ตัวอย่างองค์กรที่มีการทำ km


เส้นทางการทำ km ของกรมสุขภาพจิต

เส้นทาง....การทำ KM ของ กรมสุขภาพจิต"

เรื่องเล่าไตรภาค  จากพี่สมพร  อินทร์แก้ว 

 http://gotoknow.org/blog/play/57549   

.......ในส่วนภาคบริหาร  พอเราจัดตลาดนัดความรู้สุขภาพจิตดี  ท่านอธิบดี, รองอธิบดีวชิระ, และ ผอ.รพ. หลายท่าน ได้มาเห็น    และอธิบดีได้ประกาศเป็นนโยบายว่า  ต่อไปถ้ามีเวทีแบบนี้อีก ผู้บริหารทุกคนต้องเข้า  และพอรุ่งขึ้นมีการประชุมกรมอีก  ท่านก็ไปพูดสำทับในที่ประชุมอีกว่าเป็นเวทีที่สำคัญและได้ประโยชน์มาก ดังนั้นถือเป็นภารกิจที่ผู้บริหารควรต้องให้ความสนใจ     แล้วท่านก็กำหนดอีกว่าจากภาพที่เห็น   ปีหน้าขอให้ทุกหน่วยไปดูว่างานเด่นของตัวเองคืออะไร  แล้วให้มีการจัดการความรู้ให้ชัดเจน  โดยให้มีคลังความรู้ปรากฏให้เห็นด้วย   อันนี้ถือเป็นนโยบายให้ทุกหน่วยไปทำ  ไม่ใช่แค่สำนักที่นำร่องทำ    ดังนั้น ปีหน้า 2550  ทุกหน่วยต้องไปหางานเด่นของตัวเองว่าจะทำอะไร  แล้วก็เอา KM เข้าไปเป็นกระบวนการในการจัดการ   ฉะนั้นให้ทุกหน่วยไปหาสินค้าดีๆ ของตัวเองมาขายในตลาดนัดความรู้ให้ได้ 
                ในส่วนของหน่วยนำร่อง KM ของกรมสุขภาพจิต  คือ สำนักพัฒนฯ  ซึ่งจะต้องทำให้สำเร็จตามตัวชี้วัด    ภารกิจอันหนึ่งที่กลุ่มเราได้รับ  คือ ต้องลงไปช่วยเหลือเยียวยาจิตใจให้กับประชาชนใน 3 จว. ชายแดนภาคใต้  เป็นเนื้องานที่ได้รับมอบหมาย    เราจึงเอา 2 เรื่องมาเป็นเรื่องเดียวกัน (KM กับ งาน)    โดย  ทำเนื้องานเรื่องการดูแลช่วยเหลือเสริมสร้างความหยุ่นตัวให้กับประชาชน 3 จว.    หน้าที่หลักของเราคือ 1. ต้องทำนวัตกรรมขึ้นมา  เราเรียกว่าเป็นเทคโนโลยี  ว่าจะมีแนวทางปฏิบัติอะไรบ้างที่ประชาชนภาคใต้จะอยู่ได้ภายใต้วิกฤตของเขา     เรียกว่าเป็นการพัฒนาเทคโนโลยี  เมื่อพัฒนาเสร็จแล้ว เราก็ถ่ายทอดผ่านคนในพื้นที่    แต่เดิมเราใช้เรื่องของกระบวนการวิจัยและพัฒนาเป็นตัวตั้ง  โดยมีเรื่อง ความหยุ่นตัว เป็นเนื้องานที่เราต้องศึกษาค้นคว้า  เราใช้ KM  เป็นกระบวนการเสริม เป็นตัวเทคนิค    เรา ต้องดูว่าแล้วกระบวนการของ KM เข้าไปอยู่ในขั้นตอนไหนของ R&D   เราพบว่างานเรามีกระบวนการ 7 ขั้นตอน   และ KM เข้าไปอยู่ได้ถึง 5 ขั้น แล้วไปทำให้บางส่วนดีขึ้นกว่าเดิม   โดยส่วนหลักๆ คือ ในการทำเทคโนโลยีในขั้น 2 เราต้องทำกรอบแนวคิด  ซึ่งเดิมเราอิงผู้เชี่ยวชาญ   แรกเลยคือ การทบทวนภูมิปัญญาสากล (ซึ่งเป็น explicit knowledge)  แล้วก็จัดสัมมนาผู้เชี่ยวชาญ  (ซึ่งเป็นทั้ง explicit knowledge  และ  tacit knowledge)  อีกอย่างหนึ่งที่เรามักทำคือ เอาคนที่ทำงานในฐานะผู้รับผิดชอบ ผู้ปฏิบัติงานมาคุยกัน   แต่ที่เราไม่ค่อยทำ คือ คนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายโดยตรง  ซึ่งบางทีเราทำแต่ใช้รูปแบบเดิมๆ  คือจัด focus group  โดยกระบวนการจะไม่มีเทคนิคเหมือนที่ สคส. มี  โดยเฉพาะเทคนิคการเล่าเรื่อง   ปรากฏว่าเราใช้เทคนิคย่อยอันนี้เข้าไป   เราไปจัด focus group กลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่ม (แกนนำ ปชช., เยาวชนในพื้นที่, ครูอาจารย์, ทหาร, ตำรวจ)   เชิญทั้ง 5 กลุ่มเข้ามาทำ focus group และใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง และการสกัดความรู้   ปรากฏว่าประเด็นที่ได้ออกมาเป็นประเด็นที่ดีมาก   มันเป็นตัวช่วยที่ทำให้เราได้ข้อมูลที่ชัดและตรง  ผลที่ได้มันมามีส่วนในการกำหนดกรอบแนวคิด  เพราะเราไม่ได้อิงแนวคิดเฉพาะภูมิปัญญาสากลแล้ว  เราเอาคนที่อยู่ในภาวะวิกฤตได้อย่างดีมาเล่าว่า เขาอยู่ได้อย่างดีเขามีวิธีคิดอย่างไร  เขามีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างไร  มีวิธีผ่อนคลายตัวเอง  จัดการกับอารมณ์ตัวเองอย่างไร  (ซึ่งเป็นประเด็นสุขภาพจิต)    อันนี้เป็นส่วนหนึ่งที่เราตระหนักถึงคุณค่าของเทคนิคของ KM ที่ไปช่วยเรื่องเนื้องาน     อีกส่วนหนึ่งที่ใช้ประโยชน์ได้มาก คือ หลังจากผ่านกระบวนการทำร่าง   แล้วต้องให้กลุ่มทำงานที่จะใช้ ( เช่น  บุคลากรสาธารณสุข, แกนนำชุมชน)  ใช้ในการดูแล ณ จุดพัฒนาคุณภาพ    เราใช้เทคนิคของ KM เข้าไป โดยจัดเวทีอีกครั้ง เพื่อให้เขาตรวจสอบว่าสิ่งที่เราทำไปมันใช้ได้ดี, ได้ตรง และได้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหน  หลังจากที่ผ่านกระบวนการนี้แล้ว  เราจัดเวทีของการถ่ายทอดฯ เราใช้หลักการของ PAL (กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม)  ซึ่งจะให้กรอบที่ดี  แต่ในขณะเดียวกันเราใช้เทคนิคเล่าเรื่องจาก KM เข้าไปเสริม  ในขั้นของการดึงประสบการณ์ของผู้เรียน  แล้วมันทำให้กระบวนการเดิมของเราดียิ่งขึ้น   นี่คือสิ่งที่เราได้เรียนรู้   แล้วพอเสร็จได้นวัตกรรมนี้ออกมา 7 รายการ   เช่น  มีคู่มือที่เป็นคู่มือความรู้ที่เกิดจากผสมผสานระหว่าง  Tacit  knowledge ของคนในพื้นที่ กับ Explicit  knowledge จากการศึกษาภูมิปัญญาสากลที่ศึกษามาทั้งหมด  และ   คู่มือในการปฏิบัติฝึกอบรมสำหรับบุคลากรระดับ PCU กับ สอ. ในพื้นที่      อีกเล่ม คือ คู่มือฝึกอบรมสำหรับผู้ที่ทำงานอยู่ใน รพ. ชุมชน (คือ พยาบาล)  และ คู่มือการจัดค่าย (ซึ่งเป็นการร้องขอจากพื้นที่ว่ามีเยาวชนมากและต้องการได้รับการพัฒนา)  ซึ่งเป็นคู่มือการจัดค่ายเยาวชนสำหรับ 3 จว. ชายแดนภาคใต้      ส่วนจุดที่เราลงไปปฏิบัติ  มี 3 จุดด้วยกัน  คือ ครั้งแรกที่เราทำเทคโนโลยีเสร็จเราก็ลงไปถ่ายทอดให้บุคลากรสาธารณสุข  ทั้งระดับ PCU, สอ. และ รพช.  หลังจากนั้นเราไปจัดค่ายกับเยาวชนของจังหวัด ทั้ง 3 จ.  เข้ามาทั้งหมด 100 คน  ค่ายเราใช้องค์ความรู้ในเรื่องความหยุ่นตัวของเรา   แต่ในขณะเดียวกันการออกแบบกระบวนการค่ายเราพยายามใช้กระบวนการทั้งหมดของเรา PAL & KM เข้ามาช่วย   พอเสร็จเด็กๆ ประเมินผลโดยใช้ AAR  ก็บอกว่าเป็นค่ายที่แตกต่างกว่าค่ายที่เขาเคยเข้า เพราะค่ายนี้ทำให้เขารู้สึกมีความภาคภูมิใจในตัวเอง   เพราะในเรื่องของการช่วยให้คนอยู่ได้ในภาวะวิกฤตจะมีเรื่องของ  I have, I am  และ I can  คือ  เขารู้สึกอุ่นใจว่ามีใครเป็นหลักที่พึ่งให้เขา ,   เขารู้สึกว่าเขามีดีอยู่ในตัว มีความสามารถที่จะผ่านพ้นไปได้  และ  เราให้เขาพูดถึงสิ่งดีๆ ที่เขาได้ช่วยเหลือคนอื่น แล้วเขารู้สึกภาคภูมิใจมากๆ     ซึ่งหลายๆ คนดูเหมือนธรรมดาๆ  แต่พอจัดเวทีให้เขาเอาเรื่องเล่ามาเล่า  บางคนเขียนไม่ได้ก้เขียนเป็นสัญลักษณ์แล้วอธิบายให้ได้ว่าคืออะไร  บางคนพูดภาษาไทยไม่ได้ ต้องมีล่าม (ยุวมุสลิม เป็นล่ามและผู้ช่วยวิทยกร)    เด็กๆ บอกว่าเวลาที่เขาได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเสิ่งดีๆ ที่เขาเคยทำ  เขาเกิดความรู้สึกมีคุณค่าและประทับใจ   เด็กๆ ว่ากระบวนการของเราสอนให้เขาคิดตลอด   เพราะเราจะใช้คำถามให้เขาได้มีการแลกเปลี่ยนกันตลอดเวลา    ภาพที่ออกมา กลุ่มยุวมุสลิม ก็เอาของเราไปใช้ต่อ (เขาเป็นผู้ช่วยวิทยากรให้กับเรา)   อันนี้เป็นงานชิ้นหนึ่งที่เราทำ  
                  แต่ในฟากบุคลากรสาธารณสุข  เราจัดอบรมไปทั้งหมด 60 คน  ทั้งระดับ PCU สอ. และ รพช.      พอหลังจากนั้นเราไปจัดเวที ลปรร. โดยการประเมินผล  ปรากฏว่าทุกคนพอใจกับกระบวนการ  เพราะเวลาเราประเมิน  เราประเมินผลว่าเขาไปทำอะไรต่อในแง่ความสำเร็จของเขา   เขาก็เอามาเล่า คือ ภายใต้เรื่องเล่าของเขา เราสามารถเอามาถอดกลายเป็นความรู้แล้วทำเป็นโปสเตอร์ กลายเป็นเรื่องเล่าของชาวสาธารณสุขเพื่อการใช้ชีวิตใน 3 จ. ชายแดนภาคใต้ และในส่วนของการช่วยเหลือคนอื่นด้วย  เราทำกลับไปให้เขาเป็นโปสเตอร์ที่เขาสามารถไปอ่านกันได้   อันนี้เป็นส่วนการจัดเวทีในภาคสาธารณสุข    หลังจากนั้นฝ่ายครูอาจารย์ก็สนใจ  เพราะเขาต้องเป็นหลักให้กับเด็กๆ และต้องเป็นที่พึ่งให้กับชุมชน   ตัวเขาเองก็แย่ในสถานการณ์ของ 3 จว.  เราก็ตอบตกลง เป็นการทำงานกับทางยะลา ทำทั้ง 3 จ. มีตัวแทนของครูจาก 3 จ.  โดยกระบวนการเราพยายามให้ครูมีการ ลปรร. ให้มากที่สุดในแง่ของ Self help gruoup และเป็น Self help gruop ที่เขาจะต้องไปช่วยนักเรียนด้วย  กระบวนการทำจะเป็นตัวหลักของเราจะทำให้เขารู้สึกผ่อนคลายอารมณ์และได้แนวปฏิบัติ  แล้วเราใช้เทคนิคเรื่องเล่า เข้าไปเป็นหลัก  ซึ่งครูหลายคนก็มีความสุขในการเล่าให้เราฟัง  จนเวลาเลิกประมาณ 6 โมงเกือบทุกวัน (3 วัน) ซึ่งกลุ่มนี้ก็พอใจ  หลังจากนั้นพอเรากลับมามีตำรวจโทรติดต่อมาที่กรม  บอกว่าให้ไปช่วยทำให้กับตำรวจใน 3 จว. ชายแดน ได้ไหม   ในปี 2550 คณะกรรมการเยียวยาฯ  บอกสนับสนุนเรื่องนี้ให้ทางกรมไปขยายผลต่อกับครูอีก 5 รุ่น 1000 คน  แต่เราบอกว่าเราไม่ทำเองหรอก เพราะเราอบรมไปแล้ว 100 กว่าคนในรอบนั้น ฉะนั้นจะให้เป็นการทำงานช่วยเหลือกันในส่วนภาคครู   ซึ่งนี่ถือว่าเป็นการครบรอบของการจัดการความรู้ที่ใช้เทคนิคเข้าไปช่วยในส่วนการพัฒนางานที่ใช้ในการพัฒนานวัตกรรมซึ่งเป็นภารกิจหลักของสำนักพัฒนฯ     แต่มากกว่านั้นคือว่า พอเราทำตัวนี้เสร็จเรามีการมา ลปรร. ในองค์กร แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เราใช้กระบวนการที่เราไปทำจริงมาคุยให้องค์กร   แต่ที่มากกว่านั้นอีก เมื่อเราทำวิสัยทัศน์เรื่อง KM ในสำนักพัฒน์ฯ  เราเห็นว่าคนของเรามีทิศทางที่ดี  และสุดท้ายพัฒนาต่อเนื่องไปเป็นการทำแผนกลยุทธ์ 6 ปีต่อเนื่อง  ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน
          ในภาคใหญ่ของกรม  KM เรื่องสุขภาพจิตกับภัยพิบัติ  เรามีองค์ความรู้ที่เราไปประมวลมาได้ มีทั้งหมด 55  รายการ   ตั้งแต่ คู่มือการบริหารจัดการเมื่อเกิดภัยพิบัติ,  เครื่องมือ, โปรแกรมการพัฒนา   ตรงจุดนี้พอเรามาสรุปฐานความรู้ที่ได้ส่งไปที่กรม   ทางผู้บริหารก็สั่งการต่อให้มีการสานต่อ   มีการแต่งตั้งและมอบหมายคณะทำงาน โดยใช้ฐานการจัดการความรู้ของเราไปพัฒนางานต่อเนื่อง   สุดท้ายอธิบดีก็บอกว่า หาคนมาต่อยอดหน่อยซิ  ไปดูว่าเครื่องมือทั้งหมดมีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร  มีความเป็นไปได้ไหมที่เราจะพัฒนาเครื่องมือของไทยขึ้นมา  โดยไม่ต้องไปอิงต่างชาติในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง       นอกจากนี้ ไม่ใช่เฉพาะเรื่องเครื่องมือ, โปรแกรมพัฒนา ที่ใช้ฐานการจัดการความรู้ของเรา    ในส่วนการบริหารจัดการ  หมายถึงข้อมูลที่มีการบริหารจัดการ  พอใช้ฐานจากที่เราไปจัดการความรู้มา  มีการไปจัดทำเป็นแนวทางปฏิบัติทั้งในระดับจังหวัด และระดับหน่วยงาน    แล้วพอมีน้ำท่วมที่อุตรดิถต์  คู่มือเรื่องนี้ก็ได้ถูกใช้อย่างทันท่วงที อันนี้เห็นผลอย่างชัดเจน
                ส่วนในเรื่อง KM “สุขภาพจิตชุมชน  มีการทำงานมายาวนาน  ตั้งแต่ พ.ศ. 2521   พอเราทำจัดการความรู้  พบว่ามี  Explicit Knowledge ทั้งหมด 297 รายการ  พอเรามาจัดหมวดหมู่ ได้ 10 หมวดหมู่  ซึ่งหลากหลายมาก  ที่ต่อเนื่องในเชิงนโยบาย คือ ภายใต้หมวดหมู่นี้ก็มีการคุยว่ามันมีหลายประเด็น หลายกลุ่ม  จึงกำหนดให้มี
กลุ่มคนมาดูแลเฉพาะเรื่องและพัฒนา     พูดได้ว่ามีการทำองค์ความรู้นั้นให้ทันสมัยและใช้ประโยชน์ได้   ในขณะเดียวกันกลุ่มคนที่ดูแลขอให้ถือว่าคล้ายเป็น CoP กลายๆ ที่จะต้องเกาะติดเรื่องนี้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ถือเป็นการใช้ประโยชน์ตัวฐานข้อมูลที่ได้จากการจัดการความรู้ 
คำสำคัญ (Tags): #km_class_prince#of#songkla#university
หมายเลขบันทึก: 60336เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2006 16:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 00:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท