ประโยชน์ของการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book)


e-book คืออะไร???

e-Book ย่อมาจากคำว่า Electronic Book หมายถึงหนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์ คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่าง ๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้ นอกจากนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ได้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป

ข้อดีของ e-Book

1. อ่านที่ไหน เมื่อไหร่ ได้ตลอดเวลา เนื่องจากพกไปได้ตลอดและได้จำนวนมาก

2. ประหยัดการตัดไม้ทำลายป่า เพราะไม่ต้องตัดไม้มาทำกระดาษ

3. เก็บรักษาได้ง่าย ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ ประหยัดค่าเก็บรักษา

4. ค้นหาข้อความได้ ยกเว้นว่าอยู่ในลักษณะของภาพ

5. ใช้พื้นที่น้อยในการจัดเก็บ (cd 1 แผ่นสามารถเก็บ e-Book ได้ประมาณ 500 เล่ม)

6. อ่านได้ในที่มืด หรือแสงน้อย

7. ทำสำเนาได้ง่าย

8. จำหน่ายได้ในราคาถูกกว่าในรูปแบบหนังสือ

9. อ่านได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง เพราะไม่ยับหรือเสียหายเหมือนกระดาษ

10. สะดวกสบาย ไม่ต้องเดินทาง แค่คลิกเดียวก็สามารถเลือกอ่านหนังสือที่ต้องการได้ทันที

11. เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาธรรมชาติ โดยลดการใช้กระดาษกับ True e-Book

ข้อเสียของ e-Book

1. ต้องอาศัยพลังงานในการอ่านตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าหรือแบตตารี่

2. เสียสุขภาพสายตา จากการได้รับแสงจากอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์

3. ขาดความรู้สึก หรืออรรถรส หรือความคลาสสิค

4. อาจเกิดปัญหากับการ ลง hardware หรือ software ใหม่หรือแทนที่อันเก่า

5. ต้องมีการดูแลไฟล์ให้ดี ไม่ให้เสียหรือสูญหาย

6. การอ่านอาจเกิดอันตรายต่อสายตา

7. เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ง่าย

8. ไม่เหมาะกับบาง format เช่น รูปวาด รูปถ่าย แผนที่ใหญ่ เป็นต้น

ประโยชน์ของ e-Book

สำหรับผู้อ่าน

1. ขั้นตอนง่ายในการอ่าน และค้นหาหนังสือ

2. ไม่เปลืองเนื้อที่ในการเก็บหนังสือ

3. อ่านหนังสือได้จากทุกที่ที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

สำหรับห้องสมุด

1. สะดวกในการให้บริการหนังสือ

2. ไม่ต้องใช้สถานที่มากในการจัดเก็บหนังสือ และไม่เสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้

3. ลดงานที่เกิดจากการซ่อม จัดเก็บ และการจัดเรียงหนังสือ

4. ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานมาดูแลและซ่อมแซมหนังสือ

5. มีรายงานแสดงการเข้ามาอ่านหนังสือ

สำหรับสำนักพิมพ์และผู้เขียน

1. ลดขั้นตอนในการจัดทำหนังสือ

2. ลดค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงในการจัดพิมพ์หนังสือ

3. ลดค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่ายผ่านช่องทางอื่นๆ

4. เพิ่มช่องทางในการจำหน่ายหนังสือ

5. เพิ่มช่องทางในการประชาสัมพันธ์ตรงถึงผู้อ่าน



จัดทำโดย

นางสาวคณิตา อุสมา รหัสนักศึกษา 58561802080

นางสาวชิราภรณ์ หัตถา รหัสนักศึกษา 58561802081



หมายเลขบันทึก: 611692เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2016 15:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 สิงหาคม 2016 15:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท