ทำไมรัชกาลที่ 3 ถึงไม่มีพระโอรสหระธิดาเป็นเจ้าฟ้าเลย


พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชเพื่อปกป้องประเทศชาติให้พ้นภัยจากชาวต่างชาติที่กำลังต้องการล่าอาณานิคม พระองค์ท่านมิได้หวังในราชสมบัติแม้แต่น้อย ด้วยพระราชหฤทัยที่เปี่ยมไปด้วยกุศลผลบุญท่านทรงโปรดการสร้างและปฏิสังขรวัดวาอารามอย่างมากมาย ไม่ทรงแต่งตั้งเจ้าจอมท่านใดให้อยู่ในตำแหน่งพระมเหษีเลย ดังนั้นพระโอรสพระธิดาพระองค์ท่านจึงได้รับพระอิสริยยศเพียงพระองค์เจ้าเท่านั้น เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ เจ้าพนักงานสำนักพระราชวังนำพระมหามงกุฎมาถวาย พระองค์มีรับสั่งว่าจะเก็บไว้ให้เขา (หมายถึงรัชการที่ 4) พระองค์ท่านทำคุณประโยชน์ให้แก่แผ่นดินอย่างใหญ่หลวง ทรงมีพระเนตรยาวไกล ในสมัยพระองค์ท่านทรงปราบปรามข้าศึกศัตรูได้ ราบเรียบ ทรงเก็บเงินถุงแดงไว้ใต้เตียงที่ประทับ เพื่อไว้ใช้ถ่ายบ้านถ่ายเมือง ทรงรับสั่งฝากฝังแผ่นดินไว้ดังนี้ " การศึกสงคราม ข้างญวณกับพม่าก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดีอย่าให้เสียทีแก่เขาได้ การงานสิ่งใดของเขาที่คิด ควรจะเรียนเอาไว้ ก็ให้เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปทีเดียว "

อยากทราบว่า ทำไม รัชกาลที่ 3 ถึงไม่มีพระโอรสพระธิดาเป็นเจ้าฟ้าเลย

เพราะพระองค์ท่านไม่มีพระอัครมเหสี มีแต่เพียงพระภรรยาที่มีบรรดาศักดิ์เพียงเจ้าจอมมารดาและเจ้าจอมเท่านั้นนะครับ ลำดับพระภรรยาที่ปรากฎพระนามก็มีดังนี้

เจ้าจอมมารดาน้อยเมือง
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงใหญ่ (5 ตุลาคม พ.ศ. 2354 - พ.ศ. 2368)
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคเนจร กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์ (9 พฤษภาคม พ.ศ. 2358 - พ.ศ. 2421) ทรงเป็นต้นราชสกุล คเนจร
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) (10 พฤษภาคม พ.ศ. 2360 - พ.ศ. 2360)

เจ้าจอมมารดาเฟือง
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายดำ (4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2354 - พ.ศ. 2359)
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโกเมน กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์ พระองค์เจ้าชายโกเมน (4 พฤษภาคม พ.ศ. 2385 - พ.ศ. 2421) ทรงเป็นต้นราชสกุล โกเมน

เจ้าจอมมารดาทรัพย์
-สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์(10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2355 - พ.ศ. 2382) ทรงเป็นต้นราชสกุล ศิริวงศ์
-พระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร(8 ธันวาคม พ.ศ. 2361 - พ.ศ. 2439) ในรัชกาลที่ 6 ทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าละม่อม กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร
เจ้าจอมมารดาจาด
-พระองค์เจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) (12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2355 - พ.ศ. 2364)
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้างอนรถ (4 มกราคม พ.ศ. 2358 - พ.ศ. 2393) ทรงเป็นต้นราชสกุล งอนรถ

เจ้าจอมมารดาเอมน้อย
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลดาวัลย์ กรมหมื่นภูมินทรภักดี (24 มกราคม พ.ศ. 2358 - พ.ศ. 2417) ทรงเป็นต้นราชสกุล ลดาวัลย์

เจ้าจอมมารดาเขียว สุนทรกุล ณ ชลบุรี
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพงา (28 มิถุนายน พ.ศ. 2359 - พ.ศ. 2399)
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุไร กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ (16 ตุลาคม พ.ศ. 2362 - พ.ศ. 2416) -ทรงเป็นต้นราชสกุล อุไรพงศ์

เจ้าจอมมารดาเอมใหญ่
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมสาย กรมขุนราชสีหวิกรม(12 มีนาคม พ.ศ. 2359 - พ.ศ. 2411) ทรงเป็นต้นราชสกุล ชุมสาย

เจ้าจอมมารดาเหม็น
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปียก (3 พฤษภาคม พ.ศ. 2362 - พ.ศ. 2398) ทรงเป็นต้นราชสกุล ปิยากร

เจ้าจอมมารดาพึ่ง
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกศนี (26 กันยายน พ.ศ. 2362 - พ.ศ. 2392)
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรรณพ กรมหมื่นอุดมรัตนราษี(26 ตุลาคม พ.ศ. 2363 - พ.ศ. 2409) ทรงเป็นต้นราชสกุล อรณพ

เจ้าจอมมารดาวัน
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลำยอง (1 มกราคม พ.ศ. 2367 - สมัยรัชกาลที่ 4) ทรงเป็นต้นราชสกุล ลำยอง

เจ้าจอมมารดาขำ
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุบรรณ กรมขุนภูวนัยนฤเบนทราภิบาล (17 ตุลาคม พ.ศ. 2369 - พ.ศ. 2427) ทรงเป็นต้นราชสกุล สุบรรณ

เจ้าจอมมารดาคล้าย
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิงหรา กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ (10 ธันวาคม พ.ศ. 2369 - 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2446) ทรงเป็นต้นราชสกุล สิงหรา

เจ้าจอมมารดาสัมฤทธิ์
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชมพูนุท กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์(28 สิงหาคม พ.ศ. 2370 - 2 เมษายน พ.ศ. 2435) ทรงเป็นต้นราชสกุล ชมพูนุท

เจ้าจอมมารดาหงิม
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากระวีวงศ์ (4 มิถุนายน พ.ศ. 2345 - พ.ศ. 2355)

เจ้าจอมมารดาบาง
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิลาส กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ (5 ธันวาคม พ.ศ. 2354 - พ.ศ. 2388)
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษณานุคุณ (20 มกราคม พ.ศ. 2355 - พ.ศ. 2378)

เจ้าจอมมารดาอิ่ม คชเสนี
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากมุท (21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2356 - พ.ศ. 2364)
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านิเวศน์ (พ.ศ. 2359 - พ.ศ. 2441)
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณี (14 มิถุนายน พ.ศ. 2368 - พ.ศ. 2418)

เจ้าจอมมารดาสุดใหญ่
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงเดือน (27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2354 - พ.ศ. 2414)
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแสงจันทร์ (พ.ศ. 2359 - พ.ศ. 2421)

เจ้าจอมมารดาแย้ม
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามาลี (21 มิถุนายน พ.ศ. 2357 - พ.ศ. 2400)

เจ้าจอมมารดาน้อยลาว
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) (11 มิถุนายน พ.ศ. 2358 - พ.ศ. 2364)
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุบงกช (พ.ศ. 2360 - พ.ศ. 2424)

เจ้าจอมมารดายี่สุ่น
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเงินยวง (21 พฤษภาคม พ.ศ. 2361 - พ.ศ. 2392)
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงแก้ว (พ.ศ. 2364 - พ.ศ. 2392)

เจ้าจอมมารดาจัน
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสงี่ยม (พ.ศ. 2358 - 22 มกราคม พ.ศ. 2432)

เจ้าจอมมารดาลูกจันทน์
-พระองค์เจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) (พ.ศ. 2360 - พ.ศ. 2361)

เจ้าจอมมารดาบัว
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเลขา (21 พฤษภาคม พ.ศ. 2361 - พ.ศ. 2392)
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเล็ก (พ.ศ. 2364 - พ.ศ. 2367)

เจ้าจอมมารดาฉิม
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากินรี (26 ตุลาคม พ.ศ. 2362 - 12 เมษายน พ.ศ. 2437)
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฉวีวรรณ (พ.ศ. 2365 - พ.ศ. 2429)

เจ้าจอมมารดาอ่อน
-พระองค์เจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) (12 มกราคม พ.ศ. 2362 - พ.ศ. 2363)

เจ้าจอมมารดาเล็ก หรือ น้อยเล็ก ณ นคร
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประไพพักตร์ (13 มกราคม พ.ศ. 2364 - พ.ศ. 2417)

เจ้าจอมมารดาจันทร์โฉม
-พระองค์เจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) (พ.ศ. 2365 - สมัยรัชกาลที่ 2)

เจ้าจอมมารดาสาดใหญ่
-พระองค์เจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) (พ.ศ. 2365 - พ.ศ. 2367)

เจ้าจอมมารดาน้อยพระแสง
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้นรลักษณ์ (พ.ศ. 2368 - พ.ศ. 2405)

เจ้าจอมมารดาน้อยใหญ่ ณ นคร
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์ (พ.ศ. 2368 - พ.ศ. 2392)

เจ้าจอมมารดาปุก สนธิรัตน์
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจามรี (21 พฤษภาคม พ.ศ. 2369 - 22 กันยายน พ.ศ. 2432)

เจ้าจอมมารดาหุ่น
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษณา (16 กรกฎาคม พ.ศ. 2369 - พ.ศ. 2407)

เจ้าจอมมารดาแก้ว บุณยรัตพันธุ์
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอมฤต (5 สิงหาคม พ.ศ. 2369 - พ.ศ. 2413) กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย

เจ้าจอมมารดาเจ๊ก
-พระองค์เจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) (พ.ศ. 2369 - พ.ศ. 2371)

เจ้าจอมมารดาพลับ
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจินดา (16 ตุลาคม พ.ศ. 2370 - พ.ศ. 2392)

-เจ้าจอมมารดาอึ่ง กัลยาณมิตร
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุตรี (17 มิถุนายน พ.ศ. 2370 - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2450) กรมหลวงวรเสรฐสุดา

เจ้าจอมที่ไม่มีพระโอรสและพระธิดา
เจ้าจอมพุ่ม สนธิรัตน์
เจ้าจอมเครือวัลย์ บุณยรัตพันธุ์
เจ้าจอมกลีบ สิงหเสนี
เจ้าจอมมาลัย สิงหเสนี
เจ้าจอมอิ่ม ปาณิกบุตร
เจ้าจอมน่วม
เจ้าจอมพึ่ง
เจ้าจอมพัน เทพหัสดิน
เจ้าจอมอรุณ ไกรฤกษ์
เจ้าจอมวัน ไกรฤกษ์
เจ้าจอมน้อย สุหรานากง
เจ้าจอมยี่สุ่น ณ นคร
เจ้าจอมแสง
เจ้าจอมกลีบ
เจ้าจอมผัน

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระโอรสองค์แรกของรัชการที่ 2 กับเจ้าจอมมารดาเรียม พระนามเดิม พระองค์เจ้าชาย ทับ ประสูติตั้งแต่รัชการที่ 2 ยังไม่ได้ขึ้นครองราชย์ แต่เป็นพระนัดดาองค์แรกของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชการที่ 1 ที่มีพระพักตร์ละม้ายคล้ายคลึงกับพระอัยการาช (รัชการที่ 1) มากจึงทรงเป็นที่โปรดปรานและรับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาททั้งเสด็จปู่และพระราชบิดา จนได้รับพระราชทานบรรณาศักดิ์เป็นกรมหมื่นเจษดาบดินทร์ ทรงชำนาญด้านการค้าสำเภากับชาวจีนและเรียกเก็บภาษีอากรได้เป็นกอบเป็นกำจนได้รับพระฉายาจากรัชการที่ 2 ว่า เจ้าสัว ทรงมีพระชนมพรรษากว่าพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 4 เมื่อรัชการที่ 2 สวรรคตไม่ได้มอบราชสมบัติให้แก่พระโอรสองค์ใด พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงขึ้นครองราชแทนเพื่อปกป้องประเทศชาติให้พ้นภัยจากชาวต่างชาติที่กำลังต้องการล่าอาณานิคม พระองค์ท่านมิได้หวังในราชสมบัติแม้แต่น้อย ด้วยพระราชหฤทัยที่เปี่ยมไปด้วยกุศลผลบุญท่านทรงโปรดการสร้างและปฏิสังขรวัดวาอารามอย่างมากมาย ไม่ทรงแต่งตั้งเจ้าจอมท่านใดให้อยู่ในตำแหน่งพระมเหษีเลย ดังนั้นพระโอรสพระธิดาพระองค์ท่านจึงได้รับพระอิสริยยศเพียงพระองค์เจ้าเท่านั้น เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ เจ้าพนักงานสำนักพระราชวังนำพระมหามงกุฎมาถวาย พระองค์มีรับสั่งว่าจะเก็บไว้ให้เขา (หมายถึงรัชการที่ 4) พระองค์ท่านทำคุณประโยชน์ให้แก่แผ่นดินอย่างใหญ่หลวง ทรงมีพระเนตรยาวไกล ในสมัยพระองค์ท่านทรงปราบปรามข้าศึกศัตรูได้
ราบเรียบ ทรงเก็บเงินถุงแดงไว้ใต้เตียงที่ประทับ เพื่อไว้ใช้ถ่ายบ้านถ่ายเมือง ทรงรับสั่งฝากฝังแผ่นดินไว้ดังนี้
" การศึกสงคราม ข้างญวณกับพม่าก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดีอย่าให้เสียทีแก่เขาได้ การงานสิ่งใดของเขาที่คิด ควรจะเรียนเอาไว้ ก็ให้เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปทีเดียว "
ถ้าอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติม ขอแนะนำให้อ่าน " บุญบรรพ์ " เล่ม 1 - เล่ม 2 ของ ม.ล.ศรีฟ้า ลดาวัลย์ เป็นหนังสือดีมีค่า ที่ควรอ่านอย่างยิ่งค่ะ
พรพรรณ วัฑฒนายน

คัดลอกจาก http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2875.0

หมายเลขบันทึก: 604146เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2016 13:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2016 14:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท