จดหมายถึงพระคุณเจ้า: เสียงเรียกร้องของสังคมใหม่


ยุคที่สังคมใช้เสียงข้างมากเป็นตัวตัดสินสิ่งอื่นและการใช้สื่อแสดงอารมณ์โดยไม่ได้คิดถึงผลกระทบจากอารมณ์นั้น ปรากฎการณ์ดังกล่าวนี้หากไม่ใช้วิจารณญาณเชิงลึก เราอาจตกเป็นเหยื่อของปรากฏการณ์ได้ง่าย ในวันนี้เราไม่ใช่นักโทษทางสังคม จึงไม่อาจรับรู้อารมณ์ที่กระเพื่อมจากการรับรู้ปรากฎการณ์นั้น พระคุณเจ้าอยู่ในวัด ซึ่งชาวบ้านทั่วไปมองว่าเป็นสถานที่สงบ ไม่มีความวุ่นวาย แต่ชาวบ้านลืมนึกไปว่า ความวุ่นวายที่เกิดในสังคมนั้นมาจากขยะใจ (กิเลส) ของคน ในวัดยังมีคนที่มีขยะใจซึ่งกำลังพยายามพัฒนาตนให้พ้นไปจากขยะใจนี แต่ไม่แน่ว่าจะพัฒนาไปได้ถึงไหน เพราะกองขยะที่ถูกทับถมเรื้อรังมานานหาที่สุดไม่ได้ จะถูกหยิบยกออกในเวลาชั่วข้ามคืนนั้นอาจไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง จะอย่างไรก็ตาม ชาวบ้านก็หวังว่าวัดซึ่งรวมถึงพระคุณเจ้าด้วยจะเป็นที่พึ่งพาทางใจให้กับเขา โดยมีแบบอันสวยงามอยู่ในความคิดและภาพการแสดงออกของพระคุณเจ้าที่เป็นตัวแทนแห่งความดีงามเป็นสัญลักษณ์เกาะเกี่ยวใจ แท้จริง ความหวังทำให้เราอยากมีชีวิตต่อไป คนจึงกินความหวังเป็นอาหารหล่อเลี้ยงใจ ชีวิตจึงมีอยู่ด้วยความหวัง แต่เมื่อสิ่งที่หวังไม่ได้เป็นไปตามที่หวังไว้ ความสิ้นหวังก็ปรากฎและเขาจะหันหลังให้กับสิ่งที่สวยงามนั้น โดยลืมนึกไปว่าพฤติกรรมติดตัวคนที่อยู่ในวัดกับความเป็นพุทธที่พุทธองค์เสนอมานั้นไม่ใช่อย่างเดียวกัน (ซึ่งอาจจะเป็นอย่างเดียวกันก็ได้ แต่ไม่ใช่อย่างเดียวกัน) ชาวบ้านลืมนึกไปว่า แท้จริง เราต้องพึ่งพาตัวเองเพื่อการเป็นอย่างเดียวกันกับสิ่งที่พุทธองค์เสนอมา ไม่ใช่เอาชีวิตไปฝากไว้กับคนที่อยู่ในวัดซึ่งเขาก็ต้องพัฒนาตนเองเฉกเช่นเดียวกันกับชาวบ้าน ในกรอบความคิดของบริษัท ๔ กลุ่มที่จะรักษาความสวยงามที่พุทธองค์มอบหมายไว้ให้

เขาว่ากันว่า "ทิฏฐิพระ..." อาจจะไม่ใช่ทั้งหมด เพราะมีพระคุณเจ้าจำนวนหนึ่งเป็นผู้ว่าง่าย เลี้ยงง่าย อ่อนโยน ซึ่งตรงกันข้ามกับลักษณะเพศชายในแง่มุมของชีววิทยา คำว่า "ทิฏฐิ..." ในข้อความว่า "ทิฏฐิพระ..." นั้น เอามาใช้แทนความหมายของ "มานะ" ที่หมายถึงการถือตัวถือตนหรืออัตตา ในความหมายจริงเป็นคำกลางๆ ไม่ได้เกี่ยวกับการถือตัวถือตน แต่ก็พอจะตีความได้ว่า การยึดถือสิ่งใดโดยคิดว่าสิ่งนั้นถูกต้อง โดยไม่ฟังเหตุผลอื่นใดนอกจากสิ่งที่เชื่อว่าถูกต้องนั้น อย่างนี้เป็นไปได้ที่จะเป็นทิฏฐิ ส่วนจะเป็นแบบ "ความเห็นถูก (สัมมาทิฏฐิ)" หรือ "ความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ)" นั้นอาจต้องหาเกณฑ์มาตัดสินอีกทีหนึ่ง จะเป็นเกณฑ์แบบธรรมชาติหรือสมมติสังคมก็ว่ากันไป อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการตีความแบบนี้ "พระ" อาจไม่ใช่กลุ่มคนที่มีทิฏฐิในความหมายของ "ทิฏฐิพระ" เพียงกลุ่มเดียว เพราะในสังคมมนุษย์ บางคนมีชั้นของความรู้ทางสังคมสูง มี "ทิฏฐิพระ" มากกว่าคนที่อยู่ในวัดซึ่งมีความรู้ด้อยทางสังคม

แท้จริง การถือตัวถือตนก็มีประโยชน์อยู่ไม่น้อย อย่างน้อยคือการพยายามปกป้องพื้นที่ทั้งทางความคิด แผ่นดิน วัฒนธรรมฯลฯ ที่เป็นสมบัติช่วงหนึ่งของการเป็นมนุษย์ในสังคม แม้ชาวบ้านจะคาดหวังว่า การถือตัวถือตนไม่ควรมีอยู่ในคนที่อยู่วัดก็ตาม แต่ถ้าคนที่อยู่ในวัดไม่มีตัวตนพื้นที่ดังกล่าวที่รองรับตัวตนก็จะไม่มีเช่นกัน อันรวมไปถึงไม่มีสำหรับผู้ที่ต้องการพื้นที่ดังกล่าวด้วย ใครจะรักษาความสวยงามที่เห็นว่าสูงค่าได้เท่ากับคนที่มีความสวยงามและสูงค่าอยู่นั้น

โปรยความคิดมาถึงตรงนี้ ทำให้นึกถึง "นกมัยหกะ"


หมายเลขบันทึก: 615767เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2016 09:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2016 09:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

I am confused! Isn't 'ditthi' (belief, dogma or theory without proof) one of 'akusala' cetasikas - that is among 'mental conditions' we should recognize and let go (not to dwell in)?

I see here a study of citta and cetasikas (and a revisit to Kalama-sutta). Monks and lay-people should think thouroughly about what they 'hold absolutely (true)' in their lives.

ทิฏฐิพระ?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท