แม่ตั้งครรภ์ควรรู้


ตั้งครรภ์ 1 เดือน

เพื่อให้ก้าวแรกของชีวิตลูกน้อยเริ่มต้นอย่างดีที่สุด สู่ความเป็นอัจฉริยะรอบด้านในอนาคต ตั้งแต่วันแรกที่คุณแม่ตั้งครรภ์ อย่าพลาดที่จะเริ่มก้าวแรกของตัวเองให้ดีที่สุดเช่นกัน แล้วแต่ละก้าวในเดือนนี้จะเป็นอย่างไร? ทุกคำตอบได้รวมไว้แล้วที่นี่ ให้คุณได้เรียนรู้ และทำตามได้ง่าย ๆ แบบก้าวต่อก้าว และต่อให้คุณเป็นคุณแม่มือใหม่แค่ไหน ก็เริ่มต้นก้าวแรกนี้เพื่ออัจฉริยะตัวน้อยในครรภ์ได้อย่างมั่นใจ!

ตั้งครรภ์ 2 เดือน

แม้ช่วงนี้คุณแม่หลายคนอาจมีอาการแพ้ท้อง แต่ต้องตระหนักไว้เสมอว่าลูกน้อยในครรภ์ก็มีพัฒนาการอย่างไม่หยุดนิ่งทั้งทางร่างกายและโดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์สมอง ถึงจะเหนื่อยคุณแม่ก็ต้องพยายามกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยทุกเวลาที่มีโอกาส ด้วยสารพัดเคล็ดลับคัดสรรมาให้คุณ

ตั้งครรภ์ 3 เดือน

ลูกน้อยยังคงมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ทุกเวลา ทุกนาที! และในเดือนนี้ลูกเริ่มมีอวัยวะครบ เรียกได้ว่าเป็นทารกเต็มตัวแล้ว การดูแลครรภ์และกระตุ้นพัฒนาการลูกรอบด้านก็ต้องปรับเปลี่ยนตามให้ทันตามช่วงวัย ไม่ยาก เพียงเรียนรู้เคล็ดลับต่าง ๆ คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถทำได้ด้วยตัวเอง

แม่ท้องต้องเลี่ยง “เค็ม”

ช่วงนี้คุณแม่ทานอาหารได้มากขึ้น จึงต้องให้ความใส่ใจกับอาหารที่ทานด้วย คุณแม่ควรเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด เพราะมีโซเดียมในปริมาณสูง คุณแม่อาจคิดว่าโซเดียมเป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการ แต่หากรับประทานในปริมาณสูงก็อาจส่งผลต่อสุขภาพได้ โดยเฉพาะแม่ตั้งครรภ์ เพราะการทานอาหารที่มีรสเค็มจัดเป็นเวลานานๆ มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดอาการบวมและความดันสูงได้ง่าย ซึ่งเป็นสัญญาณหนึ่งว่าจะเกิดครรภ์เป็นพิษได้

ตรวจเช็กพัฒนาการลูกน้อย สัปดาห์ที่ 16-18

ฉลาดเรียนรู้

ดูแลอาหารการกิน ดื่มนมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีดีเอชเอ แร่ธาตุต่างๆ อย่างนมเอนฟามาม่า วันละ 2 แก้ว เพื่อพัฒนาสมองลูกในครรภ์

ฉลาดเคลื่อนไหว

ลูกรู้สึกถึงสัมผัสได้แล้ว ออกกำลังกายเบาๆ เช่น เดิน โยคะ เพื่อพัฒนาประสาทสัมผัสและการทรงตัวของลูก

ออกกำลังกายเบาๆ เช่น ปั่นจักรยานอยู่กับที่ เพื่อพัฒนาประสาทสัมผัสและการทรงตัวของลูก

ฉลาดด้านอารมณ์

ดูรูปภาพที่คุณแม่ชอบ เช่น ภาพเด็กน่ารัก ภาพวิวทิวทัศน์ เพื่อพัฒนาอารมณ์และสมองลูก

ทำกิจกรรมที่ทำให้สบายใจ อารมณ์ดี เช่น อ่านหนังสือเล่มโปรด อารมณ์ดีของแม่ส่งผลต่ออารมณ์ของลูก

คุณแม่เปลี่ยนแปลงอย่างไร

เมื่อายุครรภ์ 19 สัปดาห์ มดลูกที่โตสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจะทำให้เส้นเอ็นที่ยึดมดลูกทางด้านข้างถูกยืดจนตึง ดังนั้นถ้ามีการ ล้มตัวลงนอนตรงๆ หรือ เคลื่อนไหวเร็วๆ เช่น ลุกจากท่านั่งหรือแค่เอี้ยวตัวคุณแม่จะรู้สึกเจ็บบริเวณด้านข้างของมดลูกได้

มดลูกจะโตขึ้นเรื่อยๆ ปีกมดลูกก็จะตึงขึ้นเรื่อยๆ จนถึง 28สัปดาห์มดลูกจะโตจนชนชิดผนังของช่องท้อง ทำให้มดลูกไม่สามารถโยกไปมาในแนวซ้ายขวา อาการตึงเจ็บปีกมดลูกก็จะบรรเทาลง

คุณแม่อาจรู้สึกปวดตามข้อต่อเส้นเอ็นต่างๆ เพราะน้ำหนักตัวของคุณแม่ที่มากขึ้น ข้อต่อเส้นเอ็น ต่างๆก็ต้องแบกรับน้ำหนักมากขึ้นถ้ามีอาการปวดมากขึ้นจนรบกวนการใช้ชีวิต ให้ปรึกษาคุณหมอ

การเติบโตของร่างกายและสมองของลูกน้อยในช่วงอายุครรภ์ 6 เดือน

คุณแม่จะรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์มากขึ้นในช่วงเดือนนี้ เพราะทารกจะเริ่มเตะ ม้วนตัว และหกคะเมนตีลังกาไปมาเพื่อฝึกทักษะด้านการเคลื่อนไหว บวกกับขนาดร่างกายของทารกที่โตขึ้น จนถึงประมาณ 11 - 16 นิ้ว (28 - 40 ซ.ม.) และหนักประมาณ 1.3 กิโลกรัม คุณแม่อาจจะเริ่มสังเกตได้ว่าเวลานอนของเจ้าตัวเล็กไม่ตรงกับของคุณแม่ แต่ไม่ต้องกังวล เพราะทารกจะเริ่มเคลื่อนไหวน้อยลงเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น เพราะเขาจะมีที่ให้ขยับตัวน้อยลง

ในเดือนถัดไป ลูกน้อยของคุณจะเริ่มพัฒนาประสาทสัมผัสใหม่ มาดูพัฒนาการของประสาทการรับกลิ่นของลูกน้อยในช่วงต้นของไตรมาสที่ 3 ได้ที่ ตั้งครรภ์ 7 เดือน กับพัฒนาการลูกน้อย

พ่อแม่ทุกคนต่างคุยกับลูกน้อยในครรภ์ อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับพัฒนาการการได้ยินและพัฒนาการด้านอื่น ๆ ของทารกในช่วงตั้งครรภ์ 5 เดือนได้ที่นี่ ตั้งครรภ์ 5 เดือน กับพัฒนาการลูกน้อย

หากคุณแม่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพัฒนาการของทารกตลอดช่วงระยะเวลาตั้งครรภ์ คำแนะนำด้านโภชนาการ และรับสิทธิประโยชน์เพื่อลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์จนถึง 3 ปี คุณสามารถสมัครสมาชิก Enfa Smart Club ผ่านแอพพลิเคชั่นเพื่อแม่ตั้งครรภ์ฟรี ที่นี่ Enfa A+ Genius Baby

โภชนาการ เพื่อลูกน้อยในครรภ์ สัปดาห์ที่ 27

ขาดแคลเซียมเสี่ยงเกิดตะคริวยามตั้งครรภ์

ตะคริว นับเป็นหนึ่งในอาการยอดฮิตที่มักเกิดกับคุณแม่ตั้งครรภ์ อาการนี้ป้องกันได้ไม่ยาก สาเหตุของการเกิดตะคริว มาจากการที่เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่ดีพอ จึงทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการหดเกร็ง รวมถึงการได้รับน้ำและสารอาหารอย่างแคลเซียมไม่เพียงพอ ซึ่งคุณแม่สามารถป้องกันได้ด้วยการ "กิน" อาหารให้เหมาะสม นั่นคือ...

ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ

กินอาหารที่อุดมด้วยสารอาหารอย่างแคลเซียม เช่น นมและผลิตภัณฑ์นม ปลาตัวเล็กที่กินได้ทั้งก้าง ฯลฯ เพราะพบว่าการมีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำทำให้เกิดตะคริวได้ ในกรณีที่คุณหมอพบว่าคุณแม่เป็นตะคริวบ่อยๆ ก็จะสั่งแคลเซียมเม็ดเสริมให้

กินอาหารที่มีวิตามินอีสูง เช่น ถั่วเมล็ดต่างๆ ซึ่งช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น

กินอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น กล้วย ส้ม

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ส่วนใหญ่มักมีอาการตะคริวกินขณะนอนหลับ อาจแก้ไขด้วยการกินอาหารประเภทปลา ไข่ ในมื้อเย็น หรือดื่มนมก่อนนอน เมื่อเป็นตะคิวให้แก้ไขได้โดยการเหยียดขาตรง เอามือข้างหนึ่งกดเข่าไว้ และเอามืออีกข้างดันปลายเท้าเข้าหาตัว แต่ถ้าท้องใหญ่แล้วจับปลายเท้าไม่ถึง ก็ให้เหยียดขาตึงแล้วเอาเท้ายันกำแพงไว้ แล้วก็กดที่หัวเข่าเหมือนเดิมเพื่อไม่ให้เข่างอ จะช่วยให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้นค่ะ


วิธีเลือกของใช้เด็กอ่อน

เมื่อเริ่มต้นเป็นคุณแม่แล้ว การวางแผนและเตรียมพร้อมสิ่งต่างๆ สำหรับลูกรักไม่มีที่สิ้นสุดจริงๆ ค่ะ เพราะตั้งแต่มีหัวใจเล็กๆ ส่งสัญญาณตุ๊บๆ อยู่ในท้อง แม่ก็แทบทำทุกอย่างเพื่อสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูก ดังนั้นก่อนที่สมาชิกตัวน้อยจะออกมาดูโลก คุณแม่มือใหม่ควรเลือกของใช้เด็กทารกที่จำเป็นบางส่วนสำหรับลูกน้อยไว้แต่เนิ่นๆ เช่นกัน

ผ้าอ้อมและผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กแรกเกิด (new born) ในระหว่างวันคุณแม่ควรใช้ผ้าอ้อมมาใส่ให้กับลูกน้อย สามารถเลือกใช้ได้ทั้งผ้าสาลูหรือผ้าคอตต้อน และควรเตรียมไว้หลายๆ ผืน เพราะในช่วงแรกทารกจะฉี่และถ่ายบ่อยมาก ส่วนผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กแรกเกิด ควรเลือกที่มีผิวสัมผัสอ่อนนุ่ม ทำให้ลูกน้อยไม่ระคายเคือง และมีการซึมซับที่ดี ไม่อับชื้น ใส่กระชับเพื่อป้องกันการไหลเลอะเทอะ แต่ควรใช้เวลาออกนอกบ้านหรือเวลาที่จำเป็น ไม่ควรใช้บ่อยเพราะจะทำให้ทารกเป็นผื่นแดงง่าย

เสื้อผ้าเด็กอ่อนถุงมือถุงเท้าจำเป็นมากสำหรับในรายการของใช้เด็กแรกเกิด ควรเลือกเสื้อผ้าที่นิ่มและระบายอากาศได้ดี เสื้อควรเลือกแบบผูกเชือกป้าย ง่ายต่อการอุ้มลูกน้อยสวมใส่ อาจจะซื้อเผื่อขนาดไว้เล็กน้อยเพราะเด็กจะค่อยๆ โตขึ้นเร็วมาก สำหรับถุงมือถุงเท้าในช่วงแรกๆ ควรใส่ให้เบบี๋เพื่อกันเล็บขีดข่วน แต่ควรสลับถอดออกเพื่อให้เด็กได้ขยับนิ้วมือนิ้วเท้าได้อย่างอิสระด้วย

เตียงนอนที่นอนเด็กผ้าห่มผ้ายางรองนอน ควรจัดที่นอนให้ลูกอย่างเป็นสัดเป็นส่วน และอยู่ในบริเวณบ้านที่อากาศถ่ายเท สำหรับเครื่องนอนของลูกควรหมั่นทำความสะอาดและเปลี่ยนทุกครั้งที่ลูกฉี่หรือถ่ายรด ผ้ายางสำหรับรองนอนควรมีอย่างน้อย 1 ผืนใช้รองใต้พื้นที่นอนลูกหรือใต้ผ้าอ้อมเพื่อป้องกันการซึมเลอะเทอะ และช่วยให้ทำความสะอาดบริเวณที่สกปรกได้ง่ายขึ้น

ขวดนม จุกนม และภาชนะสำหรับต้ม นึ่ง ขวดนมปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ขวดนมให้คุณแม่เลือกหลายยี่ห้อ ควรเลือกขวดนมที่ผ่านการรับรองมาตรฐานคณะกรรมการอาหารและยา และมีมาตรฐาน มอก. เป็นขวดนมแบบ BPA Free หรือขวดนมที่ปลอดสาร Bisphenol A สามารถทำความสะอาดง่ายและทนความร้อนสูงเวลาที่นำขวดไปนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อจะไม่ละลายเกิดอันตรายต่อทารก สำหรับจุกนมควรเลือกขนาดที่เหมาะสมกับวัยของทารก และควรเปลี่ยนการใช้งานทุกๆ 3 เดือน

อ่างอาบน้ำควรเลือกขนาดอ่างที่พอดีกับวัยทารก

ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก สบู่ แชมพู แป้ง ครีมบำรุงผิว ฯลฯ ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีสารอันตราย และไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง

อุปกรณ์ทำความสะอาดเสื้อผ้าและอุปกรณ์เครื่องใช้สำหรับเด็ก เช่น น้ำยาซักผ้า น้ำยาล้างขวดนม

ผลิตภัณฑ์ยาสามัญที่ใช้สำหรับเด็กเล็กและของใช้อื่นๆ เช่น ยาบรรเทาอาการคันหรือแมลงสัตว์กัดต่อย ยาบรรเทาอาการหวัด ปรอทวัดไข้ ลำลี คอตตอนบัด กรรไกรตัดเล็บ หวี เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 615808เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2016 12:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2016 12:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท