เกริ่นนำการทำโครงงานวิจัย ป.ตรี


"การทำงานโครงการงานวิจัย ป.ตรี ในรายวิชาโครงการงานวิจัยนั้น สิ่งแรกเลยที่นักศึกษาจำต้องปฏิบัติและควรรู้นั้น คือ การทำความเข้าใจถึงหลัก และวิธีว่ามีที่มาที่ไป มีวิธีการดำเนินอย่างไร เพื่อได้เป็นแนวทางในการศึกษาของการทำงานโครงการงานวิจัยที่ดีมีคุณภาพและประสิทธิภาพในข้อมูลที่ได้ศึกษาจัดทำ"

งานวิจัย ไม่มีถูก หรือ ผิด มีแต่คุณกล้าที่จะนำเสนอหรือไม่ เพราะถึงยังไง แม้แต่ผู้คิดค้นก็ยังมีการปรับปรุงและพัฒนาอยู่เรื่อยไม่สิ้นสุด ส่วนมากคนเก่งและคนดี ไม่กล้านำความรู้ที่มีมานำเสนอ เพราะกลัวการถูกวิจารณ์ว่างานที่ทำผิดไม่มีประสิทธิภาพ แต่อยากขอให้รับรู้ไว้ว่า สิ่งที่ถูกวิจารณ์นั่นแหละคือสิ่งที่ดี ที่จะนำมาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มประสบการณ์ เพื่อพัฒนางานพัฒนาความรู้ให้มีประสิทธิภาพที่ดี...

.....นางสาว ภมรรัตน์ ชุมภูประวิโร

1 องค์ประกอบโครงการวิจัยระดับปริญญาตรี

การเขียนเอกสารโครงการวิจัยระดับปริญญาตรี ให้เขียนเป็นภาษาไทยทั้งหมด และมีการจัดองค์ประกอบของการเขียนโครงการวิจัยระดับปริญญาตรีออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้

<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:office" />

1. ส่วนแรก

2. ส่วนเนื้อหา

3. ส่วนเอกสารอ้างอิง

4. ส่วนภาคผนวก

5. ส่วนประวัติผู้จัดทำโครงการวิจัย

1.1 ส่วนแรก

ส่วนแรกของโครงการวิจัยประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

· ปกในภาษาไทย

· ปกในภาษาอังกฤษ

· หน้าอนุมัติ

· บทคัดย่อ โดยเขียนให้กระชับ ความยาวไม่เกินหนึ่งหน้ากระดาษ วิธีการเขียนเป็นแบบการรายงานผล กล่าวถึง วัตถุประสงค์ วิธีการที่ได้ดำเนินการ ผลที่ได้ ระดับความสำเร็จ ความพึ่งพอใจ และไม่ควรมีการวิจารณ์ผลเพิ่มเติม

· กิตติกรรมประกาศ ให้เขียนข้อความแสดงความขอบคุณผู้ที่มีส่วนร่วมสนับสนุนในการทำโครงการวิจัย

· สารบัญ

· สารบัญตาราง

· สารบัญรูป

1.2ส่วนเนื้อหา

การเขียนโครงการวิจัยให้เขียนเป็นบท ดังนี้

1.2.1 บทที่ 1 บทนำ

ในบทนี้ ให้กล่าวถึง หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ ขอบเขตในเรื่องของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ชิ้นงาน และประโยชน์ต่อสาธารณชน สังคม และประเทศชาติที่จะได้รับจากโครงการวิจัย

1.2.2 บทที่ 2 แนวคิดและทฤษฎี

ให้กล่าวถึง ทฤษฎีที่สำคัญ ที่เกี่ยวข้อง ที่นำมาใช้ในการทำงานตามโครงการวิจัย บทความ เอกสาร และงานในโครงการวิจัยที่เกี่ยวข้อง หรือมีแนวทางใกล้เคียง กับโครงการวิจัยที่เสนอ โดยการนำเสนอให้เป็นแบบสรุปย่อ และมีการอ้างอิงถึงเอกสารต้นฉบับตามรูปแบบที่กำหนดไว้ ส่วนแนวคิดที่สำคัญของโครงการวิจัยฯ ให้แสดงแนวคิดที่สำคัญนี้ในรูปแบบของผังการดำเนินการ หรือ เรื่องย่อของเรื่องที่ต้องการสร้างในกรณีที่นำเสนอโครงการวิจัย ฯ ด้านการสร้างภาพยนตร์เคลื่อนไหวแบบต่าง ๆ

1.2.3 บทที่ 3 การออกแบบและพัฒนา

ให้กล่าวถึง ผลการออกแบบ เช่น

1.2.3.1 กรณีเป็นการสร้างและออกแบบระบบ ให้แสดงแผนภาพต่าง ๆ ของขั้นตอนการทำงานของระบบงานที่ได้ออกแบบและพัฒนาขึ้น เช่นแสดงเป็น DFD, UML และ/หรือ Structure Chart เป็นต้น

1.2.3.2 กรณีเป็นการสร้างภาพยนตร์แอนนิเมชัน ให้แสดงแผ่นลำดับภาพ(สตอรีบอร์ด) ที่แสดงให้เห็นลำดับขั้นตอนของการดำเนินไปของเรื่องราวในเรื่องที่ต้องการสร้างเป็นภาพยนตร์แบบเคลื่อนไหว (แอนนิเมชัน)

1.2.3.3 กรณีอื่น ๆ ที่เป็นการผสมผสานให้แสดงผลการออกแบบให้ลักษณะของการผสมผสานให้ทราบถึงผลการทำงานของการออกแบบ

1.2.4 บทที่ 4 ผลการวิจัย

ในบทนี้ให้แสดงผลการวิจัย หรือการพัฒนาระบบงาน กรณีเป็นการพัฒนาซอฟต์แวร์ในนำเสนอลำดับขั้นตอนของการใช้งานซอฟต์แวร์ เพื่อให้เกิดผลงานในเรื่องต่าง ๆ เช่น ขั้นตอนในการบันทึกข้อมูลว่าจะเริ่มต้นจากเมนูใด เป็นต้น

ในกรณีที่สร้างเป็นภาพยนตร์เคลื่อนไหว ให้แสดงลำดับขั้นตอนการทำงาน เช่น ให้เปิดโปรแกรมอะไร เรียกใช้งานอย่างไร แล้วจะปรากฏรูปแบบหรือ ภาพยนตร์ขึ้นมาอย่างไร เมื่อภาพยนตร์จบแล้วจะเป็นอย่างไร

1.2.5 บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ

ให้กล่าวสรุปผลงานที่ได้ดำเนินการตามโครงการวิจัยว่าเป็นอย่างไร ได้ผลอย่างไร ตลอดจนผลการทดสอบต่าง ๆ ตามลักษณะของงานที่ได้พัฒนาขึ้น

ข้อเสนอแนะให้กล่าวถึง ปัญหาและอุปสรรค์ที่เกิดขึ้น พร้อมเสนอวิธีการที่สามารถใช้ในการแก้ไขปรับปรุงให้โครงการวิจัยสามารถขจัดปัญหาและอุปสรรคดังกล่าว โดยอาจกล่าวถึงผลการทำงานว่าดำเนินการไปแล้วแค่ไหน และขาดในส่วนใด มีอะไรที่สามารถทำต่อได้ หรือสามารถที่จะเพิ่มเติมให้กับโครงการวิจัยในอนาคตได้บ้าง

1.3 ส่วนอ้างอิง

รายการเอกสารอ้างอิงที่นำมาใช้ประกอบการจัดทำโครงการวิจัย โดยให้แบ่งเป็น ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ โดยให้นำเสนอเอกสารที่เป็นภาษาไทย ก่อนภาษาอังกฤษ

1.4 ภาคผนวก

เป็นข้อมูลแนบเพื่อขยายความ หรือส่วนอื่น ๆ นอกเหนือจากส่วนประกอบที่ผ่านมา

1.5 ประวัติผู้จัดทำโครงการวิจัย

ประวัติผู้ทำโครงการวิจัยให้เขียนคนละไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ ประกอบด้วย วัน เดือน ปีเกิด สถานที่เกิด ประวัติการศึกษา ผลงานวิจัยที่ดีเด่นที่ได้ทำไว้

2 การพิมพ์โครงการวิจัย

ก่อนพิมพ์โครงการวิจัย นักศึกษาจะต้องศึกษารูปแบบการพิมพ์โครงการวิจัยก่อน เพื่อให้ได้รูปแบบการพิมพ์ที่มีมาตรฐาน และก่อนที่นักศึกษาจะเข้ารูปเล่มจะต้องส่งต้นฉบับให้อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการตรวจสอบก่อนเพื่อความถูกต้อง

2.1 กระดาษที่ใช้พิมพ์

กระดาษที่ใช้พิมพ์เนื้อหาโครงการวิจัย จะต้องเป็นกระดาษสีขาวไม่มีเส้นบรรทัด ขนาด A4 (กว้าง <?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:smarttags" /> 210 มม. ยาว 297 มม.) ชนิด 70 แกรม หรือ 80 แกรม และใช้เพียงหน้าเดียว

2.2 ตัวพิมพ์

การพิมพ์ปกนอกโครงการวิจัย ชื่อเรื่องภาษาไทยให้ใช้อักษรฟอนท์ Cordia New หรือ CordiaUPC สีทองขนาด 20 พอยท์

ปกใน ให้ใช้ตัวอักษรเท่ากับปกนอก แต่ตัวอักษรสีดำ

บทที่ ชื่อบท หัวข้อ และเนื้อเรื่อง โปรดดุจากหัวข้อในลำดับต่อไป

เนื้อเรื่อง ให้ใช้ตัวอักษรฟอนท์ Cordia New หรือ CordiaUPC ขนาด 16 พอยท์ เพียงหนึ่งฟอนต์ โดยให้พิมพ์เหมือนกันตลอดทั้งเล่ม

2.3 การทำสำเนา

ให้ใช้วิธีถ่ายสำเนา แต่ตัวอักษรและรูปภาพจะต้องมีความชัดเจน และคงทน

2.4 การเว้นระยะห่างจากขอบกระดาษ

· ด้านบนให้เว้นระยะห่างจากขอบกระดาษ1.5 นิ้ว หรือ 38.1 มม.

· ด้านซ้ายให้เว้นระยะห่างจากขอบกระดาษ 1.5 นิ้ว หรือ 38.1 มม.

· ด้านขวาให้เว้นระยะห่างจากขอบกระดาษ 1 นิ้ว หรือ 25.4 มม.

· ด้านล่างให้เว้นระยะห่างจากขอบกระดาษ 1 นิ้ว หรือ 25.4 มม.

2.5 การลำดับหน้าและการพิมพ์เลขหน้า

2.5.1 ในส่วนแรก คือตั้งแต่บทคัดย่อถึงสารบัญภาพ (ถ้ามี) ให้ใช้ตัวอักษรฟอนท์ Cordia New หรือ CordiaUPC ขนาด 16 พอยท์ พิมพ์เป็นตัวอักษรไทย ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง จ ฉ แสดงเลขหน้า โดยพิมพ์ไว้ตรงกลางส่วนล่างของหน้า ห่างจากขอบกระดาษด้านล่าง 0.5 นิ้ว หรือ 12.7 มม.

2.5.2 ในส่วนเนื้อหา ภาคผนวก และประวัติ ให้ใช้ตัวอักษรฟอนท์ Cordia New หรือ CordiaUPC ขนาด 16 พอยท์ พิมพ์เป็นตัวเลขอารบิค 1 2 3 4 5 แสดงเลขหน้าโดยให้พิมพ์ไว้ด้านบนขวามือห่างจากขอบกระดาษด้านบน 0.5 นิ้ว หรือ 12.7 มม. และห่างจากขอบกระดาษด้านนอก 1 นิ้ว หรือ 25.4 มม. โดย หน้าที่เป็นหน้าแรกของแต่ละบท ไม่ต้องใส่เลขหน้า แต่ให้นับหน้า

2.6 การแบ่งบท หัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อย

2.6.1 บทที่ ให้ใช้ตัวอักษรฟอนท์ Cordia New หรือ CordiaUPC ตัวเข้ม ขนาด 20 พอยท์ พิมพ์อยู่กลางหน้ากระดาษ ห่างจากขอบกระดาษด้านบน 2 นิ้ว หรือ 50.8 มม.

2.6.2 ชื่อเรื่องประจำบท ให้ใช้ตัวอักษรฟอนท์ Cordia New หรือ CordiaUPC ตัวเข้ม ขนาด 20 พอยท์ พิมพ์ไว้กลางหน้ากระดาษด้วยตัวเข้ม โดยไม่ต้องใส่หมายเลขกำกับ โดยก่อนจะพิมพ์เนื้อความต่อไป ให้เว้นไว้ 1 บรรทัดปกติ

2.6.3 หัวข้อใหญ่ คือหัวข้อที่ไม่ใช้ชื่อเรื่องประจำบทให้พิมพ์ไว้ชิดขอบด้านซ้าย และใส่หมายเลขประจำบทตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) และตามด้วยเลขลำดับหัวข้อ เว้น 1 ตัวอักษร แล้วตามด้วยชื่อหัวข้อ ให้ใช้เป็นตัวอักษรฟอนท์ Cordia New หรือ CordiaUPC ตัวเข้ม ขนาด 18 พอยท์ และพิมพ์เว้นระดับระยะห่างจากด้านบน 1 บรรทัด (ยกเว้นหัวข้อดังกล่าวต่อมาจากชื่อบท ไม่ต้องเว้น)

2.6.4 หัวข้อย่อย คือ หัวข้อที่แบ่งมาจากหัวข้อใหญ่ ให้พิมพ์เว้นจากขอบด้านซ้าย 0.5 นิ้ว หรือ 12.7 มม. ใช้ตัวเลขของหัวข้อใหญ่ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) และตามด้วยเลขลำดับของหัวข้อย่อยในหัวข้อใหญ่ เว้น 1 ตัวอักษร แล้วตามด้วยชื่อหัวข้อโดยให้ใช้เป็นตัวอักษรฟอนท์ Cordia New หรือ CordiaUPC ตัวเข้ม ขนาด 16 พอยท์ และพิมพ์เว้นระดับระยะห่างจากด้านบน 1 บรรทัด

ตัวอย่าง

บทที่ 1

บทนำ

1.1หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันวิวัฒนาการของโลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีต่าง ๆ ได้ทำให้ชีวิตมนุษย์ง่ายขึ้น ……………………………………………………………………………………………………………………….……………………………………………………………………..………………………………….…………………………………………………………………….………………………………….…………………………………………………………………….………………………………….…………………………………………………………………….………………………………….…………………………………………………………………….………………………………….…………………………………………………………………….………………………………….…………………………………………………………………….………………………………….…………………………………………………………………….………………………………….…………………………………………………………………….………………………………….…………………………………………………………………….………………………………….……………………………………………………………………

1.2 วัตถุประสงค์

1. เพื่อ………………

2. ……………………

3.

2.7 การพิมพ์ตาราง

ให้พิมพ์แทรกปนไปในแต่ละบทของเนื้อเรื่องที่มีความสัมพันธ์ โดยให้พิมพ์คำว่า ตารางที่ตามด้วยหมายเลขประจำบทตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) และตามด้วยเลขลำดับของตารางในบทนั้น เว้น 1 ตัวอักษร แล้วตามด้วยชื่อตารางไว้ชิดขอบด้านซ้าย เหนือตาราง ถ้าชื่อตารางยาวเกินกว่า 1 บรรทัด ให้พิมพ์บรรทัดบนยาวกว่าบรรทัดล่าง โดยให้ชื่อตารางบรรทัดล่างเริ่มตรงกับอักษรตัวแรกของชื่อตารางบรรทัดบน โดยไม่ต้องเว้นบรรทัด ถ้าตารางมีความกว้างมาก ให้ย่อส่วนลงแต่ต้องอ่านได้ชัดเจน หรือจะพิมพ์ตามแนวขวางของกระดาษ แต่ถ้าตารางมีความยาวมากจนไม่สามารถบรรจุไว้ในหน้าเดียงได้ ให้พิมพ์ตารางต่อในหน้าถัดไป โดยด้านบนชิดซ้ายของตารางให้พิมพ์คำว่า ตารางที่ ตามด้วยหมายเลขประจำบทตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) และตามด้วยเลขลำดับของตารางในบทนั้น พร้อมวงเล็บข้อความ (ต่อ) ต่อท้ายตารางโดยไม่ต้องพิมพ์ชื่อตารางใหม่ โดยเมื่อพิมพ์ตารางเสร็จแล้ว ให้เว้นระยะหนึ่งบรรทัด ก่อนการพิมพ์เนื้อหาต่อไป เช่น

ตารางที่ 2.1 แสดงรายชื่อโมดูลพร้อมคำอธิบาย

รหัส

ชื่อ

คำอธิบาย

M001

Prepare

…..

M002

Process

…..

M003

Finish

…..

….

…..

…..

…..

…..

…..

…..

…..

…..

…..

…..

…..

…..

…..

…..

…..

…..

…..

…..

…..

…..

…..

…..

…..

ตารางที่ 2.1 ( ต่อ)

รหัส

ชื่อ

คำอธิบาย

S001

Prepare_S

S002

Process_S

S003

Finish_S

….

….

….

…..

….

….

จากตารางพบว่า…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

2.8 การพิมพ์รูปภาพ

ให้เว้นบรรทัด 1 บรรทัด ก่อนการจัดวางรูปภาพกลางหน้ากระดาษ จากนั้นเว้นบรรทัด 1บรรทัด และใส่คำว่า รูปที่ตามด้วยหมายเลขประจำบทตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) ตามด้วยลำดับของภาพในบท และจึงตามด้วยคำบรรยายไว้ใต้รูปกลางกลางหน้ากระดาษ ถ้าคำบรรยายเกิด 1 บรรทัด ให้พิมพ์บรรทัดบนยาวกว่าบรรทัดล่าง โดยให้ตัวอักษรตัวแรกของคำบรรยายภาพบรรทัดล่างตรงกับตัวอักษรตัวแรกของคำบรรยายภาพบรรทัดบน เช่น

<?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" />

รูปที่ 1 แสดงการทำงานของระบบ (context diagram)

2.9 การพิมพ์สารบัญ สารบัญตาราง และสารบัญรูป

ให้พิมพ์คำว่า สารบัญ” “สารบัญตารางและสารบัญรูปไว้กลางหน้ากระดาษ ห่างจากขอบบนกระดาษ 2 นิ้ว หรือ 50.8 มม. ด้วยตัวเข้ม ขนาด 20 พอยท์

เว้น 1 บรรทัด พิมพ์คำว่า หน้าชิดขวา ส่วนเลขหน้าให้พิมพ์ให้ตรงกับแนวขอบด้านขวา

ถัดมา 1 บรรทัด จะเป็นเนื้อหาของสารบัญ ระหว่างบทต่าง ๆ บรรณานุกรม และภาคผนวกให้เว้น 1 บรรทัด ส่วนสารบัญตาราง สารบัญรูป คำว่า ตารางที่และ รูปที่ให้พิมพ์ชิดขอบซ้าย บรรทัดเดียวกับคำว่า หน้า

2.10 สมการคณิตศาสตร์

สมการคณิตศาสตร์สามารถที่จะพิมพ์แทรกปนลงไปในเนื้อหาได้ และหากต้องการความเป็นระเบียนให้แยกเฉพาะบรรทัดไว้ โดยบรรทัดที่ต้องการพิมพ์ (หรือเขียน) สมการนั้นควรมีระยะห่างจากบรรทัดปกติบนและล่าง 1 บรรทัด ตัวสมการควรเขียนไว้ประมาณกลางหน้ากระดาษตามเหมาะสม

หมายเลขสมการพิมพ์ชิดขวาไว้ในวงเล็บ การเรียงหมายเลขสมการให้เรียงตามบทที่เช่นเดียวกับการเรียงตารางและรูปภาพ

2.11 การพิมพ์ภาษาต่างประเทศ

สำหรับคำในภาษาต่างประเทศให้พิมพ์ทับศัพท์เป็นภาษาไทย โดยให้เขียนคำภาษาต่างภาษาไว้ในวงเล็บกรณีที่เป็นคำที่ไม่ได้รู้จักแพร่หลายในครั้งแรกที่เขียนถึง ครั้งต่อไปไม่ต้องวงเล็บคำภาษาต่างประเทศ หากเป็นคำที่รู้จักแพร่หลาย ไม่ต้องวงเล็บ การพิมพ์ภาษาต่างประเทศไม่นิยมใส่รูปวรรณยุกต์ เช่น Technologyให้พิมพ์ เทคโนโลยี คำที่เป็นพหูพจน์ไม่เติม หรือ ส์เช่น Games ให้พิมพ์เป็น เกม ยกเว้น คำที่เป็นชื่อเฉพาะ เช่น SEAGAMES ให้พิมพ์ ซีเกมส์ เป็นต้น

2.12 การพิมพ์ภาคผนวก

กรณีที่มีภาคผนวก ที่ต้องการพิมพ์เพียงหนึ่งบท ให้พิมพ์เหมือนกับการพิมพ์โครงการวิจัยคือ ให้เริ่มต้น บทว่า ภาคผนวก และให้ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับการพิมพ์เนื้อหาในแต่ละบท

กรณีที่มีภาคผนวก ที่ต้องการพิมพ์มากกว่าหนึ่งบท ให้ดำเนินการดังนี้

1. ให้พิมพ์หน้าแรกของการเริ่มต้นส่วนของภาคผนวก ว่า ภาคผนวก โดยให้พิมพ์บริเวณกึ่งกลางหน้ากลางทั้งแนวตั้งและแนวดิ่ง

2. หน้าต่อไปให้เริ่มพิมพ์เป็น ภาคผนวก ก ตามด้วยหัวเรื่อง โดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกับการพิมพ์เนื้อหา เมื่อจบภาคผนวก ก ต้องการพิมพ์ภาคผนวกต่อไป ให้พิมพ์เป็นภาคผนวก ข เรียงตามลำดับตามตัวอักษรภาษาไทย ไปที่บทจนกระทั่งครบตามจำนวนที่ต้องการ

3 หลักการเขียนบรรณานุกรม

3.1 การเรียงลำดับ

การเรียงลำดับรายการวัสดุที่ใช้ค้นคว้าในบรรณานุกรม ไม่ต้องมีเลขลำดับที่กำกับ ให้เรียงลำดับตามตัวอักษรของชื่อผู้แต่ง โดยเริ่มจากบรรณานุกรมของวัสดุสารนิเทศที่เป็นภาษาไทยก่อนแล้วจึงตามด้วยภาษาต่างประเทศ

บรรณานุกรมหลายชื่อเรื่องที่มีผู้แต่งคนเดียวกันหรือชุดเดียวกันให้เรียงลำดับตาม ปีที่พิมพ์ของวัสดุสารนิเทศนั้น ๆ โดยเรียงจากลำดับปีที่พิมพ์ครั้งหลังสุดไว้ก่อน

3.2 การลงรายการส่วนต่าง ๆ ของบรรณานุกรม

การลงรายการต่าง ๆ ให้ลงตามที่ปรากฏในปกในของผลงานตามรูปแบบต่อไปนี้ คือ

ชื่อผู้แต่ง.ปีที่พิมพ์.ชื่อเรื่อง.ครั้งที่พิมพ์ (ถ้ามี).ชื่อเมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

3.2.1 ชื่อผู้แต่ง

การลงรายการต่าง ๆ ให้ลงตามที่ปรากฏในหน้าปกในของผลงาน สำหรับหนังสือแปลให้ถือเป็นเอกสารภาษาไทย และการถอดชื่อผู้แต่งเป็นภาษาไทยให้ใช้เกณฑ์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน

3.2.1.1 ผู้แต่งที่เป็นคนไทย ให้ลงชื่อและนามสกุล โดยไม่ต้องใส่คำนำหน้าชื่อ หรือยศตำแหน่ง วุฒิการศึกษา ยกเว้นคำนำหน้าที่เป็นฐานันดรศักดิ์ และบรรดาศักดิ์ ให้ลงต่อจากชื่อสกุล โดยใช้เครื่องหมายจุลภาค (,)คั่น ส่วนพระที่มีสมณศักดิ์ให้เขียนตามปกติ เช่น

เกษมสุวรรณกุล.

เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ.

คึกฤทธิ์ปราโมช, ...

อนุมานราชธน, พระยา

พระเทพวิสุทธิเมธี

3.2.1.2 ผู้แต่งที่เป็นชาวต่างประเทศ ให้ลงรายการตามที่ปรากฏในผลงานโดยใช้อักษรโรมันและกลับชื่อสกุลมาไว้ข้างหน้าคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยชื่อต้นและชื่อกลาง(ถ้ามี) เช่น

Dolan, Edwin.

Russell, James, D.

3.2.1.3 ผู้แต่ง 2 คน ใช้คำว่า และสำหรับผลงานภาษาไทย และใช้คำว่า “and” สำหรับผลงานภาษาต่างประเทศ เชื่อมระหว่างชื่อผู้แต่ง โดยให้ใช้เครื่องหมายจุลภาค (,) คั่นก่อนหน้า และและ “and” ด้วย เช่น

สุธรรม พงศ์สำราญ, และวิรัช ณ สงขลา

Fukutake, T., and Hanson, Monica.

3.2.1.4 ผู้แต่ง 3 คน หรือมากกว่า 3 คน ใช้คำว่า และสำหรับผลงานภาษาไทย และใช้คำว่า “and” สำหรับผลงานภาษาต่างประเทศ เชื่อมระหว่างชื่อผู้แต่งคนรองสุดท้าย และคนสุดท้าย ให้ใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่นด้วย เช่น

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์, ศุภชัย ศุกรวรรณ, และ สมคิด อิสระวัฒน์

Boyd, Harper W., Westfall, Ralph., and Stasch, Stanley F.

3.2.1.5 ผู้แต่งที่เป็นหน่วยงาน หรือ นิติบุคคล ให้ลงรายการตามที่ปรากฏในวัสดุสารนิเทศ เช่น

กรมวิชาการเกษตร

กรมส่งเสริมการเกษตร

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย

3.2.1.6 ผู้แต่งที่เป็นผู้รวบรวม (Compiler) หรือ บรรณาธิการ (Editor) ดังที่ระบุไว้ในหน้าปกในของเอกสาร ให้ใส่คำว่า ผู้รวบรวม (ภาษาอังกฤษ ใช้ comp.) หรือ บรรณาธิการ (ภาษาอังกฤษ ใช้ ed. หรือ eds. ในกรณีที่มีบรรณาธิการหลายคน) ไว้ท้ายชื่อผู้แต่งนั้น ๆ โดยคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) เช่น

ขจร สุขพานิชม, ผู้รวบรวม.

Forbes, Smith, comp.

ดาษดา วารินทร์สกุล, บรรณาธิการ

Jimmy, Boss., ed.

3.2.2 ปีที่พิมพ์

การลงรายการปีที่พิมพ์ ให้ระบุเฉพาะตัวเลขของปีที่พิมพ์ ในลำดับที่หลังชื่อ ผู้แต่ง กรณีไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ให้ใส่อักษรย่อ ม ... (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์) สำหรับภาษาไทย และ n.d. (no date) สำหรับภาษาต่างประเทศ

3.2.3 ชื่อเรื่อง

ให้ลงรายการชื่อเรื่องตามที่ปรากฏในหน้าปกในของเอกสารสำหรับชื่อเรื่อง ภาษาต่าง ประเทศให้ใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ขึ้นต้นทุกคำยกเว้นคำบุพบท (Preposition) คำสันธาน (Conjunction) คำนำหน้านาม (Article: a, an, the) ซึ่งมิใช่คำแรกของชื่อเรื่องโดยให้พิมพ์เป็นตัวหนา

3.2.4 พิมพ์ลักษณ์

3.2.4.1 ครั้งที่พิมพ์ ให้ระบุครั้งที่พิมพ์ตั้งแต่ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป โดยลงไว้ต่อจากชื่อเรื่อง เช่น

พิมพ์ครั้งที่ 2 ใช้2nd ed.

พิมพ์ครั้งที่ 3 ใช้ 3rd ed.

พิมพ์ครั้งที่ 4 ใช้ 4th ed.

พิมพ์ครั้งที่ 7 ใช้ 7th ed.

3.2.4.2 สถานที่พิมพ์ ให้ระบุชื่อเมืองที่สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์ตั้งอยู่ โดยใช้ชื่อดังที่ปรากฏอยู่ในหน้าปกของเอกสาร ในกรณีที่มีมากกว่าหนึ่งเมือง ให้ใส่เฉพาะชื่อเมืองแรกที่ปรากฏเท่านั้น หากไม่พบชื่อเมืองที่พิมพ์ ให้ใส่อักษรย่อ ม ... (ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์) หรือ n.p (no place) สำหรับภาษาต่างประเทศ

3.2.4.3 สำนักพิมพ์ ให้ลงชื่อสำนักพิมพ์ตามที่ปรากฏในหน้าปกในเอกสาร ในกรณีที่มีทั้งชื่อสำนักพิมพ์และโรงพิมพ์ให้ใส่เฉพาะสำนักพิมพ์เท่านั้น หากไม่พบชื่อสำนักพิมพ์ ให้ใช้ชื่อโรงพิมพ์แทน ในกรณีที่ไม่ปรากฏทั้งชื่อสำนักพิมพ์และโรงพิมพ์ให้ใส่ ม ... หรือ n.p. เพียงอย่างเดียว

3.3 หลักเกณฑ์ในการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา

1. การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาโดยใช้ระบบนามและปี

2. ให้ใช้เฉพาะเลขปี พ.ศ. ถ้าเป็นภาษาไทยและใช้เฉพาะเลขปี ค.ศ. ถ้าเป็นภาษาอังกฤษ

3. การอ้างอิงเอกสารแบบภาษาไทยให้ใช้ชื่อและนามสกุล ส่วนเอกสารภาษาอังกฤษใช้เฉพาะชื่อสกุล

ตัวอย่างการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา

ผู้แต่ง 1 คน

ตัวอย่างรูปแบบที่ 1

ในร่างกายผู้ชายจะมีแคลเซียมประมาณ 1.2 กิโลกรัม ผู้หญิงประมาณ 1 กิโลกรัม (สมใจ ใจงาม, 2540, น. 15)

ตัวอย่างรูปแบบที่ 2

ผลการวิจัยของสมใจนึก ใจงาม (2541, น. 18) พบว่า ในร่างกายผู้ชายจะมีแคลเซียมประมาณ 1.2 กิโลกรัม ผู้หญิงประมาณ 1 กิโลกรัม

ผู้แต่ง 2 คน

(ยุพา จันทร์รุ่ง, และธนา อยู่ดี,2542, . 15-20)

(Taylor and Dell, 1997, p.15)

ผู้แต่ง 3 คน

(ยุพา จันทร์รุ่ง, ธนา อยู่ดี, และสมนึก ยั่งยืน, 2542, .10)

(Taylor Dell and Kelly, 1997, p.13)

ผู้แต่ง 3 คนขึ้นไป

(ศรีสมร คงพันธุ์และคณะ , 2543, .40)

(Norton et.,al., 1995, pp. 44-53)

ผู้แต่งที่มีบรรดาศักดิ์

(พระยาอุปกิตศิลปสาร,2515, .13)

ผู้แต่งที่มีสมณศักดิ์

(พระราชวรมุนี, 2529, น.40)

ผู้แต่งที่เป็นสถาบัน

(ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, 2524, น.5)

ผู้แต่งคนเดียวแต่มีหลายเล่มจบต้องระบุหมายเลขเล่มที่อ้างอิง

(วรวุฒิ ศรีใส, 2535, เล่ม 1 น. 115-120)

ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ระบุชื่อเรื่องในตำแหน่งของผู้แต่ง

(ฝ่าวิกฤตธุรกิจไทย, 2534, น. 162)

ผู้แต่งคนเดียวกัน พิมพ์ปีเดียวกัน แต่เอกสารคนละเล่มกัน

(สมจิต บุญยืน, 2540 ก, น. 16-30)

(สมจิต บุญยืน, 2540 ข, น. 45)

บรรยาย

(นุกุล ประจวบเหมาะ,2540)

เทป

(พระเทพวิสุทธิกวี,2540)

รายการวิทยุ-โทรทัศน์

(มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,ม.ป.ป)

ต้นฉบับตัวเขียนและจดหมายเหตุ

(กรมศิลปากร กองจดหมายเหตุ,2402)

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :// นี่คือไฟล์http://203.158.99.247/Contents/is/project_doc.docในรูปแบบ html

หมายเลขบันทึก: 603488เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2016 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2016 15:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท