมพันธ์ของรัฐควรมีรายการที่มีสาระเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกให้ถูกวิธี วิธีการว่ากล่าวตักเตือน วิธีการชมเชยให้รางวัล อย่าให้ความรักเด็กโดยการให้เงินหรือสิ่งของแทนเวลาที่ตนเองไม่มีให้ ทำให้เด็กเสพติดวัตถุนิยม และขาดความอบอุ่นทางใจ

ภาครัฐและเอกชน

เป็นเวลานับสิบปีที่ประเทศไทยทุ่มงบประมาณเพื่อการศึกษา แต่ประสิทธิภาพการใช้งบประมาณไม่อาจสนองตอบต่อเป้าหมายของระบบการศึกษา ขาดความสมดุลย์ของการบูรณาการ เช่น งบประมาณ ทุ่มไปกับการยกระดับวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัย เพื่อจะได้งบประมาณในการการสร้างอาคารเรียนที่ทันสมัย แต่ไม่ได้ยกระดับวิชาชีพครู ไม่มีสถาบันพัฒนาวิชาชีพครู เพื่อยกระดับครูมัธยม ไปสอนระดับอุดมศึกษา ลดเวลางานของครูทางด้านธุรการ สนับสนุนครูไปช่วยทำงานวิจัยทางการศึกษา การสอบเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านวิชาการและทักษะการสอน

เอกชน เช่น โตโยต้า ไทยซัมมิท อุโมงค์รถไฟฟ้า สะพานแขวน โรงไฟฟ้า ทำ CSR โดยให้การสนับสนุน เปิดโอกาสให้ครูและเยาวชนได้เข้ามาทัศนศึกษา ฝึกงาน และรับการแนะแนว เพื่อเปิดโลกทรรศน์ทันกับเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี่ที่เปลี่ยนแปลง และเป็นผู้ให้ข้อมูลเรื่องทักษะของพนักงานที่ต้องการ เพื่อปรับเปลี่ยนหลักสูตรได้ทันเวลา

เทคโนโลยี่เพื่อการเรียนการสอน E-Learning

เป็นเครื่องมือที่จะสามารถเชื่อมการเรียนของผู้เรียนที่มีความสนใจใฝ่รู้ สามารถพัฒนาเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะฉะนั้นนิสัยรักการอ่าน จะเป็นปัจจัยความสำเร็จในการประยุกต์ E-Learning เข้ากับระบบการศึกษาไทย

จิรัฐพงศ์ นาคโนนหัน

นาย จิรัฐพงศ์ นาคโนนหัน

Email : [email protected], [email protected]

Work shop 15 Jan’ 2017

จากบทสนทนาอาจารย์ดร.จิระและรศ.ธงทอง รายการไทยมุง

1.การปฏิรูปการศึกษาไทยในยุทธศาสตร์ไทยแลนด์4.0

มีการประสานความร่วมมือในทุกมิติทั้งในส่วนภาครัฐกับองค์กรการศึกษา และชุมชน

1.1 นอกจากสนับสนุนการขยายภาคการศึกษาดังที่รัฐกำลังดำเนินการอยู่แล้ว การประสานให้เกิดการศึกษาความรู้อันมีที่มาจากภูมิปัญญาของชุมชน นำมาสร้างเข้าบรรจุไว้ในหลักสูตรเพื่อให้เกิดการต่อยอดและประยุกต์ทางภูมิปัญญาแต่ละท้องถิ่นอย่างจริงจัง โดยรัฐต้องสนับสนุนการเงินทุนและเทคโนโลยี ให้เกิดการศึกษาและวิจัยอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งประเมินผลสัมฤทธิ์เป็นระยะ

1.2 ส่งเสริมในวงกว้างด้านค่านิยมการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดตั้งทีมที่มีความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมกระทั่งผู้มีประสพการณ์ด้านการทำงานด้านนี้โดยตรงให้เข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยขับเคลื่อนการขยายองค์ความรู้ไปสู่ต่างจังหวัด อำเภอ ตำบล

1.3สนับสนุนการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีด้านอิเลคทรอนิกส์เป็นสื่อกลาง อันเป็นการเสริมทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีให้กับผู้ศึกษาและขยายโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสได้เรียนได้อย่างสะดวก

2.เสนอโครงการเพื่อปฏิรูปการศึกษาไทยในปัจจุบัน

2.1ส่งเสริมการวิจัยเพื่อวิเคราะห์ศักยภาพด้านการศึกษาของแต่ละท้องที่แต่ละเขตว่ามีจุดเด่นและจุดด้อย รวมทั้งแนวทางการศึกษาเฉพาะที่เหมาะสำหรับเขตจังหวัดนั้นๆ

2.2จัดสร้างทีมงานเฉพาะกิจด้านบริหารการศึกษาและให้ขอบเขตอำนาจในการบริหารโดยให้มีอิสระจากอำนาจการบริหารการศึกษาจากส่วนกลาง โดยทีมประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถเชิงวิชาการและการฝึกอบรมแขนงต่างๆในแต่ละทีมของแต่ละจังหวัดได้มีส่วนในการออกแบบระบบการศึกษาของท้องถิ่นจังหวัดตนเอง และเปิดโอกาสให้สามารถเข้าไปจัดการระบบการเรียนการสอนในโรงเรียนนำร่องได้ โดยแนวทางการศึกษานั้นจะต้องสัมพันธ์กับงานวิจัยในข้อ2.1

2.3ประเมินผลสัมฤทธิ์จากข้อ2.2 และวิเคราะห์หาจุดเด่นและจุดด้อย จัดทำให้เป็นบทสรุปมูลฐานเชิงวิชาการ เพื่อประโยชน์ต่อการนำไปต่อยอด

2.4จัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์อย่างต่อเนื่อง และนำผลการศึกษาที่ได้ไปใช้ในการวางกรอบยุทธศาสตร์ชาติต่อไป

1. การปฏิรูปการศึกษไทยในยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.

จากบทสนทนาอาจารย์ดร.จิระและรศ.ธงทอง รายการไทยมุง

ประเด็นสำคัญที่ตรงกับทฤษฎีของท่านอาจารย์จิระมีอยู่ 2 ปัจจัยหลักคืออาจารย์และนักศึกษาต้องมีการเรียนรู้ในเรื่องที่จำเป็นถูกต้องและสามารถนำมาใช้ในการปรับตัวให้เข้ากับยุคดิจิตอล คือ

2.1.สำหรับผู้ที่เป็นอาจารย์ ต้องเรียนรู้ให้มีประสบการณ์ทักษะในวิชาที่จะสอนเพื่อให้มีความรู้จริงและปฏิบัติได้ นอกจากนี้ยังต้องอาศัยทุนทางนวัตกรรมมาปรับใช้เพิ่มเติม ประยุกต์ให้เข้ากับวิชานั้น ๆ หรือองค์ความรู้ในแต่ละเรื่อง

2.2.นักศึกษาต้องมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ สร้างเสริมประสบการณ์ มีการทำ Workshop หรือศึกษากรณีศึกษาที่มาจากเรื่องจริงเพื่อมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ซึ่งอาจารย์และนักศึกษาต้องเรียนรู้ปัจจัยเพิ่ม คือ ทุนทางสังคมจะต้องเรียนรู้หลักธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งหมดที่กล่าวมานี้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 ที่ต้องเน้นเรื่องนวัตกรรม ธรรมาภิบาล และต้องมีความชำนาญหรือมีความรู้จริงในแต่ละแขนงวิชา

2.เสนอโครงการเพื่อปฏิรูปการศึกษาไทยในปัจจุบัน

โครงการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนทั้งครูและนักศึกษาเพื่อมุ่งเน้น 4 ปัจจัยหลัก ดังนี้

2.1.ทุนนวัตกรรม คือ การทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิดการผลิตกระบวนการหรือองค์กรไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติการเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผลการนำแนวทางทฤษฎีและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่มีอยู่ในยุคปัจจุบันมาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อลดเวลา ลดต้นทุนและสร้างมูลค่าเพิ่ม

2.2.ทุนทางทักษะ คือความชำนาญหรือความสามารถในการกระทำหรือการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นทักษะด้านร่างกาย สติปัญญา หรือสังคม ที่เกิดขึ้นจากการฝึกฝน หรือการกระทำบ่อย ๆ เช่น ครูมีทักษะการใช้คำถาม การนำเข้าสู่บทเรียน การใช้สื่อการสอน นักเรียนมีทักษะ การฟัง พูด อ่าน เขียน การคิดคำนวณ หรือทักษะทางสังคมทักษะที่จะทำให้บุคคลประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตและการทำงาน โดยรวมแล้วประกอบด้วยสมรรถนทักษะ(hard skill)และจรณทักษะ[จะระนะ-] (soft skill) บุคคลที่มีจรณทักษะจะเป็นผู้ปฏิบัติงานได้ดี ส่วนบุคคลที่มีสมรรถนทักษะจะเป็นผู้ปฏิบัติงานได้เก่ง

2.3.ทุนทางสังคมคือการอยู่รวมกันของมนุษย์โดยมีลักษณะความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันหลายรูปแบบ เช่น อาชีพ อายุ เพศ ศาสนา ฐานะ ที่อยู่อาศัย ฯลฯ สำหรับระบบสังคมที่รวมถึงสิ่งมีชีวิตประเภทอื่นนอกเหนือจากมนุษย์อาจใช้คำว่าระบบนิเวศซึ่งมีความหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆกับสภาพแวดล้อม สังคมของมนุษย์เกิดจากกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจร่วมกันไม่ว่าจะในด้านใด

2.4.ทุนธรรมาภิบาล คือ องค์รวมของคุณภาพในการใช้อำนาจถ้าเป็นในองค์การก็หมายถึงการใช้อำนาจของผู้มีอำนาจในบริหารจัดการงานในองค์การต่างๆไม่ว่าจะเป็นองค์การในภาครัฐหรือภาคธุรกิจเอกชนก็ตาม จะต้องคำนึงถึง การกำหนดนโยบายที่เหมาะสม การมีสถาบันที่ดี มีกติกาของสังคมที่ดี มีการบริหารจัดการที่คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพและ การมีส่วนร่วม (Participation) ของประชาชน ความสามารถในการแสดงความคิดเห็น การโวยวาย(Voice)ในทางการเมือง ความโปร่งใส (Transparency) และความสำนึกต่อภาระ การให้ถูกตรวจสอบได้ (Accountability) ตลอดจนความจริงจังต่อการควบคุมและกำจัดการทุจริตคอรัปชั่นของผู้มีอำนาจด้วย

นายสุทัด ครองชนม์

การบ้านของวันที่ 15 มกราคม 2560 จากการดูเทปบทสนทนาระหว่าง รศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา (ตำแหน่ง ณ ขณะที่บันทึกเทป) และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • การปฏิรูปการศึกษาไทย ในยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0
  • เสนอโครงการเพื่อปฏิรูปการศึกษาไทยในปัจจุบัน

เนื่องจากนโยบายไทยแลนด์ 4.0 พูดถึงการเปลี่ยนความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบไปสู่ความได้เปรียบในเชิงแข่งขันด้วยนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ โดยยกระดับขีดความสามารถใน 4 กลุ่มเป้าหมายคือ

เกษตรแบบดั้งเดิม เป็นเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี

SME แบบเดิมที่รัฐต้องให้การช่วยเหลือตลอดเวลาเป็น Smart SME และ Start up ที่มีศักยภาพสูง

การบริการที่มีมูลค่าต่ำ ไปสู่ High Value Services

แรงงานที่ขาดทักษะ ไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและทักษะสูง

และจากการดูเทปการสนทนานั้น รศ.ธงทอง ได้พูดถึงการศึกษาที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบตลอดเวลา ตั้งแต่สมัยก่อนที่เพิ่งเริ่มใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในระบบการศึกษา การเรียนภาษาอังกฤษ 50 ปีที่ผ่านมาก็เปลี่ยนแปลงไปมาก เมื่อพูดถึงการปฏิรูปการศึกษาไทยในยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 คงต้องพิจารณาว่าปลายทางประเทศไทยอยากเห็นอะไร ประเทศไทยอยากเห็นเด็กเก่งหรือเด็กดี อยากเห็นเด็กดีก่อนแล้วค่อยสอนให้เก่ง หรืออยากเห็นเด็กเก่งก่อนแล้วค่อยสอนให้ดี สถานการณ์ประเทศไทยวันนี้ พวกเราได้เห็นข่าวที่เด็กเรียนเก่งเด็กที่กำลังเรียนหมอ เรียนวิศวะ ทำไม่ดี ไปรับจ้างสอบ ไปช่วยเฉลยข้อสอบในการสอบเข้านายสิบตำรวจ ได้รับค่าจ้างคนละหลายหมื่นบาทต่อครั้ง ในขณะเดียวกันหากเด็กดีแต่เอาตัวไม่รอดก็ไม่ได้ ดังนั้น การปฏิรูปการศึกษาไทยในยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 ต้องพิจารณาว่าปลายทางอยากเห็นอะไร เพื่อจะได้วางยุทธศาสตร์ได้อย่างเหมาะสม

สำหรับโครงการเพื่อปฏิรูปการศึกษาไทยในปัจจุบัน ผมเสนอว่าหากเราต้องการเด็กที่ทั้งดีและเก่งนั้น เราควรนำทฤษฎี 8K’s และ 5K’s ใหม่มาใช้ โดยกำหนดหลักสูตรการเรียนการสอนให้เด็กเล็กตั้งแต่ระดับประถม และมัธยม เป็นเด็กดีโดยเน้นไปที่ทฤษฎีทุนทางจริยธรรม ทุนทางปัญญา ทุนแห่งความสุข ทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ และทุนแห่งการสร้างสรรค์ เด็กจะถูกปลูกฝังให้เป็นคนดีและมีความคิดสร้างสรรค์ และเมื่อเด็กโตขึ้นเข้ารับการศึกษาในระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา จึงสอนให้เด็กศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับทุนมนุษย์ ทุนทางนวัตกรรม ทุนทางอารมณ์ ทุนทางไอที ทุนทางสังคม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทางความรู้และทุนทางวัฒนธรรม

สพ.ญ.พิกุล ตันสกุล

๑. การปฏิรูปการศึกษาก่อนตอบโจทย์ประเทศไทย ๔.๐ ได้อย่างไร

ในทุกๆการพัฒนาเริ่มจากคนทั้งสิ้น เพราะคนคือปัจจัยที่สำคัญที่สุดในทุกๆเรื่อง ไม่ว่าจะพัฒนาอะไร สิ่งแรกที่ต้องพัฒนาก่อน คือการพัฒนาคน ไม่ว่าจะมีระบบที่ดี เครื่องจักรที่ทันสมัย แต่ถ้าคนที่ใส่ลงไปไม่ดี ทั้งระบบและเครื่องจักรก็ไม่สามารถก่อให้เกิดปะโยชน์สูงสุดได้

หลักสูตรการศึกษาปัจจุบัน เน้นให้คนเรียนรู้ในห้องเรียนมากกว่าการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ประสบการณ์จริง เป็นเรื่องที่ต้องแก้ไขอย่างยิ่ง และอย่างเร่งด่วน

แนวทางที่นำเสนอโดยรศ.ธงทอง จันทรางศุและดร.จิระ หงษ์ลดารมย์ในรายการไทยมุง เป็นประเด็นที่ควรได้รับการต่อยอด บวกกับการพัฒนาบุคคลากรผู้สอน

๒. นำเสนอโครงการเพื่อปฏิรูปการศึกษาไทยในปัจจุบัน เพื่อตอบโจทย์ประเทศไทย ๔.๐

มีประเด็นหลักๆที่น่าถูกนำมาขบคิดวิเคราะห์ดังต่อไปนี้

๒.๑ ประเทศไทยมีการศึกษาเพื่อพัฒนาคนทางด้านวิทยาศาสตร์อยู่มาก เรามีเด็กเก่งทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ที่ชนะเลิศการประกวดระดับโลก ก็มากมาย เรามีผลงานการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆก็มาก เรามีบุคคลากรที่เก่งมากมายหลายสาขา แต่จำนวนไม่มาก เพราะสถานศึกษาและหลักสูตรที่ดี บุคคลากรผู้ถ่ายทอดที่เก่งและมีประสบการณ์สูง ไม่ได้ถูกกระจายอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักสูตรขั้นพื้นฐาน ซึ่งถือว่าเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุดของการสร้างและพัฒนาคน คำว่าหลักสูตรหรือบุคคลากรนี้ไม่ได้หมายถึงการสร้างหลักสูตรเดียวกันทั่งประเทศ แต่ควรมีการสร้างหลักสูตรที่เหมาะสมกับพื้นที่ ใช้บุคคลากรที่เก่ง มากประสบการณ์จริงในพื้นที่ เราก็จะสามารถสร้างคนดีคนเก่งให้เหมาะสมกับพื้นที่

๒.๒ มีสิ่งที่น่าสังเกตอยู่อย่างหนึ่ง คือ เราให้นิยามคำว่าคนเก่งแบบเดียว คือ จบการศึกษาแบบสากลขั้นสูง พร้อมเข้ามาทำงานในองค์กรขนาดใหญ่ และเมืองหลวง มีศาสตร์ความรู้สมัยใหม่ แต่อาจไม่เข้าใจหรือใช้ชิวิตอยู่รอดได้ในสังคมหรือสถานการณ์อีกแบบ หลักสูตรการศึกษาที่สร้างขึ้น ไม่ได้ให้ความสำคัญ กับความเป็นคนที่มีจริยธรรม ไม่เน้นเรื่องความเป็นชาติและความภาคภูมิใจในถิ่นเกิด ไม่เน้นการต่อยอดในเรื่องภูมิปัญญาชาวบ้านมากนัก เราไม่ได้คิดพัฒนาคนท้องถิ่นในแบบที่เหมาะสมกับท้องถิ่น ในแบบที่แตกต่างจากคนสังคมเมืองใหญ๋ หลักสูตรของไทยยังไม่สามารถสร้างจุดแข็งของท้องถิ่นโดยการเชื่อมต่อกับความรู้สากลให้เกิดประโชน์สูงสุดต่อท้องถิ่นแต่ละท้องถิ่นได้ เหมือนอย่างที่หลายองค์กรข้ามชาติพูดว่า Think global, Act Local

๒.๓ หลักสูตรไทยให้คนเก่งทฤษฎี แต่มีปัญหาเรื่องของการทำงานเป็นทีม การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สิ่งนี้ถูกสะท้อนจากกลยุทธระดับประเทศ ที่กลั่นกรองมาจากบุคคลากรที่เป็นระดับหัวกะทิ และแนวหน้า ที่มีความรู้เต็มเปี่ยม แต่มักเป็นความรู้จากตำรา มากกว่าประสบการณ์จริง เพราะคนของเราไม่ได้ฝึกการรับฟังผู้อื่น เราไม่มีระบบความคิดของการยอมรับผู้มีประสบการณ์ เราให้ความนับถือคนที่วุฒิการศึกษามากกว่าประสบการณ์

ขบวนการพัฒนาคนของไทยจึงกลายเป็นอุปสรรคของการนำสิ่งประดิษฐ์ หรือภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีอยู่มากมาย มาต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ

เราควรปฏิรูประบบการศึกษาส่วนไหนเพื่อให้ไทยหลุดจากกับดักดังกล่าว

  • ประเด็นแรกน่าจะอยู่ในเรื่องการสร้างหลักสูตรขั้นพื้นฐานให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ สัดส่วนความรู้พื้นฐานวิชาที่มีไว้เพื่อการสร้างรากฐานและวิชาความรู้เพื่อการประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับท้องถิ่นนั้นๆ
  • การพัฒนาความคิดเชิงวิเคราะห์ ตรรกะ ความรู้เหล่านี้ ไม่ได้เกิดจากการท่องจำ แต่เกิดจากการสร้างหลักสูตรให้เกิด ขบวนการการคิดวิเคราะห์ การฝึกการปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ความรู้จากสถานการณ์จริงหรือสถานการณ์จำลอง
  • นอกจากการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษา อีกเรื่องที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า หรือมากกว่า คือ ครูผู้ถ่ายทอด

เหมือนไทยจะติดหล่มนี้อยู่ และดูเหมือนจะเป็นหล่มที่ใหญ่มาก จนเป็นเรื่องที่แก้ได้ยาก เรามีวิทยาลัยครูหรือสถาบันราชภัฏที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก มีหลักสูตรสอนคนให้รู้จักวิธีสอน และดูเหมือนจะเน้นว่าเทคนิคการถ่ายทอดที่ดีเป็นอย่างไร มากกว่าจะถ่ายทอดอะไร

ควรที่ระบบการศึกษาเราต้องใช้คนที่จบครูเพื่อเป็นครูหรือไม่

หรือควรที่จะเลือกคนที่จบสายตรง มีประสบการณ์จริง มาผ่านหลักสูตรการสอนหรือการถ่ายทอดก่อนที่จะประกอบวิชาชีพครู จะดีกว่าหรือไม่

๒๒ มกราคม ๒๕๖๐

นายปรีชาชัย พิพรรธน์ธนาดุล

การบ้านของวันที่ 15 มกราคม 2560

เทปรายการไทยมุง ออกอากาศวันที่ 9 เมษายน 2557 รศ.ธงทอง จันทรางศุ และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1. การปฏิรูปการศึกษาไทยในยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0

การปฏิรูปการศึกษาพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กไทย ก็ต้องใช้กระบวนการจัดการศึกษาของประเทศเป็นกลไกสำคัญ ต้องปฏิรูปการศึกษาให้สอดคล้องกับทิศทางและนโยบายดังกล่าว รูปแบบการจัดการศึกษาในปัจจุบันทั้งระบบการศึกษา หลักสูตรการเรียนการสอน การวัดและการประเมินผล โครงสร้างการบริหารการจัดการศึกษาของประเทศในปัจจุบันไม่สอดคล้องและเอื้ออำนวยต่อการปฏิรูปเลย

2. เสนอโครงการเพื่อปฏิรูปการศึกษาไทยในปัจจุบัน

โครงสร้างการบริหารจัดการศึกษาในไทยยังเป็นแบบรวมศูนย์กลางทั้งด้าน บุคลากร งบประมาณ งานวิชาการ ฯลฯ ยังอยู่ในรูปของกระทรวงศึกษาเป็นคนกำหนดนโยบายและสั่งการเป็นการรวมอำนาจ ทำให้ไม่มีความคล่องตัว และไม่ยืดหยุ่น ไม่สอดคล้องกับผู้เรียนผู้สอน คุณภาพการศึกษาที่เกิดขึ้น ไม่สามารถวัดผลและประเมินผลได้เลย กระทรวงศึกษาธิการควรมีการกระจายอำนาจ มีการทำงานที่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันศาสนา สถาบันครอบครัว องค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ให้เกิดความร่วมมือ และเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาให้มีขนาดเล็กลง มีลำดับขั้นการสั่งการที่น้อยลง เพื่อเพิ่มความรวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์สภาพแวดล้อม กระจายอำนาจไปให้สถานศึกษามีอิสระ และรับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน การปฏิรูปการศึกษาต้องไม่เปลี่ยนแปลงตามฝ่ายการเมือง

22 มกราคม 2560

ธนานันต์ เอื้ออารักษ์

1.การปฏิรูปการศึกษาไทย ในยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0

เป็นที่ทราบกันดีว่า ในการขับเคลื่อนสังคมที่เราอาศัยอยู่ทุกวันนี้นั้นต้องอาศัยทุน สารพัดทุนทั้งหลายแหล่ ไม่ว่าจะเป็นทุนทางสังคม ทุนทางเศรษฐกิจ ทุนวัฒนธรรม ฯลฯ แต่ในไม่ว่าจะทุนอะไรก็ตาม ต่างก็ประกอบไปด้วยจุดร่วมที่เหมือนกันจุดหนึ่ง คือ ต่างก็มีมนุษย์เป็นกลไกในการขับเคลื่อน

จึงอาจกล่าวได้ว่า ทุนที่สำคัญที่สุดบนโลกใบนี้ คือ ทุนมนุษย์ นั่นเอง

ทุนมนุษย์หรือทรัพยากรมนุษย์นั้น ในเมื่อเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด การจะพัฒนาทุนมนุษย์นั้นสามารถทำได้อย่างไร คำตอบนี้ทุกท่านต่างก็ทราบดี นั่นคือการให้การศึกษา

ในเมื่อการศึกษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการยกระดับและพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์แล้ว การศึกษาจึงควรถูกปรับปรุงและพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพความเปลี่ยนแปลงของโลกที่ไม่เคยหยุดนิ่ง

ในยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 นั้น เน้นที่การยกขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ ด้วยการพัฒนาคุณภาพของคน ให้มีเปรียบในเชิงการแข่งขันในตลาดโลก ด้วยนวัตกรรมและความคิดเชิงสร้างสรรค์ ดังนั้นการศึกษาของไทย ก็ต้องมีการปรับปรุงตามไปด้วย เพื่อผลิตบุคลากรให้ตอบสนองกับความต้องการของตลาดที่กำลังจะเปลี่ยนไป

ในตลาดแรงงานยุคปัจจุบันนั้น ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การแข่งขันระหว่างคนด้วยกันเองอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นการแข่งขันกันระหว่างความสามารถของคนกับเทคโนโลยี เนื่องจากในหลายๆ ภาคส่วน ได้เริ่มมีการใช้เทคโนโลยี เช่น หุ่นยนต์ ระบบคอมพิวเตอร์ เข้ามาทำงานแทนที่แรงงานมนุษย์ การศึกษาของไทย ก็ต้องคอยตามสิ่งเหล่านี้ เพื่อผลิตบุคลากรที่มีทักษะเพียงพอ ให้สามารถเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน และสามารถพัฒนาตัวเองและอยู่รอดต่อไปในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

แต่ในสภาพความเป็นจริง ทฤษฎีสามารถเสนอได้ แต่ในทางปฏิบัติกลับยากเย็นแสนเข็ญยิ่งนัก...

2.เสนอโครงการเพื่อปฏิรูปการศึกษาไทยในปัจจุบัน

ก่อนที่จะเสนอโครงการใดๆ เพื่อปฏิรูปการศึกษาของไทย เราต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าปัญหาของการศึกษาไทยในปัจจุบันนั้น เกิดมาจากอะไรบ้าง

ปัญหาของการศึกษาไทยในปัจจุบันนั้น มีอยู่ในทุกส่วนระบบจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาจากตัวนักเรียน ตัวอาจารย์ ตัวโรงเรียน หรือแม้แต่ตัวองค์กรการศึกษาเอง

ปัญหาจากตัวนักเรียน เช่น สถานะความเหลื่อมล้ำทางสังคม ยังมีนักเรียนส่วนมากที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการศึกษา ทำให้ขาดโอกาสในหลายๆ ด้าน เช่น ไม่มีทุนในการซื้ออุปกรณ์การเรียน หรือไม่มีเงินเรียนพิเศษ ทำให้ความสามารถในการเรียนแตกต่างกับกลุ่มนักเรียนที่มีความพร้อมมากกว่า

ปัญหาจากตัวอาจารย์ เช่น อาจารย์ไม่สนใจที่จะสอนนักเรียนเท่าที่ควร อันเนื่องมาจากผลการเรียนของนักเรียนไม่ได้มีประโยชน์อะไรต่อตัวอาจารย์เลย สิ่งที่ส่งผลต่อสถานะของอาจารย์ ไม่ว่าจะเป็นการเลื่อนขั้น เลื่อนเงินเดือน กลับเป็นเรื่องของผลงานทางวิชาการ ทำให้อาจารย์สนใจแต่เรื่องงานที่ส่งผลต่อชีวิตของตัวเองมากกว่า

ปัญหาจากทางตัวโรงเรียน เช่นคุณภาพโดยรวมของโรงเรียนไม่สูงพอ แม้ว่าจะมีการประเมินคุณภาพโรงเรียนอยู่ทุกๆ ปี แต่คุณภาพของโรงเรียนกลับไม่มีการพัฒนาอย่างที่ควรจะเป็น การประเมินหละหลวม เวลาในการใช้ประเมินน้อยเกินไป ความเอาจริงเอาจังของผู้ประเมินหลักสูตรก็มีส่วนด้วยเช่นกัน

ปัญหาจากตัวหลักสูตรการศึกษา นี่ก็เป็นเรื่องใหญ่ที่ใครๆ ก็ทราบ แต่ไม่มีการแก้ไข หลักสูตรของไทยนั้นสอนให้นักเรียนท่องจำ แต่ไม่สอนให้คิด ไม่อนุญาตให้ถาม ใครคิดต่างถือเป็นความก้าวร้าว

เมื่อสารพัดปัญหามาทับถมกับเป็นเวลานาน สิ่งที่เสียหายก็คือผู้รับการศึกษา ซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญที่สุดของสังคม

การปฏิรูป ควรเริ่มต้นจากห้องเรียน

ถึงแม้จะบอกว่าให้เริ่มจากห้องเรียน แต่ห้องเรียนนั่นแหละคือส่วนที่สำคัญที่สุด เพราะห้องเรียนประกอบไปด้วย ครู อาจารย์ เนื้อหาการสอน โรงเรียน

ในการจะทำให้เกิดประสิทธิผลได้นั้น ทุกๆ ปัญหาจะต้องถูกนำมาพิจารณา และวิเคราะห์ให้ถ่องแท้ ว่าปัญหานั้นเกิดจากอะไร ส่งผลอย่างไร ทางแก้คืออะไร หรือหากแก้ไม่ได้ จะทำอย่างไรให้ผลกระทบของปัญหานั้นน้อยลง

ความแตกต่างของตัวนักเรียนเองนั้นคงไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ แต่อาจลดช่องว่างความแตกต่างในการเรียนรู้ได้บ้าง การเสริมงบประมาณให้ทางโรงเรียนนำไปซื้ออุปกรณ์การเรียนการสอนที่ดี เพื่อให้เด็กได้ใช้ ก็สามารถลดภาระของนักเรียนลงได้

อย่าบอกว่าโรงเรียนทุกวันนี้เรียนฟรีแล้ว นักเรียนรับภาระน้อยอยู่แล้ว อันนี้ไม่ใช่เรื่องจริง ที่เรียนฟรีนั้นก็แค่ได้รับการสนับสนุนค่าเทอม แต่หลายๆ โรงเรียนก็หาช่องทางการเก็บเงินเพิ่ม ด้วยการเก็บค่าธรรมเนียมสารพัดอย่าง

การพิจารณาผลงานของครูผู้สอน ไม่ควรที่จะใช้เพียงแค่ผลงานทางวิชาการ หรือหลัก คุณธรรม จริยธรรม อะไรเป็นหลักเพียงอย่างเดียว ในสังคมไทย รู้กันอยู่ว่าเกณฑ์คุณธรรมอะไรนั่น ขึ้นอยู่กับผู้พิจารณาว่าจะมองอย่างไร ซึ่งผู้พิจารณาก็คือผู้ใหญ่ในหน่วยงาน เช่น ผู้อำนวยการโรงเรียน ทำให้เห็นว่าหลายๆ ครั้งเหล่าอาจารย์สนใจแต่การเอาใจผู้พิจารณา โดยไม่สนใจทุ่มเทความสามารถให้แก่ตัวนักเรียนอย่างจริงจัง

ผลงานของนักเรียนก็ควรเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาผลงานของครู หากนักเรียนเรียนได้คะแนนดี ครูก็ควรได้รับพิจารณาความชอบ เช่นนี้น่าจะส่งผลให้ครูในระบบทุ่มเทความสามารถในการสอนนักเรียนมากขึ้นกว่าเดิม แทนที่จะสนใจแต่การทำงานวิชาการเพื่อเลื่อนขั้น

ปัญหาของตัวโรงเรียนเองนั้น ควรกำหนดเกณฑ์การประเมินโรงเรียนอย่างจริงจัง และเกณฑ์เหล่านั้นจะต้องช่วยพัฒนาโรงเรียนได้จริง การประเมินจะต้องทำอย่างซื่อสัตย์และจริงจังโดยมืออาชีพ และผลการประเมินจะต้องสามารถปรับปรุงโรงเรียนให้เจริญได้

เรื่องเหล่านี้ หากเจาะลึกลงไปมากกว่านี้ คงสามารถพิมพ์ได้อีกเป็นร้อยๆ หน้า

เริ่มต้นปฏิรูปจากห้องเรียนก่อน แล้วสิ่งดีๆ จะตามมา

สมชัย เลขะพจน์พานิช

บทวิภาคทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

ท่านศาสตราจารย์ ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ท่านเป็นผู้มีความรู้และประสพการณ์ด้านเศรษฐศาสตร์ และ นโยบายรัฐ
  • เป็นผู้สร้างทฤษฎีทางด้านทุนมนุษย์
  • เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ด้านการพัฒนาสังคมให้ยั่งยืน ที่ต้องใช้ทุนมนุษย์เป็นศูนย์กลาง
  • เป็นผู้ร่วมออกกฏหมายด้านแรงงานและสังคมหลายฉบับ
  • อาจารย์เปรียบเป็นกูรูด้านสถาปัตยกรรมด้านทรัพยากรมนุษย์ (Guru: HR Architecture)
  • เป็นผู้ออกแบบโครงสร้างมหภาค

ท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา

  • เป็นผู้มีความรู้และความชำนาญด้านวิศวกรรมและการบริหารธุรกิจ
  • เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ ด้านการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน โดยมีพนักงานเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร
  • เป็นผู้ประยุกต์ทฤษฎีการจัดการเข้าสู่องค์กร เช่น 5ส , TQM
  • เป็นผู้พัฒนาคู่มือเพื่อการบริหารองค์กร เช่น คู่มือจริยธรรมองค์กร (Business Ethics Manual)
  • ท่านเปรียบเป็นกูรูด้านวิศวกรรมทรัพยากรมนุษย์ (Guru: HR Engineering)
  • เป็นผู้สร้างองค์กรให้มีแบบแผน มีวัฒนธรรมองค์กร ยกระดับประสิทธิภาพการผลิต เพื่อเป็นองค์กรที่ยั่งยืน มีศักยภาพในการแข่งขัน ระดับสากล
  • เป็นผู้ปฏิบัติการในระดับจุลภาค

บุคคลทั้งสองท่าน จึงเปรียบเป็นแชมป์เปี้ยนของแต่ละสาขางาน ซึ่งมิอาจนำมาเปรียบเทียบแข่งขัน แต่มาร่วมมือกันพัฒนาสังคมไทยให้ยั่งยืน

HR Architecture + HR Engineering = นวัตกรรมการจัดการ

นายสุทัด ครองชนม์

การบ้านประจำวันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม 2560

อ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้ ซึ่งเป็นบทสนทนาว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของนักคิดและนักปฏิบัติแห่งยุค 2 ท่านคือ ท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และนำแนวคิดที่ได้นำเสนอในเรื่อง

  1. การปฏิรูปการศึกษาไทยในยุทธศาสตร์ ไทยแลนด์ 4.0
  2. เสนอโครงการเพื่อปฏิรูปการศึกษาไทยในปัจจุบัน

1. การปฏิรูปการศึกษาไทยในยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0

จากการอ่านหนังสือทำให้ผมได้แง่คิดดังนี้

ทั้งสองท่านกำเนิดมาในชนชั้นปกครองเหมือนกัน โดยท่านพารณเป็นบุตรของพระยาอิศรพงศ์พิพัฒน์กับหม่อมหลวงสำลี (ราชสกุลเดิมกุญชร) ศ.ดร.จีระเป็นบุตรท่านสุนทร หงส์ลดารมภ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและท่านผู้หญิงลำเจียก ทั้งสองท่านมีเบ้าหลอมที่ดีตั้งแต่เด็ก มีระเบียบวินัย มีคุณธรรม ยึดมั่นในศีลธรรม ท่านพารณเรียนที่วชิราวุธ และจบวิศกรรมศาสตร์บันฑิต (เกียรตินิยม) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.ดร.จีระ เรียนที่เทพศิรินทร์ และไปต่อที่นิวซีเลนด์ ก่อนที่จะได้ทุนร็อคกี้เฟลเลอร์จนจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ท่านพารณเรียนจบมาทำงานที่บริษัทเชลล์ซึ่งเป็นบริษัทข้ามชาติมีระบบการบริหารงานที่ดี ก่อนที่จะมาทำงานที่บริษัทปูนซิเมนต์ไทย และภายหลังมารับผิดชอบการบริหารงานบุคลากร จนเป็นผู้บริหารสูงสุดของปูนซิเมนต์ไทยในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ส่วน ศ.ดร.จีระเรียนจบปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์ กลับมาทำงานที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นประธานจัดตั้งสถาบันด้านแรงงาน ชื่อสถาบันทรัพยากรมนุษย์

เนื่องด้วยยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 ต้องการให้แรงงานของไทยมีแนวคิดสร้างสรรค์ (Creative) และรู้จักการสร้างนวัตกรรม (Innovation) เพื่อให้ธุรกิจและอุตสาหกรรมของไทยก้าวข้ามการรับจ้างผลิตซึ่งได้ผลตอบแทนต่ำ รู้จักการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาปรับใช้ทั้งในภาคการเกษตรและการบริการ รวมถึงฝึกทักษะและความเชี่ยวชาญให้สูงขึ้น ซึ่งจากประสบการณ์ แนวคิดและความเชื่อของท่านพารณ ที่ได้เคยพัฒนาและบริหารงานปูนซิเมนต์ไทยจะประสบความสำเร็จมาแล้วนั้น ท่านเห็นว่าการพัฒนาคนเป็นเรื่องสำคัญที่สุด โดยท่านได้กล่าวไว้ว่า “จักรยานนานไปก็เสื่อม แต่คนถ้าทะนุบำรุง พัฒนา ยิ่งนานยิ่งเก่งกล้า แต่ในทำนองเดียวกัน คนถ้าไม่ดูแลพัฒนาก็เสื่อม หรือเสื่อมเร็วกว่าวัตถุด้วย” สำหรับ ศ.ดร.จีระ จบปริญญาเอกกลับมาจากสหรัฐอเมริกาอายุเพียง 33 ปี แต่ได้รับความไว้วางใจจากผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในยุคนั้น ที่เล็งเห็นวิธีการทำงานของท่าน ได้มอบโอกาสให้เป็นประธานจัดตั้งสถาบันด้านแรงงาน ซึ่ง “สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมองค์กรของธรรมศาสตร์ที่มักเปิดโอกาสให้คนที่มีศักยภาพ และให้โอกาสในการทำงานโดยไม่ได้ดูเรื่องอาวุโส ซึ่งต้องถือว่าเป็นวัฒนธรรมที่น่าชื่นชม” ดังนั้น จากการอ่านหนังสือเล่มนี้ผมจึงมีความเห็นว่า หากเราต้องการปฏิรูปการศึกษาไทยให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 เราต้องปฏิรูปการศึกษาตั้งแต่ระดับเริ่มต้นเพราะเด็กแต่ละคนมีพื้นฐานของครอบครัวที่แตกต่างกัน ต้องทำให้เด็กแต่ละคนมีพื้นฐานที่ดี เปรียบเสมือนมีครอบครัวที่ดี ส่งเสริมทางด้านศีลธรรม จริยธรรม ความรู้วิชาชีพเฉพาะด้าน และให้โอกาสนักเรียนนักศึกษาได้ฝึกทำงานก่อนที่จะเรียนจบ เมื่อเรียนจบการศึกษาแล้วจะได้มีประสบการณ์ก่อนเริ่มทำงานจริงต่อไป

2. เสนอโครงการเพื่อปฏิรูปการศึกษาไทยในปัจจุบัน

การปฏิรูปการศึกษาไทยในปัจจุบัน ผมขอนำเสนอจากภาพสะท้อนของปัญหาของสังคมไทยในปัจจุบัน ที่มองว่าเราขาดเรื่องคุณธรรม จริยธรรม มีการคอรัปชั่น ขาดการคิดวิเคราะห์ ขาดความคิดสร้างสรรค์ ทำตามคำสั่งหรือตามนโยบายผู้ใหญ่ ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น ขาดการยอมรับกฎเกณฑ์ มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย มีการทะเลาะเบาะแว้งในระดับสังคม

ระดับประถม ควรเน้นหลักสูตรที่เน้นเรื่องระเบียบวินัย ความมีน้ำใจนักกีฬา ให้เด็กได้เล่นกีฬาแบบทีม รู้แพ้รู้ชนะรู้อภัย สอนให้เด็กใฝ่รู้ ชอบอ่านหนังสือ เข้าห้องสมุด เพื่อให้เด็กได้เปิดโลกกว้าง มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล มีจินตนาการที่เหมาะสม

ระดับมัธยม ควรเน้นหลักสูตรด้านคุณธรรม จริยธรรม พื้นฐานความรู้แต่ละแขนง เพื่อให้เด็กสามารถค้นหาความชอบ ความถนัด ของแต่ละคนเพื่อเตรียมการศึกษาระดับอาชีวศึกษา หรืออุดมศึกษาต่อไป นอกจากนี้เด็กในวัยนี้ควรต้องศึกษาเรื่องระเบียบกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกันในสังคม การเคารพกฎหมาย กฎเกณฑ์ของสังคม เพื่อเตรียมพร้อมเป็นผู้ใหญ่ที่ดีต่อไป

ระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษา ควรเน้นวิชาการเฉพาะด้านเพื่อให้เด็กจบไปแล้วสามารถทำงานได้จริง มีหลักสูตรและหน่วยงานรองรับเรื่องการเตรียมความพร้อมก่อนการออกไปทำงาน มีการฝึกงานจริง มีหลักสูตรสอนเรื่องการคิดและการสร้างนวัตกรรม หลักสูตรการเป็นผู้ประกอบการ

แนวคิดของคุณพารณที่ว่าบุคลากรเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าต่อองค์กร และการพัฒนาบุคลากรเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืน องค์กรที่ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ และให้ความสำคัญกับบุคลากรเป็นอันดับต้นๆ ถือเป็นองค์กรที่สามารถสร้างความได้เปรียบทางด้านการแข่งขัน (Competitive Advantage) บุคลากรถือเป็นสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Asset) การลงทุนกับบุคลากรต้องทำอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง แม้จะไม่สามารถเห็นผลได้ในระยะสั้น หากแต่จะเป็นปัจจัยที่สร้างความยั่งยืนในระยะยาว บุคลากรที่มีประสิทธิภาพนอกเหนือจากการมีทักษะในการทำงาน หรือเป็น “คนเก่ง” แล้ว ยังต้องเป็น “คนดี” มีจริยธรรม จรรยาบรรณในการทำงาน ซึ่งประเด็นที่องค์กรจะต้องคำนึงถึงในยุคปัจจุบัน คือ ทำอย่างไรจึงจะการส่งเสริมให้มีวัฒนธรรมในองค์กรที่สนับสนุนคนดี มากกว่าที่จะมองให้มีทักษะ เป็นคนเก่ง ประเด็นที่องค์กรในยุคปัจจุบันต้องคำนึงถึง คือ สนับสนุน “คนดี” ให้เป็นคนเก่ง และทำให้ “คนเก่ง” มีจริยธรรม ซึ่งถือว่าเป็นความท้าทายของผู้บริหารองค์กรในยุคปัจจุบันที่มุ่งเน้นแต่ตัวชี้วัดที่เป็นตัวเลขทางเศรษฐกิจ เน้นการแข่งขัน การเติบโต ทำให้องค์กรอาจเต็มไปด้วยคนเก่ง แต่มีคนดีน้อย ในระยะยาวก็จะส่งผลถึงความยั่งยืนขององค์กร

แนวคิดนี้ถือเป็นรากฐานสำคัญในการก้าวเข้าสู่ ยุค 4.0 ซึ่งจะมุ่งเน้นการยกระดับ 4 กลุ่มหลัก ได้แก่

๑. ภาคการเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ที่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้

๒. วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็กแบบดั้งเดิม ไปสู่วิสาหกิจที่มีศักยภาพสูง

๓. ภาคการบริการแบบดั้งเดิมที่มีมูลค่าต่ำ ไปสู่การบริการที่มีมูลค่าสูง

และ ๔. แรงงานทีมีทักษะต่ำ ไปสู่แรงงานที่มีทักษะสูง

จะเห็นว่าการตั้งเป้าหมายของนโยบาย 4.0 นั้นมีความชัดเจน หากแต่การขับเคลื่อนนโยบายนี้ รัฐบาลจำเป็นต้องสร้างแนวทางและวิธีการที่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวาง Roadmap ในการพัฒนาคนในแต่ละกลุ่มให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ควบคู่ไปกับการสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิต ดังเช่นที่คุณพารณได้ใช้ในการพัฒนาบุคลากร คือ บุคลากรในแต่ละกลุ่มต้องมีความเชื่อ มีความเข้าใจ และเห็นเป้าหมายเดียวกัน การขับเคลื่อนนโยบาย 4.0 จึงจะเป็นรูปธรรม รัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนในแต่ละกลุ่ม มีความชัดเจนในวิธีการ (How to get there) การพัฒนาคนจึงมิได้จำกัดอยู่เพียงการฝึกอบรมและคาดหวังว่าผลสัมฤทธิ์อย่างรวดเร็ว การเน้นการมีส่วนร่วมของคน องค์ความรู้หรือภูมิปัญญาเดิมที่แต่ละส่วนมีอยู่ และมีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาผสมผสาน เพื่อให้เกิดการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม

๑.การปฏิรูปการศึกษาก่อนตอบโจทย์ประเทศไทย ๔.๐ ได้อย่างไร

การศึกษาเป็นรากฐานที่สำคัญ ในการสร้างทุนมนุษย์ ถ้าประเทศไม่วางรากฐานการศึกษาให้ดีและทันสมัย ประเทศไทย ๔.๐ คงเกิดได้ยาก การพัฒนาคนเป็นเรื่องสิ่งสำคัญที่สุดที่จะบรรลุเป้าหมาย เราจะมีเครื่องมือที่ทันสมัยเพียงใด ระบบที่ออกแบบมาดีเพียงใด ถ้าขาดคนที่จะปฎิบิติหรือขาดคุณสมบัติ เป้าหมายก็ไม่สามารถบรรลุ ดังที่มาของความคิดที่ว่า “คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร!!!”

๒.เสนอโครงการเพื่อปฏิรูปการศึกษาไทยในปัจจุบัน

ต้องยอมรับเรื่องภาคการศึกษาไทยยังมีปัญหาอยู่มาก มีเรื่องจำเป็นที่ต้องปฎิรูปหลายเรื่อง ในความคิดเห็นของผู้เขียน รายได้ของครูไม่เพียงพอต่อค่าครองชีพในปัจจุปัน ในเมื่อความต้องการพื้นฐาน ยังไม่เพียงพอ ครูจึงจำเป็นต้องหารายได้เสริมทางอื่น เช่น การขายตรง การสอนพิเศษ เป็นต้น ทำให้ครูไม่ได้ ทุ่มเทหน้าที่ครูได้เต็มที่

โครงการเพื่มรายได้ครู จึงเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรก ให้รายได้ของครูเท่ากับรายได้ของวิศวกร ก็จะทำให้ ประเทศมีบุคคลากรครูที่ดีและมีความตั่งใจในการสอนมากขึ้น เราจำเป็นต้องเพิ่มงบประมาณของเงินเดือน ครูทั่วประเทศ ซึ่งการเพิ่มงบประมาณ ก็อาจจำเป็นต้องลดงบประมาณด้านอื่นๆลงบ้าง เช่น งบประมาณ ใน การด้านการทหาร เป็นต้น

บุญชัย ชาญเชี่ยวชิงชัย

HR Architecture เกี่ยวข้องกับ นโยบาย Digital 4.0 อย่างไร

Digital 4.0 ปัจจุบัน เป็น นโยบายแห่งชาติ ซึ่งเป็นอนาคตของประเทศ

HR Architecture เป็น การสรุปรวบรวมปัจจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับ ทุนมนุษย์ ทั้ง demand site และ supply site

HR Architecture เป็นสมการตั้งต้น ในการนำไปสู่ผลออกมาเป็นรูปแบบต่าง ๆ ในที่นี้ชัดเจนว่า Digital 4.0 ควรจะต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ ของ HR Architecture เช่น กระบวนการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ รวมไปถึง ความคิดสร้างสรรค์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นการเก็บเกี่ยวให้เกิดผลผลิตทางเศรษฐกิจ (สินค้า) และ HR Architecture ยังกล่าวรวมไปถึง คุณธรรม , ไม่มีคอร์รัปชั่น , สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป (global warming) รวมไปถึง อีกหลากหลายที่จับต้องไม่ได้ เช่น ความยั่งยืน , ความสุข และ ความสมดุล

จากบทสัมภาษณ์คุณพารณ นำมาใช้ในภาคราชการได้หรือไม่อย่างไร

จากบทสัมภาษณ์คุณพารณ ให้แนวคิดที่สำคัญ ๆ เกี่ยวกับทุนมนุษย์ สรุปได้ว่า

1. องค์กรจะประสบความสำเร็จ หรือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต้องพัฒนาคนให้มีความสามารถ มีความจงรักภักดี มีความสมัครสมานสามัคคีมีจิตใจเป็นน้ำหนึ่งเดียวกัน

2. งานบริหารงานบุคคลเป็นงานที่มีความสำคัญเท่าเทียมกับงานอื่น ๆ ที่เป็นธุรกิจหลักขององค์กร (Core Business)

3. ต้นทุนทรัพยากรมนุษย์ในทางเศรษฐศาสตร์เป็นสมบัติอันมีค่าที่สุดขององค์กร มีค่ายิ่งกว่าเครื่องจักร/เครื่องมือที่ใช้ทำธุรกิจขององค์กร เนื่องจากเครื่องจักรเหล่านั้นจะทำงานได้ต้องใช้คนทำ คนสามารถเสนอแนะได้เวลามีปัญหา คนช่วยแก้ปัญหาได้ คนก็เป็นตัวที่สร้างปัญหา ดังนั้นหากบริหารคนให้ดีก็จะทำให้ธุรกิจเจริญก้าวหน้าประสบผลสำเร็จ

4. คนเมื่อทำงานไปเรื่อยๆ จะมีคุณค่าเพิ่มขึ้นทุกวัน เนื่องจากความสามารถของคนที่ได้เพิ่มขึ้นจากประสบการณ์การทำงาน ซึ่งต่างการลงทุนอย่างอื่นมีลงทุนแล้วคุณค่าจะลดลง

5. ในอนาคตโลกจะแคบลงด้วยอิทธิพลของการพัฒนาการด้านเทคโนโลยีโทรคมนาคม (Communication) คนและธุรกิจจะติดต่อสื่อสารกันได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น เครื่องจักรหรือเครื่องมือทางธุรกิจจะมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ องค์กรหนีไม่พ้นที่ต้องพัฒนาคนให้มีความรู้ความสามารถที่เพิ่มขึ้นเพื่อมาควบคุมหรือใช้ เครื่องจักรหรือเครื่องมือเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และต้องแข่งขันกับตลาดโลก

6. มองต่อไปในอนาคตต้องแบ่งคนออกเป็น 2 กลุ่ม คือคนภายในองค์กร และคนภายนอกองค์กร ซึ่งคนภายนอกองค์กรยิ่งต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากเป็นกลุ่มลูกค้าที่มาซื้อผลิตภัณฑ์หรือรับบริการจากเราต้องมีสร้างความพึงพอใจในสินค้าและบริการของเรา

Workshop-1 ทุนมนุษย์ นำมาใช้ในภาคราชการได้หรือไม่อย่างไร

จากบทสัมภาษณ์คุณพารณเห็นด้วยอย่างยิ่งทั้ง 6 ประเด็น และแนวทางที่คุณพารณกล่าวไว้ สามารถนำมาใช้กับภาคราชการได้ สำหรับภาครัฐเองการพัฒนาคนของประเทศไทยมีแนวโน้มดีอย่างต่อเนื่อง คนไทยมีการศึกษาเพิ่มสูงขึ้น มีสุขภาวะดีขึ้น ได้รับหลักประกันสุขภาพทั่วถึง

ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี กำหนดความสมบูรณ์ในทุนที่จะสามารถสร้างการพัฒนาต่อเนื่อง ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางการเงิน ทุนที่เป็นเครื่องมือเครื่องจักร ทุนทางสังคม และทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรอบการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน กำหนดไว้ 5 ด้าน คือ

1. พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต

2. การยกระดับการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพเท่าเทียมและทั่วถึง

3. ปลูกฝังระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์

4. การสร้างเสริมให้คนมีสุขภาวะที่ดี

5. การสร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย

แต่ในด้านทุนมนุษย์ ภาครัฐกำลังเผชิญปัญหาขาดกำลังคนทดแทนข้าราชการที่เกษียณอายุ คุณภาพของบุคลากรภาครัฐลดลง และปัญหาการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงในยุคสังคมออนไลน์ และเพื่อให้การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนประสบความสำเร็จ ทั้ง 5 ด้าน สามารถนำแนวคิดของคุณพารณมาใช้ในการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนในภาครัฐ คือ

1. ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต้องเห็นความสำคัญของทุนมนุษย์ สำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร คนที่ปฏิบัติงานในองค์กรมีหลากหลายหน้าที่ องค์กรต้องมีการลงทุนกับคนโดยการพัฒนาความรู้ พัฒนาศักยภาพของคนอยู่ตลอดเวลา จัดวางคนให้เหมาะสมกับงาน สนับสนุนและกำกับให้คนทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ ดูแลสารทุกข์และความสุข ให้กำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน ให้ความสำคัญในความเป็นอยู่ในที่ทำงานให้ทำงานอย่างมีความสุข

2. ผู้บริหารทุกระดับสร้างความตระหนักบุคลากรของตนเองให้เข้าใจถึงว่าบุคลากรทุกคนเป็นทุนมนุษย์ที่สำคัญขององค์กร เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรนั้น ๆ บรรลุเป้าหมายได้ตามกลยุทธ์ที่วางไว้ หากคนในองค์กรมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ที่ตนเองรับผิดชอบอยู่โดยใช้ศักยภาพความรู้ความสามารถหรือสมรรถนะที่ตัวเองมีอยู่ซึ่งเป็นทุนในตัวเอง และการประสานกัน การทำงานเป็นทีมกับเพื่อนร่วมงานซึ่งแต่ละคนก็มีทุนส่วนตัวของตนเองคือมีความรู้ ความสามารถหรือมีศักยภาพที่เหมาะสม สร้างความสมัครสมานสามัคคีก็จะทำให้องค์กรนั้นเกิดความร่วมมือจนนำไปสู่เป้าหมายความสำเร็จตามแผนกลยุทธ์ที่วางไว้

3. การฝึกอบรม และการพัฒนาคนนับเป็นบทบาทสำคัญของการจัดการทุนมนุษย์ ซึ่งการฝึกอบรมและพัฒนาทั้งคนที่รับเข้ามาทำงานใหม่และคนที่ทำงานอยู่เดิม เพื่อเพิ่มศักยภาพของบุคลากรให้ทำงานได้ ทำงานเป็น ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และทำงานได้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่างๆ ในการบริหารองค์การ

4. องค์กรควรมีแผนการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนที่เหมาะสมในงาน และพัฒนาตลอดช่วงชีวิตของการทำงาน เนื่องจากโลกมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและการที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประเทศไทย 4.0 เปลี่ยนประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้สูงขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ต้องพัฒนาบุคลากรภาครัฐให้ทันต่อนวัตกรรม และการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และเหมาะสมกับธุรกิจขององค์กร และทิศทางที่องค์จะก้าวไปในอนาคตกับประเทศไทย 4.0 พัฒนาการเรียนรู้ของบุคลากรให้มีคุณภาพเท่าเทียมและทั่วถึง จึงจะเป็นการพัฒนาทุนมนุษย์ที่รองรับสู่อนาคตได้อย่างยั่งยืน


แนวคิดของท่านพารณเรื่อง "คน" ท่านเห็นด้วยหรือไม่อย่างไร

จากบทสัมภาษณ์ของท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ศ.ดร.จีระ หงศ์ลดารมภ์ ก่อนอื่นดิฉันขอชื่นชมอาจารย์ทั้ง 2 ท่านในฐานะนักคิดทางด้านการศึกษาอย่างแท้จริง เนื่องจาก ท่านมองว่า “คน” เป็นเสมือนทรัพยากรที่มีคุณค่า สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและสามารถพัฒนาได้ตราบเท่าที่คนๆ นั้นปรารถนา ซึ่งตรงกับปรัชญาทางการศึกษาที่กล่าวว่า การศึกษาทำให้คนเจริญ (Education is growth) และท่านยังมีความเชื่อว่า การที่ประเทศชาติจะเจริญได้ก้าวไกล ต้องถูกขับเคลื่อนด้วยคน การสร้างคนให้ดีมีคุณภาพควรต้องถูกปลูกฝังตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ดังนั้น การลงทุนกับมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่คุ้มค่าที่สุด ตัวชี้วัด (KPI) อันหนึ่งสำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว คือ ระดับการศึกษาของคนในชาติ

อย่างไรก็ตาม ระบบการศึกษาของประเทศไทย ไม่ได้ตอบโจทย์ผู้เรียนได้เหมือนๆ กัน ดังนั้น ความต้องการจึงต่างกัน การศึกษาทางเลือกจึงเกิดขึ้นเพื่อตอบโจทย์คนรุ่นใหม่หรือเด็กกลุ่ม Gen Z โดยเฉพาะพ่อแม่ซึ่งเป็นคนหัวสมัยใหม่แบบแนวคิดตะวันตก แต่ในขณะเดียวกันระบบการศึกษาไทยก็ไม่ได้รองรับระบบการศึกษาทางเลือกนี้สักเท่าใดนัก เนื่องจาก เมื่อเกิดการพลัดใบ นโยบายและวิสัยทัศน์ของการศึกษาไทยก็เปลี่ยนตาม

ทำไมท่านพารณ ถึงมองว่าคนเป็นทรัพยากรที่ควรค่าแก่การลงทุน เพราะท่านเชื่อว่า “คนพัฒนาได้” (ดิฉันต่อขออนุญาตต่อท้าย หากคนๆ นั้นได้โอกาส ) ดิฉันคิดว่าท่านเห็นระบบทุนนิยม (Capitalism) ซึ่งอาจเป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นมาจากทางฟากตะวันตก ถ้ามองแบบเว็บเบอร์ รูปแบบการบริหารองค์การใช้หลักเหตุผล (Rationality) แบบราชการ (Bureaucracy) เน้นเรื่องประสิทธิภาพ (Efficiency) การบริหารด้านรายได้ (Calculability) การวางแผนคาดการณ์ (Predictability) และการควบคุมสั่งการ (Control) ในขณะที่ริทเซอร์ใช้หลักการบริหารด้วยหลักเหตุผลแบบ McDonaldization เป็นหลักการบริหารที่ใช้กระบวนการที่เขาเรียกว่า กฎเหล็กของการใช้หลักเหตุผล (Iron cage of rationality) เว็บเบอร์มองสถานศึกษาเหมือนเป็นองค์การ เขามองว่า การคับบัญชาหรือการสั่งการสามารถใช้วิธีการได้เหมือนกัน แต่ในความเป็นจริงมิได้เป็นเช่นนั้น เนื่องจาก นักเรียนไม่ใช่พนักงาน ครูผู้สอนไม่ใช่ผู้จัดการ ในขณะที่ Marx มองว่าทุกอย่างคือการลงทุน เมื่อนำมาผสมผสานกันแล้ว จึงเป็นการลงทุนที่ตัวมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาตนเองให้เกิดความรู้ (Stock knowledge)การเก็บเกี่ยวประสบการณ์ก็เป็นการสร้างคุณค่าให้กับตัวเอง (Value added)การสร้างบุคลิกภาพ (Characteristic)ให้กับตนเองจนกลายเป็น Trait เมื่อต้องเข้าสังคม สังคมจะเป็นตัวหล่อหลอมให้มนุษย์มีตัวตนอีกแบบ มนุษย์จะถูกตีกรอบ และสูญเสียความเป็นตัวตนด้วยSocial Self นี่คือ loop ตัวตนของมนุษย์ด้วยระบบการศึกษาไทยที่เป็นแนวคิดแบบเดิมๆสอนแบบเดิม ครูผู้สอนเป็นศูนย์กลาง(Teacher Centre) กุมอำนาจสอนแบบสื่อสารทางเดียว (1 way communicate)นโยบายแบบใครขึ้นคนนั้นคิด ยิ่งร้ายไปกว่านั้นคือ ระบบการสอบเข้า แบบแพ้คัดออก มหาวิทยาลัย Top5 หรือ Top10 ได้แต่หัวกะทิ (Cream)ไปหมด ระบบการศึกษาไทยคัดแต่คนเก่งที่ได้คะแนนสูง แต่มองข้ามมิติอื่น อย่างเช่น ความถนัดเฉพาะด้าน ทัศนคติ หรือ คุณธรรม จริยธรรม คุณงามความดีที่อยู่ภายใน อย่างเมื่อเร็วๆ นี้ มีข่าวออกมาว่า พวกที่สอบเข้าเป็นนักเรียนนายสิบ จ้างนักศึกษาแพทย์ของมหาวิทยาลัยชั้นนำเข้าไปนั่งทำข้อสอบแทน จากข่าวนี้ เป็นปรากฎการณ์ที่แวดวงการศึกษาอาจต้องตั้งคำถามว่า เกิดอะไรขึ้น กับ ระบบคิดของเยาวชนคนไทย ซึ่งต่อไป ต้องเป็นกำลังสำคัญของประเทศ แล้วหากคนกลุ่มนี้ต้องเข้ามารับใช้ประเทศชาติ ผลที่ตามมาจะเป็นเช่นไร ประเด็นคำถาม ผู้เรียนต้องการลงทุนเรื่องการเรียนตามค่านิยม หรือ ต้องการลงทุนโดยมองเห็นคุณค่าในตนเอง

อย่างไรก็ดี การลงทุนในมนุษย์เรื่องการศึกษา เป็นสิ่งที่มีคุณค่าสูงสุดที่ควรให้การสนับสนุน เหตุผลเพราะว่า คนสามารถพัฒนาได้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Self-directed learning)ที่สำคัญคนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลาและตลอดชีวิต (Long life learning)

งานชิ้นที่ 2

จากบทสนทนาของท่านอาจารย์จีระและ รศ.ธงทอง จันทรางศุ ในรายการไทยมุง สามารถสรุปและวิเคราะห์ประเด็น การปฏิรูปการศึกษาไทย ในยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 กับเรื่องเสนอโครงการเพื่อปฏิรูปการศึกษาไทยในปัจจุบัน สรุปได้ดังนี้

นับถอยหลังไปเมื่อ 20 ปีที่แล้ว การศึกษาไทยมีการเปลี่ยนแปลงและขับเคลื่อนอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่เห็นว่าเปลี่ยนแปลงก็คือ เนื้อหาและวิธีการ โดยมีปัจจัยแวดล้อมเข้ามาเป็นแรงขับเคลื่อน และสิ่งสำคัญของการเปลี่ยนแปลงนี้ก็คือ ความทันสมัยของระบบ Digital และ ภาษา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เป้าประสงค์ของการปฏิรูปการศึกษาเราอยากเห็นอะไรระหว่างคนดีหรือคนเก่ง เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า อยากเห็นทั้งสองอย่าง เพราะฉะนั้นสิ่งหนึ่งที่ทำได้คือ การสร้างความตระหนักให้เด็กไทย ได้รู้จักคำว่า “การเรียนรู้ สามารถทำได้ตลอดชีวิต” ภายใต้คุณธรรมและจริยธรรม

หากจะปฏิรูปประเทศไทยควรต้องปฏิรูปการศึกษา แต่ที่ผ่านมาการปฏิรูปการศึกษาของไทยมีโครงสร้างที่ไม่แน่นอนและทำแบบไม่ต่อเนื่อง ดังนั้น สิ่งสำคัญ ควรปลูกฝังให้คนมีค่านิยม (Value) และมีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) เพื่อหาความรู้ใหม่ๆ สำหรับอาจารย์ธงทอง ท่านมอง 3 ประเด็นใหญ่ๆ ดังนี้ คือ 1.การบริหารจัดการ 2.การบริหารเม็ดเงิน และ 3.เรื่องครูผู้สอน ท่านกล่าวว่า เด็กไทยเรียนมากไปหรือไม่ หากเทียบกับประสิทธิภาพที่ได้รับ ทุกสิ่งทุกอย่างถูกจับใส่เข้าไปในหลักสูตร เพื่อให้เด็กเรียน สุดท้ายเด็กได้อะไร เด็กเรียนหนักไปหรือไม่ ทำอย่างไรที่จะทำให้เด็กเกิด Life skill หรือ Job skill

เมื่อมามองปัญหาด้านครูผู้สอน ในเรื่องจิตวิญญาณของความเป็นครู การใฝ่รู้ (Learning Methodology) การขาดขวัญและกำลังใจ ทำให้ความกระตือรือร้นของครูลดน้อยลง วิธีการสอนที่ครูขาดก็คือ การกระตุ้นให้เด็กได้รู้จักแสดงความคิดเห็น และการทำให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น

สำหรับอาจารย์ธงทอง ท่านมองว่า ปัญหาปัจจุบันนี้ ครูต้องทำงานเอกสารมากมายจนไม่มีเวลามาสร้างสรรค์งานสอน ขาดแรงจูงใจ ขาดขวัญกำลังใจ ซึ่งอาจารย์จีระได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า “ การทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องทำอย่างต่อเนื่องจึงจะบรรลุผล

ในอดีต การเรียนการสอน มีแค่กระดาน ชอล์ก ห้องสมุด ก็เพียงพอแล้ว แต่ปัจจุบัน ในยุคการปฏิรูปการศึกษาไทย (ยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0) ต้องทำแบบจริงจัง และร่วมกันใช้ศักยภาพของคนในสังคมผนึกกำลังกัน นำ Technology Computer และ Program ดีๆ มาใช้จึงจะสัมฤทธิ์ผล ที่ผ่านมาการปฏิรูปการศึกษาอยู่ภายใต้ระบบราชการ (Bureaucracy) ทุกสิ่งทุกอย่างต้องขึ้นตรงตามลำดับขั้นที่เป็น Command control หากลดขั้นตอนตรงจุดนี้ได้ น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการปฏิรูปการศึกษาไทย อีกประเด็นคือ การฝึกภาวะผู้นำให้กับผู้บริหารการศึกษาให้ได้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องการบริหารจัดการเม็ดเงินให้มีประสิทธิภาพ ผู้บริหารควรมีวิสัยทัศน์แบบให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้มีส่วนร่วมแสดงความเห็น มองเห็นคุณค่าของครูผู้สอน ให้เกียรติ ให้อิสระทางความคิดด้านวิชาการ ผู้บริหารควรสนับสนุนให้มีการฝึกอบรมกับครูผู้สอนได้ใช้ระบบ e-learning จัดทำโครงการ Training the trainer ฝึกให้ครูรุ่นใหม่สามารถดึงศักยภาพที่มีอยู่ในตัวเอง นำออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ ฝึกให้มีทักษะการเจรจาต่อรอง นำไปบูรณาการได้ ให้การยกย่องครู พัฒนาครู สร้างครูให้เป็นครูเพราะใจรักจริงๆ ทั้งหมดคือบทสรุปของการปฏิรูปการศึกษาไปพร้อมๆ กับการปฏิรูปประเทศไทย หรือ อาจเขียนเป็นตัวแบบสมการเชิงปริมาณทางความคิดได้ดังนี้ คือ

ปฏิรูปประเทศไทย = ปฏิรูปการศึกษา

จิรัฐพงศ์ นาคโนนหัน

Comment in Paron’s book (วิภาคหนังสือทรัพยากรณ์มนุษย์พันธุ์แท้).

จากหนังสือทรัพยากรณ์มนุษย์พันธุ์แท้ ได้พูดประเด็นของทุนมนุษย์ที่ถ่ายทอดจากมุมมองของทั้งสองกูรู(คุณพารณและดร.จิระ)ซึ่งมีทั้งประเด็นที่เป็นความเหมือนและความคล้าย ในช่วงแรกๆของหนังสือได้อธิบายถึงความเป็นตัวตนของท่านทั้งสองว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร พื้นฐานครอบครัว ชีวิตและการศึกษา ทำให้ผู้อ่านได้รับทราบและเข้าใจไปถึงเหตุผลว่าเหตุใดจึงทำให้ท่านทั้งสองได้รับการซึมซับถึงเรื่องของมนุษย์และอยากพัฒนาทรัพยากรณ์มนุษย์ให้เป็นทุนมนุษย์ ดังจะเห็นได้จากเนื้อหาที่กล่าวถึงพื้นฐานทางด้านครอบครัว หน้าที่การงาน บทบาทต่างๆที่ล้วนเกี่ยวโยงไปถึงเรื่องของมนุษย์และสังคม เหตุเพราะทั้งสองท่านเชื่อว่าทรัพยากรณ์ที่สำคัญที่สุดคือทรัพยากรณ์มนุษย์ เป็นทรัพยากรณ์ที่เรียนรู้ พัฒนา และสร้างสรรค์ได้ในเวลาเดียวกัน เป็นทรัพยากรณ์ที่สามารถเชื่อมโยงไปสู่พลังการพัฒนาทางสังคมจากจุลภาคไปสู่มหภาคได้

ในส่วนของประเด็นเนื้อหาและหลักการ หนังสือเล่มนี้ได้พูดถึงแนวคิด หลักการ เหตุผลและทฤษฎีในการเพิ่มพูลศักยภาพทรัพยากรณ์มนุษย์ อาทิเช่น

  1. บันไดแห่งความเป็นเลิศ (PDCA, Priority กับ Focusing ,Team work, Owner ship),
  2. ทฤษฎี 3 วงกลม พี่กล่าวถึง Context, Competencies, Motivation,
  3. หลักการของ Challenge & Passion
  4. ประเด็นของ IQ, EQ, AQ และ MQ
  5. คุณสมบัติของคนที่จะก้าวไปสู่ระดับโลก

กล่าวถึงหลักการครองใจผู้ร่วมงาน

  1. ให้ความรัก จึงจะภักดี
  2. หลักการสร้าง Royalty

ปรัชญาที่จากหนังสือเล่มนี้ที่ได้กล่าวเอาไว้มีดังนี้

  1. HRมิใช่เป็นเพียงแค่การTraining เพราะHRสามารถมีบทบาทในการสร้างทุนมนุษย์ได้ด้วย
  2. มนุษย์นั้นมิใช่ต้นทุน แต่คือการลงทุน
  3. คนคือสินทรัพย์ มิใช่ทรัพยากรณ์

กล่าวถึงการเป็นทุนมนุษย์ที่ดี ที่มีศักยภาพ ไว้ดังนี้

  1. มุ่งเดินเข้าสู่สนามการสร้างทรัพยากรณ์มนุษย์
  2. มุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากร์มนุษย์บนพื้นฐานของความยั่งยืน
  3. จากข้อสอง มุ่งสู่ผู้มีอิทธิพลทางความคิดสู่สังคม
  4. การมีบุคลิกแบบ Global man
  5. มีความเป็นผู้ใหญ่พร้อมให้ความรู้และความรักแก่คนใกล้ชิด
  6. มีความสุขกับการให้ให้กับสังคมโดยไม่มีเงื่อนไข

#ปริญญาเอกนวัตกรรมการจัดการสวนสุนันทารุ่นที่14

Workshop จากบทสัมภาษณ์คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา

2. จะเพิ่มประเด็นอะไรบ้างในยุคปัจจุบัน

สรุปประเด็นที่ได้จากบทสัมภาษณ์

คุณพารณให้ความสำคัญกับ “คน” โดยยกให้คนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดขององค์กร มีความศรัทธาในคุณค่าของคน และเชื่อว่างานทั้งหมดจะสำเร็จได้ด้วยคน โดยเฉพาะคนที่มีทั้งคุณภาพและคุณธรรม ได้เปรียบเทียบคนกับสินทรัพย์อื่นๆ ในทางเศรษฐศาสตร์ว่า สินทรัพย์อื่นๆ ยิ่งระยะเวลานานมากขึ้นมูลค่าจะยิ่งลดลง แต่คนยิ่งนานคุณค่ายิ่งเพิ่ม ดังนั้นจึงต้องมีทั้งการดูแลและการสร้างให้เหมาะสมในทุกๆ ระดับ ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนไปถึงผู้ปฏิบัติงานในระดับล่าง เพราะเมื่อบริษัทมีขนาดใหญ่ขึ้นและต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลง คนที่เป็นผู้นำจะต้องมีวิสัยทัศน์ (Vision) ในการก้าวทันเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลง และสามารถแข่งขันได้ โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องการสื่อสาร (Communication) เพราะเป็นส่วนสำคัญของการตัดสินใจ ต้องมีการสื่อสารและการอบรมที่มีประสิทธิผลในแต่ละระดับเพื่อให้การแบ่งส่วนการบริหารและการมอบอำนาจสัมฤทธิ์ผลตามไปด้วย รวมถึงต้องให้ความสำคัญกับคนทั้งภายในองค์กร (ลูกน้อง) และภายนอกองค์กร (ลูกค้า)

นอกจากนั้นในการตอบคำถามให้แก่ผู้ร่วมรายการ ในประเด็นของ กลยุทธ์การสร้างคุณธรรมการบริหาร การรักษาคนในองค์กร การนำเทคโนโลยีมาใช้ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD) และงาน R&D ในเรื่องของคุณธรรม คุณพารณเน้นในเรื่องของวัฒนธรรมขององค์กรที่มีอุดมการณ์ในการตั้งมั่นในความเป็นธรรม จัดทำเป็นคู่มือจรรยาบรรณขององค์กร โดยที่ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องทำตามไม่มีข้อยกเว้น ส่วนในเรื่องของการรักษาคนในองค์กร ได้ให้ความสำคัญกับการดูแลตั้งแต่เข้างานจนออกจากงาน คนที่เข้างานใหม่ต้องมีค่าจ้างที่แข่งขันได้กับบริษัทชั้นดีอื่นๆ ช่วงที่ทำงานอยู่ร่วมกับองค์กรต้องได้รับความเป็นธรรม ได้โอกาสในการมีส่วนร่วมบริหารบริษัท ได้รับการพัฒนาที่เหมาะสม และส่งเสริมให้มีการทำงานเป็นทีม เมื่อถึงเวลาต้องออกจากงานก็ต้องมีผลประโยชน์ที่เพียงพอและเหมาะสมแก่การใช้ชีวิตต่อไป สำหรับในเรื่องของการนำเทคโนโลยีมาใช้ ผู้นำที่ดีต้องมี Vision ในการหาเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อมาพัฒนาองค์กรอยู่เสมอ แต่ต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนควบคู่ไปด้วย ต้องฝึกทักษะให้คนมีศักยภาพเพิ่มขึ้นเพื่อให้สามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในทางกลับกันถ้าไม่พร้อมก็ควรมีระบบประกันการว่างงานเพื่อรองรับ ส่วนเรื่องสุดท้าย HRD และ R&D องค์กรต้องพร้อมทั้งในการพัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยี และได้เสนอแนวคิดในเรื่องที่ภาครัฐควรมีนโยบายให้การส่งเสริม เช่น การลดภาษีนำเข้าสำหรับเทคโนโลยีและการสนับสนุนงาน R&D เป็นต้น

ประเด็นที่ควรเพิ่มในยุคปัจจุบัน

ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับคุณพารณในเรื่องที่ คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร แต่ในยุคปัจจุบันโดยเฉพาะในปี 2560 บริบทต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่เปลี่ยนเป็นยุค 4.0 และมีอิทธิพลต่อยุทธศาสตร์ของประเทศที่ต้องปรับตัว และส่งผลต่อการพัฒนาองค์กรในยุคปัจจุบันด้วย สังคมและการดำเนินชีวิตก็เปลี่ยนไปโดยมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยและการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ทุกที่ ทุกเวลา และปริมาณมากๆ คนทั้งภายในและภายนอกองค์กรในทุกๆ ระดับก็ควรต้องปรับตัวให้พร้อมหรือควรได้รับการพัฒนาที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นคนในยุคปัจจุบันควรได้รับการพัฒนาทั้งในด้านคุณภาพ คุณธรรม และความสุข ดังนี้

คุณภาพ – คนควรมีการพัฒนาทั้งในเรื่องของความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และทัศนคติ (Attitude) หรือวิธีคิด (Mindset) โดยควรเป็นทักษะความรู้ที่จริง (Reality) และตรงประเด็น (Relevance) (ตามทฤษฎี 2R’s) ตามบริบทของแต่ละบุคคล เพื่อให้สามารถคิดเป็นทำเป็นแก้ปัญหาเป็นและตรงประเด็น นอกจากนั้น ควรมีความสามารถด้าน IT และภาษาอังกฤษเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้สูงสุดจากข้อมูลที่เข้าถึงได้ง่ายในยุคปัจจุบัน และควรกระตุ้นให้มีวิธีคิดหรือทัศนคติในการเรียนรู้ตลอดชีวิตและต่อเนื่อง เพราะในปัจจุบันความรู้และแนวคิดต่างๆ ที่เป็นประโยชน์มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยมีอยู่เป็นจำนวนมาก ควรใช้ Social Media และเทคโนโลยีที่ทันสมัย (เช่น Mobile, Smart Devices) ให้เกิดประโยชน์ในการเรียนรู้ (Learn) การแบ่งปัน (Share) และการเอาใจใส่ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (Care) เพื่อเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society) และสังคมแห่งความรู้ในที่สุด (Knowledge Society)

คุณธรรม – คนยิ่งมีคุณภาพมากขึ้นเท่าไรยิ่งต้องมีคุณธรรม (Integrity) มาคอยกำกับมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันที่สื่อและแนวคิดผิดๆ แพร่หลายอยู่เป็นจำนวนมาก หากคนไม่มีหลักคิดและคุณธรรมที่เข้มแข็งแล้ว ก็อาจพลัดหลงไปในทางที่ผิดได้โดยง่าย สำหรับสังคมไทยที่คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ควรนำหลักธรรมตามคำสอนของพระพุทธศาสนาที่เน้นให้มีการพัฒนาความคิดและจิตใจของคนให้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมมาใช้ ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพของคนในด้านอื่นๆ ซึ่งคนที่เก่งมีคุณภาพและดีมีคุณธรรม สามารถประกันได้ในระดับหนึ่งว่าจะไม่ทำสิ่งที่จะก่อให้เกิดผลเสียหรือปัญหาในระยะยาวหรือในอนาคตกับสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เป็นการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข

ความสุข – นอกจากจะเป็นคนเก่งมีคุณภาพและเป็นคนดีมีคุณธรรมแล้ว ควรพัฒนาความสุขในการทำงานและการดำเนินชีวิตที่สมดุล (Work-Life Balance & Happiness) ในยุคปัจจุบันมีการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงสูง ทำให้เกิดความเครียดและความกดดันในการทำงานเพิ่มสูงขึ้นด้วย ดังนั้น คนควรได้รับการใส่ใจทั้งในด้านสุขภาพกายและสุขภาพใจ ทั้งของตนเองและคนรอบข้าง มีทัศนะคติที่ดีในการพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีทั้งในและนอกที่ทำงาน คือควรมีการสร้างสมดุลชีวิตทั้งในด้านงาน ครอบครัวและสุขภาวะส่วนตน คนสุขภาพใจไม่ดี สุขภาพกายก็มักจะไม่ดีตามมา ครอบครัวก็จะไม่มีความสุข ประสิทธิภาพการทำงานก็จะลดลงด้วย ในทางกลับกันถ้าคนมีสุขภาพกายและใจที่ดีมีความสุข ครอบครัวมีความสุข ทำงานอย่างมีความสุข ประสิทธิภาพการทำงานก็จะยิ่งสูงขึ้นด้วย

Workshop จากบทสนทนาของอาจารย์ ศ.ดร.จีระ และ รศ.ธงทอง ในรายการไทยมุง เรื่อง การปฏิรูปการศึกษา พัฒนาการเรียนรู้เด็กไทย?

บทสนทนาจะเป็นการพูดคุยให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในเรื่องของการปฏิรูปการศึกษาของไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยสามารถสรุปประเด็นหลัก ๆ ได้พอสังเขปดังนี้ คือ

  • การบริหารจัดการงานการศึกษา – ควรเพิ่มศักยภาพให้กับนักบริหาร ไม่ควรเน้นเฉพาะในเรื่องการบริหารการศึกษาเท่านั้น แต่ควรครอบคลุมในเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องด้วย เช่น การบริหารการเงิน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น
  • ครู – ควรให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพ วิธีการสอน การสร้างบรรยากาศ ขวัญกำลังใจ และจิตวิญญาณความเป็นครู
  • เทคโนโลยี เครื่องช่วยหรือสนับสนุนการเรียนการสอน – ควรพัฒนาให้ทันกับยุคสมัย เข้าถึงได้ง่าย และทั่วถึงทั้งระบบ

1.การปฏิรูปการศึกษาไทยในยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0

บริบทของประเทศตามยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ทันสมัยไปสู่ยุค Digital Economy ซึ่งการจะบรรลุผลสำเร็จดังกล่าว หัวใจสำคัญอยู่ที่การมีทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ (8K’s, 5K’s new) โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นด้านความความคิดสร้างสรรค์ (Creativity Capital) และนวัตกรรม (Innovation Capital) ที่สามารถผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้ในบริบทของวัฒนธรรมของไทย (Cultural Capital) ดังนั้น รูปแบบการพัฒนาทุนมนุษย์ต้องมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะในระดับพื้นฐาน (Supply Side ในช่วงอายุปฐมวัยถึงประมาณ 24 ปี ตาม HR Architecture) ซึ่งเป็นการสร้างรากฐานที่แข็งแรงเพื่อนำไปสู่การพัฒนาแรงงานที่มีคุณภาพในอนาคตคือเป็นแรงงานที่คิดเป็น วิเคราะห์เป็น คิดแบบวิทยาศาสตร์ คิดแบบสร้างสรรค์ คิดเชิงนวัตกรรม เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มีจิตสาธารณะ และมีความสุข (Demand Side ในช่วงอายุ 25-60 ปี ตาม HR Architecture) ที่สามารถผลักดันประเทศไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

ด้วยเหตุนี้ การปฏิบัติรูประบบการศึกษาจึงมีความสำคัญและเป็นหัวใจของความสำเร็จ โดยขอสรุปประเด็นที่เสนอให้มีการนำมาพิจารณามีดังนี้

1) การปฏิรูปการศึกษา นอกจากจะมุ่งเน้นความสำเร็จตามยุทธศาตร์ไทยแลนด์ 4.0 แล้ว ควรพิจารณาให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีด้วย

2) ควรมีการกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) และกรอบในการดำเนินการให้ชัดเจน (Framework) โดยให้สอดคล้องกับบริบทแวดล้อม (Nation & International Context) องค์ความรู้ที่ต้องการพัฒนา (8K’s, 5K’s new) แนวทางในการสร้างระบบการเรียนรู้ (4L’s, 2R’s, 2I’s, C&E) และผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder : ภาครัฐ, ภาคประชาชน, ภาคผู้ประกอบการ, ท้องถิ่น, ผู้ปกครอง, ครู, สถาบันการศึกษา,...)

3) ภาครัฐควรมีการกำหนดนโยบายที่แสดงถึงความมุ่งมั่นและการสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง และควรมีการสื่อสารอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

4) ควรมีการกำหนดยุทธศาสตร์ในการปฏิรูปการศึกษาทั้งในระยะสั้น (ทำทันทีให้สำเร็จภายใน 1-2 ปี เพื่อใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนา) ระยะกลาง (วางรากฐานให้มั่นคงเพื่อให้สามารถต่อยอดให้เกิดความต่อเนื่องได้ อาจใช้เวลา 2-3 ปี) และระยะยาว (ต่อยอด สร้างมูลค่าเพิ่ม และพัฒนาให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน ใช้เวลามากกว่า 3 ปี และทำต่อเนื่องให้สอดคล้องตามบริบทที่เปลี่ยนไป)

5) ควรมีการกำหนดแผนหรือโครงการที่พร้อมนำไปสู่การปฏิบัติ (Implementation) มีการติดตามผลและมีการทบทวนอย่างต่อเนื่อง (Follow Up) โดยให้สอดคล้อดกับยุทธศาสตร์ที่วางไว้

2.เสนอโครงการเพื่อการปฏิรูปการศึกษาไทยในปัจจุบัน

2.1 โครงการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบสู่ยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 (Model School Development to Thailand 4.0)

ควรสร้างโรงเรียนต้นแบบให้ประสบผลสำเร็จในระยะเวลาสั้น (ไม่เกิน 2 ปี) เพื่อใช้เป็นศูนย์การเรียนรู้และขยายผลไปสู่ที่อื่นๆ (C-U-V : Copy, Understanding, Value) โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่

1) โครงสร้างการบริหารโรงเรียนต้นแบบ (Management Infrastructure) เช่น โครงสร้างองค์กร บุคลากร สถานที่ เทคโนโลยีที่ใช้ ระบบสารสนเทศ แนวทางการบริหาร ทรัพยากร ทุน เป็นต้น

2) กระบวนสร้างองค์ความรู้ (4L’s, 2R’s, 2I’s, C&E) และการนำมาใช้ (HRDS) เพื่อให้ได้ทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ (8K’s, 5K’s new) ตามยุทธศาสตร์ฯ

3) เป็นศูนย์กลางในการสร้างผู้นำหรือผู้บริหารและผู้สอนที่มีศักยภาพ และสร้างให้เป็น Coach สำหรับฝึกให้กับโรงเรียนอื่นๆ ต่อไปได้ เพื่อการขยายผลได้อย่างรวดเร็ว

2.2 โครงการพัฒนาผู้นำองค์กรการศึกษาเพื่อผลักดันการเปลี่ยนแปลงสู่ยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 (School Leadership Development for Master of Change to Thailand 4.0)

เป็นโครงการที่ควรทำควบคู่กับการสร้างโรงเรียนต้นแบบ เพราะการสร้างโรงเรียนต้นแบบเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ (Big Change) ผู้นำหรือผู้บริหารโรงเรียนถือว่าเป็นบุคคลสำคัญที่จะสามารถผลักดันและให้การสนับสนุนให้โรงเรียนต้นแบบประสบผลสำเร็จและสามารถขยายผลไปยังโรงเรียนอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1) พัฒนาให้ผู้นำมีทัศนคติ (Mindset) ในการยอมรับการเปลี่ยนแปลงและมีทักษะความสามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) ได้อย่างสัมฤทธิ์ผล

2) จัดทำโครงสร้างสมรรถนะด้านการบริหารที่เพียงพอและจำเป็นสำหรับผู้นำ และพัฒนาทักษะดังกล่าวให้สอดคล้องกับบริบทตามยุทธศาตร์ฯ

3) สนับสนุนทรัพยากรและทุนที่เหมาะสมในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบตามยุทธศาสตร์ฯ

4) ขยายผลเพิ่มจำนวนผู้นำต้นแบบ พัฒนาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ควบคู่กับการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ เพื่อให้ได้ผู้นำที่มีทัศนคติและศักยภาพในการบริหารให้เกิดการเปลี่ยนแปลง พร้อมมีประสบการณ์ในการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ ซึ่งจะทำให้การขับเคลื่อนยุทธศาตร์การปฏิรูปการศึกษาสามารถดำเนินการได้จริง (Reality) และตรงประเด็น (Relevance)

การได้รับความรู้จากท่านศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงษ์ลดารมภ์ เกี่ยวกับหนังสือ Search Inside Yourself ในวันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560 สิ่งที่ได้รับมีประเด็น ดังนี้

ประเด็นที่ 1 เนื่องจากกลุ่มของดิฉันได้รับมอบหมายให้วิเคราะห์ Chapter 6 บทนี้ได้พูดถึง ” งาน” คนที่มีประสบการณ์ความรู้ในงาน ก็คือ “คุณ” และสิ่งที่มากระตุ้นให้คนรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าก็คือ คุณ ทุกคนเก่งมีประสบการณ์การแต่ขาดการถูกกระตุ้นหรือเรียกง่ายๆ ว่า หาตัวเองไม่เจอ คุณนั่นแหละที่รู้ตัวคุณเองดีที่สุดว่าคุณมีดีตรงไหน ในบทนี้ จะช่วยให้คุณค้นหาตัวเองเจอ ดังนั้น ขออนุญาตกล่าวถึงส่วนนี้เป็นลำดับแรก ตอนที่เห็นชื่อหนังสือ ดิฉันรู้สึกได้เลยว่า หนังสือเล่มนี้ดึงดูดให้ดิฉันมีความกระหายอยากที่จะอ่านอย่าง Carefully และโดยนิสัยส่วนตัว ดิฉันเป็นคนชอบอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ ดังนั้น จึงเริ่มอ่าน Chapter 6ซึ่งเกี่ยวกับเรื่อง การ Motivation เพื่อนำไปสู่ Passion สี่งที่ปรารถนา อยากทำสิ่งนั้นเพราะมีบางสิ่งบางอย่างมากระตุ้นให้เกิดขึ้นในใจ และทำมันอย่างมุ่งมั่น ตั้งใจ อยากทำให้สำเร็จ สิ่งที่พูดถึง มันเป็นความมุ่งมั่นปรารถนาที่ชัดเจน เมื่อทำแล้วเรามีความสุข สิ่งที่ได้รับในการเข้ารับฟังในครั้งนี้ ได้มากกว่าการอ่านอย่างเดียว แต่บรรยากาศการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง (Exchange Learning ) การได้มีส่วนร่วม (Participation) โดยอาจารย์จีระเป็นผู้ชี้แนะ เอื้อประโยชน์(Facilitator) เสริมเติมเต็มให้นักศึกษากรณีออกนอกประเด็น ในบทนี้เนื้อหาสาระสำคัญ ได้กล่าวถึง การที่คนเราจะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด การมองเห็นคุณค่าของสิ่งที่ทำ ความมุ่งมั่นปรารถนา สำคัญที่สุด ทำอะไรก็ตาม ต้องมีแรงจูงใจ ทำแล้วชีวิตมีความสุข แรงปรารถนาตรงนี้จะนำไปสู่การดำเนินชีวิตที่มีจุดมุ่งหมายและมีความหมายต่อคนๆ นั้น

ประเด็นที่ 2 ในหนังสือ Search inside yourself ใช้วิธีการยกตัวอย่างบุคคลที่คนทั่วไปรู้จัก เป็น Case study สื่อสารด้วยภาพการ์ตูน สื่อได้ชัดเจน และง่ายกว่าการใช้แต่ตัวอักษรอย่างเดียว เนื่องจาก หนังสือเล่มนี้ เขียนเชิงปรัชญา ดังนั้น จึงทำให้เข้าใจยาก ภาษาที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นศัพท์เฉพาะ (Technical Term) เป็นภาษาทางวิชาการ (Academic Language) ดังนั้นความหมายบางคำจึงไม่ได้แปลตรงๆ จากการสังเกต การยก Case study หรือ ตัวอย่าง สามารถช่วยให้ผู้อ่านตีความ (Interpret) ได้ง่ายขึ้น และดึงดูดทำให้อยากอ่านมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การตีความนี้อาจส่งผลเสียได้ เนื่องจากแต่ละคนมีพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน ดังนั้น การตีความนี้อาจผิดเพี้ยน (Misunderstanding) ไปเลยก็เป็นได้

ประเด็นที่ 3 ดิฉันเห็นข้อดีและข้อได้เปรียบสำหรับการเรียนรู้ใน Class นี้ เนื่องจาก กลุ่มผู้เรียนมีพื้นฐานความรู้ดี มีความหลากหลาย หลายคนคิดต่าง แต่ทุกคนยอมรับกฎกติกาบนพื้นฐานการเรียนรู้ร่วมกัน ทำให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้แบบ Sharing เพื่อต่อยอดไปสู่การ Comparingไป Benchmarkingและท้ายที่สุด ไปสู่ความเป็นเลิศ (Best practice)

ท้ายนี้ ดิฉันรู้สึกมีความสุขใน Class สิ่งที่มา Motivate ดิฉัน คือการเรียนรู้ด้วย Style การถ่ายทอดความรู้ของอาจารย์จีระ และทีมงาน (พี่จ้า) การ Recommend ที่ดี พี่จ้าเจาะประเด็น กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดแนวคิดเป็นแนวทางเพื่อต่อยอด นำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า “ปิ๊งแว๊บ” (Get to the point) เป็น Idea นำไปสู่หัวข้องานวิจัยในที่สุด

จากการศึกษาหนังสือ Search Inside Yourself (SIY) (ค้นหาภายในตัวคุณเอง) ที่เขียนโดย Chade Meng Tan (วิศวกรที่ทำงานอยู่ที่ Google) และการวิพากษ์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและทัศนะในมุมมองต่างๆ เกี่ยวกับเนื้อหาของหนังสือในชั้นเรียนระหว่างคณาจารย์และนักศึกษา ผมขอเรียนเสนอสรุปประเด็นที่พบในมุมมองความคิดเห็นของตนเองแบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ดังนี้

ประเด็นแรก: หนังสือ SIY นำเสนอเกี่ยวกับเรื่องอะไร

SIY เป็นหนังสือที่ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนา Emotional Competence (ความสามารถทางอารมณ์) ในการสร้างแรงขับจากศักยภาพภายในของแต่ละคนให้สามารถเอาชนะอุปสรรคไปสู่เป้าหมายผลสำเร็จในชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยตนเอง รวมถึงยังให้ความสำคัญกับการคิดถึงผู้อื่นและการสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นร่วมด้วย ซึ่งวิธีการนี้ผู้เขียนหนังสือ SIY เรียกว่า Mindfulness-Based Emotional Intelligence (MBEI) (ความฉลาดทางอารมณ์บนหลักของการเจริญสติ)

MBEI เกิดจากการผสมผสานแนวคิดทางจิตวิทยาตะวันตกเข้ากับหลักคิดในการพัฒนาจิตใจจากหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะในเรื่องของการทำสมาธิ (Meditation) และการเจริญสติ (Mindfulness) เพื่อฝึกให้เกิดความสงบ (Calm) แจ่มใสหรือกระจ่าง (Clear) และตั้งมั่น (Attention) ของจิตใจหรือความคิดในเรื่องที่สำคัญต่อชีวิต จนสามารถพัฒนาความรู้ได้ด้วยตนเอง (Self-knowledge) และสามารถกำหนดหรือควบคุมตัวเองได้ว่าควรทำอะไร (Self-mastery) และที่สำคัญคือสร้างนิสัยในการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่หรือการบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น

ประเด็นที่สอง: หนังสือ SIY ได้นำเสนอกระบวนการคิดที่สำคัญแก่เราอะไรบ้าง

หนังสือ SIY ได้ให้หลักว่า MBEI เป็นทักษะที่สามารถเรียนรู้และฝึกได้ เพื่อให้สามารถรู้และเข้าใจในอารมณ์และความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น และสามารถใช้ความรู้และความเข้าใจนั้นเป็นแนวทางในการคิดและการกระทำให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้หลักของการมีสติและตั้งมั่นของจิตใจ

โดยที่ทักษะของ MBEI แบ่งออกได้เป็น 5 หัวข้อ และจัดได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 เรียกว่า Intrapersonal Skills (ทักษะภายในตัวบุคคล) ได้แก่

1. Self-awareness (การตระหนักรู้ภายในตนเอง) – ความสามารถในการรับรู้สภาวะภายในตัวเองว่ากำลังรู้สึกอะไรอยู่ในขณะต้องการได้อย่างชัดเจน หรือรู้ว่าตนเองเป็นใคร กำลังทำอะไรอยู่

2. Self-regulation (การกำกับดูแลภายในตนเอง) – ความสามารถในการจัดการและควบคุมสภาวะภายในตัวเองให้สามารถตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม

3. Self-motivation (การจูงใจภายในตนเอง) – ความสามารถภายในตัวเองที่คอยสนับสนุนหรือกระตุ้นให้เกิดการกระทำที่ต่อเนื่องและพร้อมที่จะฟันฝ่าอุปสรรคจนไปถึงจุดมุ่งหมาย

กลุ่มที่ 2 เรียกว่า Interpersonal Skills (ทักษะระหว่างบุคคล) ได้แก่

4. Empathy (การเข้าใจหรือตระหนักรู้เกี่ยวกับผู้อื่น) – ความสามารถในการรับรู้ถึงความรู้สึกของผู้อื่น และสามารถตอบสนองด้วยความเข้าใจและด้วยความเห็นอกเห็นใจ

5. Social Skills (ทักษะทางสังคม) – ความสามารถในการเชื่อมโยงกับผู้อื่นด้วยเหตุและผล และด้วยความจริงใจ

ประเด็นที่สาม: ประโยชน์ที่ได้รับจากหนังสือ SIY และการวิพากษ์ในชั้นเรียน

1. สมการแห่งความสำเร็จและความยั่งยืน

การฝึกจิตใจให้ตั้งมั่นด้วยการเจริญสติ (Mindfulness Meditation) + การมีแรงขับเคลื่อนภายในอย่างต่อเนื่องเพื่อไปสู่เป้าหมาย (Flow & Purpose) + การเข้าใจและการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นอย่างจริงใจ (Empathy) + พฤติกรรมหรือการกระทำที่เห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นเป็นสำคัญ (Altruistic Behavior) + ความสุข (Happiness) = ความสำเร็จ (Success) และความยั่งยืน (Sustainability)

2. Intangibles -> Tangibles -> Actions

MBEI ที่ Google นำมาใช้สำหรับพัฒนาความสามารถของบุคลากรเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ (Intangibles) แต่มีความสำคัญมากในการปรับสมดุลของชีวิต ความสำเร็จของตนเอง และประโยชน์สุขของสังคม โดยนำทักษะดังกล่าวมาอบรมให้ความรู้และฝึกฝน โดยการฝึกเจริญสติร่วมด้วยการฝึกปรับกระบวนการคิดในการทำสิ่งที่จับต้องไม่ได้ (Intangibles) ให้จับต้องได้ (Tangibles) ด้วยการบอกหรือเขียนอธิบายความปรารถนาหรือเป้าหมายที่ต้องการให้กับตนเองและผู้อื่น รู้อยู่อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง และเปลี่ยนสิ่งที่จับต้องได้นั้นให้ไปสู่สิ่งที่ปฏิบัติได้ (Actions) ด้วยความมุ่งมั่นฟันฝ่าอุปสรรคด้วยความอดทนและต่อเนื่องด้วยจิตใจที่ดี (Optimism) และเห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวม (Altruistic)

3. ความปรารถนาที่จะช่วยผู้อื่นยิ่งมากยิ่งใหญ่และยิ่งสำคัญ -> คนที่สนับสนุนยิ่งมากยิ่งเป็นที่รู้จักและยิ่งเป็นคนสำคัญ

ถ้าความปรารถนาและสิ่งที่ต้องการเป็นสิ่งที่กระทำเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น และยิ่งเป็นประโยชน์ในวงกว้าง ก็ยิ่งมีคนที่เห็นตรงกันและต้องการให้ความช่วยเหลือมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย ตัวอย่างเช่น ผู้เขียนหนังสือ SIY (Meng) เขาต้องการที่จะทำให้โลกนี้สงบสุข (World Peace) ด้วย MBEI ที่มีการเจริญสติเป็นหลัก ก็จะมีบุคคลสำคัญและเป็นที่รู้จักแพร่หลายอย่างเช่น องค์ดาไลลามะ ริชาร์ดเกียร์ และท่านอื่นๆ อีกมากมาสนับสนุน

4. ทฤษฎี HRDS (Happiness, Respect, Dignity, Sustainability) ของอาจารย์จีระ สอดคล้องและอธิบายหลักคิดของ SIY ได้อย่างลึกซึ้ง เนื่องจากทุกอย่างต้องมีทุนแห่งความสุขจากภายในบุคคลที่พร้อมแบ่งปันไปสู่ผู้อื่นและสังคม พร้อมด้วยการให้ความเคารพนับถือซึ่งกันและกัน และจริงใจยกย่องให้เกียรติในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์กับผู้อื่น ทำให้เกิดความเชื่อมโยงผูกพันธ์กันอย่างแท้จริง ซึ่งทาง Google ได้นำหลัก Intangibles นี้มาใช้ปรับเพื่อให้เกิดสมดุลและสามารถพัฒนาองค์กรได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากเรานำ HRDS มาใช้พร้อมด้วยการเจริญสติและมั่นคงในคุณธรรมและไม่คิดแค่ประโยชน์ในวันนี้และสร้างปัญหาในระยะยาว รวมถึงคิดถึงสิ่งที่ทำในวันนี้เพื่อประโยชน์ในระยะยาวในวันข้างหน้าเราก็น่าจะพัฒนาต่อไปได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

สพ.ญ.พิกุล ตันสกุล

ประเด็นจาก การนำเสนอและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในชั้นเรียนเกี่ยวกับเนื้อหาในหนังสือ Search Inside Yourself 3 ประเด็น ที่ผู้เรียนสนใจ มีดังนี้คือ

ประเด็นที่ 1 หนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องของศาสนาพุทธแบบย่อ ที่เข้าถึงได้ง่าย มีการปรับให้เข้ากับโลกการทำงานและการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน เน้นหนทางที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติประสบความสำเร็จ และมีความสุข ในโลกที่มีความสุขสงบ เฉกเช่นเดียวกับทฤษฎี HRDS (Happiness, Respect, Dignity, Sustainability) ของ ดร.จิระ ที่เปรียบเหมือนคู่มือการดำเนินชีวิต การทำงานร่วมกับผู้อื่นฉบับพกพา ก็เป็นการพูดถีงความสำเร็จที่มีความสุข และเป็นแนวทางแบบยั่งยืน

จะเห็นได้ว่า การดำเนินชีวิตในเรื่องใดๆก็ตาม แท้จริงแล้วเป็นเรื่องของการเข้าใจและยอมรับตนเอง และ ผู้อื่น การเข้าถึงธรรมชาติ และธรรมดาของโลก การเข้าใจความเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน แต่จริงใจ และนึกถึงประโยชน์ต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ

ประเด็นที่ 2 กลุ่มได้รับมอบหมายให้อ่าน บทที่ 7 Empathy and the Monkey Business of Brain Tangos จึงอยากกล่าวถึงบทนี้ ซึ่งพุดถึงเรื่องความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น แบบเข้าใจบุคคลผู้นั้นจริงๆ ในแบบที่เขาเป็น ไม่ใช่ในแบบที่เราเป็นหรือเราคิดว่าเค้าเป็น เป็นข้อคิดที่น่าสนใจมาก เพราะคนเป็นจำนวนมากมักจะชอบที่จะเข้าใจผู้อื่นบนพื้นฐานความคิดความเข้าใจในแบบของตัวเอง เรื่องนี้ฟังดูเหมือนง่าย แต่ความจริงปฏิบัติยากในชีวิตจริง ต้องมีสติอย่างมาก และต้องฝึกหัดบ่อยๆ จนเกิดความชำนาญ ถึงจะสามารภปฏิบัติได้ และถ้าปฏิบัติได้เราก็จะเป็นบุคคลที่เมื่อร่วมงานกับผู้ใด ก็จะได้รับความร่วมมืออย่างดี จากผู้นั้น หรือจากกลุ่ม ซึ่งจะนำพาไปสู่ความสำเร็จ และความสุขที่ยั่งยืน

ประเด็นที่ 3 หนังสือเล่มนี้เน้นการฝีกปฏิบัติด้วย นี่เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะความรู้ ที่จะอยู่กับเราจริงๆ และกลายเป็นของเรา และตัวเรา เกิดจาก การลงมือปฏิบัติซ้ำๆจนกลายเป็นนิสัยที่ดีงาม เป็นเรื่องของความขยันหมั่นเพียร นั่นเอง

จากการอ่านหนังสือ Search Inside Yourself (SIY) รวมทั้งการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในห้องเรียน พบว่าเป็นหนังสือที่ดี ประกอบกับกรอบทฤษฎี HRDS ของอาจารย์จิระ ทำให้สามารถความชัดเจนและเชื่อมโยงของพื้นฐานการพัฒนาทุนมนุษย์ตั้งแต่ระดับปัจเจกบุคคล คือ ตนเอง และนำไปสู่ระดับองค์กร

ประเด็นที่ประทับใจจากหนังสือเล่มนี้ คือ

๑. ประเด็นที่สอนให้การค้นหาตัวเอง รู้จักมองตัวเอง เริ่มจากการการรู้จักตัวเอง มีสติ โดยนำหลักของพุทธศาสนา การทำสมาธิ การรู้ตัว การรู้จักตนเอง รู้จัก และการสร้างแรงจูงใจให้กับตนเอง ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนแรกของการค้นพบความสุข (Happiness) หากเราไม่ผ่านกระบวนการในขั้นนี้ ก็ยากที่จะนำไปสู่ R-Respect, D:- Dignity and S- Sustainability ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นสิ่งที่ฝึกฝนได้

๒. ประเด็นที่หนังสือพูดถึงความสุข ในระดับต่างๆ และวิธีการที่จะสร้างความสุขแบบยั่งยืน ประทับใจกับกรณีตัวอย่างในหนังสือที่เน้นการสร้างความสุขในระดับปัจเจกบุคคล จนกระทั่งวิธีการทำให้ความสุขเป็นวัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture) ทำให้ความสุขเป็นตัวขับเคลื่อนคุณค่า มุ่งสู่เป้าหมาย ประเด็นนี้ทำให้ได้ข้อคิดว่า การสร้างความสุขในการทำงานที่ยั่งยืนเป็นเสมือนการเดินทาง (Journey) ไม่ใช่มุ่งสู่จุดหมายปลายทาง (Destination) เท่านั้น แต่เป็นการเก็บเกี่ยวความสุข ประทับใจ ระหว่างการเดินทาง มีการวางแผน การ align การทำงานกับเป้าหมาย วางแผนอนาคตที่ต้องการ (Envision) ระหว่างการเดินทางอาจเจออุปสรรคขวากหนาม ต้องอาศัยความอดทน (Resilience) ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องอาศัยความมีสติรู้จักตนเองเป็นพื้นฐาน

๓. วิธีการที่หนังสือเล่มนี้สอนให้ฝึกฝน และมีขั้นตอนในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายในแต่ละขั้นตอน ทำให้เรื่องของการพัฒนาทุนมนุษย์เป็นระบบ เป็นขั้นตอน และสามารถฝึกฝนได้ด้วยตนเอง

โดยสรุปหนังสือเล่มนี้ ทำให้เราสามารถมองเข้าไปในตัวเรา ค้นพบศักยภาพและเป้าหมายที่เรามี สามารถคิด วิเคราะห์ตัวเอง แบบ Inside-Out เพื่อที่จะนำไปประยุกต์ใช้ทั้งในแง่การทำงาน การดำเนินชีวิต และความเข้าใจในสถานการณ์ต่างๆ ที่เราพบ ทำให้ผู้บริหารสามารถเข้าใจ และรู้จักวิธีการบริหารบุคลากรซึ่งเป็นทุนที่สำคัญขององค์กร ทำให้เข้าใจการสร้าง Happy Workplace เพื่อให้บุคลากรหรือทีมงานมี Happy at work อันจะนำไปสู่ความยั่งยืน (Sustainability) ขององค์กร

ก่อนอื่นดิฉันขอชื่นชมหนังสือ Search Inside Yourself ที่ท่านอาจารย์จิระได้แนะนำให้อ่านเพื่อเป็นข้อมูลในการนำมาประกอบการเรียนในวิชาทุนมนุษย์ว่าเป็นหนังสือที่ดีมากและเป็นหนังสือกล่าวถึงหลักการที่สามารถนำมาใช้ในองค์กรเพื่อบริหารพัฒนาทุนมนุษย์อย่างแท้จริง

การจับประเด็นหลักในเนื้อหาหนังสือ Search Inside Yourself ดิฉันมีความคิดเห็น 3 ประเด็นดังนี้

ประเด็นที่ 1. กล่าวถึงการทำสมาธิเพื่อนำเข้ามาช่วยในพิจารณาเรื่องการประพฤติตนให้ตรงตามหลักของศีลธรรมและจริยธรรมเพื่อให้เราสามารถมีความสุขในการทำงานและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

ประเด็นที่ 2. กล่าวถึงการเอาใจเขามาใส่ใจเราหรือการเข้าถึงความรู้สึกและเข้าใจความต้องการของผู้อื่นให้มากขึ้นพึงเสมือนความต้องการที่ตัวเองควรมีควรได้จะทำให้เราได้รับความไว้วางใจจากคนอื่น

ประเด็นที่ 3. กล่าวถึงความเพียรพยายามทำในสิ่งที่ตัวเองรักเพื่อให้เกิดความสุขในการดำเนินชีวิตและการสร้างเป้าหมายหรือการสร้างทางเดินอย่างมีมโนภาพ ถึงแม้จะมีอุปสรรค แต่เราก็อาจจะไปถึงเป้าหมายได้ ตัวช่วยในหนังสือได้กล่าวถึงตัวช่วย ก็เป็นอีกปัจจัยที่สามารถมาช่วยให้ไปถึงเป้าหมาย ดังนั้นการหาตัวช่วย การหาพันธมิตร ก็เป็นอีกปัจจัยที่จะช่วยให้เราสามารถฟันฝ่าอุปสรรคได้สุดท้ายตราบใดที่ที่ยังมีความหวัง และความอุตสาหะ จุดหมายคือปลายทางที่จะไปถึงได้เหมือนไมเคิล จอแดนและเหมือนอีกหลายๆคนที่ไปถึง

จิรัฐพงศ์ นาคโนนหัน

สิ่งที่ได้ 3 ประการของข้าพเจ้า จากการอ่านหนังสือชื่อ “Search inside yourself”

1. ทราบถึงหลักพรหมวิหาร4 ที่ทุกท่านต่างได้เรียนรู้มาตลอดนั้น ในมุมมองของชาวพุทธต่างชาติ ได้รู้จักนำมาปรับใช้ได้กว้างขวาง กระทั่งการปฏิบัติกับแม้แต่คนที่ไม่ใช่ชาวพุทธที่ได้รับอานิสงฆ์เป็นความสุขจากแนวทางนี้ หลักปฏิบัติ 4 ประการ ได้แก่

เมตตา คือ ความรักใคร่ ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข

กรุณา คือ ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์

มุทิตา คือ ความยินดี ในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข มีจิตผ่องใสบันเทิง

อุเบกขา คือ ความวางใจเป็นกลาง อันจะให้ดำรงอยู่ในธรรมตามที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา คือมีจิตเรียบตรงเที่ยงธรรม

(ตัวอย่างในกรณีในเนื้อหาของ บทที่9 ที่ได้กล่าวถึงความพยายามช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพราะปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นจากภัย จนท้ายที่สุดทั้งสามารถช่วยผู้อื่นได้ และตนเองก็ได้เพื่อนใหม่เพิ่มเข้ามา)

2. การเรียนที่จะรู้จักตนเอง และเกิดผลพลอยได้คือสามารถที่จะค่อยๆนำศักยภาพตนเองออกมาใช้ในทางสร้างสรรค์ อันประกอบด้วยแนวทางดังการสร้างกุศโลบายการครองสติ เพื่อเข้าถึงความเป็นตัวตน และสร้างความมีสติเพื่อระลึกรู้ว่าตนเองทำอะไร เพื่ออะไร เช่น การฝึกทำสมาธิ , การรู้จักการกำหนดลมหายใจ , ฝึกพิจารณาความละเอียดของอารมณ์ เพราะสิ่งเหล่านี้สร้างพื้นฐานการรู้จักพิจารณาสิ่งต่างๆอย่างละเอียด อ่อนโยน เมื่อเข้าใจแล้วก็จะรู้จักวิธีเข้าหา วิธีหยิบจับ หรือปรับแต่ง อันจะนำไปสู่ความซึมซับประการต่างๆหลายอย่าง อันนำไปสู่การสร้างความสุขแบบยั่งยืน

3. แนวทางหนังสือเล่มนี้นั้น ล้วนแล้วแต่นำไปสู่ความฉลาดทางด้านต่างๆ ดังนี้

MQ (Moral Quotient) ความฉลาดทางศีลธรรม จริยธรรม

EQ (Emotional Quotient) ความฉลาดทางอารมณ์

SQ (Social Quotient) ความฉลาดทางสังคมที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่น

ส่วนความฉลาดในด้านอื่นๆนั้น หากทั้งสามประการแรกเกิดขึ้นแล้ว ประการอื่นๆจะค่อยๆตามมา เพราะทุกประการของความฉลาดนั้นล้วนแล้วแต่มาจากกันและกัน ทักษะที่เกิดจากการฝึกฝนจนชำนาญ ก็สามารถที่จะแตกแนวทางกับทักษะข้างเคียงได้อีก.

หนังสือ Search Inside Yourself สอนให้เรารู้ เกี่ยวกับ สติ สมาธิ ปัญญา ดังนี้

  1. สติ คือ ทักษะพื้นฐานที่เป็นรากฐานภายใน สติทีจะนำไปสู่ความสมดุลทางอารมณ์ และวิจารณญาณที่ดีขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ยากลำบาก ซึ่งหากเปรียบเทียบกับพุทธศาสตร์ สติแปลว่าความระลึกได้ ความนึกขึ้นได้ ความไม่เผลอ ฉุกคิดขึ้นได้ หมายถึง อาการที่จิตนึกถึงสิ่งที่จะทำจะพูดได้ นึกถึงสิ่งที่ทำคำที่พูดไว้แล้วได้ เป็นอาการที่จิตไม่หลงลืม ระงับยับยั้งใจได้ ไม่ให้เลินเล่อพลั้งเผลอ ป้องกันความเสียหายเบื้องต้นยับยั้งชั่งใจไม่บุ่มบ่าม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ความไม่ประมาท” การฝึกสติจะช่วยการสร้างทักษะทางสติปัญญาและอารมณ์ ด้วยทักษะสติปัญญาและอารมณ์ จะสามารถนำไปสู่ความมีประสิทธิภาพ, ความสำเร็จ, ความเป็นอยู่, ความสุข และความสงบสุขให้กับตัวเอง และประสิทธิภาพสูงสุดของการทำงานร่วมกันและความเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ

2.สมาธิ การฝึกสมาธิ ทำให้เกิดความผ่อนคลาย ไม่เครียด ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญ ฝึกให้มีสติในการมองเห็น อารมณ์ในใจตนเอง (Self- Awareness) เช่นเวลาโกรธก็กำหนดรู้ได้ทัน รู้อารมณ์ตัวเองซึ่งจะเป็นการพัฒนา EQ ทำให้มี EQ ดี และสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี การจะฝึกสมาธิ คือการทำใจให้นิ่ง ซึ่งต่างจากร่างกายที่ยิ่งเคลื่อนไหวยิ่งแข็งแรง แต่จิตใจนั้นตรงกันข้าม คือจิตใจหวั่นไหวย่อมอ่อนแอ แต่หากหยุดนิ่งเฉยได้แล้วจะยิ่งมีพลัง การมีสติช่วยให้มีสมาธิอยู่กับสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพของการทำงานดีขึ้น การตัดสินใจก็ดีขึ้น เราจะเข้ากับเพื่อนร่วมงานได้ดี ทำให้เราสามารถอยู่กับความวุ่นวายในชีวิตวันได้”

3. ผู้นำที่ดี ต้องเปลี่ยนจากคำว่า I เป็น We

สมชัย เลขะพจน์พานิช

HW4: วิเคราะห์หนังสือ Search Inside Yourself 3 ประเด็น

1. หนังสือกล่าวถึงวิธีการในการฝึกตนเอง สร้างวุฒิภาวะทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) เพื่อให้เกิดความสุขในการทำงาน (Happiness at Work) โดยการทำสมาธิให้จิตใจสงบไม่ฟุ้งซ่าน ควบคุมอารมณ์ (Mindfulness) เกิดความมั่นคงทางจิตใจ (Organic Self-Confidence)

เมื่อจิตใจมีความมั่นคง ก็จะเริ่มฝึกฝนด้วยการแสดงออกโดยการแผ่เมตตา (Meta) มีความจริงใจ (Sincerity) ให้ความเอาใจใส่ ต่อผู้อื่น (Empathy) รับฟังความเห็นจากเพื่อนร่วมงานด้วยความใส่ใจ (Empathic Listening) ซึ่งจะสร้างความเชื่อถือศรัทธาให้ แก่ผู้ร่วมงาน

ความเชื่อถือศรัทธาของผู้ร่วมงาน จะทำให้เกิดแนวร่วมภายในองค์กร (Organizational Awareness) ทำให้บุคคลในองค์กรมี ความสามัคคี สามารถประสานร่วมมือกันทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันอย่างมีความสุข

2. สื่อถึงวิธีฝึกและปฏิบัติตนเอง เพื่อให้เกิดภาวะผู้นำประเภท Empowerment Leadership ผู้ที่สามารถสร้างพลังสามัคคีของกลุ่ม องค์กร เพื่อดำเนินกิจกรรมประเภทต่างๆ ด้วยความศรัทธา

3. วิธีปฏิบัตินี้เป็นกระบวนการปลูกจิตสำนึกของผู้ฝึกตน ทำให้เกิดผลเก็บเกี่ยวเป็นตามทฎษฎี HRDS ของ อาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์

Happiness, Respect, Dignity, Sustainable

พรรณวิภา ปิยัมปุตระ


การบ้านของวันที่ 15 มกราคม 2560 จากการดูเทปบทสนทนาระหว่าง รศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา (ตำแหน่ง ณ ขณะที่บันทึกเทป) และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์


  • การปฏิรูปการศึกษาไทย ในยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0

ปัญหาการศึกษาของไทยตามทัศนะของผู้เสนอมี 4 ส่วนหลัก ได้แก่

1. ผู้เรียน : ขาดความโอกาสในการศึกษาที่เท่าเทียมกัน ขาดการเข้าถึงในแต่ละพื้นที่

2. ผู้สอน : ขาดจิตวิญญาณในการเป็นผู้ให้ ความเมตตา มุฑิตา การหวังที่จะให้ลูกศิษย์มีความรู้ และเป็นพลังของสังคม

3. ระบบการศึกษา : เน้นการสอนตามตำรา ท่องจำ ขาดการเข้าใจในหลักของเนื้อหาวิชา และขาดการส่งเสริมการคิด วิเคราะห์ รวมถึงความเชื่อในเรื่องของคะแนน มากกว่าความรู้


การปฏิรูปการศึกษา ตามแนวทาง reality & relevence จึงต้องแก้ไขทั้ง 3 ส่วน ต้องส่งเสริมการศึกษาให้ไปยังผู้เรียนอย่างทั่วถึง ครูต้องเป็นผู้ให้ ผู้ปลูกฝังทั้งความรู้ ความดี ระบบการศึกษาต้องเน้นคนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ให้คิดวิเคราะห์เป็น สามารถประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รู้ทันการเปลี่ยนแปลง การคิดเชิงนวัตกรรมสร้างสรรค์ โดยระเบิดจากศักยภาพข้างใน เพื่อความยั่งยืน


  • เสนอโครงการเพื่อปฏิรูปการศึกษาไทยในปัจจุบัน

ข้อเสนอโครงการ `ครูผู้ให้ ผู้ปลุกความคิดเพื่อการเปลี่ยนแปลง`

กล่าวคือ พัฒนาครูให้เป็นครู เป็นผู้ให้ในทุกๆด้านการศึกษา ความรู้ สร้างระบบ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และมีสามารถในการเล็งเห็นศักยภาพของผู้เรียน เพื่อแนะนำให้สามารถคิดต่อยอดเชิงสร้างสรรค์ และเกิดมูลค่าเพิ่ม นอกจากนี้ การพัฒนาครู ยังเพื่อสร้างครู ก. นำไปขยายผลต่อยอดยัง ครู ข. ค. ซึ่งอาจจะมิใช่ครูในระบบการศึกษาเท่านั้น แต่เป็นทุกคนที่จะร่วมเป็นผู้ให้ เพื่อสร้างสรรค์ประโยชน์แก่ชาติ และประชาชน


..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/621358
พรรณวิภา ปิยัมปุตระ

จากหนังสือ SIY มีประเด็นเกี่ยวกับทุนมนุษย์ที่ได้รับ 3 ประเด็น ดังนั้น

1. การรู้ตัวตน : การมีสติ การทำสมาธิในการสำรวจตนเอง เพื่อรู้ตัวตน เป็นฐานรู้ที่สำคัญในการทำให้เกิดทั้งทุนเพื่อการปฏิบัติต่อตนเอง และผู้อื่น ทุนทางจิตใจ ส่งผลต่อการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

2. การเอาใจใส่ มีความเอื้ออาทรต่อคนรอบข้าง emphaty ย่อมเป็นฐานแห่งการพัฒนาทุนมนุษย์รอบๆข้าง โดย hrds คือ ใส่ใจในทุกข์ สุขของคนรอบข้าง การให้ความเคารพ การให้เกียรติ ซึ่งจะเกิดแรงขับสู่ความยั่งยืน

3. ความมุ่งมั่นในการฟันฝ่าอุปสรรค ( resillence ) การไม่ท้อถอย ไม่ยอมแพ้ต้อปัญหา อุปสรรค ความพยายามก้าวข้ามในสิ่งที่ขวางต่อเป้าหมายและความาำเร็จ ซึ่งจะทำให้เกิดพลัง ทั้งพลังการปฏิบัติ พลังความคิด พลังทางจิตใจ ในการไปให้ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทำให้เกิดความเชื่อ ซึ่งความอุตสาหะต่ออุปสรรค ย่อมทำให้เกิดการนำความเชื่อ การเป็นที่ยอมรับ ซึ่งส่งผลต่อการนำความคิดผู้อื่น หรือเป็นต้นแบบสำหรับผู้อื่นในการก้าวข้ามปัญหาอุปสรรคสู่เป้าหมาย

อาจารย์จีระ ให้วิจารณ์หนังสือ On managing people 3 ข้อดังนี้

1.หนังสือพูดถึงอะไร

2.เราได้อะไร

3.ประเด็นใดที่โยงถึงสิ่งที่เราทำ/อย่างไร

ตอบ

1) หนังสือกล่าวถึงการบริหารจัดการเรื่องคน

กรณีตัวอย่าง 10 กรณี

2) เราได้ตัวอย่างการพัฒนาคนให้มีการปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น

10 กรณี

3) โยงถึงสิ่งที่เราทำทุกกรณี เพราะชีวิตจริงก็สอดคล้องทั้ง 10 กรณี

เช่น

*การปรับปรุงเพื่อทำให้ดีขึ้น

*Good Job well done

(A Kick in the Pants)

* ครั้งหนึ่งในชีวิต

* การสร้าง spirit ของทีม Team Work

เป็นต้น


การบ้าน In Out New (Boxes)

1.Inside the box , New boxes and Outside the box แตกต่างกันอย่างไร อธิบาย

Inside the box จากความเข้าใจ หมายถึงการปรับปรุงภายในองค์กรให้มีนวัตกรรม การจัดการ การบริหาร Process และอื่นๆ ให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น ทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล

Outside the boxes จากความเข้าใจ หมายถึงการนำความรู้ใหม่ๆจากภายนอกองค์กรและรวมทั้งปัจจัยอื่นๆที่สามารถนำมาพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิผลหรือผลประกอบการหรือผลการดำเนินงานให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น

New box จากความเข้าใจ หมายถึงการสร้างสิ่งใหม่ๆ องค์กรใหม่เครื่องมือใหม่หรือธุรกิจใหม่ที่ไม่เคยมีในองค์กรมาก่อนและสามารถช่วยให้ธุรกิจ ผลการดำเนินงาน ประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มขึ้นในลักษณะ synergy

สุวรรณี ฮ้อแสงชัย

งานชิ้นที่ 4 : 26 มีนาคม 2560

เลือกทำข้อ 2. ในบริบทของกระทรวงศึกษาธิการ จำเป็นหรือไม่ที่ผู้นำจะต้องมี Think outside the box และประโยชน์คืออะไร

กระทรวงศึกษาธิการ เป็นองค์การที่อยู่ภายใต้กรอบ ของระบบการจัดการแบบรัฐ (Governance) ดังนั้น โครงสร้างการบริหารจัดการจึงมีลักษณะการสั่งการแบบ Centralization คือรับคำสั่งมาจากส่วนกลาง ออกเป็นนโยบาย แล้วจึงกระจายไปยังส่วนต่างๆ ของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งจุดนี้ ทำให้ระบบการศึกษาไทยไปไม่ถึงไหน ปัญหาที่ข้าพเจ้าพบเกี่ยวกับการบริหารจัดการของระบบการศึกษาไทย สามารถกล่าวเป็นประเด็นได้ดังนี้

1.ทำหลักสูตร (แบบเหมาโหล) โดยไม่ได้มองว่าผู้เรียนมีความต่าง แต่จัดวาง (Categories) ให้เรียนเหมือนๆ กัน แบบเดียวกัน

2.วางนโยบายการศึกษา (แบบคิดไปเอง) เมื่อมีผู้นำทางการศึกษาคนใดขึ้นมาดำรงตำแหน่ง ก็มักจะออกนโยบายมาเป็น Road Map ครั้นหมดสมัย Road Map นั้นก็ไม่ได้เดินต่อ ปัญหาคือ ผู้เรียนสับสน

3.ให้ทุนหรือรางวัล สำหรับกลุ่มเด็กที่เก่งด้านวิชาการ (Gifted) ตามกระแสหลัก (Main Stream) เด็กที่เรียนเก่งมักได้รับคำชมเชยและได้รับการยกย่องจากโรงเรียนหรือสถาบัน เช่น ประกาศเกียรติคุณ มอบรางวัล ติดป้ายประกาศ เป็นต้น แต่ลืมหันกลับมามองเพื่อเฟ้นหาเด็กที่เหลือว่า อาจยังมีเพชรอีกหลายเม็ดที่สถานศึกษายังหาไม่เจอก็เป็นได้

4.พวกครูบ้าคลั่งทำแต่ผลงานวิชาการ จนลืมนึกถึงหน้าที่หลัก (ข้อนี้ สืบเนื่องมาจากนโยบายของภาครัฐ ที่เกี่ยวโยงกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และกระทรวงศึกษาธิการที่กำหนดว่าเกณฑ์ของครูในโรงเรียนหรืออาจารย์ในมหาวิทยาลัยต้องมีจบ ด๊อกเตอร์ หรือ ทำตำแหน่งทางวิชาการ ในอัตราเท่าไร จึงจะเข้าเกณฑ์เป็น มหาวิทยาลัย world class) ข้อนี้เป็นปัญหามากสำหรับบ้านเรา เพราะเมื่อธงที่ทุกคนตั้งไว้คือคำนำหน้าว่า “ด๊อกเตอร์” ทุกคนจึงมุ่งไปที่ผลลัพธ์ (Output) โดยไม่คำนึงถึงกระบวนการ (Process) ที่จะได้มา ด้วยความเคารพ ถึงมีความพูดที่ออกมาว่า “ด๊อกเตอร์กล้วย” ในวงการการศึกษาไทยปัจจุบัน

5.ว่าด้วยเรื่องบทบาทและหน้าที่ ครูอาจารย์ผู้สอน รวมไปถึงเรื่องคุณธรรมและจริยธรรม

ดังนั้น หากถามว่า จำเป็นหรือไม่ที่ผู้นำจะต้องมีการคิดนอกกรอบ (Think Outside the Box) ตอบว่า

จำเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุผลการพิจารณาจาก 2 กลุ่มหลักที่มีส่วนเกี่ยวข้อง คือ 1. ผู้สอน และ 2. ผู้เรียน

ผู้สอน

คุณลักษณะของผู้สอน ในฐานะผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้กับผู้เรียน โดยธรรมชาติ มีความต้องการอิสระทางวิชาการสูง (Academic freedom) ต้องการความเป็นตัวของตัวเอง สามารถส่งต่อองค์ความรู้ทางด้านวิชาการที่เรียนมาต่อผู้เรียน และเปี่ยมไปด้วยจิตวิญญาณ (Autonomy) ดังนั้น การมีบรรยากาศ และมีอิสระทางความคิด ของครูจะสามารถนำเสนอความคิดหรือสิ่งใหม่ๆ อันจะเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนและองค์กรได้อย่างเป็นรูปธรรม แบบจับต้องได้ (Tangible) อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ปัญหาที่พบ คือ สถาบันการศึกษากลับกลายเป็นเวทีให้กับนักการเมืองบางคน (แค่) ให้มี profile สวยหรู ทำเป็น Portfolio ว่าได้ผ่านขั้นตอนนี้มาแล้วเท่านั้น เมื่อวาระเปลี่ยนผ่าน นโยบายก็เปลี่ยน ความต่อเนื่องจึงไม่มี การศึกษาไทยในแต่ละยุคสมัยจึงไปไม่ถึงไหน (เป็นไฟไหม้ฟาง)

ผู้เรียน

หลายยุคสมัยสำหรับบทบาทผู้เรียน (เด็กไทย) ที่ถูกกดทับด้วยระบบการศึกษาไทยแบบครูเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดแบบเผด็จการ การสร้างกฎ ระเบียบ กติกา ของสถานศึกษา เป็นการติดอาวุธให้ครูสามารถทำอะไรกับเด็กก็ได้ ถ้าเป็นคุก ครูก็เปรียบเสมือนผู้คุมที่กุมอำนาจทุกอย่าง โดยนักเรียนเปรียบเสมือนนักโทษ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการสอน การให้คะแนน การใช้คำพูดที่แย่ก็เป็นการกระทำความรุนแรงกับเด็กที่โหดร้ายอย่างหนึ่ง หรือแม้กระทั่งการพูดเพื่อชี้นำให้เด็กทำตาม สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ล้วนทำให้เด็ก “เชื่อง” แบบไร้เดียวสา (Naive)

จากข้อมูลเบื้องต้นนี้ ทำให้ข้าพเจ้าคิดและเชื่ออย่างสนิทใจว่า ในบริบทของกระทรวงศึกษาธิการ จำเป็นต้องมีผู้นำที่คิดนอกกรอบ (Think outside the box) เนื่องจาก ถ้าคิดเหมือนเดิม แนวคิดของคนรุ่นใหม่คงไม่เกิด ควรมีการปรับเปลี่ยนวิธีคิดและยอมรับฟังความคิดเห็นของทั้งบุคลากรฝ่ายสนับสนุน ครูอาจารย์ผู้สอน ความต้องการของผู้เรียน พร้อมที่จะพัฒนาองค์กรให้ไปสู่ความเป็นเลิศไม่เฉพาะความคิดกระแสหลักเท่านั้น แต่ต้องรับฟังความคิดเห็นของเด็กทุกๆ กลุ่มที่คิดต่าง เพราะการสร้างความเป็นเลิศให้กับสถานศึกษาของตนเอง ไม่จำเป็นต้องเป็นเลิศทางวิชาการเสมอไป ดังนั้น การสร้างการยอมรับในตัวตนของเด็กที่มีความต่างหรือเก่งในด้านอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่วิชาการ จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่สถานศึกษาควรต้องพิจารณาอย่างละเอียดอ่อน การสร้างความเข้าใจและให้ความรู้กับทั้งตัวเด็กและผู้ปกครองควรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

และท้ายที่สุดประโยชน์ที่จะได้รับจากการมีผู้นำที่คิดนอกกรอบก็คือ ประเทศไทยจะมีเด็กที่กล้าคิด กล้าทำ และกล้าแสดงความคิดเห็นต่าง โดยไม่มีอะไรเป็นกรอบมากั้นเช่นกัน (หัวเป็นอย่างไร หางเป็นอย่างนั้น) เมื่อผู้นำกล้าที่จะยอมรับความคิดเห็นผู้อื่น กล้าที่จะคิดนอกกรอบ ดังนั้น บุคลากรซึ่งเป็นผู้ตาม ก็กล้าที่จะคิด กล้าที่จะทำและสามารถส่งผ่านความคิดนี้ไปยังเด็ก ให้เด็กสามารถคิดและทำได้อย่างไม่ต้องมีกรอบ ท้ายที่สุด เราก็จะได้สถานศึกษาที่เป็นต้นแบบนำร่องที่เข้าใจแก่นแท้ของการศึกษา และมีวิสัยทัศน์ต่อการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้เป็นคนที่สมบูรณ์อย่างยั่งยืนตามแผนพัฒนาชาติอย่างแท้จริง

ครั้งนี้ ข้าพเจ้าขอเป็นคนนอกกรอบ ที่เขียนอะไรโดยไม่ต้องสนใจใคร ไม่กลัวอะไร การมองในฐานะคนนอก จะเขียนและวิจารณ์อะไรได้มากกว่าและชัดเจนกว่าคนใน

นายสุชญาน หรรษสุข

จากหัวข้อการบรรยาย ภาวะผู้นำกับความคิดนอกกรอบ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ผมขอตอบคำถามจาก Workshop ข้อที่ 4 ดังนี้

คำถาม: ถ้าจะฝึกให้มีศักยภาพในการ Think outside the box ควรทำอย่างไร 5 เรื่อง

ตอบ: Think outside the box ในความคิดเห็นของผม ผมตีความว่าเป็นการคิดนอกเหนือจากกล่องเดิม โดยนำเอาสิ่งดีๆ ที่มีจากกล่องเดิมมาขยายผลและต่อยอด สร้างเป้าหมาย (Purpose) ทำให้เกิดความท้าทาย กระตุ้นให้อยากทำ (Passion) และสร้างให้เกิดคุณค่า 3V's (Value Added – คุณค่าเพิ่ม, Value Creation – คุณค่าที่สร้างขึ้นใหม่, Value Diversity – คุณค่าจากความหลากหลาย)

ดังนั้น การฝึกให้มีศักยภาพในการ Think outside the box ผมขอเรียนเสนอแนวทาง 5 เรื่องตามลำดับ ดังนี้

1. ทำความเข้าใจเป้าหมาย (Purpose) และประเด็นปัญหาในการคิดอย่างลึกซึ้ง (Deep Understanding) ควรรู้ว่าประเด็นปัญหาคืออะไร มีเหตุผลและที่ไปที่มาอย่างไร และเป้าหมายผลสำเร็จที่ต้องการคืออะไร และที่สำคัญ นอกจากเป้าหมายจะท้าทายและกระตุ้นให้อยากทำแล้ว ควรจะต้องสร้างให้เกิดคุณค่า 3V’s ด้วย

2. สร้างสรรค์ไอเดีย (Ideas) สำหรับสิ่งที่จะทำให้ออกมามากๆ และควรหาเพื่อนร่วมคิด (Networking & Synergy) เพื่อให้เกิดความหลากหลาย (Diversity) และสามารถหลอมรวมนำมาใช้ประโยชน์ได้ตรงตามเป้าหมายที่ต้องการ (Harmony)

3. จัดลำดับ คัดสรรค์ และกรองไอเดียที่สำคัญ (Priority & Significance) ควรเน้นไอเดียที่สามารถเอาไปใช้ได้จริง (Reality) และหลักแหลมตรงประเด็นเป็นประโยชน์ (Relevance)

4. เลือกนำไอเดียที่คัดสรรค์แล้วมาทำให้เป็นจริง (Realistic) และปฏิบัติได้ (Practical) ควรแบ่งเป้าหมายออกเป็นประเด็นย่อยๆ เพื่อให้ง่ายต่อการปฏิบัติให้เกิดความสำเร็จเล็กๆ ระหว่างทางไปสู่เป้าหมายที่ใหญ่ขึ้น เพื่อเป็นรางวัล เป็นกำลังใจ และเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดความกระตือรือล้นที่จะทำอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง (3 ต.) จนสำเร็จตามเป้าหมายสูงสุดที่วางไว้

5. ตั้งเป้าหมายที่ท้าทายมากยิ่งขึ้นโดยให้มีความแตกต่าง สร้างสรรค์ และเป็นสิ่งใหม่ (Differentiation, Creativity, Innovation) ควรมีการจุดประกายจากความสำเร็จจากประสบการณ์ที่ทำได้มาก่อน (Inspiration) และสร้างแรงบันดาลใจเสริมจินตนาการในการสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น (Imagination) เมื่อแตกต่างแล้ว จากนั้นก็ติดตาม ทำอย่างต่อเนื่อง (3 ต. ใหม่) โดยทำซ้ำตามแนวทาง 1 – 4 ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น

นาย จิรัฐพงศ์ นาคโนนหัน

ตอบคำถามข้อที่ 5 ความสำเร็จของ Think outside the box ไม่ใช่ง่ายบางครั้งมีอุปสรรค อธิบายอุปสรรคแต่ละข้อ

องค์กรที่จะมองในเรื่องของ Think outside the box อุปสรรคเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะต้องหาวิธีรับมือ

1 อุปสรรคเรื่องแนวคิด: เข้าใจว่าสิ่งใหม่ที่จะเลือกทำมาใช้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับปัจจัยพื้นฐานที่มีในปัจจุบันอย่างไร อะไรบ้างที่จะต้องปรับแก้หรือเปลี่ยนแปลง ซึ่งหมายถึงเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงวิธีการ ความยากอยู่ตรงความพร้อมของคนในองค์กรหากความรู้ความเข้าใจไม่ดีพอ แนวคิดและทัศนคติที่ไม่ตรงกันจะเป็นตัวขัดขวาง

ทฤษฎี3วงกลมและทฤษฏี2R’sจะช่วยให้การผลักดันในส่วนนี้

2 อุปสรรคด้านวิธีการที่จะนำมาปฏิบัติ: เรื่องของวิธีการจะต้องเลือกวิธีการที่ง่ายในภาคปฎิบัติ หากเลือกโดยมองไม่ออกว่าวิธีที่เลือกมานั้นยากหรือง่ายเน้นขั้นตอนปฎิบัติ สิ่งเหล่านี้จะทำให้คนที่จะปฏิบัติไม่เข้าใจและทำได้ยาก สุดท้ายก็ไม่อยากจะทำ การเลือกวิธีการที่ง่ายสามารถเริ่มได้จากการเน้นตั้งเป้าหมายความสำเร็จในระยะสั้น เรื่องนี้โยงถึงแนวคิดทฤษฏีแห่งความยั่งยืนในข้อ1นั่นคือ เน้นขั้นตอนการพัฒนาในระยะสั้นอย่างต่อเนื่อง

3 อุปสรรคเรื่องเวลา: ต่อเนื่องจากข้อแรกหากสิ่งใหม่ที่จะนำเข้าปรับใช้หมายถึงการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดทั้งHardware & Softwareและการปูพื้นฐานใหม่ของคนในองค์กรให้สามารถที่จะมีความรู้และสามารถช่วยสนับสนุนได้ เครื่องมือที่จะต้องจัดซื้อจัดหา คนจะต้องให้ความรู้อย่างไร วิธีการยิ่งวางไว้ในแนวทางและวิธีการยากๆยิ่งต้องใช้เวลานาน ใช้ทฤษฎี3วงกลมจะช่วยให้การผลักดันแก้ไขในส่วนนี้เช่นกัน

4 อุปสรรคเรื่องการให้การสนับสนุน: ผู้มีส่วนผลักดันโครงการจะต้องเข้าใจประโยชน์ทั้งระยะสั้นและระยะยาวว่ามีความคุ้มค่าในเรื่องนั้นอย่างไร ความรู้ความเข้าใจของทีมงานพร้อมหรือไม่ การสนับสนุนของผู้มีอำนาจสูงสุดที่จะต้องมองเห็นแนวคิดตั้งแต่แรกว่าสิ่งที่จะทำนั้นคุ้มค่าน่าสนับสนุนเช่นไร เห็นด้วยหรือไม่ หากเป็นแนวคิดของผู้มีอำนาจสูงสุดเองก็จะเป็นเรื่องง่าย ทฤษฎี3วงกลมและแนวคิดตามหนังสือ On management people ในบทที่10 เรื่องการบริหารผู้บังคับบัญชา สามารถอธิบายในส่วนนี้ได้ดี

5 อุปสรรคด้านการมองภาพระยะยาว(Vision): การมองเป้าหมายแห่งความสำเร็จต้องรอบด้านด้วยวิธีการที่ง่าย นอกจากความสำเร็จด้านธุรกิจที่เกี่ยวกับทรัพย์สินเงินทองและความสำเร็จที่โยงมาถึงความรู้สึกนึกคิดของคนในองค์กรและสังคมแวดล้อมที่หมายถึงความเป็นสุขนั้นจะต้องมองให้เป็นภาพคู่ขนานกันไป ต้องเข้าใจเสมอว่าองค์กรจะสำเร็จอย่างยั่งยืนจะต้องเป็นองค์กรที่สำเร็จโดยบรรลุถึงหลายสิ่งเพราะนั่นจะเป็นปัจจัยแห่งความสุขระยะยาว การมองความสำเร็จเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งจะสำเร็จได้ไม่นาน เพราะสิ่งที่มองข้ามไปจะย้อนกลับมาเป็นอุปสรรคในวันหนึ่ง เรื่องนี้โยงโดยตรงถึงทฤษฏีHRDSและทฤษฏีแห่งความยั่งยืนในข้อ2,3,5

จากทฤษฏีแห่งความยั่งยืนทั้ง6ข้อ

1 เน้นขั้นตอนการพัฒนาในระยะสั้น

2 สอดคล้องไปด้วยกันกับสภาพแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติต้องไม่ถูกทำลาย

3 มีทั้งศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรมควบคู่กันกับความเจริญ

4 ต้องคิดเป็นวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์เป็น หาความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นสังคมการเรียนรู้

5 ต้องให้ประชากรส่วนใหญ่ของสังคม ชุมชน หรือประเทศเจริญเพิ่มขึ้น โดยกระจายความเจริญและรายได้อย่างเสมอภาคไม่ใช่แค่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มเล็ก ๆ

6 ต้องเป็นการพัฒนาที่พึ่งตัวเอง (Self – Reliance)

6 อุปสรรคด้านการบูรณาการภาพรวม: การสร้างโลกเสมือนจริงหรือสิ่งที่อยากให้เป็น ยิ่งทำให้ภาพนั้นคมชัดเท่าไร โอกาสจะสำเร็จก็จะยิ่งมากขึ้นภาพจะคมชัดมากหรือน้อย ขึ้นกับองค์ประกอบย่อยหลายประการ อาทิเช่น การมองภาพวิธีการดำเนินการอย่างเข้าใจและตรงประเด็น, การวางแผนที่ดี, การสนับสนุนที่ดี, ทุนปัจจัยพื้นฐานที่ดี(8K’s+5k’s), สถานะการณ์แวดล้อมที่ดี ทั้งหมดนั้นจะต้องถูกบูรณาการโดยผู้มีประสพการณ์และความรู้ที่รับมอบหมายอำนาจเต็มมาจัดการ เพราะลำพังปัจเจกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในองค์กรหรือแม้กระทั่งผู้มีอำนาจสูงสุดให้การสนับสนุนก็ยากจะนำพาให้การผลักดันไปสู่ความสำเร็จได้เครื่องมือสร้างปัจจัยพื้นฐานที่ดีโดยองค์รวมสามารถที่จะทำความเข้าใจได้ในภาพของ Chira’s way ทั้ง10ประการ

01. HR Architecture

02. ทฤษฎี 3 วงกลม เป็นแนวคิดเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์

03. ทฤษฎีทุน 8 ประการ (8 K’s) ที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

04. ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ (5 K’s new) ที่สำคัญสำหรับทรัพยากรมนุษย์ยุคโลกาภิวัตน์

05. ทฤษฎี 4 L’s เพื่อการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

06. ทฤษฎี 2 R’s เพื่อการมอง วิเคราะห์ปัญหา และการเรียนรู้

07. ทฤษฎี 2 I’s เพื่อการเรียนรู้และสร้างพลังในการทำงาน

08. ทฤษฎี C&E เพื่อการเรียนรู้และการทำงานยุคใหม่

09. ทฤษฎี HRDS เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพและการทำงานอย่างมีความสุข

10. ทฤษฎี 3 L’s เพื่อการทำงานยุคใหม่ คือ

นาย จิรัฐพงศ์ นาคโนนหัน

วิจารณ์หนังสือ on managing people 3 ข้อ : (งานกลุ่ม กลุ่มที่2)

1.1 หนังสือพูดถึงอะไร

-โดยรวมนั้นแนวทางของการเป็นผู้นำที่มีศักยภาพและการสร้างความสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา รวมถึงการสร้างศักยภาพให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาซึ่งแต่ละบทนั้นพูดถึงประเด็นต่างๆไว้ดังนี้

บทที่ 01 ได้พูดถึงลักษณะเฉพาะของผู้นำแบบต่างๆและศิลปะการผสมผสานทักษะทางอารมณ์

บทที่ 02 กล่าวถึงทักษะการสร้างแรงจูงใจพนักงานแบบต่างๆและเข้าถึงวิธีการลดการต้านทานทางอารมณ์ด้วยวิธีการสนองแรงจูงใจจากส่วนลึกของความต้องการทางด้านจิตใจ

บทที่ 03 กล่าวถึงการควบคุมสถานะการณ์ที่ล้มเหลวจากความรู้สึกไม่ไว้วางของผู้ใต้บังคับบัญชากับผู้บังคับบัญชาและการป้องกันการลุกลามในสถานะการณ์

บทที่ 04 การช่วยสนับสนุนและเพิ่มทักษะให้กับผู้นำมือใหม่ในการเริ่มต้นที่บริหารคนในองค์กร

บทที่ 05 อะไรคือสิ่งที่ผู้บริหารชั้นยอดทำ การแก้ปัญหาเรื่องประสิทธิของผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีระบุความสามารถจากมาตรฐานทั่วไปเป็นมาตรฐานที่มาจากสิ่งที่เป็นความเฉพาะตัวของแต่ละบุคคลเพื่อสร้างศักยภาพแก่เขา

บทที่ 06 การสนองความคิดเห็นของพนักงานทั้งเสียงสะท้อนจากส่วนน้อยและส่วนใหญ่ภายใต้แนวคิด3ประการคือ1.การมีส่วนร่วม 2.การอธิบายอย่างชัดเจน และ3.การกำหนดความคาดหวังที่ชัดเจน

บทที่ 07 สอนคนฉลาดให้เรียนรู้เป็น โดยระบุสิ่งผิดพลาดและหาแนวทางการแก้ไขที่ถูกต้อง และเพิ่มอีก 1 ขั้นตอนคือทบทวนและทดสอบสมมติฐานด้วยเพื่อทบทวนวิธีคิดนั่นเอง

บทที่ 08 เข้าไปดูตนเองในสภาวะต่างๆเพื่อตรวจสอบความยุติธรรมของตนเอง จากมุมมองอันหลากหลาย

บทที่ 09 หลักอธิบายที่บอกถึงว่าศักยภาพแห่งพลังที่แท้จริงนั้นหากมาจากความร่วมมือร่วมใจของทีมงานนั้นมีพลังที่มากกว่าการทำเฉพาะตัวในแต่ละคนแล้วเอามารวมกัน

บทที่ 10 บทนี้กล่าวถึงการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีเพื่อบรรลุในผลงาน สร้างความเข้าในลักษณะความต้องการในงานของผู้บังคับบัญชาทั้งแบบทั่วไปและลักษณะเฉพาะ เมื่อความสัมพันธ์ที่ดีเกิด การสนองตอบต่อทรัพยากรณ์ที่จำเป็นในงานต่อกันก็จะยิ่งดีขึ้นและอ่านความสัมพันธ์ต่อกัน, หาจุดแข็งจุดอ่อน, หาเป้าหมายที่ดีไปด้วยกัน

......................................................................................................................................................

1.2 เราได้อะไรจากหนังสือเล่มนี้

ได้ทราบถึงทักษะและหลักการของภาวะผู้นำที่ดีและมีความสามารถและหลักการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้บังคับบัญชา ซึ่งแต่ละบทนั้นเชื่อมโยงในหลักการต่างๆของอาจารย์จีระไว้ดังนี้

บทที่ 01,02,03 ก่อนที่ใครสักคนจะเข้าถึงใครอีกคนหรือกลุ่มคน ใครคนนั้นจำเป็นจะต้องเข้าถึงเขาเสียก่อนโดยที่จะต้องเข้าใจหลักการC&Eคือการเชื่อมโยงและมีส่วนร่วมกับเขา จึงจะใช้หลักการ 2R’s เพื่อจะดำเนินการใดๆต่อไป เช่น การผสมผสานทางด้าน Emotion skill เพื่อแก้ไขสถานะการณ์

บทที่ 04 นอกจากการคอยประคับประคองผู้บริหารมือใหม่แล้วสิ่งหนึ่งที่เขาจำเป็นต้องเรียนรู้ใน3ประการจากทฤษฎี3L’S คือ เรียนรู้จากความเจ็บปวด, จากประสบการณ์ และจากการรับฟังผู้อื่น

บทที่ 05 ทราบแนวคิดที่ผู้จะเป็นเลิศในการบริหารทำ เชื่อมโยงไปถึงหลักการ

  • ผู้นำใช้หลักการ 3V คือ Value added, Value creation และ Value diversity.
  • และใช้หลักการ Principle 5 ข้อเพื่อมาจัดการ
  • ผู้บังคับบัญชาจะได้ 2i’s Inspiration & Imagination ตามมา

บทที่ 06,10 การตอบสนองต่อเสียงสะท้อนด้านความคิดเห็นและแนวการการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี หลักการ HRDS จะเข้ากันได้เป็นอย่างดีในสถานะการณ์นี้

บทที่ 07 ได้วิธีการเรียนรู้อย่างผู้ที่มีความชาญฉลาด โยงได้ถึงหลักการจากทฤษฎี3L’S คือ เรียนรู้จากความเจ็บปวด, จากประสบการณ์ และจากการรับฟังผู้อื่นเข้ามาเชื่อมโยงได้

บทที่ 08,09 การเรียนรู้จักตนเองและศักยภาพของการร่วมมือร่วมใจ ลงตัวตามทฤษฎี8k’s+5k’s โดยเฉพาะ

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

1.3 เชื่อมโยงอย่างไรกับงานปัจจุบัน

-สามารถนำเรื่องจริยธรรม, ความยุติธรรม, สร้างแรงจูงใจ, Emotion skill, การเข้าใจและรักษาสัมพันธภาพระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา นำออกมาผสมผสานเข้ากับสถานะการณ์ต่างๆ....หลอมสร้างเป็นบรรทัดฐานที่ดีในการนำไปใช้และให้คนในองค์กรนำไปเป็นแบบอย่าง เสริมเป็นพลังความเข้มแข็งให้กับองค์กรหรือสังคมนั้นๆ ....เมื่อเกิดภาวะวิกฤติใดๆพลังที่องค์กรมีจะช่วยให้ลดความรุนแรงของสถานะการณ์และฝ่าฟันเพื่อเดินสู่เป้าหมายด้วยกันทั้งองค์กรและยั่งยืน

………………………………………………………………………………………………………

รายงานโดยกลุ่ม 2

รายชื่อสมาชิกกลุ่ม

  • นาย บุญชัย ชาญเชี่ยวชิงชัย
  • นาย จิรัฐพงศ์ นาคโนนหัน
  • นาย เอกชัย ยังวานิช
  • นาย ณรงค์ชัย ว่องธนะวิโมกษ์
  • นาย แก่นเพชร ศรานนทวัฒน์
  • พันตำรวจเอก ผดุงศักดิ์ รักษาสุข
จตุพจน์ ปิยัมปุตระ

ชิ้นที่ 2 ปัญหาการศึกษา ไทย และข้อเสนอโครงการปฏิรูปการศึกษาไทย ในยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0

ปัญหาการศึกษาไทยในปัจจุบัน สิ่งที่สำคัญในลำดับต้นๆ คือ ระบบการเรียนการสอนที่อยู่เฉพาะในตำราขาดการเรียนการสอนที่เน้นระบบคิด คิดให้เป็น วิเคราะห์ให้เป็น ประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์ ประเด็นดังกล่าวงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่สามารถสร้าง human capital ให้เป็นทุนที่มีคุณภาพ หรือ ไม่สามารถปลูกทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสร้างและเก็บเกี่ยวให้สอดคล้องกับยุคพัฒนาสู่ digital / IT ตามแนวไทยแลนด์ 4.0

นอกจากนี้ ปัญหาการศึกษาของไทยยังเกิดจาก ความไม่เท่าเทียมกันทางการศึกษา เด็กในเมือง มีโอกาสมากกว่าเด็กชนบท ซึ่งในยุคที่ต้องเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องขยายระบบการศึกษาให้ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย สามารถเข้าถึงได้ตามความเหมาะสม

ปัญหาอีกประการ คือ การศึกษาของไทยเน้นการเรียน การได้คะแนน มองตัวเอง ขาดการมองผู้อื่นเพื่อศึกษาเรียนรู้ หรือหากมองมุมกว้าง คือ มองแต่ในประเทศ ขาดการมองสากล ทั้งให้การศึกษา แนวคิดย้ำอยู่กับที่ ซึ่งไม่สามารถพัฒนาทุนมนุษย์ให้ทันการเปลี่ยนแปลง

สำหรับโครงการที่อยากนำเสนอคือ โครงการให้เด็ก และครู เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ตามบททาทหน้าที่ของตน คือ การตั้งประเด็นคำถามให้เด็กลองศึกษา คิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา เรียนรู้เป็นทีม และนำเสนอตามประเด็นที่พูนคุย // ครู ต้องมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อถกปัญหาการเรียนการสอน หาทางแก้ไขให้ตรงจุด ซึ่งโครงการที่เสนอ ให้ความจริง reality เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามสถานการณ์ relevant ซึ่งจะสร้างบรรยากาศเรียนรู้สูงสุด

จตุพจน์ ปิยัมปุตระ

ชิ้นที่ 3 จากหนังสือ SIY มีความประทับใจและประโยชน์ที่ได้รับ 3 ข้อ คือ

1. การรู้จัก และเข้าถึงตัวเอง โดยการทำสมาธิสำรวจตัวเอง international practise ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก ซึ่งต้องมีการฝึกฝน

2. การเห็นตัวตน ตระหนักในตนเอง จะช่วยส่งผลต่อความลึกซึ้งในการมอง /เข้าใจโลกภายนอก ซึ่งจะทำให้เกิดวิสัยทัศน์ การมองสิ่งที่ไม่น่าป็นเป็นได้ และสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นไปได้ จากความเชื่อ ความหลงไหลที่ทำให้เป็นไปตามที่เชื่อ และคาดหวังไว้

3. ได้รับทราบกรณีศึกษาของบุคคลที่นำประสบการณ์มาสร้างเป็นพลังในการเอาชนะอึปสรรค และไปให้ถึงเป้าหมาย

ซึ่งแนวทางโดยรวมคือ การปลูกตัวตน/ช่วยปลูกผู้อื่น สร้างความเชื่อเพื่อรอเก็บเกี่ยวตามเป้าหมาย และต้องมีพลีงในการฝ่าฟันอุปสรรคนั่นเอง

สมชัย เลขะพจน์พานิช

รายงานกลุ่ม 1 :

หัวข้อ: การพัฒนา Talent Management ของรัฐและเอกชน มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ทุนมนุษย์ (Human Capital) ที่ดี มี ทุนทางความรู้ ทักษะ ทัศนคติ (Talent Capital) เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญ การบริหารจัดการ Talent จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การขับเคลื่อนองค์การมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยต้องบริหารจัดการ Talent ให้สอดคล้องกับลักษณะองค์การ และบริบทของการดำเนินงาน

รัฐมีหน้าที่โดยตรงในการพัฒนาประเทศ ให้เจริญก้าวหน้าและเข้มแข็ง ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม สนับสนุนให้เอกชนสามารถบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ พัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ทั้งด้านกฎระเบียบและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน มีความยุติธรรมในการใช้กฏหมาย เพื่อความเป็นธรรมในการแข่งขันทางธุรกิจ และความสงบสุขของสังคม สร้างสรรค์สังคมที่เข้มแข็งและยั่งยืน ซึ่งการทำ Talent management ในภาครัฐ ยังเป็นประเด็นที่ไม่ได้รับความสนใจมากนัก ภาครัฐยังคงให้ความสำคัญการหลักบริหารงานบุคคลพื้นฐาน ในการสรรหา วัดสมรรถนะ พัฒนาโดยผูกติดอยู่กับระเบียบ กรอบอัตรากำลัง และเกณฑ์ดำเนินการมาตรฐาน และมีปัจจัยด้านความมั่นคงในชีวิตที่ทำให้บุคลากรอยู่ในระบบภาครัฐตลอดชีวิตการทำงานการทำ Talent management จึงเป็นเพียงการสรรหาคนเก่งเพื่อพัฒนาระยะสั้น เมื่อเข้าสู่การทำงานภายใต้กรอบ ระบบ ระเบียบ จึงลดภาวะการคิดสร้างสรรค์ และขาดความยั่งยืนในการรักษาความเป็น Talent

สำหรับเอกชนมีหน้าที่ในการแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ แข่งขันกันดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายใต้กรอบของกฏหมาย และมีความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อให้สังคมมีความสงบสุข มีพัฒนาการอย่างยั่งยืน การบริหาร/การพัฒนาคนจึงขึ้นอยู่กับเป้าหมายขององค์การ อาทิ บริษัทรับก่อสร้าง จะบริหาร/พัฒนาคนบนมาตรฐานการทำงาน เพื่อความปลอดภัยของบุคลากรและมารตฐานของงาน บริษัทออกแบบ บริหาร/พัฒนาคนบนพื้นฐานของการสร้างสรรค์ ความแปลกใหม่ของผลงาน ดังนี้ ภาคเอกชนจึงมีความหลากหลายในการพัฒนาคน การทำ Talent management จึงเป็นประเด็นสำคัญที่บริษัทใหญ่ๆที่ประสบความสำเร็จให้ความสำคัญ เนื่องจากคนถือเป็น intangible capital ที่สามารถทำให้เกิด value added ต่อองค์การ

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า เป้าหมาย วัตถุประสงค์และกระบวนการ ขององค์กรของรัฐและเอกชนที่แตกต่างกัน เป็นตัวกำหนดความแตกต่างในการพัฒนาบุคคลากร และการทำ Talent management เจ้าหน้าที่รัฐเป็นบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อสังคมที่สูงยิ่ง และ หลายมิติ ทั้งเชิงปริมาณ คุณภาพ ทิศทาง ทั้งของประเทศและประชาชน

องค์กรเอกชนจะมีขนาดของกิจกรรมที่เล็กกว่ารัฐ ดังนั้นจึงมีความคล่องตัวมากกว่า มีกฏระเบียบที่ใช้ควบคุมน้อยกว่า

จะเห็นได้ว่าการทำ Talent management จึงขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง/ความเป็นจริง ( reality ) และความเกี่ยวข้อง (relevance) ของแต่ละองค์การ จึงจะทำให้การทำ Talent management มีความเหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุด

สิ่งสำคัญของภาครัฐและภาคเอกชนในการทำ Talent โดยการสร้างความยั่งยืนในการบริหาร Talent ผู้บริหารต้องเข้าใจหลักการบริหารจัดการ Talent ต้องมีการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยใช้ 3 ต.คือต่อเนื่อง ต่อเนื่องและต่อเนื่อง ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาระหว่าง Talent และบุคคลอื่น ( Talent & Non-Talent ) การพัฒนาจึงควรครอบคลุมมิติด้านคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อให้เกิด"คนเก่งที่เป็นคนดี " และสร้างความยั่งยืนทุนแห่งความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ให้เกิดความยั่งยืน การบริหารทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ให้เกิดพลังในการขับเคลื่อนโดยเชื่อและใช้หลักการ HRDS

1. สร้างความสุข (Happiness) ตามทฤษฎีเรื่องความสุขในการทำงาน 3 ระดับ อันประกอบด้วย

  • Pleasure = ทำอย่างมีความสุข ความสนุก
  • Passion = ทำแล้วเกิดความหลงไหล
  • Purpose = มีอุดมการณ์ที่จะทำ

2. การให้การยอมรับ (Respect) ยอมรับในความเก่ง ยอมรับในความคิด ยอมรับในการทำงานเป็นทีม

3. การยกย่องให้เกียรติ (Dignity) โดยการเชิดชู ให้เกียรติ และให้เป็นแบบอย่างแก่คนในองค์การ

4. การสร้างความยั่งยืน (Sustainable) ซึ่งจะสามารถเกิดขึ้นเองจากการบริหารข้างต้น และจะยิ่งเกิดการพัฒนาสู่ การสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรมอีกด้วย

..........................................................................................................................................................................................................

รายชื่อสมาชิกกลุ่ม 1:

1. นายจตุพจน์ ปิยัมปุตระ

2. นางพรรณวิภา ปิยัมปุตระ

3. นางสาวอุษามาศ ร่วมใจ

4. นางทัชยา รักษาสุข

5. นางวรากร เพ็ชรรุ่ง

6. ผศ. ปรเมษฐ์ แสงอ่อน

7. นายสมชัย เลขะพจน์พานิช

นามกลุ่ม 4

วิชาของ ศ.ดร. จีระ หงส์รดารมย์

วิจารณ์หนังสือ On Managing People 3 ข้อ

อาทิตย์ 9 เมษายน 2560 (9.00 – 12.00 น.)

จากหนังสือ HBR’s : On Managing People

From Havard business review press, Boston, Massachusetts

ข้อ 1 วิจารณ์หัวข้อ Leadership that gets results ของ Daniel Goleman

ลักษณะของการเป็นผู้จัดการหรือผู้นำ มีความหลากหลาย ควรมีลักษณะ สามารถในการเลือกใช้กลยุทธ์ได้ดี และที่สำคัญที่สุด ผู้นำต้องสามารถปรับตัวได้ทุกสถานการณ์

จากงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า ผู้นำที่มีประสบการณ์มาอย่างโชคโชน มักจะมีความฉลาดทางอารมณ์ (ซึ่งถือเป็นจุดแข็ง) มีความสามารถในการตระหนักรู้ มีความเป็นตัวของตัวเอง สามารถกระตุ้นให้ผู้อื่น รู้สึกมีความเห็นอกเห็นใจผู้ร่วมงานหรือลูกน้อง และมีทักษะการเข้าสังคมได้ดี


ข้อ 2 วิจารณ์หัวข้อ Teaching smart people how to boss ของ Chris Argyris

ในบางองค์กรที่ประสบความสำเร็จ คนทั่วไปมักมอง หรือให้ความหมายของการเกิดการเรียนรู้แบบแคบๆ โดย Problem solving ระหว่างผู้จัดการและพนักงานลูกจ้าง อันที่จริงควรมองลึกลงไปกว่านั้นว่า มันเกิดอะไรขึ้น

ซึ่งการแก้ปัญหา (Problem solving) เป็นแค่เพียงตัวอย่างของการเรียนรู้ในแต่ละประเด็นเท่านั้น เกิดเป็น Case by Case(loop เดียวแล้วจบ) แต่อันที่จริง เราควรนำปัญหาประเด็นต่างๆ ไปต่อยอด เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จุดนี้ทำให้เราได้คิดและได้เรียนรู้จริงจากประสบการณ์


ข้อ 3 วิจารณ์หัวข้อ Managing your boss ของ John J. Gabarro and John P. Kotter

การจัดการกับเจ้านายเหมือนเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ เนื่องจาก วัฒนธรรมองค์กรแบบ Top-down วางตำแหน่งอำนาจหน้าที่ไว้ตามผังองค์กร ซึ่งให้อำนาจตาม Authority ตาม Functional , Categorize ตาม Organization Chart

ผู้จัดการที่ทำงานมีประสิทธิภาพสามารถจัดการกับความสัมพันธ์ภายในองค์กรได้อย่างดียิ่ง นั่นแสดงให้เห็นว่า ผู้จัดการคนนั้นต้องมีการศึกษาเรื่องนี้มาเป็นอย่างดี หมายความว่า เรื่องการจัดการ เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ ที่ไม่ควรมองข้าม และไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะจัดการกับผู้จัดการหรือนายจ้าง

การจัดการกับเจ้านายหรือผู้จัดการได้ดี จะทำให้ได้ข้อมูลการทำงานที่ดี ซึ่งจุดนี้ไม่ได้เป็นผลดีกับเราเท่านั้น แต่ยังดีกับผู้จัดการ (เจ้าของ) และบริษัท ที่ต้องการเดินไปยังเป้าหมาย ตามความต้องการ ซึ่งเป็นรูปแบบการทำงานขององค์กรด้วยเช่นกัน

สรุปสิ่งที่ได้จากการอ่านหนังสือ On Managing People โดยรวม

สิ่งหนึ่งที่ซ่อนอยู่ในองค์กร ที่ทุกคนก็รู้คือ อำนาจที่นายมีเหนือลูกน้อง ประเด็นนี้ทำให้ความจริงปรากฎ คือ การ Fake กับผู้ร่วมงานด้วยกันเองเพื่อให้ตัวเองรอด เพื่อให้เจ้านายรัก เพื่อสร้างผลงาน โดยไม่คิดถึงคนอื่นว่าจะเป็นเช่นไร ผลที่ตามมา ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้ร่วมงานด้วยกันเอง และไม่ได้เกิดประโยชน์ร่วมกัน ฉะนั้นแล้ว หากมีการบริหารจัดการที่ดี เข้าถึงใจผู้บริหาร ผู้จัดการ หรือเจ้าของ รู้ว่าเจ้านายต้องการอะไร ทำงานของบริษัทให้เหมือนเราเป็นเจ้าของ ถือประโยชน์ขององค์กรเป็นสำคัญ สิ่งนี้จะนำไปสู่ความยั่งยืนขององค์กร

สุดท้าย เรื่องที่สำคัญอีกประการที่อยากแนะนำของกลุ่ม การเป็นลูกน้องมืออาชีพ คือ ควรเป็นคนมี Blue note รู้เรื่องที่เจ้านายอยากให้ทำ (รู้ใจ) เมื่อทุกคนในองค์กรมีความใส่ใจในตัวของผู้บริหาร ทำทุกเรื่องที่เจ้านายสั่งเหมือนเป็นงานของเราเอง นี่ก็คือ การจัดการเจ้านายแบบสูตรสำเร็จที่แท้จริง

สมาชิกกลุ่ม 4

1. คุณเอื้อมพร ปัญญาใส

2. คุณสุทัด ครองชนม์

3. คุณสุวรรณี ฮ้อแสงชัย

4. คุณวารุณี พูนพิพัฒน์กิจ

5. คุณสุชญาน หรรษสุข

สพ.ญ.พิกุล ตันสกุล

วิพากษ์หนังสือ ทรัพยากรณ์มนุษย์พันธุ์แท้ โดยพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เรียบเรียงโดย ปวันทวีย์

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่มีความโดดเด่น เนื่องจากเป็นการรวบรวมมุมมองที่กลั่นออกมาจากการผ่านประสบการณ์ตรง อันยาวนาน วิเคราะห์ออกมาเป็นแนวคิดหลักๆ อย่างฉลาดเฉลียว และมีความหมายที่นำไปใช้ได้ (Wisdom) ของท่านผู้ใหญ๋ที่มีทุนทางจริยธรรม ( Ethical Capital) เป็นที่ประจักษ์ของประเทศ จึงมี ๒ R อย่างชัดเจน คือ Reality and Relevance

มีประเด็นที่ตรงใจและกินใจหลายๆประเด็นที่ผู้บริหารองค์กรควรต้องจดจำไว้ตลอดเวลาของการบริหารองค์กรที่ได้จากหนังสือเล่มนี้อยากจะกล่าวถึงคือ

  • คนไม่ได้เป็นเพียงต้นทุน แต่คนคือผลกำไรที่แท้จริงขององค์กร
  • เน้นเรื่องการวัดผล
  • ความยั่งยืนระยะยาว
  • ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพคนกับการเพิ่มผลผลิต ที่ต้องควบคู่กันไปอย่างจริงจัง
  • จุดอ่อนในช่วงเริ่มต้นการทำงานใหญ่ของ ดร.จีระ เช่นอ่อนอาวุโสสามารถถูกแทนที่ด้วยจุดแข็งเรื่องความคิดสร้างสรรและความกล้าที่จะลงมือทำเพื่อเดินไปสู่เป้าหมาย

และมีหลายๆตัวอย่างของการทำงานตลอดช่วงเวลาหลายสิบปีที่สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนถึงที่มาของทฤษฎีต่างๆของดร.จีระ ที่เกิดจากประสบการณ์ตรงที่ได้รับมา และการลงมือทำจริงจนเห็นผลก่อน (พิสูจน์แล้ว) เช่น

  • Social Capital ในทฤษฎี 8Ks:
    • “ผมเน้นการสร้างแนวร่วมกับหน่วยงานข้างนอกตลอดเวลา เพราะการมีโลกทัศน์ที่กว้างช่วยได้เยอะ”
    • การกระโดดเข้าไปปรากฏตัวและแสดงศักยภาพในงานสัมมนาระดับนานาชาติ จนกลายเป็นภาพลักษณ์ใหม่ของสถาบันทรัพยากรมนุษย์ที่ดร.จีระบริหารอยู่ ทำให้ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนมาก
  • Sustainability Capital ในทฤษฎี 8Ks:
    • การทุ่มเททำงานในมูลนิธิด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ก็เหมือนกับการลงเสาเข็มอย่างหนึ่ง “มันจะดีสำหรับประเทศ เพราะเป็นเรื่องยั่งยืน”
    • การพัฒนาการศึกษา- โรงเรียนดรุณสิกขาลัย ที่ใช้วิธีการเรียนการสอนด้วยทฤษฎี Constructionism ของ Prof. Seymour Papert และบริหารการจัดการโรงเรียนด้วยวิธี Learning Organization ของ Prof. Senge, โครงการ Village that learn, School that learn, และ Industry that learn ถึง Nation that learn
  • Happiness Capital
    • ดังที่ดร.จีระเคยกล่าวไว้ครั้งหนึ่งถึงชีวิตของท่านเอง ที่มีความสุขในการทำงาน ท่านรู้ซึ่งถึงความสุขและความสมดุลที่ท่านมี ที่เป็นปัจจัยที่สำคัญอีกปัจจัยหนึ่งที่นำพาท่านให้ไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งความจริงแล้ว Happiness Capital นับเป็น Intangible factor ที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังความสำเร็จ มันอาจไม่ถูกมองเห็น และดึงมาอยู่เป็นหนึ่งในทฤษฎี 8 K’s ถ้าไม่ลึกซึ้งพอ
  • Human Capital, Intellectual Capital & Talented Capital
    • ดร.จีระได้วิเคราะห์ข้อดีที่เป็นตัวตนของท่านให้ฟังในหนังสือ ทุนมนุษย์พันธุ์แท้ ว่ามาจากเบ้าหลอมวัยเยาว์ ๔ ประการ 1. การเป็นนักกีฬาฟุตบอล ตำแหน่งกองหน้า แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ การเข้าร้านหนังสือ แสวงหาและเรียนรู้ตลอดเวลา 2. การเป็นคนขวนขวายและใฝ่รู้ตั้งแต่เด็ก 3. การมีเครือข่ายแต่และสนับสนุนความคิดนอกกรอบ มาจากครอบครัวที่อบอุ่น การได้มีโอกาสเรียนมหาวิทยาลัยดีๆที่ต่างประเทศ ทำให้มีโลกทัศน์กว้าง ได้พบคนเก่ง ระบบการศึกษาที่สอนให้คนมีวินัย และวิธีการเรียนที่ทำให้ต้องค้นคว้า และอนุญาตให้มีความคิดสร้างสรร 4. การได้ทำงานหลากหลาย ภายใต้แรงกดดัน
  • ความเชื่อ ศรัทธา และหลักการว่าคนคือทรัพย์สินขององค์กร และต้องมีการลงทุนในวันนี้ ให้ได้มาในวันหน้า โดยเน้นทุน 3 ตัวคือ Human Capital, Intellectual capital (คือต้องสามารถแปลง Data >Information> Knowledge> Value added> Wisdom ได้ในที่สุด) and Ethical Capital ทั้งสามทุนนำมาซึ่งความเชื่อ ศรัทธา และหลักการที่จำเป็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • Cultural Capital
    • ให้ความรัก ถึงจะภักดี ก็เป็นประเด็นที่น่าสนใจอีกประเด็น เมื่อพูดถึงเรื่องความจงรักภักดี ซึ่งเป็นวัฒนธรรมตะวันออก แต่เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยากในโลกตะวันตก แต่ความจริงแล้ว ดร.จีระบอกว่า ความจงรักภักดีเป็นเรื่องเดียวกันกับทรัพย์สินทางปัญญา การไหลออกของคนเก่ง ก็เหมือนกับการสูญเสียทรัพย์สินทางปัญญา และความจงรักภักดีเป็นเรื่องที่ต้องสร้างขึ้นมา
    • แรงจูงใจ ในมุมที่เกี่ยวพันถึงเรื่องวัฒนธรรม การมีส่วนร่วมในการทำงาน การได้ทำงานที่ท้าทาย การได้ทำงานเป็นทีม การให้รางวัล การประเมินผลอย่างโปร่งใส ความเป็นธรรมในการบริหาร สภาพแวดล้อมในการทำงาน และการจ่ายค่าตอบแทนอย่างเป็นธรรม ล้วนเป็นปัจจัยร่วมที่สำคัญในการสร้างแรงจูงใจ ข้อดีของหนังสือเล่มนี้ คือไม่ได้คิดแต่ปัจจัยข้างต้น แต่ได้นำเอาเรื่องของวัฒนธรรม ซึ่งก็คือทุนตัวหนึ่งใน 5 Ks ใหม่ ( Cultural Capital) มาพิจารณาด้วย

และด้วยประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดร.จีระได้รับมาในวัยเยาว์ และสิ่งที่ประสบมาตลอดระยะเวลาของการทำงานสร้างพื้นฐานของคนให้กับประเทศ ทำให้เกิดบทสรุปสั้นๆ เข้าใจง่าย คือทฤษฎี 4 L’s ( Learning Methodology, Learning Environment, Learning Opportunity, Learning Community)

ซึ่งจะครอบคลุมครบทุกด้าน ในขณะที่ ทฤษฎี 4 L’s ของท่านพารณ จะเน้นในเรื่องการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Village that learn, School that learn, Industry that learn, Nation that learn) โดยละไว้ในฐานที่เข้าใจในเรื่อง 3 L’s แรกของดร.จีระ อย่างไรก็ตาม ก็สามารถสรุปได้ว่าท่านทั้งสองมีเป้าหมายที่ชัดเจนอันเดียวกันอย่างหนึ่งในเรื่องของการเน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ข้อดีอีกอย่างของหนังสือเล่มนี้ คือทำให้เกิดภาพที่ชัดเจนของการบริหารบุคลากร ที่ทำให้องค์กรสามารถประสบความสำเร็จอย่างยิ่งและยาวนานซึ่งเป็นภาพที่เกิดจากความกรุณาของท่านพารณ ที่ นำเอากรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริงในองค์กรมาเผยแพร่ และดร. จีระ ผู้สัมภาษณ์ที่ป้อนคำถามล้วงลึกกับทั้งคุณยุพา บัวธรา อดีตผู้บริหารการบุคคล เครือซีเมนต์ไทย และคุณอุทัย คันธเสวี อดีตผู้อำนวยการฝ่ายการบุคคล บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด

เราจะเห็นได้ชัดจากบทนี้ ถึงการให้ความสำคัญกับ คน และการเน้นการเรียนรู้

  • เน้นให้คนเก่งและดี ด้วย คือ เก่ง4 ( เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด และเก่งเรียน) และ ดี 4 (ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม)
  • เน้นเรื่องหลัก 3 ประการในการบริหารจัดการของท่านพารณ คือ ต้องทำให้สำเร็จ ต้องมีบารมี และต้องยั่งยืน
  • เน้นเรื่อง Business Ethics

หนังสือเล่มนี้บอกเล่าเรื่องราวการทำงานของดร.จีระที่ผ่านมา ทำให้เราเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงตัวตนของท่าน และความเป็นมาหรือกำเนิดของ Chira’s ways ได้เป็นอย่างดี

ดร.จีระได้เปรียบเทียบ ระหว่างประเทศที่ประสบความสำเร็จและประเทศที่รั้งตำแหน่งท้ายๆว่า คุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ในระดับจุลภาคคือหัวใจในการแข่งขันให้ชนะในระดับโลก และการพัฒนาคุณภาพมนุษย์มุ่งเน้นที่การเรียนรู้ล้วนๆ

หนังสือเล่มนี้ยังมองไกลออกไปถึงระดับสากล พูดถึงเรื่องการสร้างคนให้สามารถไปได้กับกิจกรรมระดับ going Global ซึ่งเป็นหัวข้อที่ดีมาก ให้ฉุกคิดว่าในระดับประเทศ เราทำอะไรกันบ้าง เรามีแผนแม่บทของประเทศสำหรับสิ่งนี้หรือไม่ และแนะนำแนวทางสำคัญในเชิงกลยุทธ 7 ประการ คือ เริ่มจากองค์กรและผู้นำที่จะต้องมีปรัชญาต้องมีแนวทางการบริหารที่เน้นคนเป็นสำคัญก่อน มี vision วางแผนคนให้สอดคล้องกับอนาคตของธุรกิจในระยะยาวข้างหน้า พัฒนาคนทุกระดับอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม สร้างแรงจูงใจและให้คนมีอิสรภาพในการทำงาน และต้องตอบให้ได้ว่าจะเอา Information and Communication Technologyมาใช้สนับสนุนการทำงานหรือไม่ ต้องใส่ใจเรื่องคุณภาพชีวิตทั้งกายและใจ ต้องสร้างบุคลากรให้พร้อมเข้าสู่สังคมโลกโลกาภิวัฒน์ ทั้งเรื่องภาษา และ IT

การเป็น Global citizen ด้วยความสามารถด้านภาษา เทคโนโลยี และคุณธรรม

โดยสรุป หนังสือเล่มนี้ครอบคลุมเรื่องทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างรอบด้าน พร้อมทั้งตัวอย่างจากกรณีศึกษาจริง และประวัติการทำงานและต่อสู้เรื่องทรัพยากรมนุษย์ของท่านพารณ และดร.จีระ ที่ทำให้เข้าใจทฤษฎีต่างๆของท่านทั้งสองอย่างลึกซึ้ง

สพ.ญ.พิกุล ตันสกุล

Workshop Think outside the Box

ถ้าจะฝึกให้มีศักยภาพในการ think outside the box ควรทำอย่างไร 5 เรื่อง

การคิดนอกกรอบใช้ได้กับทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเรื่องธุรกิจ หรือแม้กระทั่งวิธีการแก้ปัญหา โดยเราสามารถเลือกใช้วิธีใหม่ๆ ที่แตกต่างไปจากที่เคยทำ มองปัญหาจากด้านที่แตกต่าง ลองมองจากมุมของคนอื่น เช่น เพื่อนที่เรารู้จัก ว่า ถ้าเป็นเขา เขาจะคิดแบบไหน นี่เป็นเทคนิคที่ดีที่จะพาเราหลุดออกจากความเคยชิน

เราได้ยินได้ฟังและถูกสอนให้คิดนอกกรอบอยู่บ่อยๆ แต่แท้จริงแล้ว เราคิดนอกกรอบอยู่หรือเปล่า เราสามารถพัฒนาตัวเราให้คิดต่างจากที่เราเคยคิดได้หรือไม่

โดยปรกติแล้ว โดยเฉพาะเรื่องซ้ำๆที่เราคุ้นชิน ปัญหาที่เราเคยเจอ โดยอัตโนมัติ ความคิดเราจะโลดแล่นอย่างรวดเร็วไปในทางที่เราเคยคิดเคยทำ แบบเราแทบไม่ทันตั้งตัว เรียกว่าติดกับดักความสำเร็จเดิม

ดังนั้น การคิดนอกกรอบให้เป็นและได้ผล จึงต้องผ่านขบวนการพัฒนาศักยภาพของตัวเราให้สามารถคิดนอกกรอบได้ และสิ่งสำคัญคือการพัฒนาให้หลุดออกจากกับดักความเคยชินของตัวเอง เช่น ตัวอย่าง 5 เรื่องต่อไปนี้

  • อ่านหนังสือของอุตสาหกรรมที่ห่างและต่างจากอุตสาหกรรมที่เราอยู่ แล้วอ่านวิธีคิดและการแก้ปัญหาของอุตสาหกรรมนั้นๆ บางเรื่องหรือปัญหาอาจคล้ายคลึง แต่วิธีคิด วิธีแก้ไขอาจแตกต่างอย่างสิ้นเชิง เป็นการเรียนรู้ผ่านสิ่งที่ไม่คุ้นเคยได้อย่างดี
  • เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ อาจจะเป็นการไป take course ในเรื่องที่เราไม่เคยรู้ ไม่เคยสนใจ ไม่ใช่ทางของเรา เพื่อเปิดมุมมองที่แตกต่าง
  • อ่านหนังสือหมวดที่เราไม่เคยอ่าน เช่น ถ้าเราชอบอ่านหนังสือนวนิยายประเภทสืบสวนสอบสวน ลองเปลี่ยนมาอ่านนิยายโรมานซ์ ให้ความสนใจไม่เฉพาะแต่เนื้อเรื่อง แต่วิธีการของผู้เขียน ที่ทำให้ผู้อ่านคล้อยตามอย่างไม่ติดใจสงสัย
  • ฝึกเขียนบทกลอน หรือวาดรูป ถ้าเรามีความเป็นนักวิทยาศาสตร์ หรือนักคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน เพราะมันคือการฝึกใช้สมองอีกซีกที่เน้นเรื่องความคิดสร้างสรร
  • ปรึกษาเด็กน้อย เราอาจได้มุมมองที่น่าสนใจจากเด็กที่สมองยังเป็นอิสระ ไม่ถูกยึดโยงด้วยข้อมูลหรือหลักการใดๆ

รายงานกลุ่ม 4 : Talent Management

หัวข้อ: ให้คะแนน 0-10 ท่านให้คะแนนเรื่อง Talent Management ในองค์กรของท่านอย่างไร และ TM สำคัญอย่างไร (ให้เหตุผลเป็นข้อๆ) คุณลักษณะของ Talent ที่ท่านต้องการ 5 เรื่อง คืออะไร

Talent หรือ "คนเก่ง" หรือ "คนที่มีศักยภาพ" หมายถึงคนที่มีความสามารถพิเศษ มีความโดดเด่นมากกว่าบุคคลอื่นๆ ซึ่งโดยทั่วไปความต้องการหรือคุณลักษณะของคนเก่งที่แต่ละองค์กรต้องการอาจจะแตกต่างกันไป คุณลักษณะของ Talent ที่ต้องการ 5 เรื่อง คือ

1. มีความซื่อสัตย์ และมีจริยธรรม (Honesty & Integrity)

2. มีความรับผิดชอบ (Accountability)

3. มีความเป็นผู้นำและมีวิสัยทัศน์ (Leadership)

4. มีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)

5. สามารถำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี (Good Teamwork)

การบริหารจัดการคนเก่ง (Talent Management) มีความสำคัญในองค์กรเป็นอย่างมาก เพราะศักยภาพและความสามารถของ Talent จะสร้างการเจริญเติบโตขององค์กร เพราะบุคคลเหล่านี้มีศักยภาพที่จะเติบโตเป็นผู้บริหารระดับสูงต่อไป อันจะเป็นการสร้างความได้เปรียบขององค์กร และนำไปสู่ความยั่งยืนขององค์กร

การบริหารจัดการคนเก่งอย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้

1. การดำเนินงานขององค์กรมีประสิทธิภาพ

2. สามารถรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพ

3. เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน

ทั้งนี้ Talent Management ควรจะทำแบบเป็นกระบวนการตั้งแต่

1. การระบุลักษณะของ Talent ที่องค์กรต้องการ (Identification)

ซึ่งต้องมีความชัดเจน และไปในทิศทางเดียวกับวิสัยทัศน์ขององค์กร เพราะ Talent จะเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้องค์กรเดินไปสู่อนาคตตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้ การกำหนดคุณลักษณะ ความสามารถ ค่านิยม ที่ชัดเจน จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของ Talent Management

2. การสรรหาใหม่ (Recruit) หรือ การคัดเลือกบุคคลที่มีศักยภาพในองค์กร (Selection)

กระบวนการในการหาและคัดเลือกถือว่าเป็นกระบวนการที่สำคัญ ซึ่งอาจจะเกิดจากการคัดเลือกภายใน โดยมองหาผู้ที่มีผลงานโดดเด่นและมีศักยภาพ ซึ่งอาจจะเป็นการคัดเลือกแบบเป็นทางการ หรือไม่เป็นทางการ ซึ่งในประเด็นนี้จะต้องทำด้วยความรอบคอบ

หรือการคัดเลือกจากภายนอก เช่น การสรรหาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ หรือกลุ่มผู้ที่มีความรู้ ประสบการณ์ที่เป็นที่ต้องการ

3. การพัฒนา (Develop)

การพัฒนาและการส่งเสริมให้คนเก่งใช้ศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มที่ ซึ่งการพัฒนากลุ่ม Talent ไม่สามารถใช้วิธีเช่นเดียวกับบุคลากรทั่วๆ ไป เนื่องจาก Talent ส่วนใหญ่จะชอบความท้าทาย และผลสำเร็จของงาน ดังนั้นจึงควรจะเน้นเน้นให้มีการเรียนรู้ในสายงานที่กว้างขึ้น เปิดโอกาสให้มีความรับผิดชอบมากขึ้น และมีการติดตามประเมินผลเป็นระยะอย่างอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกเหนือจากการพัฒนาในเรื่องทักษะ ความสามารถในเรื่องงานแล้ว สิ่งที่องค์กรควรให้ความสำคัญ คือ จริยธรรม และการพัฒนาความสามารถทางด้านมนุษย์สัมพันธ์ เพราะในหลายกรณีจะพบว่า คนเก่งจะทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ไม่ดี และหากไม่มีจริยธรรม ก็อาจใช้ความเก่งไปในทางที่ไม่ดี องค์กรจึงต้องพัฒนาให้คนเก่งเป็นคนดี และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีด้วย ทั้งนี้การวัดผลที่ใช้จะต้องมีทั้งส่วนที่เป็น Tangible และ Intangible

4. การรักษาคนเก่งไว้ในองค์กร (Retain)

ความเข้าใจในแรงจูงใจ (Motivation) ของคนเก่งจะทำให้องค์กรสามารถรักษาคนเก่งไว้ได้ การสร้างสิ่งแวดล้อม วิธีการทำงาน ค่าตอบแทน และโอกาสในการเติบโต (career path) ที่ถูกต้องและเหมาะสมจะทำให้องค์กรสามารถรักษาคนเก่งไว้ในองค์กรได้


จากการประเมินในองค์กรของตนในกลุ่มให้คะแนนของ Talent Management ในองค์กรของตน 5 คะแนนจาก 10 โดยพบว่ากระบวนการในการระบุคุณลักษณะที่ต้องการและการคัดเลือกนั้นมิใช่ประเด็นที่เป็นปัญหา แต่ประเด็นที่มีความท้าทาย คือ การพัฒนาและรักษาคนเก่งเอาไว้ เนื่องจากในสัดส่วนของบุคลากรในองค์กรส่วนใหญ่ยังเป็นบุคลากรที่เป็นทำงาน Routine ซึ่งมีสัดส่วนที่มากกว่า ระบบการบริหารจัดการบุคลากรในองค์กรจึงไม่ตอบโจทย์ Talent และไม่สามารถรักษาคนเก่งไว้ได้

-------------

สมาชิกกลุ่ม 4

1. คุณเอื้อมพร ปัญญาใส

2. คุณสุทัด ครองชนม์

3. คุณสุวรรณี ฮ้อแสงชัย

4. คุณวารุณี พูนพิพัฒน์กิจ

5. คุณสุชญาน หรรษสุข


การสร้าง Talent Management (TM )

1.การ Imports คนที่มีแนวโน้มเก่งเข้ามาพัฒนาด้านองค์ความรู้ขององค์กร (KM) เราจะได้ทีมที่มีโอกาสที่ดี ที่จะเป็น Team ในฝัน หรือ เตรียมความพร้อมทีมที่จะมี Talent เพื่อเข้ามาเพิ่มศักยภาพในองค์กร

2.การสร้างคนหรือพัฒนาทุนมนุษย์จากคนที่มีในองค์กร เพื่อสร้าง Team ที่เก่งและมี Talent Management เพื่อเพิ่มศักยภาพทุนมนุษย์

ขั้นตอนการนำ Chira’s Way และแนวอื่น ๆ เข้ามาสร้างTalent

>การรับฟัง

>การเปิดและสร้างโอกาสให้มีการ Share การแบ่งปัน ปะทะความคิด

>การทำงานเป็นทีม

>Empathy

>HRDS

>2R,8K’s & 5K’s

>4L

สรุป

การนำ Chira’s way เป็น Process ที่ดีมากสามารถนำมาบริหารจัดการ หรือนำมาเป็นเครื่องมือที่นำมาสร้าง Talent Management ได้ทั้งสองกรณีให้ประสบความสำเร็จเพื่อเพิ่มศักยภาพทุนมนุษย์ได้เป็นอย่างดียิ่งและสามารถนำไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน

รายชื่อนักศึกษากลุ่ม 3

1.นางสาวพิกุล ตันสกุล

2.นางสาวประภาพร คำทองวิจิตร

3.นางสาววลัยลักษณ์ วิทย์กิตติลักษณ์

4.นายธนานันต์ เอื้ออารักษ์

5.นางสาวชมภู สายเสมา

จิรัฐพงศ์ นาคโนนหัน

Workshop Talent Management

ในนามกลุ่มที่ 2

ตอบข้อ 2 ในกลุ่มของท่าน ยกตัวอย่างของการบริหาร Talent ที่ประสบความสำเร็จ3กรณี และที่ล้มเหลว3กรณี พร้อมทั้งอธิบายเหตุผลชัดๆ

2.1 ตัวอย่างของการบริหาร Talent ที่ประสบความสำเร็จ 3 กรณี

1. สามารถวางตัวจักรสำคัญด้านบุคคลากรสำหรับงานใหม่ๆได้อย่างถูกทิศถูกทางและเหมาะสมในเวลาอันสั้น บนเงื่อนไขที่ว่าTalentที่ในองค์กรจะต้องถูกคัดเลือกและประเมินอย่างเป็นระบบตามความเป็นจริง

2. รักษาTalentเดิมและเกิดTalentใหม่ๆในองค์กร อันเนื่องมาจากมีแบบแผนที่ดี ซึ่งต้องบริหารคนที่Talentและยังไม่Talentให้ดีจนทำให้ไม่รู้สึกว่ามีช่องว่างระหว่างกัน ซึ่งองค์กรนั้นต้องอาศัยวางกลยุทธ์ด้านแรงจูงใจที่เหมาะสม และให้ผู้ที่ยังไม่Talentรู้สึกให้ได้ว่าเขาคือทรัพยากรณ์ที่สำคัญของบริษัทและพร้อมจะเป็นทุนมนุษย์ที่ดีได้ อีกทั้งทั้งให้เห็นโอกาสความก้าวหน้าด้วย

3. องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายปกติและเป้าหมายท้าทาย อีกทั้งขับเคลื่อนตนเองได้บนความซับซ้อนของโจทย์ใหม่ๆด้านธุรกิจขององค์กร อันเนื่องมาจากรู้จักการใช้Talentมาเป็นตัวเหนี่ยวนำ

2.2 ตัวอย่างของการบริหาร Talent ที่ล้มเหลว 3 กรณี

1. บริษัทหรือองค์กรเองก็ไม่ทราบความหมายของTalentว่าสิ่งนี้คืออะไร สำคัญอย่างไร? เมื่อไม่ทราบจึงเป็นสาเหตุว่ากระบวนดำเนินการบริหารบุคคลTalentนี้ก็ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับ เมื่อองค์กรไม่มีสิ่งใดๆรองรับจึงเป็นเหตุต่อเนื่องที่จะมีการสูญเสียTalent ซึ่งTalentนั้นมีบางประการที่มีโอกาสจะเกิดปัญหาจากความไม่พร้อมขององค์กรในหลายกรณี เช่น ขาดการให้ความร่วมมือ, Talentไม่ได้รับการจูงใจที่เหมาะสมจากองค์กร, TalentขาดChallenge jobที่เหมาะสมกับความสามารถ... ทำให้บริษัทเองสูญเสียทรัพยากรณ์และโอกาสไปมากมาย.

2. Talentที่มีนั้นสวนทางกับความเป็นจริงด้านความสัมฤทธิ์ผลขององค์กร อันเนื่องมาจากความไม่ประสานเป้าหมายที่ดีพอระหว่างหน่วยงานต้นสังกัดกับHR ซึ่งHRนั้นก็วางเกณฑ์การคัดเลือกคนที่คาดว่าจะดีที่สุดเลือกคนที่เก่งที่สุดเข้ามา เพียงแต่ขาดการระบุความต้องการเฉพาะด้านจริงๆของหน่วยงานต้นสังกัด เช่น คุณสมบัติเบื้องต้นที่คัดเลือกมานั้นตรงกับต้นสังกัดต้องการ หากแต่ประสพการณ์ในบางอย่างนั้นไม่ตรงประเด็นกับความต้องการจริงๆของต้นสังกัด ผลคือTalentนั้นจะต้องได้รับการเริ่มต้นเรียนรู้ใหม่ และเป็นไปได้เช่นกันว่าTalentนั้นค้นพบว่าตนเองก็ไม่ได้มีPassionกับงานนั้นจริงๆแต่ก็ยังต้องทำงานไปด้วยความจำเป็น

3. มีTalentแล้วทำให้บุคคลอื่นที่มองตนเองว่าไม่ใช่Talentลดบทบาทความกระตือรือร้นของตนลงไป ซึ่งจริงแล้วองค์กรจะต้องวางแผนลดช่องว่างตั้งแต่ต้น เพื่อไม่ให้รู้สึกมีความแตกต่างมากนักจนกระทบกับบุคคลอื่นๆที่มีส่วนร่วมในการทำงาน เช่น อาจวางกลยุทธ์การสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสมโดยการวางวัตถุประสงค์ตามความสามารถเฉพาะด้านของแต่ละคน เพราะในความเป็นจริงTalentนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ใหม่เสมอถ้าได้รับแรงขับที่ดีมากพอ

รายชื่อสมาชิกกลุ่ม 2

  • นาย บุญชัย ชาญเชี่ยวชิงชัย
  • นาย เอกชัย ยังวานิช
  • นาย ณรงค์ชัย ว่องธนะวิโมกษ์
  • นาย แก่นเพชร ศรานนทวัฒน์
  • พันตำรวจเอก ผดุงศักดิ์ รักษาสุข
  • นาย จิรัฐพงศ์ นาคโนนหัน
ธนานันต์ เอื้ออารักษ์

วิพากษ์หนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

ท่านหนึ่งคือนักเศรษฐศาสตร์ อีกท่านหนึ่งคือวิศวกร ท่านแรกเป็นนักวิชาการ ในขณะที่อีกท่านเป็นนักบริหาร

ชีวิตของคนทั้งสองคน สมควรจะเป็นเส้นคู่ขนาน ไม่ก้าวก่ายซึ่งกันและกัน หากแต่บางสิ่งได้ชักนำให้คนสองคนมาพบเจอกันโดยบังเอิญ

นั่นก็คือเรื่อง "การจัดการทรัพยากรมนุษย์"

หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ที่นำเอาเรื่องราวของกูรูสองคนในวงการจัดการทรัพยากรมนุษย์ออกมาเปิดเผย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่มา แนวคิด บอกเล่าประสบการณ์ การแสดงความเห็น ตลอดจนความคาดหวังที่มีในอนาคต

สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผมทึ่ง คือ แนวคิดจากท่านทั้งสองคนนี้ "ก้าวล้ำนำสมัย" เป็นอย่างมาก

ความหมายคือ สิ่งที่ทั้งท่านจิระ และท่านพารณ พร่ำสอนอธิบายต่างๆ นาๆ ตั้งแต่เกือบสามสิบปีก่อนนั้น มาปัจจุบันนี้ (พ.ศ. 2560) ก็ยังเป็นสิ่งที่นำสมัย ยังสามารถนำไปใช้พัฒนาองค์กร หน่วยงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านแรงงาน ด้านตัวบุคคล เพื่อผลสุดท้ายคือการสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ตัวองค์กร

ในหนังสือ แสดงให้เห็นถึงทัศนวิศัยต่างๆ มากมาย ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องราวที่เกิดมานานแล้ว แต่ในปัจจุบัน ก็ยังเป็นเรื่องที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นตัวอย่างของ Loyalty , productivity , motivation ซึ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องเกี่ยวพันกับทรัพยากรมนุษย์ทั้งสิ้น

หรือแม้แต่เรื่องความยั่งยืน (sustainability) ซึ่งในปัจจุบันนี้ถือเป็นเรื่องพื้นฐานที่ใครๆ ก็เอามาพูดกันจนเกร่อ แต่หากย้อนกลับไปยี่สิบสามสิบปีก่อน คำๆ นี้แทบจะไม่มีคนรู้จัก ไม่มีคนสนใจ ... หากแต่ไม่ใช่กับท่านจิระและท่านพารณ

ทุกสิ่งในหนังสือเล่มนี้ ชี้นำไปสู่ การพัฒนาคนโดยเน้นที่การสร้างความยั่งยืนในระยะยาวนั่นเอง

หากจะกล่าวว่า หนังสือเรื่องทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ เป็นคัมภีร์ที่คนทุกคนสมควรอ่าน ก็ไม่เกินเลยเกินไป

หากแม้แต่จะอ่านผ่านๆ สักเพียงรอบเดียว ผมก็มีความเชื่อมั่นว่า ผู้อ่านจะได้รับความรู้และวิสัยทัศน์ที่แตกต่างออกไป และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงๆ

ขอเพียงเราเปิดใจรับเอาแนวคิดและความรู้ ที่ได้ผ่านการกลั่นกรองและพิสูจน์มาแล้วว่าสามารถใช้ได้และเกิดประสิทธิผลจริงจากท่านทั้งสอง คุณภาพของประเทศไทยจะสูงขึ้นแบบก้าวกระโดดในทันที

ผมมีความเชื่อแบบนั้น

ประเด็นจาก การนำเสนอและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในชั้นเรียนเกี่ยวกับเนื้อหาในหนังสือ Search Inside Yourself 3 ประเด็น ที่ผู้เรียนสนใจ มีดังนี้คือ

หนังสือเล่มนี้ได้นำความรู้ทางด้านตะวันออกมานำเสนอ โดยเฉพาะการรู้จักและเข้าถึงตัวเอง โดยการสอน การทำสมาธิแนวพุทธ มานำเสนอ เพื่อให้เข้าถึงการดำเนินชิวิตและการปรับตัว ที่เข้าถึงได้ง่าย ซื่งสอดคล้องกับทฤษฎี HRDS (Happiness, Respect, Dignity, Sustainability) ของ ดร.จิระ ที่กล่าวถึงการทำงาน ความสำเร็จที่มีความสุข และเป็นแนวทางแบบยั่งยืน

ทางกลุ่มได้รับมอบหมายให้เสนอ บทที่ 8 และ 9

ซึ่งได้พูดถึงเรื่อง

Compassion

Affective – I feel for you

Cognitive – I understand you

Motivative – I want to help you

ผู้นำที่ดีควรจะมีความเห็นอกเห็นใจต้องมีความคิดว่าไม่ใช่ ตัวฉัน แต่เป็น พวกเรา

บทต่อไปเป็นการสอนเรื่องวิธีทำสมาธิ

ซึ่งผมเห็นว่าทางพุทธศาสนาสอนได้ละเอียดและลึกซึ้งกว่ามาก ซึ่งในหนังสือเป็นการสอนการทำสมาธิแบบคร่าวๆ ที่เหมาะกับชาวตะวันตก ซึ่งสำหรับชาวตะวันออก สามารถเข้าใจวิธีเหล่าเป็นส่วนใหญ่ และสำหรับประเทศไทยมีการสอน การทำสมาธิมากมาย และไม่เสียค่าใช่จ่ายด้วย

วลัยลักษณ์ วิทย์กิตติลักษณ์

วิจารณ์ หนังสือ เรื่อง on managing people ในหนังสือ มีคำว่า KITA หลายคนคงสงสัยว่า อยู่ๆมีคำว่าKITA มาได้ยังไง ในส่วนตัวพอเห็นคำนี้ ก็จะคิดถึงภาษาญี่ปุ่นขึ้นมาทันที ซึ่งเเปลว่า ทิศเหนือ ความเป็นเหนือ หรือที่ภาษาอังกฤษคือคำว่า BEYOND นั่นเอง เเน่นอนความเป็นผู้นำนั้นต้องมีความเหนือชั้นกว่าลูกน้อง ไม่ว่าจะเป็นการบริหาร การพยากรณ์อนาคตได้อย่าง ตรงประเด็นเเละตรงความเป็นจริง(2R) เป็นต้น หากผู้นำท่านใดมีคำว่า KITA อยู่ในตัวเองเเล้ว จะทำให้องค์กรนั้นโดเด่นเเละผ่านวิกฤตการณ์ต่างๆไปได้ ยกตัวอย่าง ร้านกาแฟstarbuck ขายความเป็น KITA จึงสามารถครองใจลูกค้าระดับกลางถึงบน ได้อย่างไร้คู่เเข่ง ด้วยคำว่า The 3 HOME ทำให้ลูกค้ารู้สึกอบอุ่นเหมือนอยู่ที่บ้าน เเละนี่เองคือคำว่า KITA=BEYOND ของstarbuck จึงยึดmarket share ได้เป็นอันดับต้นๆนั่นเอง

วลัยลักษณ์ วิทย์กิตติลักษณ์

วิเคราะห์หนังสือ เรื่อง search inside yourself

หนังสือเล่มนี้ดิฉันคิดว่า เป็นหนังสือธรรมะเล่มนึง เพียงเเต่คนเเต่งหนังสือไม่ใช่พระเหมือนที่เคยอ่านๆมา เเต่เป็นฆราวาสที่ทำงานอยู่ในองค์กรใหญ่โตของโลก ชื่อ CHADE -MENG TAN ซึ่งทำงานที่ google หนังสือเล่มนี้ผู้เเต่งหาความสุขที่เเท้จริงได้จากการ search inside yourself มีการยกตัวอย่างที่เข้าใจได้ง่ายเห็นภาพ เช่น อารมณ์คนเราเหมืนกับหุ้นในดาวน์โจน ซึ่งก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ หรือเเม้เเต่ เราต้องควบคุมจิตใจของเราให้ได้เหมือนการขี่ม้า เป็นต้น มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาสนับสนุนทำให้การนั่งวิปัสสนาทางพระพุทธศาสนานั้นมีความน่าเชื่อถือสำหรับคนรุ่นใหม่มากขึ้น

เป็นการดีที่บุคคลในระดับองค์กรใหญ่ๆหันมาศึกษาการเจริญสติวิปัสนา เพื่อช่วยเผยเเผ่พระพุทธศาสนาให้สังคมตะวันตกได้รู้จักมากขึ้น ว่าจริงๆเเล้ว การเจริญสติทำไม่ยาก ทำได้ในกิจวัตรของเรา เช่น การหายใจเข้าออก การก้าวย่างเดิน ก็สามารถทำให้มีสติสมาธิได้เเล้ว และผลจากการเจริญสติสมาธินี่เอง ทำให้ผลงานจากบุคลากรมีประสิทธิผลมากขึ้น บรรยากาศในการทำงานก็ไม่ตึงเครียดอย่างเก่า ด้วยทุกคนเข้าใจมีสติ รู้ทันอารมณ์

การเจริญสตินั้นมีประโยชน์ทำให้บุคคลรู้จักมองอะไรได้อย่างมี 2R เเละเเก้ปัญหาได้อย่างตรงประเด็น ทำให้บุคคลมี HRDS มีความสุขกับการทำงานต่อเนื่องเเละยั่งยืน ทุกวันนี้องค์กรใหญ่ๆไม่ว่าจะเป็น facebook ก็ได้หันมานั่งสมาธิการทำงานเเล้วเช่นกัน ทั้งนี้ผลก็ออกมาว่า ประสิทธิภาพการทำงานของคนสูงขึ้น ความขัดเเย้งน้อยลง อัตราการป่วยของบุคลากรก็น้อยลงไปด้วยเช่นกัน

นายสุทัด ครองชนม์

หนังสือ Search inside yourself

หนังสือเล่มนี้ให้แง่คิด มุมมอง ให้เราค้นหาและรู้จักตนเอง เมื่อเรารู้จักตนเองดีแล้ว ก็มีข้อเสนอแนะให้ค้นหาหนทางแห่งความสุขแห่งตน โดยมีตัวอย่างของคนที่มีการเปลี่ยนแปลงในทางใดทางหนึ่ง และพบหนทางไปสู่ความสุข

หนังสือ Search inside yourself เขียนโดย Chade-Ming Tan ซึ่งจบ Engineer และทำงานเป็น Engineer ใน Google มาก่อน แต่ภายหลังได้มารับผิดชอบในการพัฒนาทุนมนุษย์ของบริษัท Google โดย Search inside yourself เป็นหนึ่งในหลักสูตรที่่บริษัท Google จัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ โดย Search inside yourself ดำเนินการใน 3 ขั้นตอนคือ

1. Attention training

2. Self-knowledge and self-mastery

3. Creating useful mental habits

การได้อ่านหนังสือเล่มนี้ทำให้เข้าใจภาพขององค์กรที่มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จในทางธุรกิจเป็นอย่างมากแห่งนี้ว่า นอกจากการคัดเลือกบุคลากรที่มีความสามารถเข้าร่วมงานแล้ว Google ยังมีหลักสูตรดีดีในการพัฒนาทุนมนุษย์ การให้เวลา 20% ของเวลางานกับพนักงานในการทำเรื่องอะไรก็ได้ที่สนใจที่ไม่ใช่งานในหน้าที่ ทำให้ Ming ที่มีความสนใจเกี่ยวกับ Emotional intelligence ได้มีโอกาสศึกษาและรวบรวมเพื่อน ๆ ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนและปะทะทางปัญญาอย่างต่อเนื่อง จึงนำไปสู่แนวทางใหม่ ๆ ที่จะทำให้ผู้อ่านได้เรียนรู้เรื่องราวดีดีจากหนังสือเล่มนี้

กรณีตัวอย่างในหนังสือเล่มนี้ในแต่ละบท ทำให้ผู้อ่านได้เห็นมุมมองที่แตกต่าง หลากหลายในแต่ละด้าน อย่างไรก็ตาม เมื่อได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว ผมรู้สึกว่าตนเองได้เรียนรู้เรื่องราวใหม่ ๆ ที่ดูเหมือนว่าเคยรู้ เคยได้ยินมาบ้าง แต่ไม่เหมือนกัน โดยสรุปผมได้เรียนรู้ว่า

1. New meaning and fulfillment in my job

2. I change my way I react to stressor

3. How to apply of emotional intelligence in my workplace and at home

ซึ่งหากเราสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตของตนเองได้จริง น่าจะทำให้เรามีความสุขในชีวิตตนเองมากขึ้น Happiest in my life

นายสุทัด ครองชนม์

หนังสือ On Managing People เป็นหนังสือจาก Harvard Business Review ที่พูดถึง 10 เรื่องที่เราควรอ่านเกี่ยวกับการบริหารบุคคล เพื่อช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจประเด็นสำคัญที่เป็นพื้นฐานของทักษะการบริหารบุคคลที่ผู้จัดการทุกคนควรที่จะเรียนรู้ ในแต่ละหัวข้อเขียนโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะของการเป็นผู้นำและมีประสบการณ์ในการบริหารบุคคล ซึ่งจะช่วยให้ผู้จัดการสามารถพัฒนาตนเองในการทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือแม้แต่ผู้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดี และสามารถตอนคำถามเกี่ยวกับการสร้างแรงจูงใจให้กับคน การเผชิญกับปัญหาของพนักงาน และการสร้างทีมให้ยิ่งใหญ่ เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วย

1. Leadership that gets results ซึ่งพูดถึงลักษณะของผู้นำที่มีหลายแบบ ซึ่งผู้นำที่ดีต้องสามารถปรับตัวตามสถานการณ์ต่าง ๆ แม้ว่าผู้นำแต่ละคนจะเติบโตมาต่างกัน แต่เมื่อต้องมาเป็นผู้นำแล้วก็จำเป็นต้องปรับตัวให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ ตัวอย่างของผู้นำเช่น

Coercive Leader, Authoritative Leader, Affiliative Leader, Democratic Lerder, Pacesetting Leader, Coaching Leader

ผู้นำที่มีประสบการณ์และประสบความสำเร็จมักจะเป็นผู้นำที่มี EQ สูง เช่น ท่านนายกฯ พลเอกประยุทธ ท่านเป็นผู้นำที่เติบโตจากการเป็นทหาร เติบโตจากการรับคำสั่งเมื่อครั้งยังมีตำแหน่งเล็ก ๆ จนเติบโตเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในกองทัพบก เมื่อมาเป็นนายกรัฐมนตรีใหม่ ๆ จึงปกครองแบบ Top down แต่ปัจจุบันหลังจากเป็นนายกรัฐมนตรีมากว่า 3 ปี ปัจจุบันเริ่มปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์มากขึ้น

2. One more time : How do you motivate employees?

3. The set-up-to-fail syndrome

4. Saving your rookie manager from themselves

5. What great managers do

6. Fair process : Managing in the knowledge economy

7. Teaching smart people how to learn

8. How (Un)ethical are you?

9. The discipline of teams

10. Managing your boss

สำหรับหัวข้อที่ผมชอบมากที่สุดคือหัวข้อที่ 4 ซึ่งตรงกับชีวิตการทำงานของผมตลอดเกือบ 30 ปี ที่พูดถึงผู้จัดการใหม่ที่เมื่อได้รับตำแหน่งผู้จัดการแล้ว ไม่มีโรงเรียนที่สอนเกี่ยวกับการบริหารงานทีมงาน คนที่เป็นผู้จัดการส่วนใหญ่เติบโตจากการเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาของตนเอง เมื่อต้องมาบริหารทีมงานมักจะใช้ความเชี่ยวชาญในสาขาของตนมาบริหารงาน เราจึงมักเห็นผู้จัดการมาทำงานแทนลูกน้องเพราะไม่เข้าใจว่าตนเองต้องทำงานอย่างไร ผู้จัดการใหม่ควรจะต้องมุ่งประเด็นการทำงานของตนไปที่ Delegating, getting support from above management, projecting confidence, focusing on the big picture and giving constructive feedback

ภญ. วลัยลักษณ์ วิทย์กิตติลักษณ์

วิเคราห์หนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

หนังสือเล่มนี้ ชื่อก็บอกเเล้วว่าเน้นเรื่อง ทรัพยากรมนุษย์ เน้นคุณค่าในตัวคนมากกว่าเน้นที่วัตถุสิ่งของ โดยการนำเรื่องของบุคคลที่รงคุณค่าอย่าง ท่านพารณ เเละ ดร.จีระ มาถ่ายทอดความรู้ในรูปแบบบทสนทนา ให้เห็นความสำคัญของการพัฒนาคนในองค์กร โดยจะเห็นอุดมการ์ณที่มุ่งมั่นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งท่านทั้งสองได้ทำมาตลอดชีวิตของท่านก็ว่าได้

ในหนังสือจะได้รู้ถึงเเนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้ เช่น 4L (แนวคิดเหมือนกันต่างกันที่วิธีการเท่านั้น) เข้าใจถึงเเนวทางในการทำงานของท่านทั้งสอง พร้อมทั้งกลยุทธ์ในการสร้างเเรงจูงใจการพัฒนาตนเองสู่ความเป็นเลิศในองค์กรจากการสร้างเเรงจูงใจ

หากประเทศไทยมีเเผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ชัดเจนเเละต่อเนื่องๆๆ ให้ความสำคัญในอันดับเเรกๆจะทำให้ประเทศเราชนะประเทศอื่นๆได้ย่างเเน่นอนยกตัวอย่างเช่น ญี่ปุ่นเเละสิงคโปร์ มีการพัฒนาคนอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ ถึงวันนี้ประเทศเหล่านี้ก็พิสูจน์ให้เห็นเเล้วว่า การพัฒนาคนสำคัญกว่าสิ่งอื่นใดเพราะคนเป็นสิ่งขับเคลื่อนสำคัญของทั้งองค์กรเเละประเทศ

ภญ. วลัยลักษณ์ วิทย์กิตติลักษณ์

Q: Inside the boxes, Outside the boxes, New boxes ต่างกันอย่างไร จงอธิบาย

Inside the boxes: หมายถึง กรอบเเนวคิด วิธีการเเบบเดิมๆ วิถีประชา มักเป็นความคิดหรือการกระทำที่เป็นไปตามรูปแบบหรือกฏเกณฑ์เดิมๆ เช่น หากเป็นสินค้า ก็จะเป็นสินค้ารูปแบบเดิม ตอบสนองความต้องการของลูกค้ากลุ่มเดิมๆ เช่น ยาพาราเซตามอล มีการใช้อย่างกว้างขวางทุกวันนี้ก็ยังใช้ยาตัวนี้ในรูปแบบเดิม ขนาดการรับประทานเท่าเดิม มูลค่ายาตัวนับวันยิ่งถูกลงๆ หรือ ยาสมุนไพรไทยมีรูปแบบการปรุงอย่างไรก็ทำอย่างนั้นกันมาตลอด

Outside the boxes : หมายถึง การคิดนอกกรอบเเนวคิดเดิมๆ มักเป็นความคิดหรือการกระทำที่ต่างไปจากรูปแบบหรือกฏเกณฑ์เดิมๆ ตอบสนองลูกค้ากลุ่มเดิมเพิ่มเติมคือความสะดวก สบายในการใช้ เช่น สินค้าสมุนไพรนำมาต่อยอดโดยใส่นวัตกรรมนาโนเทคโนโลยีเพื่อช่วยประสิทธิภาพการดูดซึมที่ดีขึ้น ออกฤทธิ์อย่างตรงจุด เเละมีพิษต่อตับไตน้อยลง ใช้ได้ง่ายขึ้นในรูปแบบต่างๆโดยไม่ต้องนำมาต้มอีกเเล้ว

New boxes : คือ กรอบเเนวคิดใหม่ที่หลุดพ้นออกจากกรอบเดิม เช่น การสร้างipad iphone ของบริษัทapple เป็นการสินค้าตัวใหม่ของโลก ทั้งโลกฮือฮากับสินค้าตัวนี้ ไม่ว่าจะเป็นการย่อโลกไว้ในมือ ใช้ง่ายสะดวก พกพาไปไหนมาไหนสะดวก ใช้ได้หลายฟังก์ชั่น ไม่ว่าจะเป็นกล้องถ่ายรูป การสไลด์ด้วยมือ เเทนการเลื่อนเม้าส์เเบบเดิมๆ ตอบสนองต่อลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ที่มีความต้องการต่างออกไปจากเดิม เป็นต้น



นายสุทัด ครองชนม์

Workshop Think outside the box ให้เลือกทำ 1 ข้อจาก 6 ข้อ ผมเลือกทำข้อ 2

ในบริบทของกระทรวงศึกษาธิการ จำเป็นหรือไม่ที่ผู้นำจะต้องมี Think outside the box และประโยชน์คืออะไร

พันธกิจของกระทรวงศึกษาธิการ 2 ใน 5 ข้อ คือ

ข้อ 2 การส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมหรือจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยให้ประชาชน

ข้อ 3 พัฒนาการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยให้ประชาชนมีโอกาสเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ

ซึ่ง 2 ข้อนี้ตรงกับแนวทาง Chira's Way ของท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ใช้แนวทางส่งเสริมให้ประชาชนในทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม และสนใจที่จะเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ซึ่งจะเห็นได้จากการนำเสนอผ่านหนังสือพิมพ์แนวหน้าในทุกสัปดาห์ จากรายการวิทยุที่ท่านนำเสนอ เพราะแม้ว่าในปัจจุบันท่านจะมีอายุกว่า 70 ปีแล้ว แต่ท่านก็เป็นต้นแบบของการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ทำให้บทความ บทสัมภาษณ์ หรือเนื้อหารายการที่ท่านจัด เป็นเนื้อหาใหม่ ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

ผู้นำในกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน จำเป็นที่จะต้อง Think outside the box เพราะที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่พัฒนาทุนมนุษย์ของประเทศ มีงบประมาณจำนวนมาก แต่มีการเปลี่ยนแปลงผู้นำหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงบ่อยครั้งมากเมื่อเทียบกับกระทรวงอื่น ๆ ในขณะที่เมื่อมีองค์การที่เกี่ยวกับการศึกษาจัดอันดับการศึกษาของไทยเทียบกับประเทศอื่น ๆ ดูเหมือนว่าคุณภาพการศึกษาของไทยมีแต่ถดถอยลงในทุก ๆ ปี ดังนั้น ผมมีความเห็นว่าผู้นำของกระทรวงศึกษาธิการ จำเป็นต้อง Think outside the box โดยคำนึงถึง 2R's ของอาจารย์จีระ คือ Reality และ Relevance

Reality คือ ความจริงที่รัฐมนตรีว่าการหรือผู้นำที่กำหนดนโยบาย มีระยะเวลาในการบริหารงานสั้นมาก ดังนั้น นโยบายที่ผู้นำกำหนดไว้ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้นำนโยบายเดิมก็ไม่ถูกนำมาสานต่อ แต่มีการกำหนดนโยบายใหม่ ดังนั้น ผู้นำของกระทรวงศึกษาควร Think outside the box ในประเด็นที่ว่า ทำอย่างไรเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้นำแล้ว นโยบายดี ๆ ที่มีประโยชน์จะถูกนำมาปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

Relevance คือ การแก้ปัญหาระบบการศึกษาของไทยให้ตรงประเด็น ที่ผ่านมาเรามักจะมองไปที่งบประมาณ มีการตั้งงบประมาณจำนวนมากและเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี เพื่อหวังว่าจะแก้ปัญหาระบบการศึกษาของไทยให้ดีขึ้น ในประเด็นนี้ผมเสนอว่าผู้นำของกระทรวงศึกษาต้อง Think outside the box โดยหากนำแนวทาง 4L's ที่อาจารย์จีระนำเสนอไว้คือ

Learning Methodology

Learning Environment

Learning Opportunities

Learning Communities

มาปรับใช้ให้ตรงกับสภาพปัญหาของคนไทย สังคมไทย วัฒนธรรมแบบไทย ๆ น่าจะทำให้การแก้ปัญหาทำได้ดีขึ้น ที่ผ่านมากระทรวงศึกษาอาจจะพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยนำ 4L's ของอาจารย์จีระมาปรับใช้บ้าง เช่น การใช้นโยบาย Learning Opportunities โดยจัดให้มีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม การแจกแทบเล็ตให้กับเด็กนักเรียน แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้นำนโยบายดังกล่าวก็ถูกระงับไป การแก้ปัญหาการศึกษาของไทยจึงต้อง Think outside the box โดยการสร้างวัฒนธรรมของการเรียนรู้แบบ 4L's และต้องทำทุกหัวข้อและทุกขั้นตอนอย่างเป็นระบบ คำว่า สร้างวัฒนธรรม เป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานพอที่แม้ไม่มีนโยบายคนที่เกี่ยวข้องก็จะทำโดยอัตโนมัติเหมือนวัฒนธรรมการไหว้ เป็นต้น

ดังนั้น หากผู้นำของกระทรวงศึกษา Think outside the box โดยการนำ 2R's และ 4L's มาปรับใช้ในรูปแบบใหม่ ๆ ที่ไม่เคยทำน่าจะมีประโยชน์กับการแก้ไขปัญหาระบบการศึกษาของไทยในอนาคต

การบ้าน ครั้งที่ 2: 15 มกราคม 2560

จากบทสนทนาอาจารย์จิระและ รศ. ธงทอง จันทรางศุ ในรายการไทยมุง ดังนี้

1. การปฏิรูปการศึกษาไทยในยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0

ยุทธศาสตร์ ไทยแลนด์ 4.0 คือ กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) ที่มีเป้าหมายจะให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และนำไปสู่การพัฒนาให้คนไทยมีความสุข และตอบสนองต่อการบรรลุซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติ ในการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างรายได้ระดับสูง และสร้างความสุขของคนไทย สังคมมีความมั่นคง เสมอภาคและเป็นธรรม ประเทศสามารถแข่งขันได้ในระบบเศรษฐกิจ

ในยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 โครงสร้างเศรษฐกิจจะเป็น “Value–Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” โดยมีฐานคิดหลัก คือ เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม” .เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม และเปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น เปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง

“การศึกษา” ถือเป็นรากฐานในการการพัฒนาในทุกๆ ด้าน และถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว (Long Term Competitiveness) การศึกษาจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับคุณภาพแรงงานให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงสู่ยุค Thailand Economy 4.0 การปฏิรูปการศึกษาจึงต้องควรมองทั้งระบบ ไม่สามารถปฏิรูปเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ อาทิ

  • โครงสร้างการศึกษาตั้งแต่การศึกษาภาคบังคับ จนถึงระดับอุดมศึกษา และสายอาชีพ
  • หลักสูตรการศึกษาในแต่ละระดับ และการประเมินผลการศึกษา (วิธีการเรียน วิธีการสอน วิธีการสอบวัดผล)
  • คุณภาพและมาตรฐานของบุคลากรทางการศึกษา

การปฏิรูปการศึกษาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ระบบการศึกษาที่จะตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงในอนาคต กระทรวงศึกษาธิการควรคำนึงถึงเป้าหมายในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต และควรให้น้ำหนักต่อกระบวนการเรียนรู้มากกว่าสาระวิชา ซึ่งนับวันสาระวิชาในปัจจุบันอาจจะไม่ตอบโจทย์ตลาดแรงงานในอนาคต ควรจะเน้นถึงทักษะ ต้องปรับเปลียนความมุ่งเน้นที่ “สาระวิชา” เพียงอย่างเดียว ไปสู่การมุ่งพัฒนาและเรียนรู้ ทักษะที่เป็นที่ต้องการในอนาคต ด้วย เช่น ความคิดสร้างสรรค์ การคิดเชิงวิเคราะห์ การแก้ปัญหา ทักษะองค์การ ทัศนคติเชิงบวก ความเคารพตนเอง นวัตกรรม การสื่อสาร การเจรจาต่อรอง ซึ่งทักษะส่วนใหญ่เหล่านี้ครูจะเป็นผู้สอนไม่ได้ แต่ต้องให้นักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครูจะออกแบบการเรียนรู้ และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ทำหน้าที่กระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วม เพื่อจะเป็นการสร้างและปลูกฝังทักษะเหล่านี้

การปฏิรูปหลักสูตรในแต่ละระดับนั้น ควรจะเน้นการปฏิรูปวิธีการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์ หาเหตุผล และประยุกต์ได้ กระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมจะสร้างทักษะให้ผู้เรียนมีความสามารถควรเน้นถึงทักษะที่มีความจำเป็น มากกว่าวิธีการเรียนรู้แบบท่องจำ เพื่อสอบให้ได้ ลักษณะของหลักสูตรที่จะรองรับยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 ควรเป็นลักษณะสหวิทยาการ มีการให้การบ้านหรือโครงงาน (project-based) เน้นการค้นคว้าวิจัย (research-driven) เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง ให้นักเรียนค้นคว้าหาคำตอบ เน้นความร่วมมือระหว่าง ท้องถิ่น ชุมชน หรือแม้แต่ภาคธุรกิจ เพื่อให้ได้บุคลากรที่ตรงกับความต้องการ

โดยสรุป การปฏิรูปการศึกษาในยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 ต้องให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนวิธีการสอน ลดการเรียนรู้ภาควิชาการ และการท่องจำเพื่อให้สอบผ่าน แล้วหันไปให้น้ำหนักกับการสร้างทักษะในการเรียนรู้และปรับตัวของผู้เรียนให้สามารถพัฒนาตนเองได้ตลอดชีวิต เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และไม่ควรจำกัดการเรียนอยู่เพียงแค่ในตำรา หรือในห้องเรียนเท่านั้น และบทบาทของผู้สอนก็จะต้องเป็น Facilitator หรือ coach ที่แนะนำ กระตุ้น และสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้

นั่นหมายถึง การปฏิรูปครูผู้สอน คุณสมบัติของครูซึ่งจะต้องมีทั้งความรู้ทางด้านวิชาการและทักษะต่างๆ และ วิธีการประเมินผลการเรียนที่แตกต่างออกไปจากปัจจุบันที่เน้นการสอบ เพียงอย่างเดียว

2. เสนอโครงการเพื่อปฏิรูปการศึกษาไทยในปัจจุบัน

โครงการที่อยากนำเสนอคือ การพัฒนาครูต้นแบบสำหรับการสอนเพื่อพัฒนาทักษะ ปัจจุบันระบบการศึกษาไทยเป็นไปในลักษณะครูสอนตามตำรา นักเรียนท่องจำเพื่อสอบให้ได้ ทำให้เด็กไทยมีขาดความสามารถในการคิด วิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา และคิดสร้างสรรค์ สิ่งที่แต่ละโรงเรียนสามารถทำได้เลยโดยไม่ต้องรอการปรับหลักสูตร การนำเอา 4L’sซึ่งอาจต้องใช้เวลานาน คือ การนำเอา 4L’s มาประยุกต์ใช้ในห้องเรียน การพัฒนาครูผู้สอนให้ปรับเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอน (tech) มาเป็น โค้ช หรือ ผู้อำนวยความสะดวก (Facilitate) เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนและห้องเรียน มีบรรยากาศของการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

โดยในปีแรกอาจกำหนดให้แต่ละโรงเรียนมีครูต้นแบบอย่างน้อย ๑ คน ในแต่ละระดับชั้น และสร้างเครือข่ายครูต้นแบบของแต่ละโรงเรียน และเพิ่มจำนวนหรือขยายเครือข่ายในอนาคต

วิพากษ์หนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ โดยพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้” เป็นหนังสือที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นหนังสือทางวิชาการที่ครบถ้วนและเป็นระบบที่ผ่านการปฎิบัติและประสบการณ์จริงมาแล้ว จะกล่าวไปเหมือนกับหนังสือชีวประวัติการทำงานของบุคคลที่มากประสบการณ์ทางด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 2 ท่าน หนังสือแบ่งออกเป็น 5 ช่วงหลักๆ คือ

  • เรื่องของสองแชมป์
  • คัมภีร์คนพันธ์แท้
  • จักรวาลแห่งการเรียนรู้
  • สูตรเพิ่มผลผลิต
  • นิยาม “ทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้”

สิ่งที่ทำให้หนังสือเล่มนี้โดดเด่นและน่าสนใจโดยเฉพาะกับผู้อ่าน คือ หนังสือเล่มนี้สะท้อนให้เห็นถึงทฤษฎี 2R คือ Reality และ Relevance

ความคล้ายคลึงกันของทั้งคุณพารณ และ ดร. จีระ มีความเชื่อในปรัชญาของทรัพยากรมนุษย์ ว่า “คนถือเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุดขององค์กร” ทั้งสองท่านมีเป้าหมายเดียวกัน คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน เน้นเรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่ม มุ่งมั่นกับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรมนุษย์ เน้นเรื่องการวัดผล ความยั่งยืนในระยะยาว และมองการบริหารบุคลากรในองค์กรเป็นยุทธศาสตร์ (Strategy) และมีความเชื่อในเรื่องการลงทุนในการพัฒนาศักยภาพของคนการสร้างบรรยากาศของการเรียนรู้ มีวิธีการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่คล้ายคลึงกัน แม้ว่าทฤษฎี 4L’s ของทั้งสองแตกต่างกันแต่อยู่บนเป้าหมายเดียวกัน โดย 4L’s ของคุณพารณ เน้นสังคมของการเรียนรู้ในระดับต่างๆ ตั้งแต่ หมู่บ้าน- โรงเรียน- อุตสาหกรรม– ชาติ ในขณะที่ 4L’s ของ ดร. จีระ เน้นถึง วิธีการ – บรรยากาศ- โอกาส- ชุมชน

สิ่งที่ทั้งสองท่านมีความเหมือนกัน คือ ทั้งสองท่านมีมุมมองทางด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับมหภาค (macro) และมีวิสัยทัศน์ในระยะยาว และสามารถนำปรัชญาแนวคิด และความเชื่อ มาทำให้เกิดแนวทางปฏิบัติที่เป็นไปได้ และท่านได้ทำเป็นแบบอย่าง (Role Model) แม้ว่าท่านทั้งสองจะอยู่ในสิ่งแวดล้อมองค์กรต่างกัน ในขณะที่คุณพารณอยู่ในภาคธุรกิจ ซึ่งคำนึงถึงผลประกอบการ ความสามารถในแข่งขันทางธุรกิจ แต่ ดร. จีระอยู่ในภาคการศึกษา มหาวิทยาลัยซึ่งมีตัวชี้วัดที่แตกต่างจากภาคธุรกิจ แต่ท่านทั้งสองมีความเชื่อในเรื่องศักยภาพของมนุษย์ ความสำคัญของทุนมนุษย์เหมือนกัน และสิ่งที่สำคัญทั้งสองท่านให้ความสำคัญในเรื่องของ จริยธรรม คุณธรรม มากกว่า ความสามารถ หรือ ดีมากกว่าเก่ง

หนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้” เป็นหนังสือที่สร้างแรงบันดาลใจ และเป็นแนวทางในการศึกษาสำหรับผู้บริหารองค์กรต่างๆ เพื่อให้มีความเข้าใจถึงความสำคัญ และหลักสำคัญในการพัฒนาทุนมนุษย์ผ่านมุมมองของผู้ที่มีประสบการณ์และเป็นทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้ ทำให้เราสามารถนำกรอบแนวคิด วิธีการ ที่ท่านทั้งสองใช้ไปประยุกต์และปรับใช้ในองค์กรของตนเองอย่างเหมาะสม

อุปสรรคของ Outside the box แบ่งออกเป็น 3 ระดับหลัก

  • ระดับองค์กร: กฎระเบียบ วัฒนธรรมองค์กร ไม่มีวัฒนธรรมของการเรียนรู้ และแบ่งปันร่วมกัน ลักษณะการทำงานจะเป็นแบบต่างคนต่างทำ แผนกใครแผนกมันเป็น silo และยังคงจำกัดอยู่ในกรอบการทำงานแบบ Routine
  • ระดับผู้บริหาร: สไลต์การบริหารงาน หรือ ผู้นำ/หัวหน้า มีลักษณะเป็น Top Down เช่นองค์กรราชการ หรือเอกชนที่เจ้าของเป็นผู้บริหาร เน้นการบริหารงานแบบ Command & Control เป็นผู้นำแบบ coercive style ผู้นำไม่เปิดโอกาสหรือไม่สร้างบรรยากาศในการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ทำให้พนักงานไม่กล้าแสดงความคิดเห็น
  • ระดับผู้ปฏิบัติงาน: มีความรู้จำกัดเฉพาะงานในหน้าที่ ไม่ใฝ่หาความรู้ใหม่ๆ การทำงานระหว่างทีมหรือระหว่างแผนกไม่ดี ทำให้ขาดความรู้ความเข้าใจที่หลากหลาย ขาดมุมมองใหม่ๆ ไม่มีมีความคิดสร้างสรรค์ และไม่กล้าตั้งคำถามหรือเสนอความคิดเห็น กลัวผิด

การที่จะสร้างบรรยากาศเพื่อนำไปสู่ Thinking outside the box จึงควรเริ่มที่ผู้นำ ซึ่งจะต้องสร้างบรรยากาศในการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ผู้นำต้องเป็นผู้ฟังที่ดี และกระตุ้นให้เกิดการตั้งคำถาม การตั้งสมมุติฐาน การหาทางเลือกใหม่ๆ สนับสนุนให้มีการทำงานร่วมกันโดยเฉพาะ การทำงานระหว่างแผนก เป็นการผสมผสานแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ของทีม ทำให้แต่ละทีมก้าวออกจาก comfort zone ของตน สนับสนุนให้มีการนำเสนอความคิดใหม่ๆ ที่แตกต่างไปจากเดิม มีแรงจูงใจ รางวัล และกล้าที่จะนำความคิดใหม่ๆ มาปฏิบัติ

อย่างไรก็ดี Thinking outside the box ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าจะดีกว่า Inside the box. การที่จะ Thinking Outside The ฺbox เราต้องแน่ใจก่อนว่า อยู่ในกล่องเดิมเราทำดีที่สุดแล้วหรือยัง ในบางกรณีเราต้องทำทั้ง Inside the box และ outside the box ทั้งนี้ Thinking Outside The box ต้องมีอย่างน้อย V หนึ่งตัวใน 3V ด้วย คือ Value Added, Value Creation และ Value Diversity


วารุณี พูนพิพัฒน์กิจ

^บทสนทนา รศ.ธงทอง จันทรางศุ และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมย์ ในรายการไทยมุง

1. การปฏิรูปการศึกษาไทยในยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0

วิสัยทัศน์ไทยแลนด์ 4.0 “ มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน” เป็นรูปแบบที่มีการผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม “Value-Based Economy”โดยเน้นเชิงบริการ นวัตกรรมและเน้นปรับแรงงานที่มีอยู่ให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและทักษะสูง การปฏิรูปการวิจัยและพัฒนา และการปฏิรูปการศึกษา

จากบทสนทนานี้สามารถนำมาปฏิรูปการศึกษาในยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 ดังนี้

รศ.ธงทอง ได้กล่าวว่า ควรปลูกฝังให้คนมีค่านิยม( Value) คือความดีและการคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ให้เป็นสังคมใช้ปัญญา คนดีและมีคุณภาพ จึงต้องมีการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ ให้มีทุนมนุษย์ (Human Capital) จะเห็นคุณค่าและความแตกต่างกันในคุณภาพของทุนมนุษย์ (Quality of Human Capital) ยกตัวอย่างเช่น คนที่เรียนเก่งในทางวิชาการกับคนที่เรียนไปทำกิจกรรมไป ถ้ามีทุนมนุษย์ที่ไม่เท่ากัน คนที่เรียนไปทำกิจกรรมจะประสบความสำเร็จมากกว่า

ดร.จีระได้เสริมว่าเรียน เล่น กิจกรรมคือบริบทแห่งความสุข ซึ่ง พฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมี เพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ คือ ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ซึ่งเมื่อมีความสุขที่เกิดขึ้นในทางใฝ่ดีจะถูกขับเคลื่อนไปสู่การคิดดี ปฏิบัติดีและไปสู่ผลสัมฤทธิ์ที่ดี

การเสนอโครงการเพื่อปฏิรูปการศึกษาไทยในปัจจุบัน

ในอดีตการศึกษาเริ่มต้นโดยการเชื่อมโยงของ บ้าน วัดและโรงเรียน ซึ่งทำให้เยาวชนได้รับการเรียนรู้ตามธรรมชาติ ซึ่งสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม วัฒนธรรม และประเพณีท้องถิ่น รวมทั้งซึมซับแบบอย่างที่ดีจากชุมชน ทั้งด้านศาสนา คุณธรรมและจริยธรรม

ดังนั้นโครงการปฏิรูปการศึกษาควรยึดตามแบบเดิมที่เรียกว่า บวร คือ บ้าน วัด โรงเรียน ทำให้เกิดความแข็งแกร่งโดยเพิ่มนวัตกรรมและไอที แต่ยังคงยึดแกนกลางในอดีตไว้

บ้านหรือครอบครัว พ่อ แม่ รู้บทบาทหน้าที่ของตัวเองในการเพาะบ่มลูก(ปลูก) ควบคุมความประพฤติ ปลูกฝังค่านิยมดีคุณธรรม จริยธรรมโดยทำเป็นแบบอย่าง ไม่ใช่กล่าวเพียงวาจา ลูกจะซึมซับแบบอย่างที่ดีจากการกระทำที่ลูกเห็น ลูกจะจดจำ เชื่อมโยงและสั่งสมประสบการณ์มากขึ้น จนนำมาปฏิบัติว่าอะไรควรทำและอะไรไม่ควรทำ จนถึงขั้นมีจิตใต้สำนึกที่ดี แสดงออกทางพฤติกรรมที่เหมาะสม (เก็บเกี่ยว)ยกตัวอย่างเช่น การเรียนหนังสือคือหน้าที่ลูก ดังนั้นการฟังคุณครู การบ้าน รายงานคือสิ่งที่ลูกต้องรับผิดชอบ ทำเอง แบ่งเวลาเป็น อย่าไปสร้างค่านิยมเรื่องคะแนนที่เป็นความคาดหวัง ให้ยอมรับความเป็นจริง มองความจริง(Reality) และแก้ปัญหาหรือช่วยเหลือให้ตรงประเด็น (Relevance) ในสิ่งที่ลูกขาดทักษะ โดยการแนะนำจากการทำไปด้วยกัน จากการตั้งคำถามเพี่อฝึกให้เกิดกระบวนการคิด เมื่อสั่งสมไปเรื่อยๆจากการเลี้ยงดู จะเกิดการเรียนรู้ จากการฟัง การสังเกตและลงมือทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลูกฝังนิสัยรักการอ่านหนังสือ หากเพาะบ่มดังที่กล่าวมาจะนำไปสู่การเรียนรู้เชิงลึกใน 3 L’S และ C-U-V ส่งผลให้เติบโตเป็นคนคิดเป็น ทำเป็นและแก้ปัญหาเป็น

วัด โรงเรียนและสถานศึกษาทุกประเภท ต้องเป็นแหล่งสร้างการเรียนรู้ เพาะบ่มให้นักเรียนรู้หน้าที่ การปฏิบัติให้ถูกกาลเทศะและกาลเวลา สิ่งสำคัญคือครูมิใช่ผู้สอน โดยไม่สนใจนักเรียนเพียงแต่ใส่ข้อมูลให้ครบถ้วนตามสิ่งที่เตรียมมา แต่ต้องเป็นผู้ให้การสอน คือให้การสอนเมื่อนักเรียนต้องการคำแนะนำ อีกทั้งต้องมีความตั้งใจ (Intention) ในการปฏิบัติตนป็นต้นแบบ (Role Model) ให้กับนักเรียน โดยให้การสอนตามหลัก 4L’s โดยใช้วิธี 2I’s Inspiration & Imagination นักเรียนจะตระหนักในคุณค่าของการเรียนรู้รอบด้าน มิใช่เพียงแต่วิชาการด้านเดียว เมื่อนักเรียนมีสิ่งเหล่านี้ในตัวเองจะสามารถนำพาตนเองไปสู่การเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Self Directed Learning) เมื่อฝึกฝนนักเรียนจะสั่งสมประสบการณ์มากขึ้นเรื่อยๆจนกลายเป็นความท้าทายอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ กัดไม่ปล่อยยากทำสิ่งใดต้องทำจนสำเร็จ เมื่อเติบโตขึ้นจะมีวิธีการเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Live Long Learning)

สิ่งที่จะทำให้เกิดการขับเคลื่อนคือคนทุกคนที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่นวัตกรรมและไอที หากแต่พัฒนาคนให้มี 8K’s และ5 K’s ใหม่ รวมทั้งยังคงยึดแกนกลางในอดีตไว้จะสามารถปฏิรูปการศึกษาไทยได้อย่างยั่งยืนบทสนทนา รศ.ธงทอง จันทรางศุ และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมย์ ในรายการไทยมุง

1. การปฏิรูปการศึกษาไทยในยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0

วิสัยทัศน์ไทยแลนด์ 4.0 “ มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน” เป็นรูปแบบที่มีการผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม “Value-Based Economy”โดยเน้นเชิงบริการ นวัตกรรมและเน้นปรับแรงงานที่มีอยู่ให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและทักษะสูง การปฏิรูปการวิจัยและพัฒนา และการปฏิรูปการศึกษา

จากบทสนทนานี้สามารถนำมาปฏิรูปการศึกษาในยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 ดังนี้

รศ.ธงทอง ได้กล่าวว่า ควรปลูกฝังให้คนมีค่านิยม( Value) คือความดีและการคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ให้เป็นสังคมใช้ปัญญา คนดีและมีคุณภาพ จึงต้องมีการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ ให้มีทุนมนุษย์ (Human Capital) จะเห็นคุณค่าและความแตกต่างกันในคุณภาพของทุนมนุษย์ (Quality of Human Capital) ยกตัวอย่างเช่น คนที่เรียนเก่งในทางวิชาการกับคนที่เรียนไปทำกิจกรรมไป ถ้ามีทุนมนุษย์ที่ไม่เท่ากัน คนที่เรียนไปทำกิจกรรมจะประสบความสำเร็จมากกว่า

ดร.จีระได้เสริมว่าเรียน เล่น กิจกรรมคือบริบทแห่งความสุข ซึ่ง พฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมี เพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ คือ ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ซึ่งเมื่อมีความสุขที่เกิดขึ้นในทางใฝ่ดีจะถูกขับเคลื่อนไปสู่การคิดดี ปฏิบัติดีและไปสู่ผลสัมฤทธิ์ที่ดี

การเสนอโครงการเพื่อปฏิรูปการศึกษาไทยในปัจจุบัน

ในอดีตการศึกษาเริ่มต้นโดยการเชื่อมโยงของ บ้าน วัดและโรงเรียน ซึ่งทำให้เยาวชนได้รับการเรียนรู้ตามธรรมชาติ ซึ่งสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม วัฒนธรรม และประเพณีท้องถิ่น รวมทั้งซึมซับแบบอย่างที่ดีจากชุมชน ทั้งด้านศาสนา คุณธรรมและจริยธรรม

ดังนั้นโครงการปฏิรูปการศึกษาควรยึดตามแบบเดิมที่เรียกว่า บวร คือ บ้าน วัด โรงเรียน ทำให้เกิดความแข็งแกร่งโดยเพิ่มนวัตกรรมและไอที แต่ยังคงยึดแกนกลางในอดีตไว้

บ้านหรือครอบครัว พ่อ แม่ รู้บทบาทหน้าที่ของตัวเองในการเพาะบ่มลูก(ปลูก) ควบคุมความประพฤติ ปลูกฝังค่านิยมดีคุณธรรม จริยธรรมโดยทำเป็นแบบอย่าง ไม่ใช่กล่าวเพียงวาจา ลูกจะซึมซับแบบอย่างที่ดีจากการกระทำที่ลูกเห็น ลูกจะจดจำ เชื่อมโยงและสั่งสมประสบการณ์มากขึ้น จนนำมาปฏิบัติว่าอะไรควรทำและอะไรไม่ควรทำ จนถึงขั้นมีจิตใต้สำนึกที่ดี แสดงออกทางพฤติกรรมที่เหมาะสม (เก็บเกี่ยว)ยกตัวอย่างเช่น การเรียนหนังสือคือหน้าที่ลูก ดังนั้นการฟังคุณครู การบ้าน รายงานคือสิ่งที่ลูกต้องรับผิดชอบ ทำเอง แบ่งเวลาเป็น อย่าไปสร้างค่านิยมเรื่องคะแนนที่เป็นความคาดหวัง ให้ยอมรับความเป็นจริง มองความจริง(Reality) และแก้ปัญหาหรือช่วยเหลือให้ตรงประเด็น (Relevance) ในสิ่งที่ลูกขาดทักษะ โดยการแนะนำจากการทำไปด้วยกัน จากการตั้งคำถามเพี่อฝึกให้เกิดกระบวนการคิด เมื่อสั่งสมไปเรื่อยๆจากการเลี้ยงดู จะเกิดการเรียนรู้ จากการฟัง การสังเกตและลงมือทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลูกฝังนิสัยรักการอ่านหนังสือ หากเพาะบ่มดังที่กล่าวมาจะนำไปสู่การเรียนรู้เชิงลึกใน 3 L’S และ C-U-V ส่งผลให้เติบโตเป็นคนคิดเป็น ทำเป็นและแก้ปัญหาเป็น

วัด โรงเรียนและสถานศึกษาทุกประเภท ต้องเป็นแหล่งสร้างการเรียนรู้ เพาะบ่มให้นักเรียนรู้หน้าที่ การปฏิบัติให้ถูกกาลเทศะและกาลเวลา สิ่งสำคัญคือครูมิใช่ผู้สอน โดยไม่สนใจนักเรียนเพียงแต่ใส่ข้อมูลให้ครบถ้วนตามสิ่งที่เตรียมมา แต่ต้องเป็นผู้ให้การสอน คือให้การสอนเมื่อนักเรียนต้องการคำแนะนำ อีกทั้งต้องมีความตั้งใจ (Intention) ในการปฏิบัติตนป็นต้นแบบ (Role Model) ให้กับนักเรียน โดยให้การสอนตามหลัก 4L’s โดยใช้วิธี 2I’s Inspiration & Imagination นักเรียนจะตระหนักในคุณค่าของการเรียนรู้รอบด้าน มิใช่เพียงแต่วิชาการด้านเดียว เมื่อนักเรียนมีสิ่งเหล่านี้ในตัวเองจะสามารถนำพาตนเองไปสู่การเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Self Directed Learning) เมื่อฝึกฝนนักเรียนจะสั่งสมประสบการณ์มากขึ้นเรื่อยๆจนกลายเป็นความท้าทายอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ กัดไม่ปล่อยยากทำสิ่งใดต้องทำจนสำเร็จ เมื่อเติบโตขึ้นจะมีวิธีการเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Live Long Learning)

สิ่งที่จะทำให้เกิดการขับเคลื่อนคือคนทุกคนที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่นวัตกรรมและไอที หากแต่พัฒนาคนให้มี 8K’s และ5 K’s ใหม่ รวมทั้งยังคงยึดแกนกลางในอดีตไว้จะสามารถปฏิรูปการศึกษาไทยได้อย่างยั่งยืน

วารุณี พูนพิพัฒน์กิจ

บทสัมภาษณ์คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ในรายการสู่ศตวรรษใหม่

จากแนวคิดของคุณพารณเรื่องคน ดิฉันเห็นด้วยอย่างยิ่งโดยแบ่งป็น 2 ด้าน

ด้านคน จะทำสิ่งใดให้ดีต้องมีความเชื่อ ศรัทธา และคุณธรรม ซึ่งทั้ง 3 สิ่งนี้ หากเกิดขึ้นในคนหรือกลุ่มคนที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ยกตัวอย่างเช่น อาจารย์กับนักศึกษา ผู้บริหารกับพนักงาน เป็นต้น จะทำให้เกิดการขับเคลื่อนไปในทิศทางกันเดียวกันให้ความร่วมมือ ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จะเกิดการยอมรับความเป็นจริงในความคิดที่เหมือนกันและต่างกันได้ ซึ่งนำไปสู่พหุปัญญา (Multiple Intelligences) นำไปสู่งานสำเร็จด้วยคนซึ่งเท่ากับคนมีคุณค่าขององค์กร ท่านจึงยกตัวอย่างในการใช้ใจประสานใจโดยการสร้างความผูกพันโดยดูแลพนักงานด้วยความรัก ตั้งแต่วันแรก ขณะทำงานรวมถึงเมื่อออจากการงาน ลดช่องว่างระหว่างผู้บริหาร โดยทานข้าวกับพนักงาน เป็นต้น

ด้านบริหาร เนื่องจากท่านเป็นวิศกร แต่ต้องมาบริหารเรื่องทรัพยากรมนุษย์ซึ่งส่วนใหญ่ผู้บริหารมักจะเป็นนักเศรษฐศาสตร์ จึงทำให้ท่านสามารถใช้ทุนเดิมมาประกอบกันจึงเป็นการบริหารงานที่ลงตัว โดยท่านมีมโนทัศน์มองไปข้างหน้าในเรื่องการใช้เทคโนโลยี เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องจักรสมัยใหม่ มาผสมผสาน โดยพัฒนาคนให้มีความรู้เพี่อมาใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมถึงมีการมอบอำนาจการตัดสินตามสายงาน การสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพี่อความรวดเร็ว ความคล่องตัวในเชิงบริหาร

ข้อคิดที่ได้จากการฟังบทสัมภาษณ์

- การบริหารต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์

- อย่าติดกับดักตัวเอง ทุกอย่างเกิดขึ้นจากการเรียนรู้ และพัฒนาเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Live Long Learning)

วารุณี พูนพิพัฒน์กิจ

วิเคราะห์หนังสือ Search Inside Yourself

จากหนังสือ Search Inside Yourself ทำให้ได้ 3 ประเด็นดังนี้

ประเด็นที่ 1 เป็นเรื่องจริง (Reality)

เพราะสอดคล้องกับศาสนาพุทธโดยได้พูดถึงการทำสมาธิ (Mindfulness) เมื่อบุคคลต้องการทำสมาธิโดยการฝึกจากข้างใน จะมีความต้องการและพยายามเรียนรู้และรับรู้ในสิ่งดี ดี ดังนั้นเมื่อเริ่มปฏิบัติและฝึกตนอย่างต่อเนื่อง จนจิตละเอียดจะส่งเป็นความสุข (Happiness) เกิดในตัวตน ส่งผลออกมาภายนอกเป็น Happiness at work และ Happiness work place ดังนั้นเมื่อมีความสุขในทุกด้านไม่ว่ามีสถานการณ์ใดเกิดขึ้นจะสามารถใช้ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligent) จัดการกับทุกเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้อย่างสมดุลและเหมาะสม

ประเด็นที่ 2 ตรงประเด็น(Relevance)

เพราะคนปกติจะไม่อยู่เพียงลำพัง ต้องมีการอยู่ร่วมกับผู้อื่นเสมอ สิ่งที่ทุกคนปรารถนาคือการได้อยู่ร่วมแบบได้รับการยอมรับ (Respect) สิ่งที่หนังสือได้กล่าวถึงคือ ความเอาใจใส่ (Empathy) และ 3 องค์ประกอบของแรงจูงใจ (Daniel Pink) คือ Autonomy ตัวเอง Mastery ปรารถทำให้ดีขี้น Purpose มุ่งหวังทำให้มากกว่าตัวเราและยังมีวิธีการสร้างแรงจูงใจให้ตนเอง โดยมองตน มองกว้างและมองไกล

ประเด็นที่ 3 จุดประกาย (Inspiration)

ในหนังสือเล่มนี้ทำให้เกิด 2I’s จุดประกาย (Inspiration) และสร้างแรงบันดาลใจ (Imagination) เกิดความคิดที่จะปรับเปลี่ยน Mindset ตัวเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากที่สุด โดยจากการอ่านอย่างมีสติ ขณะอ่านได้คิดตาม คิดในสิ่งที่เราได้ปฏิบัติและอยากพัฒนาในสิ่งที่ยังไม่ได้ลงมือปฏิบัติ ได้ค้นพบความเป็นจริงว่าทุกสิ่งเริ่มต้นจากการรู้จักตนเอง (Self –awareness) และสร้างทุนแห่งความสุข (HRDS) จะนำไปสู่การอยู่รอด (เพื่อตัวเอง) อยู่ร่วม (เพื่อสังคม)และอยู่อย่างมีความหมาย (เพื่อประเทศชาติ) ได้

วารุณี พูนพิพัฒน์กิจ

Workshop Think Outside the Box

ถ้าจะฝึกให้มีศักยภาพในการ Think Outside the Box ควรทำอย่างไร 5 เรื่อง

ในมุมมองส่วนตัวจะฝึกให้มีศักยภาพในการ Think Outside the Box ใน 5 มุมมองคือ

มุมมองที่1. เปลี่ยนความเคยชิน โดยเริ่มจากเรื่องใกล้ตัว เช่น ชอบขับรถขึ้นทางด่วน โดยไม่ศึกษาเสันทางทางราบ แต่เมื่อได้ขับรถบนถนนเส้นทางราบ จึงทำให้รู้จักสถานที่ รู้เส้นทางถนนที่เชื่อมโยงกันเหมือน เป็นบล็อคทำให้มีทิศทางและแผนที่เส้นทางเพิ่มเติมมากขึ้น หรือการใช้รถขนส่งสาธารณะ เช่นรถเมล์ bts จะได้เห็นกิจกรรมของผู้คน ร้านอาหาร และสถานที่ท่องเที่ยว ทำให้เห็นสภาพที่แท้จริงของสังคม เป็นต้น

มุมมองที่ 2. ก้าวผ่านความกลัว โดยพยายามสร้างโอกาสให้ตัวเองได้เรียนรู้และท้าทายสิ่งใหม่ เช่น การอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ แม้ว่าจะต้องใช้ความพยายามในการอ่าน เรียนรู้คำศัพท์เฉพาะ แต่ก้าวผ่านความกลัวโดยให้เวลาในฝึกฝนเป็นประจำ ใชัความพยายามในการเพิ่มพูนคลังคำศัพท์ เปิดฟังวิทยุช่องภาษาอังกฤษให้มากขึ้น เป็นต้น

มุมมองที่ 3. เป็นน้ำครึ่งแก้ว เริ่มต้นจากการฟัง ปรับทัศนคติตัวเอง ให้กำลังใจตัวเองในการเรียนรู้ ตั้งคำถามกับตัวเอง และตั้งคำถามกับเพื่อน อาจารย์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ รับรู้สิ่งใหม่ ทำให้เกิดเป็นความคิดเชิงเหตุผล (System thinking) ความรู้เชิงประจักษ์ (Empirical knowledge) และเรียนรู้วิธีการเรียนรู้ (Learning how to learn)

มุมมองที่4. แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง รู้เท่าทันว่าทุกคนมีส่วนดีในตนเอง ฝึกการคิดเชิงบวก พูดแต่คำสร้างสรรค์ เนื่องจากกิริยา ท่าทาง คำพูดเมื่อได้แสดงออกไปในทางที่ไม่ดีแล้ว จะส่งผลสะท้อนกลับได้เร็วและแรง ทำให้ขาดสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ซึ่งในโลกแห่งความเป็นจริงมนุษย์ทุกคนล้วนมีข้อดีและข้อเสียด้วยกันทั้งสิ้น ขึ้นอยู่ที่ว่าฝ่ายใดเป็นผู้มอง มองในมุมมองของตัวเองหรือมองในมุมมองคนอื่นโดยใช้เหตุผลประกอบ

มุมมองที่ 5 เราทำได้ ให้ปลูกอยู่ในตัวตนว่าคุณทำได้ You can if you think you can เพราะพลังจากจิตข้างในจะขับเคลื่อนแบบไม่ยอมแพ้ ไม่ว่าผลจากภายนอกจะเพลี่ยงพล้ำเพียงใด จะมีพลังส่งต่อออกมาให้ใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหาได้เสมอ เหมือนดั่งที่ท่านอาจารย์จีระได้กล่าวว่า “ปัญญาไม่ใช่ปริญญา”

จากมุมมองทั้งหมดที่กล่าวมาสรุปได้ว่าคนหนึ่งคนที่เป็นทุนมนุษย์ หากเราทำทุนมนุษย์ในตัวเองให้ดีเหมือนมีการฝึกให้มีศักยภาพในการคิดในกรอบ (Think Inside the Box) ให้ดีมีคุณธรรม จริธรรมจะส่งผลทำให้เกิดความคิดนอกกรอบ(Think Outside the Box) ได้ดีด้วย ดังนั้นเมื่ออยู่ร่วมกับเพื่อน องค์กรในการทำงาน คิดร่วมกันเป็นทีม (Team work) จะเกิดการสร้างสรรค์ (Creativity)กับนวัตกรรม (Innovation) โดยใช้ 4L’s และพยายามทำอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่องและต่อเนื่อง จะนำไปสู่การพัฒนาทั้งต่อตนเอง องค์กรและประเทศชาติ

นายสุชญาน หรรษสุข

วิภากษ์หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้

(คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์)


หนังทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้นี้ ถือได้ว่าเป็นมรดกทางปัญญาที่สำคัญ เพราะเป็นหนังสือที่นำเสนอทั้งประสบการณ์และวิธีคิดของท่านผู้รู้ทั้ง 2 ท่าน (คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์) และยังแนะแนวทางการนำเอาองค์ความรู้ด้านการสร้าง พัฒนา นำไปใช้ และรักษาไว้ซึ่งทุนมนุษย์ที่มีคุณค่าของประเทศไทย คือไม่ได้มองแค่ในระดับองค์กรเท่านั้น (Micro) แต่ยังรวมไปถึงในระดับสังคม ชุมชนและประเทศชาติด้วย (Macro) ผ่านการคิดและการทำอย่างต่อเนื่องของทั้งสองท่าน เพื่อเป้าหมายในการพลิกสถานการณ์ให้ประเทศไทยมีความสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลกได้อย่างยั่งยืน

ประเด็นสำคัญของหนังสือประกอบด้วย 5 ส่วนหลัก ๆ โดยใน 4 ส่วนแรก เป็นการเล่าถึงประสบการณ์และนำเสนอทั้งวิธีคิดและวิธีปฏิบัติในการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างเป็นรูปธรรม และในส่วนสุดท้ายเป็นการนำเสนอเพิ่มเติมความรู้ถึงวิธีคิดและแนวทางในการต่อยอดความรู้แบบ Lifelong Learning เนื้อหาโดยสรุปในแต่ละส่วนมีดังนี้

1. เรื่องของสองแชมป์ – เป็นการบอกเล่าถึงประวัติโดยสังเขป รวมถึงความเชื่อ ความศรัทธา และความมุ่งมั่นของทั้งสองท่านในจุดมุ่งหมายเดียวกันคือการพัฒนาทุนมนุษย์ของประเทศให้เป็นเลิศสามารถแข่งขันได้ในระดับโลก แม้แต่ละท่านจะเริ่มจากประสบการณ์ที่ต่างกันก็ตาม โดยคุณพารณ เป็นวิศวกรจากภาคธุรกิจ ที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาทุนมนุษย์ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ และขยายแนวคิดและแนวทางการปฏิบัติไปสู่ภาคการศึกษาและประชาชนในระดับรากหญ้า ส่วน ศ.ดร.จีระ เป็นนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ ที่สนใจและเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาทุนมนุษย์และขยายองค์ความรู้ไปในวงกว้างทั้งในภาคการศึกษา ภาครัฐและเอกชน รวมถึงภาคประชนในระดับรากหญ้าด้วยเช่นกัน

2. คัมภีร์คนพันธุ์แท้ – เป็นการแนะแนวทางในการพัฒนาทุนมนุษย์ โดยเน้นแนวคิดที่สำคัญคือ คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดและเป็นสินทรัพย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร และได้นำเสนอหลักคิด กลยุทธ์ และวิธีการในการจูงใจให้คนรักภักดีและสร้างความเป็นเลิศให้กับองค์กรได้อย่างยั่งยืน (คนเก่งและดีมีคุณธรรม คือมีศักยภาพความสามารถอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีคุณธรรมและเป็นที่ยอมรับของผู้อื่นด้วย)

3.จักรวาลแห่งการเรียนรู้ – เป็นการนำเสนอหลักคิดในการขยายผลไปสู่ภาคประชาชนและประเทศชาติ โดยทั้งสองท่านมุ่งหวังจะทำให้ประชาชนมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยการปลูกฝังให้มีวิธีคิดและวิธีการเรียนรู้ที่ดีต่อเนื่อง และมีนิสัยการเรียนรู้ตลอดชีวิต

4.สู่การเพิ่มผลผลิต – เป็นการมองและนำเสนอหลักคิดในภาพกว้างมากขึ้น คือนอกจากจะเป็นเลิศในระดับประเทศแล้ว ยังต้องแข่งขันได้ในระดับโลกด้วย โดยเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งระบบ อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง โดยเน้นถึงความร่วมมือกันของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคประชาชน นักวิชาการ ผู้ประกอบการ และแรงงาน

5.การต่อยอดความรู้แบบ Lifelong Learning – เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงปรัชญาการเรียนรู้ตลอดชีวิต คือไม่ใช่ว่าเรียนจบแล้วหรือทำงานสำเร็จแล้วก็จะหยุดเรียนรู้ได้ เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่แน่นอน และรวดเร็วมาก ถ้าไม่มีการพัฒนาการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง ไม่เรียนรู้จากคนเก่งหรือกูรู ไม่พัฒนาแนวคิดใหม่ๆ ในการพัฒนาตนเองและการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างต่อเนื่อง ก็จะไม่สามารถเป็นทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ได้

สรุป คือ ถึงแม้ทั้งสองท่านจะมีจุดเริ่มต้นที่ต่างกันแต่มีเป้าหมายและความมุ่งมั่นที่เหมือนกันในการพัฒนาทุนมนุษย์ในทุกระดับของประเทศชาติให้สามารถไปสู่ความเป็นเลิศและแข่งขันได้ในระดับโลก ผ่านประสบการณ์ และหลักคิด ที่หล่อหลอมเป็นวิธีการเรียนรู้ที่มุ่งให้เกิดความยั่งยืน และเป็นการเรียนรู้ถึงวิธีการเรียนที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องและเป็นการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต ดังตารางที่นำเสนอทฤษฏีวิธีการเรียนรู้ของทั้งสองท่าน ดังนี้

4 L's พารณ

4 L's ศ.ดร.จีระ

Village that Learn : หมู่บ้านแห่งการเรียนรู้

Learning Methodology : เข้าใจวิธีการเรียนรู้

School that Learn : โรงเรียนแห่งการเรียนรู้

Learning Environment : สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

Industry that Learn : อุตสาหกรรมแห่งการเรียนรู้

Learning Opportunity : สร้างโอกาสจากการเรียนรู้

Nation that Learn : ชาติแห่งการเรียนรู้

Learning Community : สร้างชุมชนการเรียนรู้

นางอุษามาศ ร่วมใจ

ข้อคิดเห็น “การปฏิรูปการศึกษาไทยในยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0”

การปฏิรูปการศึกษา คือการปรับเปลี่ยนพัฒนาเพื่อให้การศึกษาสามารถสร้างคนดีให้กับสังคมและเป็น

พลังในการพัฒนาประเทศให้สามารถแข่งขันกับนานาอารยประเทศ บนพื้นฐานของวัฒนธรรมและความเป็นไทย โดยเสนอข้อคิดเห็นการปฏิรูปการศึกษาไทยในยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 5 ด้าน

1. ปฏิรูประบบการศึกษา – พัฒนาทุกโรงเรียนเท่าเทียมการศึกษามุ่งหวังให้เด็กทุกคนมีโอกาสเล่าเรียนเท่าเทียมกัน เป็นโรงเรียนที่ดีที่สุดสำหรับทุกคนไม่ว่าจะมีพื้นเพฐานะอย่างไร อาศัยอยู่ส่วนไหนของประเทศ แทนที่จะใช้การศึกษาเฟ้นหาเด็กที่เก่งที่สุด ใช้การศึกษาสร้างความเท่าเทียมทางสังคม – สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ และสังคมการเรียนรู้ในโรงเรียน ตามทฤษฎี 4L's ของ ศ.ดร จีระ ที่ได้กล่าวไว้ คือ (1) Learning Methodology คือสร้างหลักสูตรวิธีการเรียนรู้ที่น่าสนใจ (2) Learning Environment เป็นการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในโรงเรียนเพื่อให้เด็กสนใจและตั้งใจเรียนและเห็นว่าโรงเรียนเป็นบ้านที่ให้ความอบอุ่น ให้ความรู้ต่อตนเพื่ออนาคตที่ดี (3) Learning Opportunities สร้างให้เด็กมีโอกาสได้เรียนรู้เพิ่มมากขึ้นทั้งภายในภายนอกโรงเรียน และที่บ้าน (4) Learning Communities สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ด้วยการประสานความร่วมมือการสร้าง Networking กับหน่วยราชการและเอกชนตลอดจนผู้ปกครอง เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้ได้หลายชิ่งทางมากขึ้น เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการศึกษาของไทย โดยรัฐต้องให้การสนับสนุน และเข้าไปกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดมีการประเมินผลการของดำเนินการหรือการบริหารจัดการของโรงเรียนเป็นไปตามเป้าประสงค์หรือไม่

2. ปฏิรูปหลักสูตรการเรียน หลักสูตรการศึกษาควรปรับปรุง – หลักสูตรการเรียนการสอนของการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีการเรียนภาษาไทยมากขึ้น – เน้นในด้านจิตสำนึกต่อส่วนรวม และชุมชน การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และความรับผิดชอบให้มากขึ้น – เสริมสร้างความเท่าเทียมจิตสำนึกต่อส่วนรวม การนับถือตนเอง (self-esteem) ในระดับที่เหมาะสม – เพิ่มการเรียนในวิชาพลเมืองศึกษา สิทธิมนุษยชน, ความเท่าเทียมกัน, ประชาธิปไตย เคารพต่อสิทธิและอิสรภาพของบุคคล – ยกเลิกการเรียนรายวิชาแบบเดิม ๆ บางประเภท เช่น วิชาประวัติศาสตร์ เปลี่ยนเป็นศึกษา “การทำงานในร้านอาหารหรือโรงแรมที่มีชาวต่างชาติ” ซึ่งจะได้ซึมซับเกี่ยวกับภาษาอังกฤษ ระบบเศรษฐศาสตร์ ทักษะการสื่อสาร – เพิ่มเวลาในการเรียนวิชาพละศึกษาและสันทนาการเพื่อพัฒนาทักษะด้านอารมณ์และจิตใจ (EQ) และการทำงานเป็นทีม – เปลี่ยนการเรียนการสอยแบบ Analog เป็นดิจิทัล โดยมี ICT เป็นโครงสร้างพื้นฐาน ครู นักเรียนเข้าถึงความรู้ทั่วโลกและปลอดภัย

3. ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้– สร้างและยกระดับอุปกรณ์และเครื่องมือทางการศึกษาที่เหมาะสมกับทุกกลุ่ม และให้มีสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่ดี ครอบคลุมและมีประสิทธิผลสำหรับทุกคน– เชื่อมโยงสถานศึกษา สถานประกอบการ ธนาคาร บูรณาการการทางานระหว่างหน่วยงาน รวมถึงเชื่อมโยงผู้สำเร็จการศึกษากับผู้ประกอบการเพื่อการจ้างงาน และเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่ส่งเสริมการสร้างอาชีพ อาทิ ธนาคาร

4. ปฏิรูปครู-อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ครู-อาจารย์ ยุคใหม่ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ – เป็นคนดี คนเก่ง และมีความเหมาะสมเพื่อบรรจุเป็นครูรักในอาชีพครูมากกว่าอาชีพเสริมรายได้ – มีทักษะในการจัดการเรียนการสอน มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและอินเทอร์เน็ตมาเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการ –ครูต้อง รู้รักสามัคคี รู้จริงรู้ทัน และเป็นคนที่เรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) ทำงานเป็นทีมต้องรู้วิธีการกระตุ้นเด็กให้สนใจเรียน ใฝ่การเรียนรู้ – ครูต้องมีทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ที่ดีคือ ต้องมีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ด้วยเหตุและผล แก้ปัญหา หาทางออก มีความคิดสร้างสรรค์ การคิดนอกกรอบ

5. ปฏิรูปการบริหารจัดการ โดยปรับปรุง/แก้ไข – กฎหมายและระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการการศึกษา – ปรับโครงสร้างและบทบาทการบริหารงานกระทรวงศึกษาธิการ กระจายอำนาจการบริหารจัดการจากส่วนกลางสู่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา – รัฐจัดระบบเงินเดือนหรือค่าตอบแทนที่เหมาะสมเพื่อให้ครูมีขวัญกำลังใจจะได้ปฏิบัติหน้าที่ในการสอนอย่างเต็มความรู้ความสามารถมาก – การออกกฎหมายเพื่อจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ขาดแคลนและกองทุนเสริมสร้างคุณภาพครู – สร้างกลไกสร้างระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลของผู้ประกอบวิชาชีพครู – การปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่

2. ข้อเสนอโครงการเพื่อปฏิรูปการศึกษาไทย

การยกระดับคุณภาพการศึกษา ต้องพัฒนาครูเป็นอันดับหนึ่ง และครูที่ดีและเก่งในยุคนี้จะไม่เหมือนครูที่ดีและเก่งในสมัยก่อนเพราะคนละสิ่งแวดล้อมกัน ครูที่ดีและเก่งต้องเป็นครูที่ไม่ทำหน้าที่สอนแบบถ่ายทอดความรู้แต่ต้องทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุน แนะนำแหล่งค้นหาความรู้ให้แก่ผู้เรียนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ชวนให้นักเรียนคิด ไตร่ตรอง สร้างแรงบันดาลใจ เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง จึงขอเสนอโครงการ

“โครงการพัฒนาศักยภาพครู-อาจารย์ของประเทศไทย (Thailand Teacher Development Program)”

โดยเป็นโครงการที่เป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และเอกชน รวมถึงองค์กรด้านเทคโนโลยีระดับโลก เพื่อดำเนินการปฏิรูปครูทั้งระบบ ได้แก่

1. ปรับระบบการบริหารงานบุคคลตั้งแต่กระบวนการผลิตครู กำหนดให้มีแผนเพิ่ม-ลดกระจายครูที่เหมาะสม และแผนสมรรถนะและความก้าวหน้าทางวิชาชีพพัฒนาครูให้มีมาตรฐานด้านความรู้ที่ดีเพียงพอที่จะถ่ายทอดให้กับผู้เรียน พัฒนาความคิด จิตสำนึกความตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบ คุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้เป็นครูเป็นคนดี คนเก่ง และมีความเหมาะสมเพื่อบรรจุเป็นครูจะได้ปฏิบัติหน้าที่ในการสอนอย่างเต็มความรู้ความสามารถ

2. กำหนดมาตรการบริหารจัดการและพัฒนาครูให้เกิดทักษะในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น

3. ปรับเปลี่ยนทัศนคติการเรียนการสอน เช่น เปลี่ยนการสอนจาก Analog ไปสู่ Digital ที่มี ICT เป็นโครงสร้างพื้นฐานครูนักเรียนเข้าถึงความรู้ทั่วโลกและปลอดภัย หรือสอนให้นักเรียนมีความเป็นผู้นำมีความรักและความรับผิดชอบต่อส่วนรวมพัฒนาท้องถิ่น

4. กำหนดมาตรการให้ครูอยู่ประจำห้องเรียนหรือคืนครูสู่ห้องเรียนเพื่อให้ครูมีเวลาสำหรับทำหน้าที่ในการสอนมากยิ่งขึ้น

เพื่อทำให้ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนการสอนของผู้รับการศึกษาหรือผู้เรียนและคุณภาพการศึกษาโดยรวมของประเทศซี่งเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิรูปการศึกษาไทยในยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0

พรรณวิภา ปิยัมปุตระ

วิพากษ์หนังสือ ทรัพยากรณ์มนุษย์พันธุ์แท้ โดยพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หนังสือนำเสนอแนวคิดของ 2 ปราชญ์ ได้แก่ คุณพารณ และ อ.จิระ ผู้ซึ่งให้ความสำคัญกับ "ทุนมนุษย์" เหมือนกัน ถึงแม้ทั้ง 2 ท่านจะมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนทั้งด้านการศึกษา อาชีพ แต่หัวใจสำคัญในการบริหารจัดการคนเหมือนกัน คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นการลงทุน (invesment) ที่สำคัญที่สุดขององค์การ เป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ (intangible assest) ที่มีค่าที่สุดขององค์การ ซึ่งมนุษย์มิใช่ต้นทุน แต่เป็นมูลค่าเพิ่มระยะยาวขององค์กร

ทั้งคุณพารณ และ อ จิระ ต่างเห็นความสำคัญของทุนมนุษย์ในองค์กร และผู้นำ/ผู้บริหาร คือผู้ที่จะเป็นผู้ฝึกสอน พี่เลี้ยง พัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา และเป็นผู้ให้ vision เพื่อปลดปล่อยการเรียนรู้ และเพิ่มพูนความสามารถ นอกจากนี้ ทั้งสองท่านยังให้ความสำคัญต่อทุนคุณธรรมจริยธรรม

อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของการเรียนรู้ ทั้งสองท่านมีเป้าหมายเดีนวกันคือการพัฒนาคน แต่แนวคิดมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ ณพารณ มองการเรียนรู้เป็นระดับ/กลุ่มการเรียนรู้ จากเล็กไปใหญ่ ตั้งแต่ village that learn , school.. , Industry..., จนถึง nation .. ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นมุมมองการเรียนรู้ที่เปิดกว้างระดับ และอาจนำสู้ระดับนานานชาติ // ขณะที่ อ.จิระ มีมุมมองการเรียนรู้ ในลักษณะการสร้าง,การส่งเสริมการเรียนรู้แก่ทุนมนุษย์ ทั้งวิธีการเรียนรู้ ( learning methodology ) การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ (... environment) การเพิ่ทโอกาสการเรียนรู้ (... oppotunities) และ การส่งเสริมชุมชนการเรียนรู้ (.. communities)


โดยสรุป ทั้งหมดที่กล่าวมา ทั้งสองท่านมุ่งที่การพัฒนา/สร้างทุนมนุษย์ เพื่อการพัฒนาองค์การ และผลผลิตขององค์การ

ในฐานะที่ดิฉันเป็นหนึ่งในนักทรัพยากรบุคคล เมื่ออ่าน นส.เล่มนี้แล้ว มีความตระหนักในมุมมองที่หลากหลายยิ่งขึ้นว่า "การฝึกอบรม มิใช่ความสำเร็จในการพัฒนาทุนมนุษย์" แต่องค์ประกอบสำคัญอื่นๆ ทั้งตามแนวคุณพารณ การสร้างความสามัคคี การสร้างความรับผิดชอบ ความมีวินัย และการมองสถานการณ์รอบนอกที่บุคลากรในภาคราชการควรตระหนัก และพร้อมรับการปรับเปลี่ยน ขณะที่แนวทางของ อ.จิระ เป็นประเด็นสำคัญยิ่งที่นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คาดไม่ถึง คือ การให้ความเคารพ การให้เกรียติในเพื่อนข้าราชการ การส่งเสริมให้การทำงานภายใต้สายบังคับบัญชาที่มากด้งยระเบียบและขั้นตอน มีแต่ความสุข ความพึงพอใจและเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ และเมื่อบุคลากรมีความสุข มีเกรียติ ก็จะรัก ผูกพันธ์ในหน่วยงาน พร้อมทำงาน และจะเกิดการยอมรับ และความยั่งยืนขององค์การ //

นางอุษามาศ ร่วมใจ

Workshop-3 “วิภาคหนังสือทรัพยากรณ์มนุษย์พันธุ์แท้”

หนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า“HR.CHAMPIONS” เป็นการรวบรวมความรู้และประสบการณ์ของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ 2 คน คือ พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวถึงประสบการณ์เกี่ยวกับการ บริหารคน แม้วัยจะต่างกันแต่มีเป้าหมายเดียวกันคือมุ่งมั่นในเรื่อง “คน” หรือทรัพยากรมนุษย์ (HR-Human Resources) และการทำงานเน้นเรื่องของ “การวัดผลกับความยั่งยืนระยะยาว”

ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ในมุมมองของพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ใช้หัวใจในการบริหารคน ลักษณะ Common man has no common sense” หรือบุคคลธรรมดาที่ไม่ธรรมดาแต่สามารถรับรู้และสัมผัสถึงจิตใจของผู้อื่นได้ และมีความเชื่อว่า “คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร”องค์กรจะดีเพราะมีคนเก่งและดี องค์กรจะแย่เพราะมีคนไม่เก่งและคนไม่ดีโดยมีแนวคิดเกี่ยวกับการคน คือ

- การพัฒนาบุคลากรเป็นการลงทุน (Investment) ที่ไม่ใช่ต้นทุน (Cost) คนเป็นทรัพยากรสูงสุดที่ต้องมีการเอาใจใส่ดูแลหมั่นพัฒนาให้เพิ่มพูนความรู้ความสามารถอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้เขาสามารถเรียนรู้และสามารถปลดปล่อยความรู้ความสามารถของเขาออกมาอย่างเต็มที่

- คนต้องเป็น คนเก่ง-คนดี พาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้ โดยคน เก่ง 4 ดี 4”เก่ง 4 คือ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งเรียนดี 4 คือประพฤติดีมีน้ำใจใฝ่ความรู้คู่คุณธรรม

- การประเมินคนเก่งประเมินด้วยความสามารถ (Capability) และประเมินคนดีประเมินจากการถูกยอมรับ (acceptability) ซึ่งความสามารถ (capability) ของคนองค์กรช่วยได้ถ้าให้ไปฝึกอบรม ส่วนการได้รับการยอมรับ (Acceptability) เจ้าตัวต้องสร้างสมขึ้นมาเอง

- การสร้างระบบความสัมพันธ์แบบพี่น้องช่วยให้เกิดความอุ่นใจในการทำงาน

- คนทุกคนมีคุณค่าเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากกว่าทรัพย์สินอื่นใดในองค์กร

- การดูแลทุกข์สุขของคนอย่างใกล้ชิด โดย “คนไม่ได้ต้องการผลตอบแทนที่เป็นเงินทองอย่างเดียว แต่ยังต้องการผลตอบแทนทางใจด้วย”

- การทำงานเป็นทีม และความพึงพอใจในงานที่ทำ (job satisfaction) เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง

- ใช้ Corporate culture เรื่องความซื่อสัตย์ของพนักงานต่อลูกค้า ต่อผู้ถือหุ้น ต่อซัพพลายเออร์ ต่อทุกคน ต่อสังคมพื้นฐาน ถือว่าเป็นการค้นพบที่ดียิ่ง

- บริหารงานบุคคลแบบระบบคณะกรรมการโดยให้หัวหน้าสายงานต่างๆเข้ามาร่วมกันดูแลคน ดูแลระบบการบุคคลและอื่น ๆ

ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ในมุมมอง ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มี 2 ระบบ คือ “พันธุ์แท้ที่พัฒนา” กับ “พันธุ์แท้ที่ไม่พัฒนา” “พันธุ์แท้” ในมุมมองของ ศ.ดร.จีระ หมายถึงการไม่หยุดที่จะพัฒนานั่นเอง ต้องเป็นคนที่แสวงหาความรู้ตลอดเวลาไม่ใช่แค่การอ่านหนังสือ หาความรู้จากอินเทอร์เน็ต และไปฟังการสัมมนาที่สนใจหลายๆ แห่ง มีการแลกเปลี่ยนกันระหว่างเพื่อนฝูง เน้นการนำทฤษฎี 8K’s และ 5K’s เสริมด้วยทฤษฎี 3 ต. คือ การลงมือทำอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่องศ.ดร. จีระ เป็นนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ใฝ่รู้ตลอดเวลาและไม่ย่ำอยูกับที่ สำหรับอุปสรรคของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทยในอนาคต ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มองว่าคนไทยส่วนใหญ่ขาดวินัย เป็นคนค่อนข้างเฉื่อย (Easy Go Lucky) อาจเป็นเพราะสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ และองค์ความรู้ทฤษฎี 3 วงกลม ประกอบด้วย บริบทของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Context) สมรรถนะ ทักษะ ความสามารถของคนในองค์กร (Competencies) และแรงจูงใจ (Motivation) ซึ่งถือว่าเป็นสูตรรับมือกับการเปลี่ยนแปลง (Change Management) ได้เป็นอย่างดี

หนังสือเล่มนี้เป็นการถ่ายทอดการบริหารคนผ่านทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ที่มีแนวทางการพัฒนาทุนมนุษย์ด้วยวิธีที่แตกต่างกัน โดย พารณ อิศรเสนา มีเทคนิคในการบริหารคนหลากหลาย และคิดค้นวิธีการพัฒนาศักยภาพคนอยู่ตลอดและนำมาปฏิบัติ ส่วน ศ.ดร. จีระ เป็นนักต่อสู้ทางวิชาการที่จะผลักดันให้ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญแก่คนในองค์กร นำทฤษฎีต่าง ๆ มาใช้ เช่น ทุนมนุษย์ 8K’s ,5K’s หรือทฤษฎี 3 วงกลม และถ่ายทอดอยู่ตลอดเวลาให้เห็นว่าคนมีความสำคัญเท่าๆ กับเงินและวัตถุ จนกระทั่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ได้ผลักดันมาโดยตลอด ส่งผลให้มีการบรรจุเรื่องทุนมนุษย์อย่างจริงจังไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 กระทั่งให้ความสำคัญเรื่อยมาจนถึงแผนพัฒนาฯ ฉบับปัจจุบันแผนฯ 12 และโดยความเห็นส่วนตัวเห็นว่าผู้บริหารองค์กรหรือแม้แต่ตนเองสามารถนำแนวทางจากหนังสือเล่มนี้ไปประยุกต์พัฒนาบุคคลากรภายในองค์กรเพื่อให้คนในองค์กรมีจิตวิญญาณมุ่งสู่การพัฒนาองค์กรและปฏิบัติงานไปสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จทั้งขององค์กรและของตนเองได้

ธนานันต์ เอื้ออารักษ์

หนังสือ Search Inside Yourself

หลังจากอ่านหนังสือเล่มนี้จบไปหนึ่งรอบ ผมก็เกิดความคิดขึ้นมาอย่างหนึ่งว่า สิ่งเหล่านี้ ในหนังสือเล่มนี้ คือสิ่งที่คนไทยเองนั้นคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว

หนังสือเล่มนี้ คือการนำเอาเรื่องราวต่างๆ ที่เราได้ยิน ได้ฟัง ได้สัมผัสกันเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสมาธิ การทำจิตให้สงบ การควบคุมอารมณ์ การเข้าใจเข้าถึง การยอมรับความจริง หลายสิ่งหลายอย่าง มาใช้ในชีวิตประจำวัน

พื้นฐานของหนังสือ คือเรื่องเกี่ยวกับจิตใจ หรือหากมองในอีกมุม มันก็คือหนังสือธรรมมะ ฉบับภาษาอังกฤษแบบกลายๆ

ผมจะไม่เจาะแต่ละประเด็นของหนังสือ เพราะเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถหาอ่านเอาเองได้ หากแต่ผมอยากจะแสดงความเห็นว่า หากเรายึดถึงสิ่งที่หนังสือเล่มนี้กล่าวไว้เป็นหลักในการดำเนินชีวิต หรือในการทำงานแล้ว จะส่งผลอย่างไร

สิ่งที่เห็นได้อย่างเด่นชัดคือเรื่องของความสุข (Happiness) นั่นเอง

สิ่งที่หนังสือเล่มนี้ชี้นำนั้น คือหนึ่งในหลักการหลายๆ อย่างที่จะนำเราไปสู่ความสุขทั้งหลายแหล่

Happiness in daily life หากแต่ละบุคคลทำในเรื่องเหล่านี้ได้ ชีวิตประจำวันก็จะมีความสุข

Happy society แต่หากคนหลายคน ในระดับมหภาค ก็จะนำไปสู่สังคมแห่งความสุข

Happy at work หากบุคคลนำสิ่งเหล่านี้ไปปฏิบัติที่ทำงาน ก็จะมีความสุขกับงานที่ทำ

Happy workplace เมื่อทุกๆ คนมีความสุขกับงานที่ทำ ความคิดดีๆ สิ่งแวดล้อมดีๆ ก็จะเกิด สถานที่ทำงานก็จะกลายเป็นที่แห่งความสุข

สิ่งที่เขียนใน Search Inside Yourself ไม่ใช่สิ่งใหม่ เป็นสิ่งที่ได้รับการสั่งสอนกันมายาวนานแล้วในโลกตะวันออก หากแต่ขาดผู้รู้ในทักษะทางด้านภาษา ที่จะนำเสนอสิ่งเหล่านี้ให้แก่โลกรับรู้

"ทุกสิ่งเริ่มต้นจากตัวบุคคล" และพื้นฐานของบุคคลคือ "จิตใจ"

การจะพัฒนาและยกระดับสังคมให้ก้าวหน้าเติบโตและมีคุณภาพมากกว่าที่เป็นอยุ่ เรื่องสำคัญคือการพัฒนาตัวบุคคล เพราะทรัพยากรมนุษย์คือพื้นฐานของทุกสิ่ง ทุกอย่างต้องกระทำโดยมนุษย์

แต่หากจะพัฒนามนุษย์อย่างยั่งยืน เรื่องที่ขาดไม่ได้ คือเรื่องของจิตใจ เรื่องของความดี ทำอย่างไรถึงจะปลูกฝังความคิดเรื่องความดีลงไปในตัวมนุษย์ได้ ซึ่งหากแม้นตัวบุคคลนั้นสมบูรณ์แบบทุกอย่าง ฉลาด มีความรู้ แต่หากขาดซึ่งความดี จะมีประโยชน์อะไร? ความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ไหม?

Search Inside Yourself คือหนึ่งในแนวทางที่จะ "เพิ่ม" หรือ "ชี้แนะ" แนวทางทางหนึ่ง เพื่อพัฒนามนุษย์ไปสู่ "ความดี" นั่นเอง

พรรณวิภา ปิยัมปุตระ

ข้อ 1 Inside the box, New boxes และ outside the box แตกต่างกันอย่างไร อธิบาย

คำทั้ง 3 คำมีความหมายแตกต่างกันอย่างชัดเจน กล่าวคือ เป็นเรื่องของมนุษย์กับการคิด การคิดในกล่อง (Inside the box) การคิดนอกกล่อง (outside the box) ซึ่งการคิดนอกกล่องจะนำสู่การได้กล่องใหม่ (New boxes) ซึ่งกล่องในที่นี่ อาจหมายความถึงองค์การ โครงสร้าง ระบบงาน ผลิตภัณฑ์ ฯลฯ หากพิจารณาให้ลึก จะเห็นได้ว่า ทั้ง 3 คำมีความเชื่อมโยงสอดคล้องกันในลักษณะ Value Chain ของการคิด คือ คิดแบบเดิมๆ พยายามคิดในมุมมองใหม่ เพื่อนำสู่การคิดเชิงสร้างสรรค์ คิดค้นสิ่งใหม่ๆ หรือ 3Vs คือ เกิดมูลค่าเพิ่ม ( Value Added ) เกิดการคิดสร้างสรรค์ (Value Creation) และเกิดมูลค่า/สิ่งใหม่ๆ ที่หลากหลาย (Value Diversity)

“การคิดในกล่อง” (Inside the box) จะมีรูปแบบการคิด/การทำที่ซ้ำๆ วนไปวนมาในลักษณะเดิมๆ เป็นกิจวัตรประจำ เป็นกระบวนการที่มีระบบชัดเจน ขั้นตอนที่กำหนด ยึดมั่นในระเบียบกฎเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งผลจากการคิดในกล่อง ก็จะได้ผลผลิตเดิมๆ หรือตามมาตรฐานที่กำหนด และมีรูปแบบ (pattern) ที่ชัดเจน ซึ่งตามแนวทาง อ.จิระ 8Ks คือส่วนแรกของทุนมนุษย์ หรือ ทุนแห่งปัญญา Intellectual capital

หากมองที่ “การคิดนอกกล่อง” (Outside the box) จะเกิดจากความพยายามในการหลุดพ้นจากพันธนาการ การตอบสนองต่อสิ่งเร้าใหม่ๆ เพื่อที่จะพัฒนาสู่การคิดในรูปแบบใหม่ๆ นอกจากรูปแบบขั้นตอนเดิมๆ และความต้องการเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบสนองสิ่งเร้าใหม่ๆ ซึ่งการคิดนอกกล่องนี้ เป็นทุนมนุษย์ที่เกิดในส่วนของ 8ks เป็นแรงผลัก ได้แก่ Digital capital , Talent capital และ 5Ks ในส่วนของการมี Creativity capital Knowledge capital เพื่อไปสู่สิ่งใหม่ ๆ แนวคิดใหม่ ๆ หรือ กล่องใหม่

สำหรับ “กล่องใหม่” (New boxes) คือความคิดที่หลุดพ้นจากสิ่งเดิม ๆ การใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อนำสู่แนวคิดใหม่ สิ่งใหม่ ซึ่งต้องเป็นสิ่งที่พัฒนาในเชิงสร้างสรรค์ โดยการใช้ Innovaiton capital ซึ่งกล่องใหม่ที่เกิดจากการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ ควรบริหารจัดการโดยทำให้เกิด Sustainable capital หรือทุนแห่งความยั่งยืน

กรณีศึกษาจากประสบการณ์ ในระบบราชการโดยส่วนใหญ่มักทำงานการในลักษณะ Inside the box หรือทำไปเรื่อยๆ ตามกฎหมาย ตามระเบียบ ตามข้อสั่งการ ซึ่งจำเห็นได้ว่า ระบบการทำงานต่าง ๆ จะติดกับการสั่งสายบังคับบัญชา การ Block แนวความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่มีเป้าสู่ Value Economy การก้าวสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทำให้ภาคราชการเริ่มคิดนอกกล่องเดิมๆ และแสวงหาแนวทางตอบสนองต่อประชาชน เริ่มมีการใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ บริการใหม่ ๆ เริ่ม think outside the box และสร้างสรรค์บริการใหม่ ๆ ที่ดีขึ้น รวดเร็วขึ้น เริ่มใช้หลัก 2Rs คือ Reality และ Relevance ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม อาทิ การทำ Drive through ในการชำระภาษีรถยนต์ของกรมขนส่งทางบก การให้บริการชำระภาษีอากรผ่าน internet ของกรรมสรรพากร หรือของกระทรวงมหาดไทยได้ New boxes จากการใช้ IT ในการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลแผนงาน/โครงการประจำปีในพื้นที่จังหวัด (PEDME) ซึ่งสามารถตรวจสอบการดำเนินการตามแผนงาน แผนงาน และสามารถ Load รูปภาพการดำเนินโครงการเพื่อรายงานผลในทั่วประเทศ และมีหลายหน่วยงานได้ขอเชื่อมต่อในระบบ ฯลฯ

ธนานันต์ เอื้ออารักษ์

อยากจะทำสิ่งใหม่ๆ อยากจะเปลี่ยนแปลง มีความกล้าที่จะทำ ก็จะกลายเป็นว่าคนส่วนมากไม่เล่นด้วยไปเสียอย่างนั้น

กลายเป็นอุปสรรคต่อมา คือเรื่องของวัฒนธรรมองค์กร ที่ไม่เกื้อหนุน เอื้ออำนวยให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

... สองอุปสรรคที่บอกกล่าวไปนั้น ผมจัดให้เป็นอุปสรรคภายนอก หากแต่ยังมีอีกสองประเด็นอุปสรรค ที่เรียกว่าอุปสรรคจากตัวบุคคลเอง

สิ่งแรกคือความไม่ไฝ่รู้

ความไฝ่รู้ในที่นี้ คือการเรียนรู้เพิ่มเติมในสิ่งที่ตัวเองไม่รู้ อย่าทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว เปิดใจให้กว้างและยอมรับเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ คนส่วนมากชอบคิดว่าตัวเองเรียนมาสูง มีความรู้เพียงพอแล้ว ฉันนี่แหละคือผู้รู้ และหยุดการเรียนรู้เอาไว้เสียอย่างนั้น

เมื่อคนเราหยุด เท่ากับเราเดินถอยหลัง เพราะสิ่งรอบๆ ตัวเราไม่ได้หยุดพัฒนาตามเราไปด้วย

เมื่อเราหยุดเรียนรู้ ความคิดของเราก็หยุดอยู่แค่นั้น แล้วจะสามารถเพิ่มเติมความคิด เพื่อสร้างสรรสิ่งแปลกใหม่ออกมาได้อย่างไร?

แต่แค่การเรียนรู้ตลอดเวลานั้นก็ยังไม่เพียงพอ หากแต่หลายๆ คน ถึงแม้จะเรียนรู้ตลอดเวลา แต่ก็ยังไม่สามารถจะเปิดโลกทัศน์ หรือไม่สามารถที่จะฝ่ากรอบความคิดของตัวเองออกมาได้ เพราะอะไร? เพราะขาดแรงจูงใจที่เหมาะสมนั่นเอง กล่าวคือ ไม่รู้ว่าจะเรียนรู้ไปเพื่ออะไร ไม่รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร ไม่รู้ว่าทำไปแล้วจะได้อะไร

ดังนั้น ณ เวลานี้ ตามความเข้าใจของผม การที่จะคิดนอกกรอบได้ อุปสรรคคือ

1. ตัวบุคคลนั้นขาดการเรียนรู้ (ปัจจัยภายใน)

2. ตัวบุคคลเองนั้นขาดแรงจูงใจ (ปัจจัยภายใน)

3. ความกลัว (ปัจจัยภายนอก)

4. สิ่งแวดล้อม (วัฒนธรรม) (ปัจจัยภายนอก)

ธนานันต์ เอื้ออารักษ์

[แก้ไขเพิ่มเติมครับ ความเห็นข้างบน copy ออกมาจาก notepad ไม่หมด ให้ยึดถืออันนี้เป็นหลักครับ]

ความสำเร็จของ Outside the box ไม่ใช่เรื่องง่าย บางครั้งมีอุปสรรคเสมอ อธิบายอุปสรรคแต่ละข้อ


เหมือนจะเป็นสูตรสำเร็จของผู้นำไปแล้ว ที่ว่า ผู้นำ (Leader) ที่จะประสบความสำเร็จได้ คุณสมบัติข้อหนึ่งที่ต้องมีคือ การรู้จักคิดนอกกรอบ (think ourside the box)

หากแต่ถ้านำแนวคิดนี้มาใช้กับสังคมไทย จะเป็นอย่างไร?

ทำความเข้าใจกับสังคมไทยแบบคร่าวๆ กันก่อน สังคมไทยเป็นสังคมอุปถัมภ์ ผู้ใหญ่ช่วยเหลือผู้เยาว์ รุ่นพี่ช่วยเหลือรุ่นน้อง อายุเป็นส่วนหนึ่งของตัวแปรในการเจริญก้าวหน้า สิ่งที่บุคคลที่มีวัยวุฒิมากกว่าพูดหรือทำ มักจะต้องกลายเป็นแนวทางให้ผู้เยาว์ปฏิบัติ จนถึงกับมีสุภาษิตที่ว่า "อาบน้ำร้อนมาก่อน"

ไม่ใช่ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผิด แต่หลายครั้งก็ไม่ใช่ว่าจะถูก และนี่ คือหนึ่งในสิ่งที่จำกัดความคิดของบุคคล หากคนๆ หนึ่ง จะมีความคิดที่ผิดแผก แหวกออกไปจากสิ่งที่ผู้ใหญ่ทำอยู่ หรือชี้นำ ก็จะถูกจ้องมอง และบอกว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ผิด

อุปสรรคแรก คือ ความกลัวที่จะคิดออกนอกกรอบ เพราะรู้ว่าหากทำไปแล้ว ไม่ว่าจริงๆ แล้วสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่น่าสนใจหรือไม่ ก็จะโดนตั้งแง่ไว้ก่อน ว่าผิด

หากแม้นคนส่วนมากในหน่วยงาน องค์กรมีความคิดเช่นนี้แล้ว ก็จะหล่อหลอมให้เกิดวัฒนธรรมที่จำเจ ซ้ำซาก ถูกจำกัดแนวความคิด (Inside the box) หากแม้นต่อมา มีคลื่นลูกใหม่หรือบุคลากรใหม่ๆ เข้ามาในองค์กร ต่อให้คนเหล่านี้มีพลัง มีแรงจูงใจ อยากจะทำสิ่งใหม่ๆ อยากจะเปลี่ยนแปลง มีความกล้าที่จะทำ ก็จะกลายเป็นว่าคนส่วนมากไม่เล่นด้วยไปเสียอย่างนั้น

กลายเป็นอุปสรรคต่อมา คือเรื่องของวัฒนธรรมองค์กร ที่ไม่เกื้อหนุน เอื้ออำนวยให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

... สองอุปสรรคที่บอกกล่าวไปนั้น ผมจัดให้เป็นอุปสรรคภายนอก หากแต่ยังมีอีกสองประเด็นอุปสรรค ที่เรียกว่าอุปสรรคจากตัวบุคคลเอง

สิ่งแรกคือความไม่ไฝ่รู้

ความไฝ่รู้ในที่นี้ คือการเรียนรู้เพิ่มเติมในสิ่งที่ตัวเองไม่รู้ อย่าทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว เปิดใจให้กว้างและยอมรับเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ คนส่วนมากชอบคิดว่าตัวเองเรียนมาสูง มีความรู้เพียงพอแล้ว ฉันนี่แหละคือผู้รู้ และหยุดการเรียนรู้เอาไว้เสียอย่างนั้น

เมื่อคนเราหยุด เท่ากับเราเดินถอยหลัง เพราะสิ่งรอบๆ ตัวเราไม่ได้หยุดพัฒนาตามเราไปด้วย

เมื่อเราหยุดเรียนรู้ ความคิดของเราก็หยุดอยู่แค่นั้น แล้วจะสามารถเพิ่มเติมความคิด เพื่อสร้างสรรสิ่งแปลกใหม่ออกมาได้อย่างไร?

แต่แค่การเรียนรู้ตลอดเวลานั้นก็ยังไม่เพียงพอ หากแต่หลายๆ คน ถึงแม้จะเรียนรู้ตลอดเวลา แต่ก็ยังไม่สามารถจะเปิดโลกทัศน์ หรือไม่สามารถที่จะฝ่ากรอบความคิดของตัวเองออกมาได้ เพราะอะไร? เพราะขาดแรงจูงใจที่เหมาะสมนั่นเอง กล่าวคือ ไม่รู้ว่าจะเรียนรู้ไปเพื่ออะไร ไม่รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร ไม่รู้ว่าทำไปแล้วจะได้อะไร

ดังนั้น ณ เวลานี้ ตามความเข้าใจของผม การที่จะคิดนอกกรอบได้ อุปสรรคคือ

1. ตัวบุคคลนั้นขาดการเรียนรู้ (ปัจจัยภายใน)

2. ตัวบุคคลเองนั้นขาดแรงจูงใจ (ปัจจัยภายใน)

3. ความกลัว (ปัจจัยภายนอก)

4. สิ่งแวดล้อม (วัฒนธรรม) (ปัจจัยภายนอก)



สมชัย เลขะพจน์พานิช

HW : Group 1

วิจารณ์หนังสือ On Managing People 3 ข้อ

1. หนังสือพูดถึงเรื่องอะไร

2. เราได้อะไร

3. ประเด็นใดที่โยงถึงสิ่งที่เราทำ และ อย่างไร


หนังสือพูดถึงเรื่องอะไร

On Managing People กล่าวถึงปัจจัยในการบริหารทุนมนุษย์ คือ

  • การพัฒนาวุฒิภาวะทางอารมณ์ (Emotional Intelligence)
  • การผสมผสานการใช้ภาวะผู้นำ (Leadership Style) รูปแบบต่างๆ ในการแก้ไขปัญหา
  • การปรับปรุงบรรยากาศ (Environment) ในการทำงาน
  • หน้าที่ของหัวหน้างานที่ดี
  • การบริหารแรงจูงใจ (Motivation, KITA vs Hygiene, Fairness, Ethic)
  • การพัฒนา Talent Management ที่มีศักยภาพและปัญหาที่แตกต่างกัน เช่น พนักงานที่มีปัญหาด้านทัศนคติ เป็นผู้บริหารใหม่ เป็นผู้ที่มีความสามารถที่โดดเด่นแต่โดดเดี่ยว
  • การพัฒนาจากกลุ่มงานเป็นทีมงาน
  • การสื่อสารในการทำงานร่วมกับหัวหน้างาน


เราได้อะไร

เราได้เห็นกรณีศึกษาของปัญหารูปแบบต่างๆ เพื่อ

  • สามารถนำมาวิเคราะห์ด้วยความรู้จริงและตรงประเด็น (2R) ต่อองค์กรที่เรามีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ
  • พัฒนาโครงสร้างการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามทฤษฎี 3 วงกลม คือ บริบท ความสามารถ และแรงจูงใจ ที่เหมาะสมกับบุคลากร
  • พัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Methodology, Learning Environment, Leaning Opportunity, Learning Community)
  • ทำให้สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อสร้างระบบภูมิคุ้มกันในการบริหารทุนมนุษย์ 8K+5K เติมเต็มศักยภาพในตัวบุคคลากร เพื่อองค์กรมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน


ประเด็นใดที่โยงถึงสิ่งที่เราทำ และ อย่างไร

เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาทุนมนุษย์ ในเรื่องต่างๆ ดังนี้

Leadership That Gets Results:

ผู้นำต้องฝึกฝนตนเองเป็นผู้ที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์สูง อันเป็นพื้นฐานในการพัฒนาภาวะผู้นำในแบบต่างๆ ซึ่งสามารถนำไปใช้ตามแต่ละสถานการณ์ เพื่อปลูก 8’K + 5’K ในสังคมหรือองค์กร

How Do You Motivate Employees?:

ผู้นำยังต้องเข้าใจในการเลือกใช้แรงจูงใจ Hygiene ให้เหมาะสม เช่น กฏระเบียบที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ความเป็นธรรมในสังคม จริยธรรม เพื่อให้เกิด HRDS (ความสุข ความเคารพ การให้เกียรติ และความยั่งยืน) ในที่สุด เพื่อให้ผู้นำรุ่นใหม่ได้พัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง หรือมีประสพการณ์ การเรียนรู้ด้วยตัวเอง (Learn from Pain, Learn from Experience, Learn from Listening) ในที่สุด

The Set-Up-to-Fail Syndrome:

การใช้ทฤษฎี 3 วงกลม เพื่อสร้างสรรค์ทีมงาน คือ บริบท ความสามารถ แรงจูงใจ เพื่อให้ทีมงานมีทิศทางในการทำงาน ตามความสามารถ และได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม

Saving Your Rookie Managers from Themselves:

การสอน (Coaching) ให้ผู้บริหารใหม่มีกระบวนการเรียนรู้ เช่น การใช้ทฤษฎี 4’L ที่จะเข้าใจในบทบาทของงานใหม่ จากผู้ชำนาญการ (Expert) เป็นผู้นำ (Leader) ซึ่งมีหน้าที่ต้องพาทีมงานทั้งทีมไปสู่เป้าหมาย

What Great Managers Do:

ผู้นำที่ยิ่งใหญ่จะต้องสามารถวิเคราะห์ 2’R คือ ความเป็นจริงตามบริบท และแก้ไขปัญหาได้ตรงประเด็น เพื่อสร้างและปลูกฝังให้ทีมงานสามารถ ร่วมกันสร้างสรรค์หรือแก้ไขได้ตามความสามารถของแต่ละบุคคล

Fair Process:

ความเป็นธรรม เป็น Hygiene Factor ที่สร้างความเชื่อถือ (Trust) การยอมรับ (Respect) และการให้เกียรติทีมงาน (Dignity) ทำให้เกิดการร่วมมือร่วมใจ ยอมรับที่จะแบ่งปันองค์ความรู้ซึ่งกันและกันเพื่อผลสำเร็จของทีมงาน เพื่อนำพาไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

Teaching Smart People How to Learn:

การพัฒนา Talents บางครั้งอาจต้องให้บุคคลเหล่านี้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง ดังทฤษฎี 3’L: เรียนรู้จากความผิดพลาด, เจ็บปวด (Learning from Pain) เรียนรู้จากประสพการณ์ (Learning from Experience) ซึ่งจะพัฒนาเป็น เรียนรู้จากการฟังผู้อื่น (Learning from Listening) ในท้ายที่สุด

How (Un)ethical are You?:

จริยธรรม เป็นส่วนสำคัญอันหนึ่งในทฤษฎื 8’K+5’K เป็นองค์ประกอบสำคัญอันหนึ่งใน Hygiene Factor เป็นเป็นปัจจัยหลักในการสร้างภาวะผู้นำแบบรวมศูนย์ที่ประชาชน (Human-Center Leadership) ซึ่งจะส่งผลให้สังคมเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

The Discipline of Teams:

การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพจะต้องให้ทีมงานมีเป้าหมายร่วมกันในการทำงาน มีการหลอมรวมจิตใจให้เป็นหนึ่งเดียวกัน โดยใช้ทฤษฎื HRDS และ 3’P: Pleasure Passion Purpose ร่วมกับผู้นำที่มีภาวะผู้นำเพื่อส่วนรวม (Human-Center Leadership)

Managing Your Boss:

การทำงานร่วมกับหัวหน้างานให้ราบรื่น ปัจจัยสำคัญคือการสื่อสารที่เข้าใจตรงกันระหว่างหัวหน้างานและตัวพนักงานเอง ดังนั้น สามารถใช้ทฤษฎี C & E คิอ การติดต่อ (Connecting) และ การมีส่วนร่วม (Engaging) มาประยุกต์ใช้ในการทำงาน เพื่อเรียนรู้ เข้าใจเป้าหมายในการร่วมงาน และบรรลุเป้าหมายร่วมกัน นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ทฤษฎี Learn-Care-Share เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานร่วมกัน

ในกรณีศึกษา เมื่ออ่านหนงสือเล่มนี้ทุกบทแล้ว สิ่งที่ได้มาและสิ่งที่จะนำไปใช้ ทางกลุ่มมีแนวคิดร่วมกันว่า สาระของหนังสือทั้งเล่มเปรียบแล้วคล้ายคลึงแนวการสอนของท่านอาจารย์มาก เมื่อเราต้องนำหลักการในหนังสือเล่มนี้ไปใช้ในองค์กร ในชีวิตการทำงานที่แท้จริงเพื่อสร้าง Happiness Work Place vs Happiness of Work จึงขอยกบรรยากาศห้องเรียนป.เอก เป็นแบบจำลององค์กรดังนี้

หากเปรียบเสมือนห้องเรียนของปริญญาเอกซึ่งมี ท่านอาจารย์ ดร.จีระเป็นผู้นำองค์กร อ.จักรกฤษ อ.วราภรณ์ อ.จ้า เป็นผู้บริหารใหม่ นักศึกษาปริญญาเอก เปรียบเป็นพนักงานบริษัท ท่านอาจารย์ ดร.จีระ ได้ทำหน้าที่ผู้นำองค์กร อย่างแท้จริง ท่านได้ปลูกกระบวนการ Learning How to Learn อันได้แก่ ทฤษฎี 8K’s + 5K’s ให้แก่ทีมงาน บุคลากรทุกคน นำพาองค์กร ให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฎี 2R’s มองความจริง ตรงประเด็น นำพาหลัก 4L’s (Learning Methodology) สนับสนุนการปะทะกันทางปัญญา เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ( Learning from experiences ) เรียนรู้จากการรับฟัง สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย ( Learning from listening ) บริหารมีบรรยากาศของการเรียนรู้ ( Learning Environment ) เรียนรู้ร่วมกัน ให้โอกาสแก่ทุกคน ( Learning Oppotunities ) โดยทั้งผู้บริหารใหม่ และพนักงาน ท่านใช้หลัก HRDS ตลอดเวลา ให้เกียรติผู้ร่วมงาน ทั้งผู้บริหารใหม่ และพนักงานใหม่ เท่าเทียมกันทุกคน ท่านอาจารย์สร้างแรงจูงใจ เสริมแนวคิด โดยหลักทฤษฎี 3 Circle เพื่อสร้างสมรรถนะ ( Competency) ที่แข็งแกร่งขึ้นของทีมงาน สร้างองค์กรให้น่าอยู่ กระตุ้นแรงจูงใจ ( Motivation ) ผลักดันให้เกิด Maximized Human Capital

การยกตัวอย่างวิธีการเรียนการสอนของท่านอาจารย์ดร.จีระนี้ จะเห็นได้ว่าผู้บริหารองค์กรใดๆที่ได้เรียนรู้และฝึกฝนตลอดเวลา ต่อเนื่องและเชื่อมโยงย่อมจะเป็นการเพิ่มศักยภาพตน แก้ปัญหาองค์กร สร้างบรรยากาศที่ดีในองค์กร และเตรียมพร้อมให้องค์กรสู่ยุค Information Technology ผลักดันให้เกิด Creativity สร้าง Innovation ของบุคลากร ในที่สุดเพื่อก้าวสู่ Sustainability ขององค์กรอย่างยั่งยืนแท้จริง





นางอุษามาศ ร่วมใจ

Workshop-5 “ภาวะผู้นำกับการคิดนอกกรอบ”

ภาวะผู้นำกับความคิดนอกกรอบ ขอตอบคำถาม 1 ข้อจาก 6 ข้อ

ข้อ 4 ถ้าจะฝึกให้มีศักยภาพในการ Think outside the box ควรทำอย่างไร 5 เรื่อง

1.คิดถึงสถานการณ์ว่าเราต้องมีข้อสันนิษฐานอะไรบ้าง? เราเห็นเรื่องนี้อย่างไร และมุมมองของเราแตกต่างไปจากมุมมองของคนอื่นอย่างไร? สิ่งที่เป็นข้อดีและข้อเสียอยู่ที่นั่นในแต่ละวิธีคิด? ดังนั้น สลัดความคิดที่ครอบงำ ไม่จำกัดความคิดไว้กับความเคยชินเก่า ๆ ไม่ตีกรอบความคิดผู้อื่น หรือคิดว่าเป็นไปไม่ได้ และคิดในแง่บวก ใช้เวลาสักครู่เพื่อหยุดและคิดทุกวัน หยุดคิดแล้วปล่อยวาง จากนั้น 2-3 วันค่อยกลับมาคิดปัญหานั้นใหม่ รายงานของนักจิตวิทยากล่าวว่าความเสงบนิ่งของจิตใจคนเราด้วยเทคนิคการทำสมาธิสามารถช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

2.ต้องสามารถคิดที่แตกต่างได้มองภาพปัญหาจากมุมของคนอื่นว่าเกิดอะไรขึ้นในองค์กรของเรา องค์กรอื่นเกิดขึ้นคล้ายกันหรือไม่ ติดตามหรือหาข้อมูลข่าวสารของผู้อื่นและพยายามทำความเข้าใจว่าเหตุใดจึงคิดในแบบที่พวกเขาทำ และเราจะเปลี่ยนสถานการณ์เพื่อให้งานแก้ปัญหาได้อย่างไร? ดังนั้น- ฝึกคิดรอบด้าน ไม่ยึดแนวความคิดด้านเดียว, - ฝึกตั้งคำถาม จะทำอย่างไร ถ้า และหาเหตุผล, - หาคำตอบคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและหาเหตุผลเปรียบเทียบ, - มองหลายมิติเพื่อค้นหาความจริง ค้นหาและเชื่อมต่อปัญหาเพื่อหาคำตอบได้ดียิ่งขึ้น คนที่มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนมีความสำคัญมากกว่าการจบระดับปริญญาตรี

3.มีความคิดสร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์เป็นวิธีการได้รับผลประโยชน์ที่เหนือคู่แข่ง " ดังนั้น ฝึกความเป็นคนช่างสังเกตจดจำ พยายามเรียนรู้ทุกอย่างที่เกี่ยกับเรื่องที่สนใจให้มากที่สุด การสั่งสมประสบการณ์และการกระตุ้นให้เกิดความคิดใหม่ สร้างโอกาสจากการสังเกตุและคิดวิเคราะห์อยู่ตลอดเวลาบางสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลยอาจเป็นคำตอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งอาจเป็นการจุดประกายใหม่ๆ ที่แตกต่างจากเดิม ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งสำหรับมืออาชีพในการคิดนอกกรอบ ความสามารถในการสร้างสรรค์สร้างไอเดียใหม่ ๆ ให้เป็นนวัตกรรมใหม่ ทำให้เป็นงานประจำ จะสามารถสร้างความสามารถในการแข่งขัน

4.พยายามให้มีบุคคลรอบข้างด้วย "นักคิดนอกกรอบ" เพื่อกระตุ้นให้สมองของเรามีความคิด เกิดสติปัญญาสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ และแนวทางแก้ปัญหาที่เร็วและประสบผลสำเร็จ ดังนั้น ใช้เวลาพูดคุย ปรึกษา หารือ กับบุคคลที่มีคุณภาพมีความอยากรู้อยากเห็น มีความคิดทางสติปัญญาเพื่อให้สมองของเราได้มีความคิดตามหรือมีความคิดที่แตกฉายขึ้น เรียนรู้และเลียนแบบบางอย่างจากพวกเขาเพื่อกระตุ้นการคิดอีกด้านหนึ่งของเรา มั่นตั้งคำถามอยู่เสมออะไรที่ทำให้คนอื่นทำแล้วแต่เรายังไม่ได้ทำ เราทำได้หรือไม่ หรือเราต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ทบทวนความคิดและคัดสิ่งที่ไม่ได้ผลออกมาแก้ไขเพิ่มเติม ปรับเปลี่ยนจนได้ความคิดที่ดีที่สุด

5.เอาชนะความกลัวในความล้มเหลว การดำเนินงานใด ๆ ที่มีความเสี่ยงต่อความไม่สำเร็จ เราต้องกล้าที่จะทำเพื่อให้เกิดผลสำเร็จของงาน ดังนั้น ต้องพร้อมที่จะละทิ้งความคิดหรือความเชื่อที่เรามีไม่ย้ำรอยอยู่แต่ความสำเร็จเดิม เพื่อให้เราพร้อมที่จะรับความเสี่ยงหากมีปัญหาอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นและพร้อมที่จะยอมรับความวุ่นวายที่จะเกิดขึ้นและดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นไป ซึ่งในที่สุดก็เปลี่ยนไปและประสบความสำเร็จ ฝึกระดมพลังสมอง โดยยึดมั่นในการ ฟัง คิด ถาม เขียน การกระทำทุกอย่างเมื่อเห็นว่าดีประสบความสำเร็จแล้วต่อไปควรจะพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิมด้วยวิธีการใหม่ขึ้นอยู่กับความพยายาม

สมชัย เลขะพจน์พานิช

PhD\HW5: Inside The Box, Outside The Box และ The New Box มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ในการพัฒนาทุนมนุษย์ ตามทฤษฎี 8K+5K ต้องสามารถ Execution ตามทฤษฎี 3 V คือ

  1. Value Added
  2. Value Diversity
  3. Value Creation

Inside the box = Value Added เป็นการเพิ่ม Efficiency โดยการ Re-Process ปรับปรุงขั้นตอนการทำงาน ฝึกฝนความชำนาญให้แก่บุคลากร สามารถเริ่มจากงาน Functional เช่น

  • ระบบฝากถอนของธนาคาร แต่เดิมจะมีพนักงานบริการฝากถอนจำนวนมาก แต่เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ก้าวหน้ามากขึ้น ก็มีการวางระบบใหม่ ใช้ตู้ ATM และ ลดจำนวนพนักงานส่วนหน้าผสมกับ Online ข้อมูลของลูกค้า ทำให้บริการได้รวดเร็วขึ้น
  • การเกษตรระบบน้ำหยด

Outside the box = Value Creation เป็นการเพิ่ม Productivity โดยการ Re-Structuring ปรับเปลี่ยนขั้นตอนการทำงานใหม่ อาจต้องปรับเปลี่ยนความคิดของบุคลากรใหม่ ตั้งแต่ระดับผู้กำหนดนโยบาย เช่น

  • บริการของ Budget Airline ซึ่งมองเห็นช่องว่างของการบริการกับค่าเดินทาง เกิดเป็นตลาดใหม่ เป็นสายการบินราคาประหยัด
  • การเกษตรปลอดสารพิษ

The New Box = Value Diversity เป็นการสร้างคุณค่าขึ้นใหม่ซึ่งมีรูปแบบแตกต่างจากเดิม โดยการ Re-Engineering เริ่มต้นจากการกำหนดโครงสร้างองค์กรใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง โครงสร้างประชากร เทคโนโลยี ที่มีการเปลี่ยนแปลง เกิดเป็นการแข่งขันและโอกาสทางธุรกิจใหม่ขึ้นมา เช่น

  • การให้บริการแท็กซี่ Uber
  • การเกษตรแปลงใหญ่
  • การขายสินค้า Online ของ Amazon
  • การชำระเงินผ่านระบบของ PayPal

ทั้งสามแบบต้องการผู้นำที่

  1. ช่างสังเกต มีความตื่นตัว = Creativity Thinking
  2. เรียนรู้ เพื่อเข้าใจข้อเท็จจริง = Reality
  3. มีวิสัยทัศน์ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง = Vision
  4. มุ่งมั่น สร้างทีมงาน สื่อสารสร้างเครือข่าย เพื่อทำให้เป็นไปได้ = Relevance
  5. มีภาวะผู้นำที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง = Leadership Skill
  6. กระจายผลประโยชน์ ต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างเหมาะสม = Share and Care

หนังสือ On Managing People

พูดถึงลักษณะของผู้นำ 6 แบบ

  • The Coercive Style“Do What I Say”
  • The Authoritative Style“Come with me”
  • The Affiliative Style“People come first”
  • The Democratic Style“Giving workers a voice decisions”
  • The Pocesetting Style“Sets high performance standards”
  • The Coaching Style“Focuses more on personal development than on immediate work-related task”

ลักษณะของผู้นำทั้ง 6 แบบ ขึ้นกับสถานะการณ์บริษัทที่กำลังดำเนินการอยู๋ เช่น แบบ The Coercive Style อาจ จะเหมือนสถานกรณ์ปัจจุบัน ที่รัฐบาลต้องการความสงบเรียบร้อย “Do what I say” แต่การใช้วิธีนี้ระยะยาวคงเป็น ไปได้ยาก จะเห็นได้ว่ารัฐบาลได้นำแบบ The Democratic Style มาใช้ในอีกปีสองปีข้างหน้า

Moitvating with KITA

คือการที่ให้คนทำบางอย่างให้กับองค์กร แต่คนนั้นไม่ทำตาม เราก็อาจจใช้วิธีแก้ไขโดยตรง โดยใช้ KITAคือ Kick The Person ซึ่งวิธีการก็เป็นแบบ ทางลบ และ ทางบวก เช่น ทางลบเราอาจจะให้วิธีลงโทษ ในหนังสือ กล่าวถึง การจะให้สุนัขเลื่อนไปข้างหน้า ก็จะใช้วิธีเตะสุนัขให้เดินไปข้างหน้า แต่จะให้สุนัขเดินไปอีก จะเตะสุนัขอีกหรือ สุนัข อาจ หันกลับมาทำร้ายเราได้ถ้าเราเตะอีกที และ ในทางบวกเราอาจจะใช้วิธีให้รางวัล เป็นต้น เช่น ให้วันหยุดเพิ่มขึ้น หรือ เพิ่มโบนัส

What Great Manager Do


[H1]

การบ้านจากวีดีโอ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม 2560 ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้สัมภาษณ์ท่าน พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ในหัวข้อเกี่ยวกับทุนมนุษย์

บทสัมภาษณ์ท่านพารณ ท่านเป็นนักธุรกิจที่สนใจเรื่องคนมาก มีอุดมการณ์ ท่านเชื่อมั่นในคุณค่าของคน โดยท่านเชื่อว่า”คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดต่อองค์กร” เมื่อพนักงานทำงานอยู่ในองค์กรนานก็จะยิ่งมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น คนในบริษัทปูนซิเมนต์ไทยนั้น

“มีคุณธรรม มีคุณภาพ มีความสามารถมาก”

งานทุกอย่างสำเร็จลงได้ด้วยคน งานบริหารงานบุคคลเป็นหัวใจขององค์กร บุคลากรต้องมีความสามารถและความจงรักภักดี เพื่อนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ การบริหารคนที่ดีธุรกิจจะเจริญก้าวหน้า ดิฉันเห็นด้วยอย่างยิ่ง เรื่อง” คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดต่อองค์กร”

หากจะนำแนวคิดนี้นำมาใช้ในภาคราชการได้หรือไม่ และประเด็นที่ควรเพิ่มในปัจจุบัน

ในภาคราชการ หลักการนี้มีความสำคัญสำหรับภาคราชการ “การบริหารงานบุคคล” ซึ่งเป็นคำเดิมที่เคยใช้มาในอดีตนั้น เป็นคำที่สื่อถึงการดำเนินกิจกรรมพื้นฐานดั้งเดิม กล่าวคือ การสรรหา บรรจุ แต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน แต่ในปัจจุบันความหมายของ “คน” ในองค์กรไปไกลกว่านั้นมาก จึงเกิดคำว่า “การบริหารทรัพยากรมนุษย์” ขึ้น กล่าวคือมองเห็นว่าคนเป็นสิ่งสำคัญขององค์กรจึงเกิด“การบริหารทุนมนุษย์” หรือ “Human Capital “ซึ่งหลักการและแนวคิดนี้นำมาใช้ได้ทั้งในภาครัฐและเอกชนดังนี้

1) ด้านคุณธรรม องค์กรใดใดก็ตาม ต้องมีการปรับตัวอยู่เสมอตลอดเวลา ทำงานต้องมีคุณธรรม และมีจรรยาบรรณ ผู้นำองค์กรต้องทำงานอย่างมีคุณภาพคุณธรรมเพื่อเป็นตัวอย่างเรียกว่า”ตั้งไว้ในความเป็นธรรม “ให้เป็นที่เชื่อถือแก่ลูกน้อง ดูแลลูกน้องเป็นอย่างดี มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน จะทำธุรกิจหรือราชการก็จะเกิดประโยชน์ต่อชาติและบ้านเมืองมาก

2) ด้านคุณภาพ ใช้คนให้ตรงกับความรู้ความสามารถ (Put the Right Man on the Right Job) โดยการศึกษา คนดีและคนเก่ง ที่ต้องการสำหรับตำแหน่งต่างๆ แล้วนำไปสรรหาพัฒนาให้ได้บุคคลที่เหมาะสม ฝึกอบรมวิชาการใหม่ๆด้านวิชาการ ความรู้ใหม่ๆ นำเทคโนโลยีมาใช้ มีมโนทัศน์พัฒนาลูกน้อง ทั้งในภาครัฐและเอกชน ต้องมีงานวิจัยและพัฒนา (R&D) คนยิ่งพัฒนายิ่งมีคุณค่าเพิ่มมากขึ้น ตรงข้ามกับวัตถุที่มีคุณค่าลดลง เมื่อเวลาผ่านไป

3) ด้านคุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Work Life) : คือ ในการทำงานมี Work Life กับ Home Life ทำอย่างไรให้สมดุลกัน (Balance) ผู้นำที่มี Vision มองไปข้างหน้ายาวๆ จะมองเรื่องคนเป็น 2 ประเภท คือคนภายในองค์กร และคนภายนอกองค์กรซึ่งหมายถึงลูกค้า ต้องเอาใจใส่ลูกค้าด้วย ผู้นำต้องสร้างความผูกพัน สร้างความรักต่อองค์กร ดูแลจัดสวัสดิการที่ดี มีการปกครองที่ดี ให้ความเป็นธรรมกับลูกน้อง ให้โอกาสพิสูจน์ตัวเองหรือมีส่วนร่วมในการบริหารบริษัท มีการกระจายอำนาจ จนถึงวันที่เกษียณอายุก็ให้ผลประโยชน์ตามสมควรแก่ฐานะ ความสัมพันธ์ดังคำพูดของท่านพารณที่ว่า”ถ้าเรารักเขาแล้วหนีไม่พ้นที่เขาจะต้องรักเรา” แสดงถึงการสรรหา พัฒนา รักษาไว้ ใช้ประโยชน์มีความผูกพันและความรักในองค์กร

สรุปแนวทางนี้สามารถนำมาใช้ในภาคราชการได้อย่างแน่นอน เพื่อพัฒนาให้บุคลากร ทุกระดับ ให้มีสิทธิเท่าเทียมกัน พัฒนาทั้งผู้บังคับบัญชาและลูกน้องทุกระดับให้เป็นทั้ง”คนดี”และ”คนเก่ง”อย่างยั่งยืน

การบ้านวันที่ 25 มกราคม 2560 จากการดูเทปบทสนทนา ในรายการไทยมุงเรื่องการปฏิรูปการศึกษาพัฒนาการเรียนรู้เด็กไทยระหว่างรศ.ดร.ธงทอง จันทรางศุ และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การปฏิรูปการศึกษาไทยในยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0

ปัญหาการศึกษาไทยในปัจจุบันตามแนวคิดมี 3 ข้อคือ

ข้อ 1 การบริหารจัดการ การวางแผนการศึกษา ทั้งด้านงบประมาณด้านการบริหารหลักสูตร ขาดระบบการบริหารที่มีประสิทธิภาพ ส่วนหนึ่งคือด้านการบริหารงบประมาณ ได้ประโยชน์น้อยใช้งบประมาณมาก

ข้อ 2 ด้านครูผู้สอน ในปัจจุบันบางส่วนขาดจิตวิญญาณของความเป็นครู การบริหารครูผู้สอนอาจความเหลื่อมล้ำ การบริหารจัดการครูส่วนใหญ่ขาด Life long learning ขาดความคิดสร้างสรรค์ (Creativity )ขาดขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน

ข้อ 3 ในด้านเทคโนโลยี ซึ่งปัจจุบันได้ก้าวไกลมีโปรแกรมสำเร็จรูป สื่อการเรียนการสอนทางไกลสื่อสำเร็จรูป มีความสําคัญและก้าวไกลสถาบันการสอนใดที่มีประกอบด้วยเทคโนโลยีจะมีข้อได้เปรียบทางด้านการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและวิสัยทัศน์ของการทำงาน ในต่างประเทศนำหน้าไทยไปมาก

การปฏิรูปการศึกษาไทยในยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ทันสมัยไปสู่ยุค Digital economy หัวใจของการพัฒนาต้องมีคุณภาพ เพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย

การปฏิรูปต้องปฏิรูปในเรื่อง ระบบการบริหารให้มองตามแนวทาง Reality / relevence ควรจะพัฒนาเครือข่ายและบริหารหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ มีศักยภาพในการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน ในโรงเรียนทุกขนาดให้เท่าเทียมกัน มีแผนการสอนที่สามารถกระตุ้นเด็ก ให้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รักการเรียนรู้

ต้องส่งเสริมการเรียนการสอนให้ทั่วถึงจัดสรรทรัพยากรปรับพฤติกรรมผู้นำและผู้สอนพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมกับคนเรียน

ปฏิรูปครูโดย สร้างภาวะผู้นำ เพิ่มองค์ความรู้ modern management กระตุ้นการปรับพฤติกรรมของครู (behavior change) รู้จักมีการ learn, share ,care นำความรู้ที่ได้มาแบ่งปันกัน สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต life long learning สร้างค่านิยมที่ดีตลอดชีวิต

เสนอโครงการเพื่อการปฏิรูปการศึกษาไทยในปัจจุบัน

  • ชื่อโครงการ “โรงเรียนครูพันธ์ุใหม่เพื่อพัฒนาการศึกษาไทย “ โครงการนี้ก่อตั้งโดยกระทรวงศึกษาธิการเป็นสถาบันหมุนเวียน จัดการเรียนการสอนเพื่อฝึกภาวะผู้นำ modern management ให้ครูทั่วประเทศเป็นคอร์สสั้นๆระยะ 6 เดือนสอนให้ครูมีความรู้แบบบูรณาการและใช้หลัก HRDS เข้ามาในหลักสูตรการเรียนการสอน ให้ครูรู้จักรัก มีความสุขให้เกียรติซึ่งกันและกัน มีคุณค่าสร้างความยั่งยืนรู้จักยกย่องผู้อื่นให้ขวัญและกำลังใจกันเพื่อเรียนรู้ นำความรู้พัฒนาตนเองตลอดเวลา life long learning เน้นการทำงานเป็นทีม มีการนำ Case study ในแต่ละโรงเรียนมาแบ่งปันกันเพื่อเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้หลัก 4L’sเพื่อให้คุณครูมีทักษะไปต่อยอดได้ กระตุ้นเด็กได้ training for trainner สามารถทำงานเป็นทีมได้พัฒนาโรงเรียนและพัฒนาเด็กได้อย่างมีประสิทธิภา

Workshop-3 “วิภาคหนังสือทรัพยากรณ์มนุษย์พันธุ์แท้”

หนังสือ “ทรัพยากรพันธุ์แท้” ได้กล่าวถึงนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ 2 คน คือ นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) จบการศึกษาทางด้าน วิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งได้ถูกมอบหมายงานบริหารทรัพยากรบุคคล เมือครั้งยังดำรง ตำแหน่งผู้อำนวยการ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย ท่านได้บริหารงานในตำแหน่งนี้ได้อย่างยอดเยี่ยม ท่านเป็นคนใจเย็น พูดน้อย มีความอดทนสูง มีความเป็นกันเองกับผู้ใต้บังคับบัญชา รับฟังผู้อื่น และเปิดโอกาศให้พบปะหารือ เป็น two ways communication ท่านยังตระหนักถึงองค์กรต้องมีคนเก่ง ถ้าขาดคนเก่ง บริษัทคงแย่

ท่านได้สร้างทุนมนุษย์ โดยการให้ทุนการศึกษาแก่พนักงานฝ่ายบริหารทุกระดับ จำนวนหลายร้อยคนต่อปี อีกทั้งส่งไปศึกษาต่างประเทศ ทั้งระยะยาวและระยะสั้น

ท่านเน้นเรื่อง เก่ง 4 ดี 4 คือ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งเรียนดี 4 คือประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม

ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ในฐานะผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์ (คนแรก) ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวม 4 สมัย นอกจากนี้ยังเป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งมูลนิธิทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ท่านเน้นทฤษฎี 8K’s และ 5K’sHRDS4L’s ทฤษฎี 3V

จะเห็นได้ว่าทั้งสองท่านได้เน้น

ศ.ดร. จีระ คุณพารณ

Human Capital ให้ทุนการศึกษา

Intellectual Capital เก่ง 4 ( เก่งเรียน เก่งคิด)

Ethical Capital ดี 4

Happiness Capital Happy work place

Social Capital การทำงานเป็นทีม

<p “=”“>Sastainability Capital ขาดคนเก่งบริษทแย่มองผลระยะยาว </p> <p “=”“>Digital Capital หลักสูตรการเรียนรู้ใหม่ของโรงเรียนดรุณสิกขาลัยซึ่งเป็นโรงเรียน E-school แห่งแรกของเมืองไทย </p> <p “=”“>Talented Capital เก่ง 4 (เก่งงาน เก่งคน) </p>

หนังสือเล่มนี้เป็นการถ่ายทอดการบริหารคนผ่านทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ที่มีแนวทางการพัฒนาทุนมนุษย์ โดยมีเทคนิคในการบริหารคนหลากหลายและคิดค้นวิธีการพัฒนาศักยภาพคนอยู่ตลอดและนำมาปฏิบัติ ซึ่งทั้งสองท่านต้องอาศัยประสบการณ์และการลองผิดลองถูกกว่าจะมาเป็นทรัพยาการมนุษย์พันธ์ในวันนี้

วิภาคหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ คุณพารณและดร.จิระ

ก่อนอื่นขอกล่าวชื่นชมหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันแท้ว่าเป็นหนังสือที่มีแบบแผนดีมากอ่านสนุกและในเนื้อหาของหนังสือยังมีการนำเสนอหลักทฤษฎีต่าง ๆ เรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์ของทั้งสองท่านซึ่งสามารถนำมาประยุคใช้ในการดำเนินชีวิตจริงได้อย่างดียิ่ง

หนังสือวิภาคหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ คุณพารณและดร.จิระ ได้กล่าวถึงหลักการสร้างมูลค่าเรื่องทุนมนุษย์ในองค์กรโดยการนำทฤษฎีและแนวทางของทั้งสองท่านมาเป็นช่องทางในการพัฒนาบุคลากรในทุก ๆ ส่วนขององค์กรเพื่อให้มีความสุขในการทำงาน และสอดคล้องกับแนวทางความยั่งยืนของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงดำริไว้ ในหนังสือท่านพารณและท่านอาจารย์จิระได้กล่าวถึงแนวทางในดังนี้

1. HR Architecture 2.ทฤษฎี 3 วงกลม

3.ทฤษฎีทุน 8 ประการ (8 K’s) 4.ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ (5 K’s new)

5.ทฤษฎี 4 L’s 6.ทฤษฎี 2 R’s

7.ทฤษฎี HRDS

ซึ่งแนวทางและหลักการต่าง ๆ ที่ทั้งสองท่านได้บัญญัติไว้สามารถนำมาสร้างมูลค่าในการพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์กรได้อย่างแท้จริง

ข้อติชม เนื่องจากเป็นหนังสือที่มีหลักการและทฤษฎีต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในการนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์กรและสามารถ Apply ไปเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของบุคคลทั่วไปได้ จึงอยากให้อาจารย์ทำเป็น 2 ภาษาและเพิ่มช่องทางการจำหน่ายอีก แนะนำให้เพิ่มช่องทางการจำหน่ายเป็นแบบ e-Book เหมือนหนังสือต่างประเทศ เพื่อให้บุคคลทั่วไปและทั่วโลกสามารถเข้าถึงหนังสือของทั้งสองท่านได้สะดวกยิ่งขึ้น

วารุณี พูนพิพัฒน์กิจ

วิพากย์หนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

จากการได้อ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ โดยใช้วิธีการอ่านแบบคิดวิเคราะห์ อ่านแบบตั้งใจว่าจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากหนังสือเล่มนี้เพื่อการพัฒนาตนเอง นำหลักการแนวคิดและแนวปฏิบัติของบุคคลท่าน 2 ท่านคือ คุณ พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยาและศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ สองปราชญ์ทรัพยากรมนุษย์

จากประวัติท่านทั้งสองถือกำเกิดมาในชนชั้นปกครอง ถูกเพาะบ่มเลี้ยงดูจากครอบครัวที่ดี มีการศึกษาดี แต่ลักษณะการทำงานของท่านพารณและดร.จีระคล้ายกันตรงที่ “หัวถึงฟ้า ขาติดดิน”กล่าวโดยคุณสุชาญ โภคิน ซึ่งคำกล่าวนี้ได้สะท้อนว่า ท่านทั้งสอง เป็นคนจริง ทำอะทำจริง ทำต่อเนื่องและไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคใด ทำอย่างต่อเนื่อง ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน

ท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา (จอมยุทธ์ไร้สำนัก)

มีการบริหารแบบ Management by walking around คือลงไปคลุกกับพนักงานทุกจุด กล่าวว่า “คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร” ภายใต้แนวคิด การพัฒนาบุคลากรเป็นการลงทุน (Investment) ของบริษัท ที่มิใช่ต้นทุน (Cost) รวมถึงมีทักษะการรับฟัง (Listening skill) ซึ่งเป็นบุคลิกที่เด่นมากและใช้หลักการ high tech and high touch รวมทั้งเป็นผู้ลงมือทำก่อน “Action speaks louder than words”

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ (ผู้เชี่ยงชาญอิสระ)

มีการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม (Participate Management) ได้กล่าวว่า “ทรัพยากรมนุษย์คือ มูลค่าเพิ่มในระยะยาวไม่ใช่ต้นทุนอย่างเดียว” ท่านได้มองเรื่องปลูกและเก็บเกี่ยวว่า “Cultivation is not as important as harvesting” การเพาะปลูกสำคัญแต่การเก็บเกี่ยวย่อมสำคัญกว่า

“Global man” ให้ความหมายที่สะท้อนบุคลิกลักษณะของท่านทั้สองท่านทั้งสองคือ การมีวงจรชีวิตที่ต้องปฏิบัติสัมพันธ์กับคนต่างชาติอยู่เนืองนิตย์และประสบความสำเร็จ ทั้งในเชิงเป้าหมายงาน การยอมรับและความน่าเชื่อถือ ในการพัฒนาทุนมนุษย์ในระดับจุลภาค (Micro) และมหภาค (Macro) เห็นเป็นรูปธรรม

ท่านทั้งสองจึงเป็น Role Model แบบอย่างที่ดี สามารถนำสิ่งที่ท่านทั้งสองทำมาประยุกต์กับรูปแบบงานได้ดังนี้

จากท่านพารณ ท่านไม่ได้มองคนในด้านความเก่งอย่างเดียว แต่ท่านมองเชิงลีกในการพัฒนาคนให้เก่ง 4 เก่งงาน เก่งคน เก่งคิดและเก่งเรียน ซึ่งในความเก่งทั้ง 4 ด้านยังไม่เพียงพอสำหรับการพัฒนาองค์กร ท่านจึงเน้นย้ำให้มี ดี 4 ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม จะทำให้ทุกคนในองค์กรถูกปลูกจิตใต้สำนึกและอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน จากแนวคิดนี้ทำให้ดิฉันฐานะที่เป็นครูนอกระบบ จึงขอใช้หลักการลงมือทำก่อน “Action speaks louder than words” มาพัฒนาตนเอง

จากอาจารย์จีระ ทำให้ดิฉันได้ตระหนักว่า อย่าทำสิ่งใดเพียงแค่ได้ทำสิ่งนั้น แต่เมื่อเริ่มทำสิ่งใดต้องทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์จนสำเร็จสู่ความยั่งยืน “Cultivation is not as important as harvesting” การเพาะปลูกสำคัญแต่การเก็บเกี่ยวย่อมสำคัญกว่า โดยพัฒนาโรงเรียนเป็น School for learning not for schooling พัฒนานักเรียนให้เป็นผู้เรียนที่ดี (Good learner) นำไปสู่ Global Citizen

สรุปสิ่งที่จะนำพาให้เกิดผลสำเร็จคือ การเพิ่มทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital) และการสร้างการเรียนรู้ในแนวทาง 4 L’s ของท่านพารณ Village that learn หมุ่บ้านแห่งการเรียนรู้ School that learnโรงเรียนแห่งการรียนรู้ Industry that learn อุตสาหกรรมแห่งการเรียนรู้และ Nation that learn ชาติแห่ง เรียนรู้ และ 4L’s ของอาจารย์จีระ Learning Methodology เข้าใจวิธีการเรียนรู้ Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ Learning Opportunity สร้างโอกาสในการเรียนรู้ Learning Community สร้างชุมชนการเรียนรู้ เพื่อการเติบโตของนักเรียนที่จะประสบความสำเร็จในอนาคตและเป็นทุนมนุษย์ที่ยั่งยืน

Search Inside Yourself (ค้นหาภายในตัวคุณเอง) ที่เขียนโดย Chade Meng Tan เป็นหนังสือที่ดีมากและเป็นหนังสือกล่าวถึงหลักการที่สามารถนำมาใช้พัฒนาตนเองและองค์กรเพื่อบริหารพัฒนาทุนมนุษย์อย่างยั่งยืน

เนื้อหาหนังสือ Search Inside Yourself มีความคิดเห็น 3 ประเด็นดังนี้

1. การทำสมาธิและการเจริญสติเพื่อฝึกตนเองให้อยู่กับตนเอง คุณภาพของจิตใจเป็นพื้นฐานของความฉลาดทางอารมณ์ การฝึกความฉลาดทางอารมณ์ต้องเริ่มต้นด้วยการฝึกความสนใจ คือการฝึกความสนใจในการสร้างคุณภาพของจิตใจที่สงบและชัดเจนในเวลาเดียวกัน ให้เกิดความสงบโดยการทำสมาธิ สามารถควบคุมจิต ควบคุมอารมณ์ได้เกิดความมั่นคงทางด้านจิตใจ เมื่อจิตใจมีความมั่นคงจะทำให้เกิดความสุข รู้จักให้ความเอาใจใส่ต่อผู้อื่น ประพฤติตนเหมาะสม ซึ่งเป็นขั้นตอนแรก เพื่อให้เราสามารถมีความสุขในการดำเนินชีวิตในสังคมและการทำงาน

2. การฝึกจิตใจเพื่อสร้างการรับรู้ในกระบวนการคิดและอารมณ์ จนสามารถสังเกตกระแสความคิดและกระบวนการความรู้สึกได้ จะสร้างประเภทของความรู้ความเข้าใจที่ลึกซึ้งซึ่งจะช่วยสร้างนิสัยทางจิตที่เป็นประโยชน์ อยากให้ผู้อื่นมีความสุข นิสัยดังกล่าวสามารถได้รับการฝึกฝนได้ คือการเอาใจเขามาใส่ใจเราหรือการเข้าถึงความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่นให้มากขึ้น พึงเสมือนความต้องการที่ตัวเองควรมีควรได้เพื่อจะได้รับความไว้วางใจจากคนอื่น ความจริงใจนี้ สร้างความไว้วางใจการมีนิสัยเช่นนี้เปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างในที่ทำงาน ที่นำไปสู่การทำงานร่วมกันที่มีประสิทธิผลสูง

3. ความเพียรพยายามทำงานที่ตัวเองรักให้มีความสุขด้วยความพยายาม อุตสาหะเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ตามแนวทฤษฎี HRDS (Happiness, Respect, Dignity, Sustainability)

หนังสือเล่มนี้ พบว่าทำให้ค้นหาตัวตนของเราจนค้นพบความสามารถที่แท้จริง และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิต และการทำงานให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเรียนรู้ร่วมกันในองค์กร ด้วยความสุขที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

วิพากษ์หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุแท้

หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้เล่มนี้เป็นหนังสือที่ทรงคุณค่า เพราะในหนังสือเล่มนี้เป็นข้อเท็จจริงที่ให้ประโยชน์อย่างมาก เรื่องทั้งหมดในเล่มได้กลั่นมาจากประสบการณ์ในชีวิตการทำงานที่มีคุณค่ายิ่งของอาจารย์ 2 ท่านคือคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยาและ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ภูมิหลังของชีวิตที่เป็นอีกมิติหนึ่งของท่านมีความคล้ายคลึงกันและใกล้เคียงกันในบริบทของชีวิต ท่านถือกำเนิดมาในชนชั้นปกครองของสังคมเหมือนเหมือนกัน ท่านมีชีวิตวัยเด็กที่ได้รับการปลูกฝัง จากสิ่งแวดล้อมของครอบครัวที่เรียกว่า”การปลูกปัญญา “ ตั้งแต่วัยเด็กโดยแท้จริง

บนเส้นทางชีวิตของการทำงาน ท่านมีแนวคิดและเป้าหมายเดียวกัน คือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน โดยสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ที่มีความต่อเนื่องตลอดเวลา มีวิธีการคล้ายคลึงกันแต่ต่างบริบทกันโดยท่านหนึ่งอยู่ในภาคธุรกิจและอีกท่านหนึ่งอยู่ในภาคของการศึกษา

คุณพารณมุ่งมั่นพัฒนา หมู่บ้านแห่งการเรียนรู้ โรงเรียนแห่งการเรียนรู้ อุตสาหกรรมแห่งการเรียนรู้และชาติแห่งการเรียนรู้

ศ.ดร.จีระสอนให้เข้าใจวิธีการเรียนรู้ สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ สร้างโอกาสในการเรียนรู้และมุ่งมั่นในการสร้างชุมชนการเรียนรู้

โดยที่มีความเชื่อด้านคุณธรรมและจริยธรรม ในเรื่องคนเก่งและคนดี ต้องทั้งเก่งทั้งดี ท่านมีแนวคิดเรื่องคนคล้ายคลึงกันเชื่อกันว่า “คนเป็นสมบัติที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร ” คนสามารถพัฒนาได้ สามารถพัฒนาให้เป็นเลิศและสามารถแข่งขันได้ในระดับโลก

ในแนวคิดปรัชญาของปราชญ์ทั้งสองท่าน ท่านสามารถนำแนวคิดและความเชื่อและวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลของท่านลงสู่การปฏิบัติที่สามารถจับต้องได้จริง(Tangible) โดยการพัฒนาของท่านเริ่มตั้งแต่ระดับรากหญ้า เรียกว่าเริ่มจากระดับจุลภาคหวังสู่การเปลี่ยนแปลงในระดับมหภาค ทำงานด้านทรัพยากรมนุษย์โดยมุ่งมั่นปรัชญาแห่งความยั่งยืน มีความสุขกับการเป็นผู้ให้ทั้งความรู้และความรัก แก่คนทั่วไปและผู้ใกล้ชิด

ในฐานะผู้ที่ได้ศึกษาหนังสือเล่มนี้สิ่งที่ได้ คือความชื่นชมในความมุ่งมั่นตลอดระยะเวลาของท่านที่จะพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการไฝ่รู้ รักการเรียนรู้ตลอดชีวิต( life long learning) และกรอบแนวคิดอันทรงคุณค่า ในการสร้างนิสัยแห่งการเรียนรู้ เพื่อไปปรับใช้กับการดำเนินชีวิตส่วนตัวและนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กร ในสังคมให้ได้ประโยชน์สูงสุดต่อไป

จตุพจน์ ปิยัมปุตระ

ข้อ 3 สรุป 5 เรื่องที่คิดว่าคือวิธีการสำคัญ Outside the box

สำหรับวิธีการสำคัญในการผลักดันการคิดในลักษณะ Outside the box ที่ต้องการนำเสนอคือ

1. ผู้นำ (Leadership) เป็นองค์ประกอบสำคัญที่สามารถทำให้เกิดความเชื่อในการกระตุ้นความคิดใหม่ ๆ เพื่อนำสู่การเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนมุมมอง ซึ่งการเป็นผู้นำในที่นี่ อาจจะไม่ต้องนำการเปลี่ยนแปลงเสมอไป แต่อาจเป็นผู้นำที่อยู่เบื้องหลัง ที่สามารถดันบุคลากรให้คิดนอกกรอบ ตามศักยภาพที่แต่ละคนมี

2. การใช้หลัก 4Ls ในการสร้างความอยากรู้ การเรียนรู้ และการเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ ทั้งการสร้างวิธีการเรียนรู้ที่ดี (Learning Methodology) การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ที่ดี (Learning Environment) การสร้างโอกาสการเรียนรู้ร่วมกัน (Learning Opportunities) และการสร้างชุมชมแห่งการเรียนรู้ (Learning Communities) ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่กว้างขวาง และนำสู่การเรียนรู้แบบไขว้ผสม (Learning Cross Function) สู่การสร้างสรรค์และนวัตกรรม

3. การสร้างความอยากในการก้าวข้ามจากสิ่งเดิม ๆ หรือการส่งเสริมให้เกิด Passion ในการคิดนอกกรอบ และมีความกล้าที่จะคิดนอกกรอบ ทำตนเป็นน้ำไม่เต็มแก้วอยู่ตลอดเวลา

4. การศึกษาเรียนรู้ให้เกิดความเข้าใจอย่างท่องแท้ รู้จักศึกษา เกิดความเข้าใจ และพัฒนาต่อยอดเพิ่มเติม ใฝ่ศึกษาและสร้างความเคยชินกับวัฒนธรรมในการการคิดที่มีความหลากหลาย และการให้ความสำคัญต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการคิดนอกกรอบ

5. การจุดประกายความคิด (Inspiration) เพื่อนำสู่การคิดสร้างสรรค์ (Imagination) ที่เป็นความคิด/ข้อเท็จจริง และเกี่ยวข้องกับเป้าหมาย หรือสิ่งที่คาดหวังไว้

โดยสรุปคือ หัวใจสำคัญที่จะทำให้เกิดการคิดแบบ Outside the box ทุนมนุษย์พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ และวิธีการ เทคนิค และกลยุทธ์ต่าง ๆ ตามข้อ 2 – 5 จะมีผู้นำเป็นตัวเร่ง/ตัวเสริมให้สามารถเกิดแนวคิดนอกกรอบได้จริง

จากการบริหารงานที่จังหวัดระนอง ได้ใช้วิธีคิด และวิธีบริหารงานตามที่ได้นำเสนอ หากแต่เพื่อนรวมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา ร่วมถึงต้องร่วมแรง ร่วมใน ร่วมมือกันก้าวข้ามจากกรอบเดิมๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ ตามความต้องการของประชาชน

จตุพจน์ ปิยัมปุตระ

จากหนังสือ ทรัพยากรณ์มนุษย์พันธุ์แท้ โดยพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มีสาระคำคัญมุ่งเน้นที่ให้ความสำคัญการทุนมนุษย์ ซึ่งเป็นทรัพย์สินหรือทรัพยากรที่สำคัญที่สุด ที่ต้องเอาใจใส่ดูแล และเพิ่มพูนความรู้ความสามารถระยะยาว "ทุนมนุษย์ ยิ่งเก่า ยิ่งคม" ประเด็นนี้คือสิ่งที่นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะการบำรุงรักษา ความมุ่งมั่น และความผูกพันธ์ต่อหน่วยงาน ซึ่งแนวคิดของคุณพารณ และ ดร.จิระ ซึ่งใช้กับการบริหารพนักงานบริษัท แรงงาน แต่การบริหาร

ในภาคราชการ ก็เป็นประเด็นสำคัญยิ่งในปัจจุบัน การลงทุนกับทุนมนุษย์ของภาครัฐยังมีน้อย การพัฒนาด้วยการอบรม ไม่ใช่สิ่งเดียวที่จะสามารถพัฒนาคนได้ แต่ต้องพร้อมไปด้วยการมีวินัย สร้างความรู้รับผิดชอบ และการผูกพันธ์ต่อราชการ โดยฝังความเชื่อว่า เป็นอาชีพ ข้าของแผ่นดิน

นอกจากนี้ การสร้างทุนมนุษย์ของคุณพารณ และ ดร.จิระ ในส่วนที่เหมือนกันคือ การพัฒนาทุนมนุษย์ โดยมุ่งสู่หน่วงงานที่มีปนะสิทธิภาพ และนำสู่ผลการดำเนินการของหน่วยงานตามที่ตั้งเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม ในส่วยของคุณพารณ มุ่งเน้นการมีวินัย ความรับผิดชอบ ความจงรักภักดีต่อหน่วยงานเป็นส่วนสำคัญ ขณะที่ ดร.จิระ ให้ความสำคัญต่อทุนแห่งความสุข การได้รับการยอมรับ การให่เกียรติ และการนำสู่ทุนแห่งความยั่งยืน

ตากแนวคิดของทั้งสองท่าน ผมได้ตระหนักและใช้มาโดยตลอด การมีวินัย เห็นความสำคัญของผู้บังคัญบัญชา เพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา การส่งเสริมพัฒนาคนให้เกิดจากความรัก ระเบิดองค์ความรู้จากข้างใน บริหารงานบนฐานของความรับผิดชอบในหน้าที่ ขณะเดียวกัน สร้างความร่วมแรงร่วมใจ อยู่ในหน่วยงานร่วมกันอย่างมีความสุข ซึ่งสามารถให้เกิดผลลัพธ์ใกล้เคียงกับเป้าหมานที่ตั้งไว้ และได้รับการยอมรับจากคนในพื้นที่ หรือตามแนวทางของคนมหาดไทย ซึ่งต้องสามารถ "ครองตน ครองคน ครองงาน"

วิธีการฝึกให้มีศักยภาพในการ Think outside the box

การคิดนอกกรอบเป็นเรื่องดีแต่ว่าคนนั้นต้องมีพื้นฐานที่ดีและเป็นคนดี ในเรื่อง inside the box ต้องคิดและทำให้มีคุณภาพก่อน

หากเราต้องการคิดนอกกรอบ ดิฉันคิดว่าทฤษฎีท่านอาจารย์จีระ มีความเหมาะสมสามารถนำไปเป็นพื้นฐานและต่อยอดแนวคิดในการเพิ่มศักยภาพของมนุษย์

Think outside the box ในปัจจุบันมีความสำคัญมากต่อภาวะผู้นำและองค์กรต่างๆในที่นี้ขอนำเสนอ 5 เรื่องดังนี้

1.ผู้นำมีความสำคัญในการคิดนอกกรอบต้องฝึกความคิดรอบด้าน มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ต้องมี 8k’s, 5k’s มีความฉลาด ยุติธรรม เสียสละ กล้าหาญ มานะ อดทน รับฟังความเห็นของผู้อื่น(Learning from listening)

2.สร้างโอกาสจากปัญหา บางครั้งเกิดจากความบังเอิญ โดยใช้หลัก 3L’sเรียนรู้จากความเจ็บปวด(Learning from Pain)และประสบการณ์(Learning from experience) ซึ่งอาจทำให้จุดประกายใหม่ๆแตกต่างไปจากเดิมโดยใช้หลัก2i’s (Inspiration)จุดประกายความรู้ใหม่ๆ (Imagination)สร้างแรงบันดาลใจ ใช้หลัก 2R’s มองความจริง(Reality)ตรงประเด็น(Relevance)นำความคิดและสิ่งที่ไม่ประสบความสำเร็จออกมาแก้ไขเพิ่มเติมการปรับเปลี่ยน จนเป็นความคิดที่ดีที่สุด

3.ฝึกการระดมพลังสมองการทำงานเป็นทีมโดยใช้หลัก4L’s สร้างบรรยากาศองค์กรสร้างการเรียนรู้ สร้างโอกาส สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ในองค์กร ใช้หลักC-U-V ( Copy ,Understanding ,Value Creation)เพื่อสร้างสิ่งใหม่ ผู้นำต้องเป็นทั้งLeader/ Teacher เป็นครูด้วยในขณะเดียวกัน

4.ฝึกการคิดบวก ผู้นำทุกระดับและบุคลากรทุกระดับใช้หลัก HRDSในการทำงานคือสรรสร้างงานอย่างมีความสุขสร้าง องค์กรเป็นองค์กรแห่งความสุข ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน เสริมสร้างองค์กรให้สามารถพัฒนาไปได้อย่างยั่งยืน

5. เมื่อมีความสำเร็จแล้วไม่หยุดนิ่งต้องมีความพยายามในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆฝึกเน้น 3 V เพื่อนำความคิดไปสู่มูลค่าเพิ่ม เกิดความคิดใหม่ๆ และความหลากหลาย ( Value added ) ( Value Creation) ( Value Diversity )

พ.ต.อ.ผดุงศักดิ์ รักษาสุข

จากบทสนทนาของ อ.จีระ กับ ดร.ธงทอง ในรายการไทยมุง

1. ควรจะนำเสนอการปฏิรูปการศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0 อย่างไร

จากการสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การพัฒนาการศึกษาต้องก้าวตามให้ทัน ต้องมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมสอดคล้องทันยุค ทันสมัย การเรียนการสอนแบบเดิมๆ(เรียนในห้อง ท่องจำเพื่อสอบผ่าน) ด้วยความรู้เดิมๆ(หลักสูตรเก่า) วิธีการเดิมๆ(อ่านตามหนังสือ เขียนบนกระดานดำ ใช้ช๊อคสีเดียว หนังสือ/สื่อ ที่ไม่มีภาพ จับต้องไม่ได้) คุณภาพครูแบบเดิมๆ(หัวโบราณ ทำงานทุกอย่างตั้งแต่นักการ เสมียน ผู้สอน ผู้บริหาร) สิ่งแวดล้อมแบบเดิมๆ(ห้องสี่เหลี่ยม มองไม่เห็นหน้ากัน ไม่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในห้องเรียน) เรียนด้วยความเครียด ไม่สนุก ไม่ดึงดูดความสนใจ ภาพเก่าเหล่านี้ จะต้องถูกปรับเปลี่ยนอย่างทันทีทันใดเพื่อให้ทันกับยุคไทยแลนด์ 4.0 เป้าหมายสำคัญคือการสร้างพลเมืองที่เป็นคนดี มีศีลธรรมและเป็นคนมีคุณภาพตามศักยภาพของตน และหากนำกรอบ 3 ด้านมาพิจารณา เห็นควรปฏิรูประบบการศึกษาดังนี้

1. ด้านการบริหารจัดการ

1.1 ด้านงบประมาณ ควรให้ ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้นำทางการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ ชั้นเตรียมอนุบาล อนุบาล ประถม มัธยม มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกัน วางแผน กำหนดกรอบงบประมาณที่จำเป็นในแต่ละช่วงให้สอดคล้องกัน และเป้าหมายสูงสุดคือเด็กในระบบการศึกษาทุกคน ต้องสามารถใช้ชีวิตในระดับอาเซียนได้ เพิ่มทุนทุกด้าน ทั้ง 8 K’s และ 5 K’s ให้กับเด็ก ตามวัย อย่างเป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอน

1.2 ด้านหลักสูตร ไม่เพียงแค่ความรู้เชิงวิชาการ แต่ต้องบ่มเพาะคุณธรรม จริยธรรมอย่างต่อเนื่อง ไม่ปล่อยเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ผู้ปกครองเท่านั้น เพราะในปัจจุบันครอบครัวไทยที่อยู่ในภาคผู้ใช้แรงงาน มีความอ่อนแอ ทุนทางจริยธรรมน้อย หากนำหลัก 4 L’s มาวิเคราะห์ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปอย่ามโหฬาร

- Learning Methodology วิธีการเรียนรู้ที่ดี การเรียนรู้จากหนังสืออย่างเดียวในห้องเรียนคงไม่พอ ต้องมีการฝึกปฏิบัติจริงควบคู่เสมอ ต่อเนื่อง เห็นของจริง จับต้องได้จริง เช่นเรียนเรื่องพืช แต่เด็กไม่ได้สัมผัสของจริง ทั้งที่ในชุมชนมีทรัพยากรอยู่อย่างมากมาย

- Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ การศึกษาหาความรู้จากภายนอก จากชุมชน จากหน่วยราชการ ภาคเอกชน สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนทุกระดับสนใจมากขึ้น การจัดห้องเรียน ให้ผู้เรียนมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้

- Learning Opportunities สร้างโอกาสการเรียนรู้ ต้องสามารถตอบสนองผู้เรียนให้ได้ ถ้าอยากเรียนรู้ในเรื่องใด สามารถช่วยเหลือสนับสนุนได้ทุกมิติ แล้วส่งเสริมไปตามศักยภาพแต่ละบุคคล เด็กอยากสร้างหุ่นยนต์ สามารถให้คำแนะนำได้จากแหล่งความรู้ต่างๆ

- Learning Communities สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทำอย่างไรให้เด็กกลับมาบ้านแล้ว ยังมีบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ มีกลุ่มคนที่อยู่ในความสนใจของผู้เรียนตามระดับที่เหมาะสม เข้าถึงได้ ทั้งในโลกแห่งความเป็นจริงและโลกออนไลน์

1.3 ด้านความคิดสร้างสรรค์ ระบบราชการต้องยืดหยุ่น อ่อนตัว เปิดโอกาสให้ผู้บริหาร สามารถตัดสินใจ ปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่ ไม่ติดขัด ระบบ ระเบียบราชการ อาจกำหนดเป็นภารกิจของหน่วยงานว่าต้องมีการพัฒนาระบบการเรียนการสอนด้วยความคิดสร้างสรรค์ให้เป็นรูปธรรม จับต้องได้ในทุกระดับ

2. ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา ความขาดแคลนครูในต่างจังหวัดเป็นปัญหามาก ทั้งที่คนมีความรู้ ตกงาน อยู่ตามชุมชน หมู่บ้านต่างๆ มากมาย ต้องสร้างระบบเอาคนเหล่านี้ มาเป็นอาสาสมัคร หรือนำไปอบรมระยะสั้นๆ เพื่อให้มีความรู้ สามารถเป็นครูผู้ช่วยได้ โดยอาจให้สิทธิประโยชน์/สวัสดิการ ที่ไม่ได้เป็นรูปตัวเงิน ที่สำคัญ คนที่มาทำหน้าที่ครู ต้องสามารถเป็น Role Model หรือส่งเสริมให้ผู้เรียน มีต้นแบบที่ถูกต้อง เหมาะสมกับวัย ไม่ใช่ยึดถือดาราเป็น Idol ประการสำคัญเรื่องคุณภาพครู ทั้งในแง่ความรู้ จริยธรรม และจิตวิญญาณความเป็นครู ต้องมีการประเมินอย่างสม่ำเสมอ

3. ด้านสื่อการเรียน การสอน และอุปกรณ์ช่วยสอน ต้องปรับปรุงสื่อการเรียนการสอนให้ทันสมัย ใช้ Multimedia การได้ดูหนังประวัติศาสตร์ย่อมตื่นเต้น เร้าใจว่าการอ่านหนังสือประวัติศาสตร์แบบเดิมๆอย่างแน่นอน ที่สำคัญ ต้องสามารถเปรียบเทียบให้เห็นว่าระบบสื่อการเรียนการสอน ทัดเทียมกับนานาประเทศหรือไม่

2. เสนอโครงการเพื่อปฏิรูปการศึกษาไทยในปัจจุบัน

เพื่อให้ประชาชนคนไทย มีขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับอาเซียน ควรปฏิรูประบบการศึกษาให้สอดคล้องกับหลักการ Life Long Learning ดังนี้

  • ระดับก่อนปฐมวัย เน้น เพิ่มทุนมนุษย์ เสริมสร้างพัฒนาการ ทางร่างกาย จัดอาหารให้
  • ระดับอนุบาล เน้นเพิ่มทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนแห่งความสุข สร้างระเบียบวินัย
  • ระดับประถม วัยนี้ ร่างกายกำลังเจริญเติบโต ต้องสร้างการเรียนรู้ ทักษะการตัดสินใจ
  • ระดับมัธยม เพิ่มทุนต่อเนื่องจากระดับก่อนๆ แต่เน้นเรื่องทุนทางสังคม สร้างเครือข่าย
  • ระดับอุดมศึกษา เพิ่มทุน 5K’s อย่างเต็มที่ เพิ่มเติมจาก 8 K’s ในวัยเด็ก สามารถเป็น
  • การศึกษานอกระบบ ผู้ที่หลุดพ้นจากระบบการศึกษาภาคบังคับด้วยเหตุผลต่างๆ ต้อง
  • การศึกษาต่อเนื่องตามสาขาอาชีพ รัฐต้องจัดหาวิธีการ วางระบบ เพิ่มพูน ทักษะและ
  • การศึกษาเพื่อการบริหารจัดการ การเข้าสู่ตำแหน่งบริหารทุกระดับ ของทุกหน่วยงานทั้ง

เหมาะสมเพียงพอต่อการเจริญเติบโตทางร่างกายและเตรียมความพร้อมด้านสติปัญญา และปลูกฝังบ่มเพาะ วางรากฐานระเบียบวินัย ความเสียสละ ความสามัคคี

ต่อเนื่อง บ่มเพาะปลูกฝังการกล้าแสดงออก

ฝึกการใช้เหตุผล ฝึกการเรียนรู้แบบสัมผัส จับต้องได้จริง เพราะเป็นวัยอยากรู้อยากเห็น

พันธมิตร เพื่อนในวัยนี้ถือว่าเป็นเพื่อนที่บริสุทธิ์ ปราศจากผลประโยชน์ หาโอกาสให้ได้แลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนต่างโรงเรียน ต่างประเทศ เหมือนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ มีโครงการแลกเปลี่ยนระหว่างนักเรียนในอาเซียน ในระยะสั้นๆ อาจเป็นช่วงปิดเทอม เน้นการเรียนรู้เพื่อความรู้ ไม่ใช้ความรู้เพื่อการสอบเท่านั้น ปลูกฝังเรื่องวินัยและความเสียสละ คุณธรรม จริยธรรม

Role model ให้กับเด็กระดับต่ำกว่าได้จริง เพื่อตนเองจะได้เรียนรู้ พัฒนาตนเองอยู่เสมอ

เพิ่มทุน 8 K’s ทุกด้าน เพราะถือว่าเป็นกลุ่มคนที่ไม่เป็นปกติ อาจมีปัญหาต่างๆที่ต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือเป็นพิเศษ เพราะอาจมีต้นทุนมนุษย์ที่ต่ำกว่าคนอื่นๆในสังคม กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ต้องเข้ามาให้ความรู้ วางระบบพัฒนาอย่างจริงจัง เพราะคนกลุ่มนี้ มีแนวโน้มที่จะก่อปัญหาทางสังคมในอนาคต ต้องรีบหาทางป้องกันแก้ไขเป็นรายบุคคล โดยร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และโรงเรียนในระบบ สำรวจ ตรวจสอบ ขึ้นทะเบียน สร้างแรงบันดาลใจ ชักจูงหักเหให้ไปในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสม ก่อนจะสายเกินไป

ความรู้ใหม่ๆ ตามสาขาอาชีพที่แท้จริง เพราะส่วนมากทำงานไม่ตรงตามความรู้ โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดหลักสูตรที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่และความเป็นอยู่ ภาคเอกชนมีข้อกำหนดให้ต้องพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง มีทักษะในการคิดสร้างสรรค์ มีสถาบันที่ส่งเสริมการคิดค้น นวัตกรรมใหม่ๆ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม ท่ามกลางความหลากหลายในสังคม

ภาครัฐและเอกชน หรือการเป็นผู้นำในรูปแบบต่างๆ ต้องได้รับการฝึกอบรมอย่างจริงจัง ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รับรู้เรื่อง Modern Management หรือเพิ่มช่องทางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในทุกมิติ สร้างเครือข่ายสังคมแห่งการเรียนรู้ เหมือนเช่น ชุมชนพอเพียง.com

ที่สำคัญทุกระดับการพัฒนาการศึกษา ควรยึดหลัก HRDS อย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และ

ต่อเนื่อง

พ.ต.อ.ผดุงศักดิ์ รักษาสุข

บทวิจารณ์หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ HR.Champions

โดย พ.ต.อ.ผดุงศักดิ์ รักษาสุข

จริงหรือที่ว่า พารณ อิสระเสนา ณ อยุธยา กับ จีระ หงส์ลดารมภ์ คือ HR.CHAMPIONS ทำไมต้องเชื่อ?

หนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ HR.Champions เป็นหนังสือเล่มแรก แบบพ๊อคเก็ตบุ๊ค ของ จีระ หงส์ลดารมภ์ เรียบเรียงโดย ปวันท์วีย์ ผู้ที่ทำงานใกล้ชิดกับ จีระ มาอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับแรงบันดาลใจจากเพื่อนฝูงในแวดวงวิชาการทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์และพวกเขาเหล่านั้นเขียนหนังสือจากประสบการณ์ต่างๆ เมื่อมองย้อนกลับ จีระ มีประสบการณ์เต็มเปี่ยมไม่แพ้กัน นอกจากตัวเขาเอง ยังมี Role Model คนสำคัญอย่าง พารณ หากเขาจะเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา ย่อมมีสาระ ความรู้ ที่เกิดประโยชน์ต่อทรัพย์ยากรมนุษย์ อย่างเราๆ แน่นอน แล้วเราจำเป็นต้องเรียนรู้อะไรบ้างจากหนังสือเล่มนี้ ทำไม จิระ จึงแนะนำให้พวกเราได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ถ้าตอบคำถามตนเองได้ว่า พวกเราคือ Globle CitiZen และยังอยากเป็น Leader ด้วย คงต้องติดตามอย่างจดจ่อ แบบบ้าคลั่ง(Passion) และมีเป้าหมาย(Purpose)

ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ HR.Champions นำเสนอรูปแบบวิธีคิด วิธีการทำงาน ปรัชญาการทำงาน การดำเนินชีวิต เปรียบเทียบ ระหว่างคนสองคน ที่มีอายุต่างกันถึง 20 ปี แต่เส้นทางกลับคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาดใจ คนหนึ่ง การศึกษาดี อายุน้อย ประสบความสำเร็จเร็ว สนใจเรื่องทรัพย์ยากรมนุษย์ ริเริ่มก่อตั้งสถาบันที่สำคัญ มี Role Moel ชื่อพารณ ส่วนอีกคนหนึ่ง มาจากครอบครัวใหญ่ ขุนนางเก่า ถูกบ่มเพาะด้านคุณธรรม จริยธรรม ตั้งแต่เล็ก ไม่เว้นแม้แต่คุณธรรมในการจีบผู้หญิง มีความเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ รู้จักคนเยอะ ทั้ง Know How และ Know Who เป็นคนประเภท ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม มี Role Model คือ Prof.Papert แห่ง Media Lab ครั้นเมื่อเราติดตามเนื้อหาในรายละเอียด สิ่งที่ค้นพบ ในแง่ความรู้และประสบการณ์ เราได้เห็นชัดเจนว่า ถ้าจะประสบความสำเร็จในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ควรต้องมีความคิดแบบที่ว่า “คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร” การพัฒนางาน การเพิ่มผลผลิต ต้องพัฒนาควบคู่ไปพร้อมๆกับการพัฒนาคน ก่อนจะไปพัฒนาใครเขา มาพัฒนาตนเองก่อนดีไหม ถูกต้อง การพัฒนาตนเองจากการเรียนรู้ Learning from pain , Learning from experience , Learning form listening และต้องเรียนรู้แบบต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง Life Long Learning ข้อสำคัญฟังให้มาก ก็จะได้ความรู้จากทั้งสามแบบ เมื่อมีความรู้ต้องรู้จักแบ่งปัน ห่วงใย Share and Care จะเห็นได้ว่าบุคคลใกล้ชิดที่เคยทำงานหรือเคยสัมผัสใกล้ชิดกับ จีระ และ พารณ ต่างได้รับความรู้และพูดถึงบุคคลทั้งสอง อย่างมีความสุข ยกย่องนับถือ ให้เกียรติ และเชื่อมั่นอย่างยั่งยืน มุมมองด้านการลงมือ ทั้งสองทำจริง ฝ่าฟันปัญหาอุปสรรคอย่างกล้าหาญ จีระ พลิกปิรามิด มุ่งเผยแพร่ความรู้ให้กับคนจำนวนมาก เข้าถึงระดับผู้คนระดับล่าง ฐานกว้าง ขึ้นไปสู่ยอดปิรามิดที่มีจำนวนน้อยกว่า แบบที่ไม่มีใครทำมาก่อน เป็นความคิดแบบ Outside Box นอกเหนือจากนั้น จีระ เชื่อว่า “การเพาะปลูกสำคัญก็จริงแต่การเก็บเกี่ยวย่อมสำคัญกว่าCultivation is not important as havesting “ เมื่อพัฒนาคนได้ดีแล้วแล้วต้องรู้จักบริหารคน เพื่อใช้งานได้อย่างเหมาะสม ส่วนพารณ ใช้วิธี Management by walking around ใกล้ชิด ติดปัญหา คนระดับล่างเข้าถึงง่าย เป็นผู้ที่มี Listening skill สูง เขามีความเชื่อว่า เมื่อพัฒนาคนให้เก่งและดีแล้ว ต้องไม่ลืมที่จะสร้างความจงรักภักดีด้วยการให้ความรัก พร้อมกับสร้างวินัย โดยนำระบบ 5 ส.มาใช้ เมื่ออ่านเนื้อหาถึงตอนท้ายๆ คงเริ่มอินกับมัน จึงรู้สึกจุกอก เมื่อเห็นข้อความที่ว่า “ มันไม่มีเหตุผลอะไรมากไปกว่าจะบอกว่า ถ้าตะลุยเรียนรู้ร่วมกัน จนถึงบรรทัดนี้ คุณคือ “คนพันธุ์แท้” คนหนึ่งที่พร้อมจะรับมรดกความคิดของสองปราชญ์ทรัพยากรมนุษย์คู่นี้ เพื่อสร้างชาติไทยให้แกร่ง พร้อมยืนหยัดอยู่บนโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างมีชัยชนะ” นี่มันทฤษฎี 2 I’s ชัดๆ เพราะมันจุดประกาย(Inspiration) และสร้างแรงบันดาลใจ(Imagination) ได้อย่างเยี่ยมยอด

มาถึงตรงนี้ ไม่ใช่เพียง พารณ กับ จีระ เท่านั้น แต่ต้องรวมถึงพวกเราที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ด้วย ที่ต้อง motivate for something useful for society เพราะว่าพวกเราต่าง belive in action แล้วก็เชื่ออย่างหมดใจว่า พารณ อิสระเสนา ณ อยุธยา กับ จีระ หงส์ลดารมภ์ คือ HR.CHAMPIONS ตัวจริง หากผู้ที่จะเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารทุกคนได้ซึมซับ ปรัชญา แนวคิดของปราชญ์ทั้งสองท่าน เป็น Role Model เชื่อว่าประเทศชาติคงก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง ยั่งยืน ตลอดไป

พ.ต.อ.ผดุงศักดิ์ รักษาสุข

ยกตัวอย่างความสำเร็จเรื่อง Outside the box 3 เรื่องและอธิบายว่าเพราะอะไร

Outside the box หมายถึง การคิดอย่างแตกต่าง อย่างไม่เป็นไปตามแบบแผน หรือการคิดเพื่อสร้างมุมมองใหม่ ๆ ไม่จำกัดความคิด ความรู้ หรือความคิดเห็น วลีนี้มักจะหมายถึงการคิดที่แปลกใหม่หรือสร้างสรรค์ เช่น ในโลกเรามีขยะอยู่มากมาย ทำให้เกิดแก๊สต่าง ๆ มากมายจากการเน่าเสีย ซึ่งเป็นมลพิษ เราน่าจะนำแก๊สเหล่านี้มาผลิตกระแสไฟฟ้า หรือ การนำพลังงานจากแสงอาทิตย์ มาสร้างรถยนต์โซล่าเซลล์ เป็นต้น ตัวอย่างความสำเร็จที่พบเห็นได้อย่างชัดเจนดังนี้

เรื่องที่ 1 การนำร้านสะดวกซื้อ 7-11 เข้าไปอยู่รวมกับปั้มป์น้ำมัน ปตท.

ถือเป็น วิธีคิดที่แปลกใหม่ ซึ่งในอดีตการค้าขายของกินของใช้ จะอยู่ในอาคารพาณิชย์ย่านการค้า ในห้างสรรพสินค้า แหล่งชุมชน หรือร้านโชว์ห่วย แต่ในราว ปี 2512 บริษัท ซีพีออล์ ได้สัญญาบริหารแฟรนไชส์ 7-11 และเริ่มเปิดบริการแห่งแรกที่อาคารพาณิชย์ย่านถนนพัฒน์พงศ์ ในปี 2532 ต่อมาราวปี 2545 ได้นำร้าน 7-11 ไปให้บริการในปั้มป์ ปตท.(ผ่านไป 13 ปี) โดยขายไปยังสถานีบริการน้ำมันปตท.เกือบทุกแห่ง เพื่อให้ครอบคลุมทั่วประเทศไทย ทั้งในรูปแบบทั่วไป ระดับสูง และในสวน ปตท. (PTT Park) ส่งผลให้มีผู้ใช้บริการมากกว่า 4 ล้านคนต่อวัน และตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 บริษัทฯ เปลี่ยนไปใช้ชื่อปัจจุบัน

ในปัจจุบัน เซเว่น-อีเลฟเว่น ในประเทศไทย มีจำนวนประมาณ 8,000 สาขา (ณ เดือนตุลาคม 2557) เฉพาะในกรุงเทพมหานคร มีมากกว่า 500 สาขา รองลงมาคือชลบุรี มีมากกว่า 200 สาขา ซึ่งไทยมีสาขามากเป็นอันดับ 3 รองจากญี่ปุ่นและไต้หวัน ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังถือเป็นร้านค้าปลีกที่มีเครือข่ายมากที่สุด โดยมียอดขายเฉลี่ย 65,019 บาท ต่อวันต่อสาขา หากนำทฤษฎี 3 V’s มาวิเคราะห์ จะเห็นว่า สถานีบริการน้ำมัน มี Value Added Value Creation และ Value Diversity ถือได้ว่าเป็นการคิดนอกกรอบในเรื่องสถานที่จัดจำหน่ายสินค้าที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก

เรื่องที่ 2 การนำเทคโนโลยี่ด้านคอมพิวเตอร์มาผนวกรวมอยู่กับโทรศัพท์เคลื่อนที่

สมาร์ทโฟน ( smartphone) เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่มีความสามารถที่เพิ่มเติมนอกเหนือจากโทรศัพท์มือถือทั่วไป สมาร์ทโฟนได้ถูกมองว่าเป็นคอมพิวเตอร์พกพาที่ทำงานในลักษณะของโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยที่สามารถเชื่อมต่อความสามารถหลักของโทรศัพท์มือถือ เข้าร่วมกับแอปพลิเคชั่นของโทรศัพท์เองสมาร์ตโฟนสามารถให้ผู้ใช้งานติดตั้งโปรแกรมเสริมสำหรับเพิ่มความสามารถของโทรศัพท์ตัวเอง โดยรูปแบบนั้นขึ้นอยู่กับแพลตฟอร็มของโทรศัพท์และระบบปฏิบัติการ
คุณสมบัติของสมาร์ทโฟน
1. การเชื่อมต่ออุปกรณ์ไร้สาย นี่เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่จะทำให้ smart-Phone เช่น นั่นคือการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ PDA โทรศัพท์เครื่องอื่น พริ้นเตอร์ หรือกล้องดิจิตอล ผ่านทาง อินฟราเรด บลูทูธ หรือ Wi-Fi

2. สามารถรองรับไฟล์ Multimedia ได้หลากหลายรูปแบบ เช่นไฟล์ ภาพ,ภาพเคลื่อนไหว เช่นภาพเคลื่อนไหวสกุล .gif เสียง ซึ่งก็จะมีหลายรูปแบบ เช่น ไฟล์ Wave, MP3, Midi ต่อไปเป็นไฟล์วิดีโอ ซึ่งจะสามารถรองรับภาพเคลื่อนไหว หรือภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียง เช่นสกุล .3gp .mp4 เป็นต้น

ถือได้ว่าการพัฒนาจากโทรศัพท์มือถือธรรมดา ที่ทำได้เพียงรับ-ส่ง เสียงสนทนา มาเป็นสมาร์ทโฟนที่มีคุณสมบัติดังกล่าวมาแล้ว หากนำทฤษฎี 3 V’s มาวิเคราะห์ จะเห็นว่า สมาร์ทโฟน มี Value Added , Value Creation และ Value Diversity ครบถ้วน เป็นการคิดนอกกรอบที่นำไปสู่การพัฒนาที่เกิดประโยชน์ในทุกๆด้าน

เรื่องที่ 3 การขายสินค้าออนไลน์ e-commerce

ถือเป็นการค้าขายที่แตกต่างไปจากรูปแบบธุรกิจเดิมๆ ซึ่งในสมัยก่อนผู้ทำการค้ามักจะต้องมีคลังสินค้า มีสถานที่ มีหน้าร้าน มีการผลิตหรือบริการด้วยตนเอง แต่ในปัจจุบัน มีผู้นิยมซื้อ-ขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ตจำนวนมาก มีผู้ให้บริการของบริษัทระดับนานาชาติ เช่น อาลีบาบา ลาซาด้า ในประเทศไทย ศูนย์หนังสือต่างๆแทบทุกสำนัก สามารถให้บริการลูกค้าสั่งซื้อหนังสือที่มีอยู่ในคลังหนังสือได้อย่างสะดวก รวดเร็ว จะเห็นได้ว่า มีสินค้าแทบทุกประเภทตั้งแต่สินค้าอุตสาหกรรม อะไหล่ ชิ้นส่วน สินค้าฟุ่มเฟือย เช่นอัญมณี เครื่องประด้บ เสื้อผ้าแบรนด์เนม อยู่ในอนเตอร์เน็ต ล้วนได้รับความนิยม ยอดการขายสินค้าชนิดต่างๆทางอินเตอร์เน็ต เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การค้าทุกระดับมีการขยายตัว แม้แต่ภาคเกษตรกรรม เกษตรกรรุ่นใหม่ มี เฟจเฟสบุ๊ค มี Line Id เพื่อประชาสัมพันธ์ผลผลิตทางการเกษตร ทั้งยังเป็นช่องทางการจัดจำหน่าย โดยผู้ให้บริการสามารถกระจายสินค้าตามคำสั่งซื้อได้หลายวิธี ทั้งทางไปรษณีย์ ทางระบบขนส่งเอกชน เช่น Kerry การชำระค่าสินค้าหรือบริการ ก็สามารถกระทำได้อย่างรวดเร็ว สามารถโอนเงินทางโทรศัพท์มือถือ ส่งหลักฐาน ไปทาง Line หรือ E-mail หรือสามารถชำระเงินปลายทางทันทีที่ได้รับสินค้าโดยจ่ายผ่านผู้ขนส่งสินค้า เป็นต้น การมองหากลุ่มลูกค้าทำได้อย่างกว้างขวาง เพิ่มยอดขายได้อย่างมาก การค้าขายระหว่างประเทศผ่านระบบ IT ต่างๆ สามารถกระทำได้อย่างสะดวกง่ายดาย หากนำทฤษฎี 3 V’s มาวิเคราะห์ จะเห็นว่า E-commerce มี Value Added Value Creation และ Value Diversity ถือว่าผู้คิดค้นวางระบบ e-commerce เป็นการคิดแบบ Outside the box ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท