การเข้าใจกับเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านการพูดและภาษา


การเข้าใจกับเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านการพูดและภาษา

เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านพูดและภาษาจะมีความแตกต่างกันไปตามประเภทของความผิดปกติซึ่งจะมีลักษณะการพูดติดอ่างและการพูดตะกุกตะกักมีปัญหาในการเรียงประโยคคำพูด มีความลังเลที่จะพูดหรือสื่อสารกับบุคคลอื่นๆ สาเหตุหลักๆของปัญหาความบกพร่องทางด้านการพูดและภาษานั้นถือว่าเป็นปัญหาความบกพร่องทางด้านการเรียนรู้ ซึ่งเกิดจาการทำงานของสมอง ที่ผิดปกติส่งผลทำให้เด็กมีปัญหาในเรื่องของการออกเสียง การสื่อสารด้วยเสียงพูด

เด็กที่มีความบกพร่องในด้านนี้ต้องการความรัก ความอบอุ่น ความเอาใจใส่ ความเข้าใจ จากบุคคลภายในครอบครัวเป็นสำคัญ ซึ่งบุคคลภายในครอบครัวนั้นถือได้ว่า เป็นแรงบัลดาลใจอย่างหนึ่งที่จะทำให้เด็กมีกำลังใจสู่ต่อและอยู่ร่วมในสังคมต่างๆได้โดยที่ไม่ถูกมองว่าเป็นเด็กที่มีความบกพร่องหรือถูกมองข้ามถึงความสำคัญทางด้านความสามารถในตัวของเด็ก ถึงแม้ว่าเด็กจะเป็นผู้ที่มีความบกพร่องทางด้านการพูดและภาษานั้นไม่ได้ หมายความถึงความสามารถในตัวเด็กในด้านอื่นๆ ที่เด็กสามารถทำได้และทำได้ดี ถ้าเด็กถูกมองข้ามเขาอาจจะเอาสิ่งนี้มาเป็นปมด้อยของตนเองเพื่อปิดกั้นความสามารถของตนเอง ดังนั้นเราควรที่จะเปิดโอกาสให้เด็กๆเหล่านี้ได้เข้ามามีบทบาทหรือส่วนร่วมต่างๆเหมือนกับเด็กปกติทั่วไป ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เข้ามามีบทบาทอะไรที่สำคัญแต่อย่างน้อยก็ทำให้เด็กๆเหล่านั้นได้มีกำลังใจที่จะสู้และข้ามผ่านอุปสรรคต่างๆได้โดยมีบุคคลในครอบครัวค่อยอยู่เคียงข้างค่อยให้กำลังใจ สิ่งที่สำคัญสำหรับผู้ปกครองของเด็กควรที่จะมีการเข้าพบผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อขอคำปรึกษาในการดูแลและการรักษาที่ถูกต้องเพราะทางผู้เชี่ยวชาญจะมีวิธีการรักษาที่ตอบสนองต่อพัฒนาการและวัยของเด็กได้อย่างเหมาะสม

เมื่อเด็กอยู่ที่โรงเรียนครูจะต้องมีการจัดระบบในเรื่องการเรียนการสอนเพื่อให้สอดคล้องกับตัวเด็ก ให้เด็กๆได้ทำหลายๆสิ่งเหมือนกับเพื่อนในห้อง ไม่ควรที่จะทำให้เด็กเกิดความเครียด กดดัน หรือความกังวลใจเพราะเด็กเหล่าเพราะอาจทำให้เด็กหลีกเลี่ยงการเข้ากลุ่มหรือเข้าสังคมกับเพื่อนๆ ได้ และอาจจะก่อให้เกิดปมด้อยในตัวเด็กทำให้เด็กไม่กล้าที่จะแสดงออกในสื่อสารหรือการพยามที่จะพูดคุยกับเพื่อนๆอีก ดังนั้นครูควรที่จะเอาใจใส่ดูแลและอธิบายถึงสิ่งที่เด็กเหล่านี้เป็นให้กับเด็กนักเรียนในห้องของตนได้รับรู้และให้เด็กๆทุกคนค่อยช่วยเหลือเพื่อนดูแลซึ่งกันและกัน แต่มิใช่ใช้คำพูดเหล่านั้นเพื่อก่อปมด้อยให้เด็กเหล่านั้น ควรมีการสร้างแรงจูงใจให้กับเด็กเพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้อยากที่จะเข้ามาร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ และสิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือ โรงเรียนควรจะมีการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับเด็กเพื่อเป็นการกระตุ้นพัฒนาการของเด็กด้วย ทางโรงเรียนอาจจะมีการจัดผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาช่วยในการดูแลเด็กๆที่มีความบกพร่องและเป็นการเพิ่มความรู้ในการดูแลเด็กเหล่านี้ให้กับครูประจำชั้นและผู้ปกครองของเด็กซึ่งถือว่าเป็นได้ว่าเป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ปกครองกับโรงเรียนในการส่งเสริมและการพัฒนาเด็กที่มีความบกพร่องดังกล่าว

ดังนั้นสิ่งที่สำคัญทั้งทางด้านผู้ปกครอง ครูและโรงเรียนจะต้องมีการร่วมมือกันในการดูแลเด็กทั้งในส่วนของร่างกาย อารมณ์และจิตใจของเด็กให้ร่าเริงและเข้มแข้งอยู่ตลอดเวลาทำให้เด็กรู้สึกว่าตนเองไม่ได้เป็นเด็กที่มีความบกพร่องที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และมีการประชุมกันระหว่างโรงเรียน ครู และผู้ปกครองเพื่อรายงานพฤติกรรมและผลการเรียน พัฒนาการต่างๆของเด็กๆเหล่านั้นให้กับผู้ปกครองได้ทราบว่าเด็กมีพัฒนาการเป็นอย่างไรและควรที่จะปรับปรุงจุดอ่อนตรงไหนของเด็ก

นางสาวบุณยาพร เมฆขลา รหัสนักศึกษา 56181860237 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 4 หมู่ 2

หมายเลขบันทึก: 619630เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2016 20:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ธันวาคม 2016 12:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท