กฎฮิวริสติก (Heuristics)


พวกเราใช้ฮิวริสติกกันบ่อยจนชื่อสปีชีส์ของเราควรเป็น "โฮโมฮิวริสติคัส"


ฮิวริสติก คือ กฎหรือกลุ่มของกฎแบบง่ายๆ ในการตัดสินใจจากข้อมูลที่มีอยู่อย่างจำกัด ภายในเวลาที่จำกัด กิเกอเรนเซอร์ อธิบายว่า พวกเราใช้ฮิวริสติกกันบ่อยจนชื่อสปีชีส์ของเราควรเป็น "โฮโมฮิวริสติคัส" น่าจะเหมาะกว่า [1] เขากับเพื่อนร่วมงานแสดงความเห็นว่า แม้จะมีภูเขาข้อมูลจำนวนมหาศาล โฮโมฮิวริสติคัส ก็มักจะเอาชนะโฮโมซาเปี้ยนส์ได้โดยมุ่งเอาใจใส่ที่ก้อนทอง แทนที่จะหันมาสนใจเศษหินเศษดินทั้งหมด และได้สรุปจำนวนฮิวริสติกออกมาได้ทั้งหมด 10 วิธี [2] ซึ่งส่วนมากพวกเราก็ใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวันกันอยู่แล้ว ดังนี้

  1. การเป็นที่รู้จัก (Recognition) - ถ้าคุณมีทางเลือกอยู่คู่หนึ่ง และคุณรู้จักแค่ตัวเลือกเดียว ให้เลือกตัวนั้นเสีย
  2. ความคล่อง (Fluency) - ถ้าความจำได้คือสิ่งที่คุณต้องใช้ในการเลือกระหว่างตัวเลือกหลายๆตัว และคุณรู้จักมากกว่าหนึ่งตัวเลือก ให้เลือกตัวเลือกที่คุณจำได้ง่ายที่สุด
  3. ให้คะแนน (Tallying) - มองหานัยที่อาจช่วยให้คุณเลือกได้ระหว่างทางเลือกต่างๆ และไปกับทางเลือกที่มีด้านบวกมากกว่าด้านลบโดยไม่ต้องพยายามจัดอันดับในแง่ความสำคัญ
  4. เลือกที่ดีที่สุด - เมื่อต้องเลือกระหว่างตัวเลือกสองทาง ให้มองหาตัวบ่งชี้และดำเนินไปตามนั้นตามความคาดหมายของคุณเพื่อให้มันนำไปสู่ทางเลือกที่ดีที่สุด ตัดสินใจเลือกตามพื้นฐานของตัวบ่งชี้แรกที่แยกมันออกจากตัวเลือกอื่นๆ
  5. พอใจอย่างพอเพียง (Satisfacing) - มองดูตัวเลือกทั้งหมดและเลือกอันแรกที่สูงเกินกว่าระดับความปรารถนาของคุณ
  6. กระจายเดิมพันเท่าๆกัน - แทนที่จะเลือกทางใดทางหนึ่งโดยไม่เลือกทางอื่น ควรจัดสรรทรัพยากรให้กระจายออกไปเท่าๆกัน
  7. เลือกอยู่เฉยๆ - ถ้ามีทางเลือกพื้นฐานให้อยู่เฉยๆ ก็จงอยู่เฉยๆ
  8. ตาต่อตา ฟันต่อฟัน (Tit-for-Tat) - ในสถานการณ์ที่ต้องเลือกระหว่างให้กับไม่ให้ความร่วมมือ และมีทีท่าว่าจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต ให้ร่วมมือไปก่อนในการเผชิญครั้งแรก ส่วนการเผชิญครั้งต่อๆไป ให้ทำแบบเดียวกับที่กลุ่มอื่นๆทำในการเผชิญครั้งแรก หากพวกเขาให้ความร่วมมือ ก็จงให้ความร่วมมือ หากพวกเขาไม่ให้ความร่วมมือ ก็จงยุติความร่วมมือ
  9. เลียนแบบส่วนใหญ่ - ทำตามอย่างที่เพื่อนส่วนใหญ่ในกลุ่มของคุณทำ
  10. เลียนแบบความสำเร็จ - ทำตามตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ

อ้างอิง:

[1] Gerd Gingerenzer and Henry Brighton, "Homo Heuristicus: Why Biased Minds Make Better Inferences.", Topics in Cognitive Science 1, 2009.

[2] Gerd Gingerenzer, "Why Heuristics Work", Perspectives on Psychological Science 3, 2008.

ที่มา: thanakrit.net

หมายเลขบันทึก: 609172เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2016 14:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มิถุนายน 2016 14:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท