​ย่ออภิธรรมพุทธ 1


ข้อคิด

1.คนกับการรับรู้โลก

พุทธแบ่งคนรับรู้ 2 ทางคือ ทางนอกและทางใน ทางนอกมี 5 ทางคือ

ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รับรส กายได้สัมผัส ทางในมี 1 ทางคือ ใจได้รับรู้

แง่พุทธมองว่าการรับรู้ทางนอกทางในนั้นถือว่าจิตมีส่วนรับรู้ด้วยเสมอ ด้วยว่า...พุทธศาสนาถือว่าการรับรู้ผ่านทางอายตนะทุกครั้งไม่ว่าจะเป็นอายตนะใดก็ตามแต่ จิตมีบทบาทร่วมด้วยเสมอ.( น.2 )

มุมพุทธสำหรับจิตคนนั้นมี 3 บทบาทคือ รับรู้ รู้สึกและคิด ความรู้สึกแง่พุทธมี 3 คือ ชอบ ไม่ชอบและเฉย

สำหรับ... การรับรู้ที่ไม่บริสุทธิ์นี้พุทธศาสนาวิเคราะห์ว่าคือ สาเหตุหลักของความทุกข์ในชีวิตมนุษย์. ( น. 6 )

2.บทบาทภาษาเมื่อรับรู้

ต้องเข้าใจว่า...ภาษาที่ใช้โดยคนธรรมดาทั่วไปนั้นไม่ตรงกับความเป็นจริงในโลกแห่งความเป็นจริง.( น.8 )

แม้...การเรียนวรรณคดีนั้นมีจุดประสงค์หนึ่งคือการกระตุ้นจินตนาการของมนุษย์ โดยเราเข้าใจว่าจินตนาการที่ละเมียดละไมจะช่วยหล่อหลอมจิตใจของผู้คนให้ละเอียดอ่อน คนที่ตลอดชีวิตไม่ชอบอ่านหนังสือดี ๆ เชื่อกันว่าจิตใจจะกระด้างกว่าเขาในสภาพที่ได้รับการกล่อมเกลามาด้วยภาษาที่งดงามของวรรณคดี. ( น. 10 )

สำหรับ...สิ่งที่เป็นปัญหาในภาษาที่พุทธศาสนาพยายามชี้ให้เรามองเห็นก็คือ ความหลงยึดติดว่าอะไรก็ตามแต่ที่ภาษาชี้ไปหาจะต้องเป็นจริงตามนั้น. ( น. 11 )

อย่างไรก็ตาม...แต่ปัญหาอยู่ที่การไม่รู้เท่าทันมายาภาพที่ภาษาอาจจะสร้างให้แก่เราผู้ใช้ภาษานั้นต่างหาก. ( น. 12 ).

.............................................

บรรณานุกรม

สมภาร พรมทา. 2559. พุทธปรัชญาในอภิธรรมปิฎก. นนทบุรี : บริษัทปัญญ

ฉัตร์ บุ๊คส์ บายดิ้ง จำกัด.

หมายเลขบันทึก: 619635เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2016 21:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ธันวาคม 2016 21:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณครับ คุณแสงแห่งความดี

ที่เข้ามาฝากรอยไว้ครับ

หวังว่ายังมีความสุขอยู่เสมอนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท