จามจุรีใช้เลี้ยงครั่งเพื่อเสริมรายได้


โดยทั่วไปประโยชน์ของผลผลิตจากครั่ง ได้แก่ใช้เคลือบผลไม้ แคปซูนยา เคลือบซ็อคโกแลต ทำเซลแลต ส่วนผสมในลิปสติก น้ำยาทาเล็บและทำแผ่นเสียง เป็นต้น



จังหวัดลำปาง มีการเลี้ยงครั่งมากที่สุดในภาคเหนือ และเป็นที่ทราบกันดีว่าผลผลิตครั่งส่วนใหญ่จะมีการนำไปใช้ภายในประเทศ ประมาณ ๒o เปอร์เซ็นต์ และส่งออก ประมาณ ๘o เปอร์เซ็นต์ โดยทั่วไปประโยชน์ของผลผลิตจากครั่ง ได้แก่ใช้เคลือบผลไม้ แคปซูนยา เคลือบซ็อคโกแลต ทำเซลแลต ส่วนผสมในลิปสติก น้ำยาทาเล็บและทำแผ่นเสียง เป็นต้นปัจจุบัน จังหวัดลำปาง ปี ๒๕๕๙ มีพื้นที่ปลูกต้นจามจุรีหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าต้นฉำฉา ประมาณ ๑๓๓,๑๔๕ ต้น ที่สามรถเลี้ยงครั่งได้ แต่ละปีการเก็บเกี่ยวผลผลิตครั่ง เกษตรกรจะนิยมขึ้นไปตัดกิ่งต้นจามจุรี ที่มีแมลงครั่งและรังครั่งเกาะอยู่ตามกิ่งต้นจามจุรี โดยตัดลงมาจากต้นจามจุรีเพื่อนำรังครั่งออกมาจากกิ่งไม้ โดยใช้มีดสับและใช้มือบิดรังครั่งออกมาเพื่อนำไปขายให้แก่ พ่อค้าคนกลางในท้องถิ่นชุมชน และนำไปขายส่งต่อที่โรงงานรับซื้อครั่งที่มีอยู่ในเขตจังหวัดลำปาง ปัจจุบันนี้ โรงงานแปรรูปครั่ง มีอยู่ในจังหวัดมีจำนวน ๕ โรงงาน สำหรับกิ่งต้นจามจุรีที่ถูกตัดทิ้งจากที่ได้นำครั่งและรังครั่งลงจากต้นจามจุรีแล้ว กิ่งใหม่จะแตกออกมาใหม่จากต้นอีกรอบเพื่อจะใช้เลี้ยงครั่งได้อีกรุ่นหนึ่ง จะใช้เวลาประมาณ ๒ ปีเศษนะครับ


สำหรับพื้นที่มีการปลูกต้นจามจุรีและใช้เลี้ยงแมลงครั่ง อำเภอที่มีพื้นที่ปลูกมากถึงน้อย ตามลำดับได้แก่ อำเภอสบปราบ แม่ทะ เกาะคา แม่เมาะ วังเหนือ แจ้ห่ม งาว เสริมงาม เมืองลำปาง แม่พริก เมืองปาน เถิน และอำเภอห้างฉัตร โดยปกติเกษตรกรจะนิยมปลูกต้นจามจุรี(ต้นฉำฉา) ในที่ว่างเปล่าตามหัวไร่ปลายนา บางรายก็ปลูกริมแม่น้ำวัง ตามคลองธรรมชาติ ห้วยหนอง คลองบึง ที่มีอยู่

จากการที่ทางสำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง ได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยกลุ่มอารักขาพืช ได้จัดเวทีเสวนา เกษตรกรที่มีการเลี้ยงครั่ง ตั้งแต่ปี ๒๕๕๘และ ๒๕๕๙ มีผู้แทนเกษตรกรเข้าร่วม ประมาณ ๔๔o ราย( จากข้อมูลจำนวนเกษตรกรผู้เลี้ยงครั่งในจังหวัดลำปางมีประมาณ ๖,๗๓๓ ราย ) พบว่าจุดอ่อนของการเลี้ยงครั่งมีหลายประการด้วยกัน แต่ก็มีจุดอ่อนประการหนึ่งที่สำคัญ คือหากปีไหนที่อากาศร้อน อุณหภูมิมากกว่า ๔o องศาเซลเซียสขึ้นไป จะพบว่าแม่พันธุ์ครั่งที่ปล่อยอยู่บนกิ่งไม้ตาย ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้ทำการศึกษาทดลอง จัดทำแปลงอนุบาลพันธุ์ครั่ง โดยเลี้ยงครั่งบนต้นถั่วมะแฮะ เพื่อเป็นการเตรียมพันธุ์ครั่งเพื่อที่จะปล่อยทดแทนครั่งที่ตายไป โดยจะทำการปล่อยในฤดูฝน ซึ่งจะช่วยให้แม่พันธุ์ครั่ง ได้เจริญเติบโตต่อไปได้


เขียวมรกต

๑๑ เมย. ๕๙





หมายเลขบันทึก: 604851เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2016 12:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2016 14:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

-สวัสดีครับ

-ตามมาชมงานส่งเสริมการเกษตรของชาวลำปางครับ

-นำภาพ"สามเณรเบส"ลูกชายคุณรัตน์ มาฝากให้กำลังใจด้วยครับ..

ขอบคุณครับ อ.เพชรน้ำหนึ่ง ที่มาทักทายกันเสมอมาและนำภาพสามเณรน้อย มาแบ่งปันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท