การรวมงานนวัตกรรมเทคโนโลยีกระจกเปลี่ยนสีกับการขับขี่ยวดยานพาหนะ


การรวมงานนวัตกรรมเทคโนโลยีกระจกเปลี่ยนสีกับการขับขี่ยวดยานพาหนะ

หลักการ

ในปัจจุบันมีจำนวนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน Sedan จำนวน 7,848,629 คัน แหล่งข้อมูล: กลุ่มสถิติการขนส่ง กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบก จำนวนรถจดทะเบียน (สะสม) ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 ซึ่งรถยนต์ส่วนใหญ่จะป้องกันความร้อนจากรังสี UV โดยใช้วิธีการติดฟิล์มป้องกัน UV ซึ่งกฎหมายการบังคับใช้ฟิล์มกรองแสง ได้ยกเลิก ตั้งแต่ปี 2543 ด้วยเหตุว่าจะมีรถจำนวน 3,875,199 คัน ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดฟิล์มคำนวณในอัตราคันละประมาณ 3,000 บาท จะต้องใช้เงินสูงถึง 11,625 ล้านบาท

เหตุผล

ปัญหาที่พบในประเทศไทย พบว่าสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงทั่วโลก อากาศร้อนขึ้น ความแห้งแล้งทั่วโลกได้เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าใน 30 ปีที่ผ่านมา 2 เท่า (ที่มา:http://www.greenpeace.org/seasia/th/campaigns/climate-and-energy/impacts/) การป้องกันความร้อนภายในรถยนต์คือการติดฟิล์มกรองแสง และปัญหาที่พบ คือ หากติดฟิล์มกรองแสงที่กรองแสงได้น้อยจะทำให้แสง UV ลอดผ่านเข้ามาในรถได้มาก การรับรังสีอัลตราไวโอเลตมากเกินควร ก่อให้เกิดอันตรายกับระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้ รังสีอัลตราไวโอเลตในช่วง UVC มีพลังงานสูงที่สุด และที่สำคัญคืออันตรายที่สุด (ที่มา: https://th.wikipedia.org) และหากติดฟิล์มกรองแสงทึบเกินไปอาจเป็นผลดีในตอนกลางวัน แต่จะเป็นปัญหาในการขับขี่ตอนกลางคืน ซึ่งทำให้การมองเห็นหรือทัศนวิสัยไม่ดี มองไม่เห็นเส้นทางจราจรหรือผู้ขับขี่ หรือสิ่งกีดขวางใด ๆ อันอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

แนวความคิด

จากปัญหาดังกล่าวทำให้ ข้าพเจ้าคิดทบทวนว่า ทำไมผู้ผลิตรถยนต์ไม่ผลิตรถยนต์ที่ มีกระจกบานหน้าที่สามารถกรองแสง UV และปรับสีของกระจกได้ เช่นเดียวกับการใช้เทคโนโลยีการผลิตเลนส์แว่นตา “ โมเลกุลโฟโตโครมิกปรับสภาพตามแสงแดด อุณหภูมิส่งผลต่อโมเลกุลในเลนส์โฟโตโครมิก โดยเมื่ออยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนจะไม่ปรับสีให้เข้มเท่ากับในสภาพอากาศที่เย็นกว่า เนื่องจากความร้อนมีปฏิกิริยาต่อโมเลกุล โมเลกุลในเทคโนโลยี Chromea7 มีโครงสร้างที่เป็นอิสระจากอุณหภูมิ ซึ่งหมายถึงจะปรับสีให้เข้มขึ้นเมื่ออยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น “ (ที่มา: http://www.transitions.com)หรือ ที่เรารู้จักกันดีในชื่อ “เลนส์มัลติโค๊ต ปรับแสงหรือออโต้เลนส์ ”

ในอนาคต

ในอนาคตเชื่อว่าผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ ต้องมีการทบทวน คิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคซึ่งในการนำเทคโนโลยีกระจกเปลี่ยนสีมาใช้ในการผลิตรถยนต์ส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็นยนตร์กรรมระดับโลกหรืออีโค่คาร์จะต้องตอบสนองและยอมรับในนวัตกรรมดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

********************************************************************

Information Privacy Policy OCT 12 , 2016 By Mr.Pipat Jutiamornlert

หมายเลขบันทึก: 617484เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2016 16:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มีนาคม 2017 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท