KM in R2R "สุนทรียสนทนา"


KM in R2R "สุนทรียสนทนา"

ในช่วงที่ผ่านมาของการขับเคลื่อน R2R ได้มีการนำเครื่องมือที่นิยมใช้ในกระบวนการ KM มาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ R2R คือ สุนทรียสนทนาหรือ Dialogue ร่วมกับการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening)

ได้เรียนรู้อะไรจากการนำเทคนิคนี้มาใช้...

"สุนทรียสนทนาจะใช้ได้ดีเมื่อคนในวงมีความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะของการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) ในหลายๆ ครั้งเวลาที่มีประเด็นเกิดขึ้นหลายประเด็น การสนทนาจะเปลี่ยนไป ...กลายเป็นการถก อภิปราย และมีการผูกขาดการเป็นผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญ ... สิ่งที่ขาดหายไปคือ การกระตุ้นให้บุคคลเกิดการเรียนรู้และแสวงหาคำตอบด้วยตนเอง ด้วยการอาศัยกัลยาณมิตรเป็นผู้ช่วยในการสะท้อนคิด ..."

"การผูกขาด...ทำให้เกิดการปิดกั้นจินตนาการ ...เพราะจะเป็นการจดจำเข้าไปแทนที่ อาจจะเป็นด้วยความคุ้นชินของการถูกป้อนข้อมูล บอกความรู้ มากกว่าการกระตุ้นให้เกิดการสร้างความรู้..."

"บางครั้ง ... สิ่งที่น่าตระหนักคือ ...คุณอำนวยควรเป็นเพียงผู้ทำหน้าที่ฟัง และสะท้อนคิดในบางครั้ง แต่จะไม่เป็นผู้บอกความรู้ เพราะเมื่อไรของการทำหน้าที่เป็นผู้บอกความรู้ กระบวนการเรียนรู้อาจจะบิดเบือนไป..."

"การผูกขาด การเป็นผู้พูด ... จากผู้เชี่ยวชาญกว่า เป็นสิ่งที่พบค่อนข้างบ่อย และเมื่อไรก็ตามถ้าในวงรู้ว่าใครคือ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ที่รู้สึกด้อยกว่าจะไม่กล้าพูด...หรือแสดงความคิดเชิงสร้างสรรค์ ตรงกันข้ามถ้าผู้เชี่ยวชาญทำหน้าที่ของการเป็นคุณอำนวยที่ดีที่มีทักษะของการฟังอย่างลึกซึ้ง จะทำให้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อยอดทางปัญญาเป็นลำดับอย่างน่าเบิกบานใจ"

"การหยิบประเด็น ...ที่นำมาพูดคุยกันควรดำเนินไปทีละประเด็น จบเป็นเรื่องๆ บางครั้งความอดทนในการฟังของผู้คนในวงจะมีน้อย เพราะแต่ละคนอยากจะเล่าในสิ่งที่ตนเองอยากเล่า การเล่าเรื่องจึงมักเกิดวงเล็กๆ ซ้อนขึ้นมา ต่างฝ่ายต่างพูด ทำให้เราขาดการทำความเข้าใจในเรื่องที่ได้ยินและได้ฟัง..."

การที่ได้เราได้ฟัง...ใครคนหนึ่งพูด มันทำให้เราเกิดความนอบน้อม เพราะเราต้องมีความอดทนเป็นพื้นฐานที่จะไม่พูดแทรก หรืออยากพูดสิ่งที่มีอยู่ในใจ ... และเมื่อเราตั้งใจฟัง เราจะเห็นหัวใจของผู้พูด เห็นความคิด ความรู้สึก ... แต่เมื่อไรที่เราขาดการฟัง แม้แต่เสียงในใจเรายังแทบจะไม่ได้ยิน

เมื่อเราตั้งใจฟัง...อาการปิ๊งแว้ปมักจะเกิดขึ้นอยู่เสมอ

แต่...ถ้าต่างฝ่ายต่างอยากพูด สิ่งนี้ก็ยากที่จะเกิด ...ปิ๊งแว้ปหายไป...

การสทนาบางครั้งอาจจำเป็นใช้การถกหรืออภิปราย แต่ในทัศนะส่วนตัวการสุนทรียะสนทนานั้นทำให้วิถีแห่งการเรียนรู้เราเนิบช้าลง ... และมองความเป็นไปรอบด้านได้อย่างลึกซึ้งขึ้น

บ่อยครั้ง...ที่เจอวงแย่งกันพูด

สิ่งที่ทำได้ คือ นั่งลงเงียบๆ และฟังเสียงของลมหายใจเข้าและออกของตนเอง แล้วเราจะเห็นเรื่องราวมากมายในตัวเราและสิ่งรอบด้าน

...


คำสำคัญ (Tags): #km#r2r#dialogue
หมายเลขบันทึก: 618168เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2016 21:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2016 21:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สิ่งที่กล่าวมาใช่เลย

การฝึกคนให้ตั้งใจฟังคนอื่นเล่าได้จนจบได้

จะได้เรียนรู้สิ่งต่างๆจากคนเล่าได้มากมาย

เหมือน theory U

พี่แก้วเคยนำมาใช้ในการ ลปรร

ได้บทเรียนดีดีอย่างแน่นอน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท