หลักการและจรรยาบรรณทางสังคมสงเคราะห์


หลักการสังคมสงเคราะห์

งานสังคมสงเคราะห์มีหลักการที่สำคัญที่นักสังคมสงเคราะห์ต้องยึดถือเป็นหลักในการปฏิบัติงานดังนี้

1.หลักการยอมรับ หมายถึง การยอมรับผู้มาขอรับบริการว่าเป็นมนุษย์คนหนึ่ง มีศักดิ์ศรี มีความต้องการ และมีความสามารถในตนเอง

2.. หลักในเรื่องปัจเจกบุคคล หมายถึง การเข้าใจว่ามนุษย์ทุกคนมีลักษณะเฉพาะตัว มีความ แตกต่างกันทั้งในด้านรูปร่าง หน้าตา ลักษณะท่าทาง อุปนิสัยใจคอ ความรู้สึกทางด้านจิตใจ การแสดงออก เป็นต้น

3. หลักการไม่ตำหนิติเตียนผู้ที่มีปัญหา หมายถึง การที่นักสังคมสงเคราะห์จะต้องมีทัศนคติที่ดีต่อผู้รับบริการ ไม่ติเตียนหรือประณามการกระทำของผู้รับบริการ

4.หลักการตัดสินใจด้วยตนเอง โดยถือว่าบุคคลทุกคนมีสิทธิในการเลือกแนวทางในการดำเนินชีวิตและแก้ไขปัญหาของเขาเอง นักสังคมสงเคราะห์จะเป็นแต่เพียงผู้ที่คอยชี้แนะเท่านั้น

5 .หลักการเก็บรักษาความลับ เป็นจรรยาบรรณของนักสังคมสงเคราะห์อย่างหนึ่ง เนื่องจากผู้ที่มีปัญหาทุกคนย่อมไม่ต้องการให้เรื่องราวหรือปัญหาของเขาเป็นที่เปิดเผยล่วงรู้ต่อบุคคลอื่น นักสังคม

กระบวนการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์

การปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ ประกอบไปด้วยกระบวนการ 5 ขั้นตอน คือ

1.การศึกษาและวิเคราะห์ปัญหา โดยนักสังคมสงเคราะห์จะต้องศึกษาหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้มีปัญหาแล้วทำการวิเคราะห์ปัญหา เพื่อหาแนวทางแก้ไข ป้องกัน ฟื้นฟู และพัฒนา

2.การตรวจสอบทรัพยากร เป็นการสำรวจถึงบริการต่าง ๆ ที่จัดในหน่วยงานว่าตรงกับปัญหาและความต้องการของผู้ขอรับบริการหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อนำมาใช้ในการแก้ไขป้องกันปัญหา

3.การวางแผนแก้ไขและป้องกันปัญหา ควรคำนึงถึงการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้มาขอรับบริการ ในการดำเนินการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาของเขาเอง รวมทั้งพิจารณาว่ามีวิธีการหรือบริการอย่างใดบ้างที่จะเข้ามาเพื่อบรรเทาหรือขจัดปัญหา หรือหาทางป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้น

4. การดำเนินงานตามแผน นักสังคมสงเคราะห์จะต้องพยายามปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนและอยู่ในกรอบและขอบเขตของแผน

5.การประเมินผล เป็นการตรวจสอบดูว่าการดำเนินงานตามแผนบรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด และหาทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคถ้าการดำเนินไม่เป็นไปตามแผน ทั้งนี้เพื่อให้การปฏิบัติงานมี ประสิทธิภาพและมีความถูกต้อง

ขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของนักสังคมสงเคราะห์

ขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของนักสังคมสงเคราะห์ มีด้วยกัน 3 ประการคือ

1.การกำหนดปัญหา หมายถึง การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้รับบริการ กลุ่มเป้าหมายหรือ ชุมชนเป้าหมาย ตามสถานการณ์ปัญหาที่มี ซึ่งลักษณะของการช่วยเหลือจะเน้นที่ปัญหาสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาจิตใจ ซึ่งต้องการผู้ช่วยเหลือแนะนำ

2.การป้องกันปัญหา หน้าที่นี้มีความสำคัญมากสำหรับนักสังคมสงเคราะห์ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นจะสามารถยุติปัญหาได้ทันที หรือไม่รอให้เกิดปัญหารุนแรง ซึ่งเป็นการช่วยเหลือให้บริการที่ถูกต้อง เพราะช่วยตัดไฟแต่ต้นลม

3.การพัฒนาบุคคล กลุ่ม ชุมชน ให้มีศักยภาพในการแก้ไขป้องกันปัญหาหรือสามารถตัดสินใจในการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาได้อย่างถูกต้องตามหลักการ มีแผนงานรองรับและทำให้เขาทั้งหลายได้รับผลประโยชน์จากการช่วยเหลือกันเอง ในขณะเดียวกันต้องส่งเสริมความเข้มแข็งในการจัดบริการแก่หน่วยงาน หรือองค์กรที่ให้บริการทางสังคมด้วย โดยจะต้องคำนึงถึงการนำเอาทรัพยากรทุกรูปแบบมาใช้เพื่อประโยชน์สุขของผู้รับบริการเป็นสำคัญในการปฏิบัติงานนักสังคมสงเคราะห์จำเป็นต้องจดจำและปรับใช้หลักการ วิธีการ และกระบวนการของงานสังคมสงเคราะห์ ให้เหมาะสมกับภารกิจของหน่วยงานโดยคำนึงถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน อยู่ตลอดเวลา นักสังคมสงเคราะห์ไม่ควรสับสนกับลักษณะงานด้านสังคมสงเคราะห์ที่ตนเองปฏิบัติ แต่อย่างไรก็ตามประสบการณ์และความเอาใจใส่ในการปฏิบัติงานรวมทั้งการศึกษาหาความรู้อย่างสม่ำเสมอจะสร้างให้นักสังคมสงเคราะห์สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

จรรยาบรรณของสมาคมนักสังคมสงเคราะห์

1. นักสังคมสงเคราะห์ จะต้องมีสำนึกว่า การกระทำเพื่อพัฒนาหรือก่อให้เกิดสวัสดิภาพแก่บุคคล กลุ่มชนและชุมชนเป็นความรับผิดชอบของตน

2. นักสังคมสงเคราะห์จะต้องปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ เสียสละ มีคุณธรรมและปราศจากอคติทั้งปวง

3. นักสังคมสงเคราะห์จะต้องเคารพในศักดิ์ศรี และ ไม่เปิดเผยเรื่องราวส่วนตัวของผู้รับบริการ

4. นักสังคมสงเคราะห์จะต้องประพฤติตนในกรอบของวัฒนธรรมอันดีงามเพื่อไม่ให้บังเกิดความเสียหายแก่วิชาชีพสังคมสงเคราะห์

5. นักสังคมสงเคราะห์จะต้องยึดมั่นในหลักวิชา เพิ่มพูนความรู้ ทักษะ พร้อมทั้งส่งเสริมวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ให้ก้าวหน้าอยู่

หมายเลขบันทึก: 615797เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2016 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2016 11:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท