จากปรสิตวิจัย สู่มาตรฐานข้อมูล และความเป็นผู้นิพนธ์



บทบรรณาธิการในวาสาร Science ฉบับวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๙ เรื่อง #IAmAResearchParasite บอกข้อโต้แย้งในโซเชี่ยลมีเดีย Twitter ต่อบทบรรณาธิการ (อ่าน ที่นี่) ที่แสดงความกังวลต่อพฤติกรรมของ “นักวิทยาศาสตร์” ที่มุ่งใช้ข้อมูลที่คนอื่นเก็บและจัดระบบ เอามาเขียนรายงานผลงานวิจัย ซึ่งบางครั้งเป็นการโต้แย้ง กับข้อสรุปของเจ้าของข้อมูล โดยบทบรรณาธิการเสนอว่า เป็นการยากที่คนที่ไม่ได้ร่วมทำงานวิจัยโดยตรง ที่จะเอาข้อมูลมาวิเคราะห์หาความหมาย และเสนอว่า หากจะมีคนเอาข้อมูลไปเขียนบทความใหม่ ควรมีเจ้าของข้อมูลเดิมร่วมเป็นผู้นิพนธ์ด้วย รวมทั้งเจ้าของข้อมูลที่ถึงแก่กรรมไปนานแล้ว

ความก้าวหน้าทางวิทยาการเกิดจากวัฒนธรรม data-sharing และการพัฒนา data bank ในเรื่องต่างๆ ที่นำข้อมูลจากการสำรวจยากๆ หลายครั้ง หลายมิติ เข้ามาไว้ในที่เดียวกัน

เขาเสนอให้มีการจัดระบบ data-sharing จัดกฎเกณฑ์กติกาที่ยอมรับร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกำหนดรูปแบบมาตรฐานของข้อมูล เพื่อให้สามารถหาความหมายจากข้อมูลที่รวบรวมมาจากต่างแหล่ง ต่างบริบท ได้

เขากล่าวถึง community-established metadata ที่มีการกำหนดนิยามของคำ สำหรับใช้ในการเก็บข้อมูล

อีกประเด็นหนึ่งคือ ข้อตกลงในการไม่ยอมรับ ไม่ส่งเสริม การเก็บข้อมูลที่ไร้คุณภาพ ไร้ความน่าเชื่อถือ ซึ่งก็หมายถึงการกำหนดเกณฑ์คุณภาพของข้อมูล นั่นเอง

โปรดอ่านบทความสั้นๆ นี้เองนะครับ จะเห็นว่า ถึงเวลาแล้ว ที่จะต้องมีการทำความตกลง เรื่องมาตรฐานข้อมูล เพื่อให้เกิด data-sharing และเกิด data bank ในเรื่องต่างๆ ที่มีคุณภาพ สามารถนำมาหาความหมายได้อย่างแม่นยำ ยกระดับฐานความรู้ของมนุษยชาติขึ้นไปได้ อย่างต่อเนื่อง

ส่วนที่ผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง คือการจัดระบบ ให้สามารถนำข้อมูลจากต่างแหล่ง ต่างบริบท มาใช้ประโยชน์ ได้อย่างแม่นยำ ลดอคติหรือข้อบิดเบือน

ส่วนที่ผมยัง “กลืนไม่ลง” คือ การใส่ชื่อคนที่ตายแล้ว และไม่ได้ร่วมเขียน เป็น “ผู้ร่วมนิพนธ์” (coauthor) ของบทความที่เอาข้อมูลของท่านมาใช้ ผมมีความเห็นว่า ควรระบุว่าเอาข้อมูลของท่านมาใช้ และใส่ไว้ในรายการอ้างอิงมากกว่า แต่ละรายงานผลการวิจัย หรือบทความวิชาการ มีความซับซ้อน คนที่เป็นผู้ร่วมนิพนธ์ต้องมีบทบาทอย่างใดอย่างหนึ่งในการยกร่างต้นฉบับของบทความ หรือมีส่วนในการตีความข้อมูล ซึ่งคนที่ตายแล้วทำไม่ได้

ในมุมมองของคนแก่ ในบั้นปลายของชีวิต นี่คือนวัตกรรมแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ที่การค้นหาความรู้ใหม่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ต้องการความร่วมมือในรูปแบบใหม่ ที่คู่ร่วมมือไม่จำเป็นต้องรู้จักและเชื่อถือไว้วางใจกัน จาก “ปรสิตวิจัย” สู่ “การร่วมมือเพื่อมนุษยชาติ”


วิจารณ์ พานิช

๗ มี.ค. ๕๙


หมายเลขบันทึก: 604571เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2016 16:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2016 16:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดิฉันมีความรู้สึกไม่แตกต่างนะคะอาจารย์ เพียงแต่ไม่สามารถแสดงออกมาได้อย่างลึกซึ้งเท่านั้น อันที่จริงไม่สามาถแสดงอะไรได้เลยด้วยซ้ำ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท