นุชรัตน์
ดร. นุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย

พวกเรามาถึงจุดนี้หรือยัง ..กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง ? ..ศึกษาดูงานที่โรงเรียนบ้านปะทาย


ดิฉัน ฟังคำถามและคำตอบ ระหว่างผู้บริหารด้วยกัน ในหลายประเด็น ...ซึ่งมีความสุข และ เป็นความจริงใจของทั้งสองฝ่าย .ผลจะเป็นเช่นใด ก็ต้องดูต่อไปค่ะ ..

รู้จักบ้านปะทาย เมื่อได้รับเชิญจาก ดร.ต๋อย (มมส) เครือข่ายเวทีพูนพลังที่ได้ให้เข้าร่วมเวที เมื่อปี 2558 และ รู้จัก ผอ.สมศักดิ์ ประสาร ที่ท่านเป็นครูต้นเรื่องได้เล่าเรื่อง แนวคิดการบริหารโรงเรียน "แบบแนวราบ" ซึ่งค่อนข้างตรงงกับความเชื่อ ที่มีอยู่ว่า การบริหารแบบสั่งการ อาจจะง่ายและสะดวก รวดเร็ว ได้เนื้องานเชิงปริมาณ แต่ เขาจะไม่ได้จิตวิญญาณ ของคนทำงาน แต่ถ้า มีการบริหารที่มีส่วนร่วม ช่วยเหลือกัน เป็นการร่วมกันทำงานอย่างแท้จริง เพิ่มมุมมองเชิงบวก สร้างสรรค์ ลดการคิดถึง เรื่องของปัญหาหรือสิ่งที่เป็นอุปสรรค

ร่วมกับความเชื่อเกี่ยวกับ การพัฒนาโรงเรียน ผู้บริหาร ครู .ที่เราทำกันมานาน แต่ไม่เคยสำเร็จ คือ การอบรมที่เป็นรูปแบบ (pattern) เดียวกัน ทั้งเขตพื้นที่การศึกษา เราต้องการค้นหา ทดลอง เรียนรู้ รูปแบบใหม่ๆ ที่อาจจะสร้างการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น

งบประมาณมีการบูรณาการ 3 โครงการ (พันธมิตรที่มีแนวคิดใกล้เคียงกัน) จาก โครงการ PBL , DLTV และ PLC

การคัดเลือกกลุ่ม พวกเราได้เลือกแบบแบบเจาะจง ..ด้วยคุณลักษณะ ที่เราสัมผัสได้ คือ มีมุมมองที่เป็นมิตร เชิงบวก ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ทำงาน ไม่ชอบการประกวด แข่งขัน ซึ่งแต่ละบุคคลก็ไม่ได้มีคุณสมบัตินี้ครบถ้วนทุกข้อ

การออกแบบการศึกษาดูงาน .

วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๙ ภาคเช้า เดินทาง ภาคบ่าย ทีม บ้านปะทาย มาให้ความรู้ เกี่ยวกับกับ แนวคิดที่โรงเรียนได้นำมาใช้ คือ PLC , PBL , จิตศึกษา

การบรรยายไม่ได้มุ่งเน้น ทบ.แต่เป็นการแชร์ประสบการณ์ ที่มีฐานคิด และความเชื่อ (ทฤษฏีการทำงาน) ซึ่ง รร ได้เป็นเครือข่ายทางภาคเอกชน แต่ที่สำคัญสุดคือการนำแนวคิดของลำปลายมาศ มาปรับใช้ .. ซึ่งมีเรื่องของ PLC (พระเอกการขับเคลื่อน) จิตศึกษา (เนื้อหา ที่ทำให้ครูเปลี่ยนและนักเรียนเปลี่ยนพฤติกรรม) PBL (การสอนบนฐานปัญหา โครงงาน)

เริ่มต้น กิจกรรมในภาคบ่ายด้วยพิธีเปิด จาก ท่าน ดร.สมหวัง พันธะลี ผอ.กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา


วันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๙

ภาคเช้า สังเกตกิจกรรมหน้าเสาธง กิจกรรมในชั้นเรียน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำหน่วยบูรณาการ

ภาคบ่าย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กิจกรรมจิตศึกษา และ พิเศษคือ การพบปะ พูดคุยระหว่างผู้บริหาร ศน. และ ผอ.บ้านปะทาย ในการหาวิธีการและแนวทางในการขับเคลื่อนในสถานศึกษา

ประเด็นที่จะนำมาแลกเปลี่ยนที่พยายามจับประเด็นคือ
การจัดทำหน่วยบูรณาการ (โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน) คุณครูเอ๋ บ้านปะทาย
ดิฉัน ชื่นชมการทำหน่วยบูรณาการของที่นี่มาก ซึ่งไม่เคยเห็นที่ใดมาก่อน ซึ่งเราไป โรงเรียนหลายครั้ง รู้สึกสงสารครูมากที่เอาเนื้อหาวิชาเป็นตัวตั้ง ทำให้ต้องพึ่งพาตำรา ของสำนักพิมพ์ สอนเนื้อหา เพราะกลัวไม่ทัน ...เราจะเชียร์ตลอดว่า ให้บูรณาการ เชื่อมโยง .แต่ ศึกษานิเทศก์บางครั้งก็มองภาพทฤษฏี และหลักการได้ แต่การปฏิบัติ เราไม่ได้คลุกอยู่กับ เด็กบางครั้งมันก็มีช่องว่าง

คุณครูเอ๋ จำลองให้เห็นการจัดหน่วยบูรณาการ ด้วยการให้ คณะพวกเรา "เก็บใบไม้มาคนละ 1 ใบ และ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม หลังจากนั้น ใช้คำถามว่า

- เห็นอะไร คิดอย่างไร ..ทุกคนเล่า

- จะนำใบไม้ไปทำอะไรได้บ้าง ..ช่วยกันเขียน

- ร่วมกันตั้งชื่อ ..ได้เรื่องและประเด็น..

- จากเรื่อง รู้อะไรแล้ว และ อยากรู้อะไร

- จับกลุ่มความสำคัญ

- ทำ map ก่อนเรียน

- สอนโดยใช้กิจกรรมโครงงาน (ทุกเรื่อง)

- ทำ map หลังเรียน ..

ทุกกิจกรรม นักเรียนมีส่วนร่วม และเป็นคนคิด ทั้งหมด แน่นอนว่าครูต้อง แม่นในเรื่องของหลักสูตร (ศึกษา) ทำความเข้าใจ ซึ่งจะไม่ทำให้การจัดการศึกษา หลงทิศ หลงทาง ดิฉันทำความเข้าใจกับการบอกเล่า ครูเอ๋ ดังนี้


กิจกรรมจิตศึกษา ของโรงเรียนปะทาย มีการใช้เพื่อให้เด็ก เกิดสมาธิ มีความรับผิดชอบ สร้างนิสัยที่ดีงาม แต่ สุดท้าย ส่งผลต่อคุณครู ทำให้คุณครูมีความเมตตา รัก และเข้าใจศิษย์มากยิ่งขึ้น วันนี้ น้อยจอยได้นำเสนอกิจกรรม จิตศึกษา หลายเรื่องเหมือนกัน (ต้องขออภัยเก็บไม่หมดค่ะ แต่คุณครู ที่ไปด้วยกันน่ารักมาก เก็บรายละเอียด ทุกเม็ด ค่ะ)

กิจกรรม pLC ท่าน ผอ.สมศักดิ์ ให้ ข้อคิด

  • การสร้างวิถีการทำงานร่วมกัน
  • รับฟังซึ่งกันและกัน ห้ามสอนเพื่อน ไม่พูดเอาชนะ แต่ ส่งเสริมให้กำลังใจกัน
  • AAR การทบทวนหลังการปฏิบัติ ให้ทำเป็นประจำ สม่ำเสมอ .. เห็นอะไร คิดอย่างไร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น แล้วอย่างไร จะทำอะไรต่อไป
  • ผู้บริหารต้องทำให้เขาเห็นว่าเราเอาจริง
  • BAR การพูดคุยก่อนที่จะเริ่มต้นการทำงานในครั้งต่อไป


ขณะที่คุณครูกำลังเรียนวิชาจิตศึกษา ทางคณะศึกษานิเทศก์เรา ได้เชิญ ผู้บริหารในครั้งนี้เข้าไปพูดคุยกัน ที่ห้อง ผู้อำนวยการโรงเรียน โดยวงที่เราคุยกัน มี ผอ.สมศักดิ์ นำสนทนา และ ผู้บริหาร ศึกษาินเทศก์ จากกาฬสินธุ์ คอยซักถาม

ดิฉัน ฟังคำถามและคำตอบ ระหว่างผู้บริหารด้วยกัน ในหลายประเด็น ...ซึ่งมีความสุข และ เป็นความจริงใจของทั้งสองฝ่าย .ผลจะเป็นเช่นใด ก็ต้องดูต่อไปค่ะ ..คำถามเท่าที่บันทึก มีดังนี้

  • โรงเรียนผลสัมฤทธิ์ดีอยู่แล้ว ถ้าไปนำ แนวคิด PLC มาใช้ ผลจะเป็นอย่างไร
  • ถ้าทำแล้ว ถ้า สพฐ ผอ.เขต ให้ทำตาม นโยบาย ทุกๆ เรื่อง จะทำอย่างไร
  • มีการต่อต้านหรือไม่ จากคณะครู และ ท่านผ่านอุปสรรคนั้นได้อย่างไร
  • ทำไม ครูถึงให้ความร่วมมือ
  • จะเริ่มอย่างไรดี ถ้าอยากจะทำ

ฯลฯ

มีการถาม ตอบ หลายเรื่องมาก .สุดท้ายคือ ทางโรงเรียนที่กาฬสินธุ์ ก็อยากจะเปลี่ยนดูบ้าง เพราะทำมาหลายรูปแบบแล้ว แต่ผลสัมฤทธิ์ ฯลฯ ก็ไม่ดีขึ้นแต่อย่างใด

อยากจะเป็นเครือข่าย และจะพาครูทุกคน มาเตรียมตัวและวางแผนก่อนเรียน เขียนแผนการสอน มาเรียนรู้ร่วมกับบ้านปะทายอีกครั้ง โดยมีทีม สพป.กาฬสินธุ์ เขต 1 คอย support ค่ะ


ขอจบบันทึกแบบห้วนๆ ค่ะ .. พวกเรา ศึกษานิเทศก์ที่ไปวันนั้น มีท่าน ดร.สมหวัง พันธะลี (นำทีม) ศน.สุริยา ผ่องเสียง ศน.กชพร ตุณสุวรณณ และนุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย โรงเรียน ที่จะทำ PLC จำนวน 13 โรงเรียน และ ครูที่จะสอน แบบ PBL 11 คน การพัฒนาตามแนวคิดนี้ จะสำเร็จไหม ยังตอบไม่ได้ แต่สังเกตดูคุณครู และ ผอ.โรงเรียนที่ไปร่วมศึกษาครั้งนี้ ทุกคน มีความกระตือรือร้น และ เหน็ดเหนื่อยกับการดูงาน ที่เต็มไปด้วยสาระ (คิดว่าคงไม่มีใครอัดแน่นเต็มพิกัด แบบ ที่พวกเราทำ ..) เจอกันคราหน้า กับกิจกรรม BAR ขอบคุณค่ะ




ถึงโรงเรียน ประมาณ ๗.๔๐ ทุกคนทำความสะอาดกัน


ทุกชั้นเรียนมีกิจกรรม Active learning ไม่มีครูยืนบรรยาย โดยเด็กๆ ไม่ได้ร่วมทำกิจกรรม


กิจกรรมจิตศึกษา ช่วงบ่าย บอดี้สแกน



กิจกรรมจิตศึกษาช่วงเช้า "ข่าวเหตุการณ์ประจำวัน"


40 ชีวิต ของคณะศึกษาดูงาน ที่ โรงแรมวังชมภูรีสอร์ท


เก

วง PLC ของกาฬสินธุ์ 1 กับ ผอ.บ้านปะทาย ค่ะ




คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 603308เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2016 08:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มีนาคม 2016 10:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็นกระบวนการชัดมากครับ จากชาร์ทนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท