กฏอิทัปปัจจยตา : หัวใจปฏิจจสมุปบาท



(สี่ภาษา: บาลี/ไทย/Eng/中文(จีน))
-----------------


กฏอิทัปปัจจยตา : หัวใจปฏิจจสมุปบาท.

Specific Conditionality :
the Essence of Dependent Origination (Causality)
十一种状况即相依相续地产生缘起的运行

อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ
เมื่อสิ่งนี้ มี สิ่งนี้ ย่อมมี
When this exists, That comes to be
此有则彼有

อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้ จึงเกิดขึ้น.
With the Arising of this, That Arises.
此生则彼生

อิมสฺมึ อสติ อิทํ น โหติ
เมื่อสิ่งนี้ ไม่มี สิ่งนี้ ย่อมไม่มี
When this does not exist, That does not come to be
此无则彼无

อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้ จึงดับไป.
With the Cessation of this, That Ceases.
此灭则彼灭。

(ม.ม. ๑๓/๓๕๕/๓๗๑, นิทาน. สํ. ๑๖/๘๔/๑๕๔,....)
The Connected Discourses of the Buddha: A Translation of Samyutta Nikaya
Translated from Pali Canon by Bhikku Bodhi
Wisdom Publication: Boston, 2000. p.575







เทปในวิดีโอยูทิวป์ "หลักปฏิบัติเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท" ทั้ง 5 ตอนนั้น ปรากฎในหนังสือ "ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์" ในฉบับพิมพ์ครั้งหลัง (ฉบับที่ผมมีเป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๔ พิมพ์เมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๑ จำนวน ๒,๐๐๐ เล่ม ในส่วน "คำชี้แจงเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาท" แต่ในฉบับที่แนบมาเป็นแบบฝังตัวของ scribd ข้างล่างนั้นไม่มี เนื้อหาในวิดีโอจะมีไม่ครบทั้งส่วน "คำชี้แจงฯ" นั้น แต่จะเริ่มขึ้นตั้งแต่หน้า [๔๒] เป็นต้นไป ตรงส่วนที่ขึ้นต้นว่า "คำว่าปฏิจจสมุปบาท ยังคงเป็นคำที่แปลกประหลาด หรือแปลกหูสำหรับคนส่วนมาก; แต่แล้วเราก็ไม่อาจจะเปลี่ยนไปใช้คำอื่นได้ ะต้องใช้คำนี้อยู่ต่อไป;" จนจบถึงหน้า [๑๑๔] เนื้อหาทั้งหมดครบถ้วนบริบูรณ์ดี

แม้จะขาดท่อนที่น่าสนใจ อาทิเช่น "เมื่อคำอธิบายของพระพุทธโฆษาจารย์ไม่ประกอบด้วยเหตุผลทนต่อการพิสูจน์ตามหลักแห่งพระวจนะ ในสูตรทั้งหลายอันเป็นปกรณ์ชั้นบาลีแล้ว ก็อาศัยกำลังใจจากกาลามสูตรเป็นต้น นั่นเอง ที่ไม้ซีกพุทธทาส จะงัดไม้ซุงพุทธโฆษาจารย์ไปตามสติกำลัง. แม้จะเป็นที่แย้มสรวลของผู้ใด ก็ยังมีปีติปราโมทย์ ในการกระทำของตนเป็นอย่างยิ่ง, เพื่อว่าความถูกต้องจะเข้ามาสู่วงการศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาท อันเป็นเรื่องหัวใจของพุทธศาสนา กันเสียที ดังบาลีสังคีติยทุกัง ที่ยกมาให้ให้เห็น ในตอนขึ้นต้นของคำชี้แจงนี้แล้ว."


ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ ของพุทธทาสภิกขุ by siu_thailand


*เพิ่มเติม


ในทางพุทธศาสนาถืออิทัปปัจยตาเป็น God แต่เป็น "impersonal" God (นาที 6:16)

วิญญาณเป็นต้นเหตุ เป็นสิ่งสำคัญสูงสุด และจัดให้มีวิญญาณชนิดที่สูงสุด และจัดเป็นพระเจ้า ก็จัดให้มีการเซ่นสรวง ... เรียกว่าไสยศาสตร์ ... ลัทธิ animism เกิดขึ้นเพราะเขาไม่รู้จักกฎอิทัปปัจยตา (นาที 45:11)

คำสำคัญ (Tags): #ปฏิจจสมุปบาท
หมายเลขบันทึก: 599241เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2016 21:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 ธันวาคม 2016 02:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท