พระภิกษุรับเงินผิดไหม


#พระรับเงินผิดไหม???



พอดีวันนี้มีคนมาถามใน Bloog ก็เลยต้องมาตอบเพื่อทำความเข้าใจให้ถูกต้อง เรื่องนี้เป็นเรื่องที่อธิบายยากมากนะครับ...ด้วยเหตุหลายประการ



เรื่องนี้นั้นก่อนจะอธิบายทุกท่านต้องทราบก่อนว่า บางสิ่งเป็นสิ่งที่ทำตามกันมา สิ่งเหล่านี้ไม่ได้หมายความว่าจะผิดหรือถูกไปเสียทุกเรื่อง เพราะว่า เราไม่ได้ศึกษาในส่วนนั้นจริงๆ ก็ทำให้เราไม่เข้าใจมากกว่านะครับ



#ถามว่าพระรับเงินโดยตรงผ่านมือเราผิดไหม ตอบได้เลยว่า ผิด มาดูพระวินัย (คนส่วนมากเรียกว่าศีล) ที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ว่



อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือยินดีทอง เงินอันเขาเก็บไว้ให้, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.



อรรถาธิบายว่า ทำไมถึงห้ามรับ ทำไมถึงห้ามยินดี หรือแม้แต่อันเขาเก็บไว้ให้ซึ่งทอง เงิน เพราะป้องกันการหาผลประโยชน์หรือทำให้วิถีชีวิตความเป็นพระเปลี่ยนแปลงไป



และนิสสัคคียปาจิตตีย์ คือ อะไร...ก็คือ การที่พระต้องสละทิ้งไป เมื่อหลงไปรับแล้ว ถ้าไม่สละทิ้งไปก็ต้องอาบัติชนิดนี้ แต่ก็มีคนส่วนมากที่เคยให้พระก็ให้โดยคิดว่า สมัยก่อนกับสมัยนี้ไม่เหมือนกัน พระท่านจะไปไหนก็ต้องใช้เงินในการนั่งรถไป หรือไม่ก็พูดแบบว่า ท่านจะพาพระท่านไปเองไหม อะไรแบบนี้



ซึ่งสิ่งเหล่านี้ เชื่อไหมครับ พระพุทธเจ้าคิดไว้ก่อนแล้วว่าจะมีพระที่พูดให้คนทั่วไปเชื่อแบบนี้ ที่เรียกว่า เดียรถีย์ (มาจากคำว่า ติตถิยะ แปลว่า ฝั่งโน้น) ที่ไม่ทำตามคำพระพุทธเจ้าตรัส เป็นเรื่องปกติที่คนต้องการความสบายก็มักจะพูดอย่างนั้



ผลของการผิดอาบัตินั้น พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เขาเหล่านั้นเมื่อตายไปต้องตกนรกแน่นอน แล้วไม่สามารถยังประโยชน์ให้สำเร็จ ก็แสดงว่า
#พระที่รับเงินทองไม่สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานอะไรได้เล ตายไปก็ตกนรก เราต้องสงสารท่านมากกว่านะครับ



#ถามว่าแล้วมีวิธีการที่จะให้พระรับเงินทองหรือไม่ มี พระพุทธเจ้าบัญัติให้รับผ่านไวยาวัจกรเท่านั้นนะครับ เพื่อเป็นการไม่ทำให้พระยึดติดกับเงินทอง



#คนก็ถามอีกว่าแล้วไวยาวัจกรเชื่อถือได้หรือไม่ ถ้าสังเกตดีๆ สมัยพุทธกาล ส่วนมากจะเป็นพระราชา เศรษฐี หรือพ่อค้า ที่มีฐานะอยู่แล้ว บุคคลเหล่านั้นย่อมที่จะไม่ได้หวังผลประโยชน์อันใดจากพระ



และถ้าไม่มีบุคคลเหล่านั้นจะทำอย่างไร ปกติพระจะอยู่กับที่หรือจำพรรษาเพียง 3 เดือนหลังจากนั้นคือจาริกไปที่ต่างๆ แต่พระสมัยนี้ก็จะอยู่กับที่ตลอดจึงทำให้หลักการต่างๆ เปลี่ยนไป กล่าวคือ ไม่ได้เปลี่ยนไปเพราะพระพุทธเจ้าตรัส แต่เปลี่ยนไปเพราะคนที่มาบวชคิดว่าทำถูกแล้ว



สิ่งเหล่านี้ก็ส่วนหนึ่งที่ทำให้รัชกาลที่ 4 จึงต้องแยกนิกายออกมาเป็นธรรมยุติ เพราะเห็นว่า พระประพฤติไม่เหมาะสมแก่สมณสารูป



#ถามอีกว่าเราสามารถติเตียนพระได้ไหม #บาปหรือไม่
ปรากฏว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่า เราควรมีสัญชาติแห่งคนตรง สิ่งอะไรที่พระพุทธเจ้าตรัสก็ว่าพระพุทธเจ้าตรัส อะไรไม่ได้ตรัสก็ว่าไม่ได้ตรัส



และการติเตียนของเรานั้นไม่ได้มีเพราะอคติย่อมยังผลประโยชน์ให้เกิดขึ้น และยิ่งทำให้ศาสนาพุทธเจริญขึ้นไปอีกด้วย จึงทำให้ไม่บาป ผลเจตนาไม่ได้มีในทางร้าย ยกตัวอย่างเช่นรัชกาลที่ 4 แม้จะมีคนพูดว่าท่านต่างๆ ว่าแยกพระสงฆ์ทำไม ทำให้ศาสนามีสองนิกาย ท่านก็ไม่ได้สนใจคำของคนที่หวังผลประโยชน์ เพราะท่านเห็นว่า อะไรที่ถูกต้องเราก็ต้องทำตามคำสอนพระพุทธเจ้า



#หลายคนเชื่อคำอาจารย์ตนเอง มากกว่า #คำพระพุทธเจ้าเสียอีก
#หลายคนบอกว่าฉันเชื่อพระพุทธเจ้า #แต่ถามว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไรตอบว่าไม่รู้???
#หลายคนปฏิเสธคำพระพุทธเจ้าว่า สูงเกิน ไกลเกิน เป็นทฤษฎี เป็นปรมัตถ์ ปฏิบัติไม่ได้ สรุปคือไม่อยากปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า จะทำในสิ่งที่ตนสามารถทำได้และมีความสุขเท่านั้น



หมายเลขบันทึก: 604620เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2016 21:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 เมษายน 2016 21:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เคยคิดเหมือนกันนะคะว่าผิดหรือไม่ที่พระรับปัจจัย แต่ก็ให้อยู่บ้างค่ะเพื่อท่านนำไปใช้บูรณะวัด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท