รวมพุทธศาสนสุภาษิต


สำหรับนักธรรมตรี:

ดูพุทธศาสนสุภาษิตฉบับเต็ม สำหรับนักธรรมตรี

หมวดตน
๑. อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ
ตนแล เป็นที่พึ่งของตน
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๒. อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย
ชนะตนนั้นแหละ เป็นดี
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๓. อตฺตนา ว กตํ ปาปํ อตฺตนา สงฺกิลิสฺสนฺติ
คนทำบาปเอง ย่อมเศร้าหมองเอง
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๔. อตฺตนา อกตํ ปาปํ อตฺตนา ว วิสุชฺฌติ
คนไม่ทำบาปเอง ย่อมหมดจดเอง
ที่มา : คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๕. อตฺตนา โจทยตฺตานํ
จงเตือนตนด้วยตนเอง
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


หมวดประมาท
๖. อปฺปมาโท อมตํ ปทํ
ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๗. อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ
บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๘. อปฺปมตฺตา น มียนฺติ
ผู้ไม่ปรมาท ย่อมไม่ตาย
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๙. ปมาโท มจฺจุโน ปทํ
ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย

ที่มา : คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)

๑๐. ปมาโท ครหิโต สทา
ความประมาท บัณฑิตติเตียนทุกเมื่อ
ที่มา : คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๑๑. เย ปมตฺตา ยถา มตา
ผู้ประมาท เหมือนคนที่ตายแล้ว
ที่มา : คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


หมวดจิต
๑๒. จิตฺตํ รกฺขถ เมธาวี
ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิต
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๑๓. จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ
จิตที่ฝึกดีแล้ว นำสุขมาให้
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


หมวดขันติ
๑๔. ขนฺติ ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
ขันติ คือความอดทน เป็นตบะอย่างยิ่ง
ที่มา: คัมภีร์ขุททนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๑๕. ขนฺติ ตโป ตปสฺสิโน
ความอดทน เป็นตบะของผู้บำเพ็ญเพียร
ที่มา: สวดมนต์ฉบับหลวง (ส.ม.)


หมวดธรรม
๑๖. มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา
ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๑๗. ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ
ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้
ที่มา: คัมภีร์สังยุตตนิกาย สคาถวรรค (สํ.ส.)


๑๘. ธมฺมปีติ สุขํ เสติ
ผู้อิ่มในธรรม ย่อมนอนเป็นสุข
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๑๙. ธมฺมจารี สุขํ เสติ
ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๒๐. ธมฺมํ จเร สุจริตํ
พึงประพฤติธรรม ให้สุจริต
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


หมวดทุกข์
๒๑. ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย
การสั่งสมบาป เป็นทุกข์ (ในโลก)
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๒๒. นตฺถิ ขนฺธสมา ทุกฺขา
ความทุกข์อื่น เสมอด้วยขันธ์(๕) ไม่มี
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๒๓. สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
สังขารทั้งหลาย เป็นทุกข์อย่างยิ่ง
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๒๔. ทุกฺขํ เสติ ปราชิโต
ผู้พ่ายแพ้ ย่อมนอนเป็นทุกข์
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


หมวดเบ็ดเตล็ด
๒๕. อาโรคฺยา ปรมา ลาภา
ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๒๖. ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา
ความหิว เป็นโรคอย่างยิ่ง
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๒๗. กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ

การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ เป็นการยาก
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๒๘. สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ
ความบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตัว
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๒๙. นาญฺโ? อญฺ?? วิโสธเย
ผู้อื่น จะทำให้ผู้อื่นหมดจดไม่ได้เลย
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๓๐. ปาปานํ อกรณํ สุขํ
การไม่ทำบาปทั้งหลาย เป็นความสุข
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๓๑. ทนฺโต เสฏฺโ? มนุสฺเสสุ
ในหมู่มนุษย์ผู้ฝึกตนดีแล้ว ประเสริฐสุด
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๓๒. วิสฺสาสปรมา ?าติ
ความคุ้นเคย เป็นญาติอย่างยิ่ง
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๓๓. นตฺถิ โลเก อนนฺทิโต
ผู้ไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๓๔. สุโข ปุญฺ?สฺส อุจฺจโย
การสั่งสมบุญ เป็นสุขในโลก
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๓๕. สมคฺคานํ ตโป สุโข
ความพากเพียรของผู้มีความสามัคคี นำสุขมาให้
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๓๖. สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี
ความสามัคคีของหมู่คณะ นำสุขมาให้
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)

๓๗. นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบ ไม่มี
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๓๘. นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ
นิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๓๙. ธีโร จ สุขสํวาโส
การอยู่ร่วมกับนักปราชญ์ เป็นความสุข
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


หมวดกิเลส
๔๐. นตฺถิ ตณฺหา สมา นที
แม่น้ำเสมอด้วยตัณหา ไม่มี (แม่น้ำถึงจะใหญ่ ก็ไม่เท่าตัณหา)
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๔๑. นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ
ไฟเปรียบเสมอด้วยราคะ ไม่มี
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๔๐. นตฺถิ โมหสมํ ชาลํ
ตาข่ายเสมอด้วยโมหะ ไม่มี
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๔๑. โลโก ธมฺมานํ ปริปนฺโถ
ความโลภ เป็นอันตรายแก่ธรรมทั้งหลาย
ที่มา: คัมภีร์สังยุตตนิกาย สคาถวรรค (สํ.ส.)


๔๒. อิจฺฉา โลกสฺมิ ทุชฺชหา
ความอยาก ละได้ยากในโลก
ที่มา: คัมภีร์สังยุตตนิกาย สคาถวรรค (สํ.ส.)


หมวดโกรธ
๔๓. โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ
ฆ่าความโกรธเสียได้ ย่อมอยู่เป็นสุข
ที่มา: คัมภีร์สังยุตตนิกาย สคาถวรรค (สํ.ส.)


๔๔. โกธํ ฆตฺวา น โสจติ
ฆ่าความโกรธเสียได้ ย่อมไม่เศร้าโศก
ที่มา: คัมภีร์สังยุตตนิกาย สคาถวรรค (สํ.ส.)


๔๕. มาโกธสฺส วสํ คมิ
อย่าลุอำนาจ แก่ความโกรธ
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ชาตก ทุกนิบาต (ขุ.ชา.ทุก.)


หมวดปัญญา
๔๖. นตฺถิ ปญฺ?า สมา อาภา
แสงสว่าง เสมอด้วยปัญญา ไม่มี
ที่มา: คัมภีร์สังยุตตนิกาย สคาถวรรค (สํ.ส.)


๔๗. ปญฺ?า โลกสฺมิ ปชฺโชโต
ปัญญา เป็นแสงสว่างในโลก
ที่มา: คัมภีร์สังยุตตนิกาย สคาถวรรค (สํ.ส.)


๔๘. สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺ??
ฟังด้วยดี ย่อมได้ปัญญา
ที่มา: คัมภีร์สังยุตตนิกาย สคาถวรรค (สํ.ส.)


สุภาษิตที่มาในคัมภีร์ต่างๆ
๔๙. อตฺตา หิ อตฺตโน คติ
ตนแล เป็นคติของตน
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๕๐. นตฺถิ อตฺตสมํ เปมํ
ความรัก(อย่างอื่น)เสมอด้วย(ความรัก)ตนไม่มี
ที่มา: คัมภีร์สังยุตตนิกาย สคาถวรรค


๕๑. อตฺตานํ นาติวตฺเตยฺย
บุคคลไม่ควรลืมตน
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ชาตก ตึสนิบาต (ขุ.ชา.ตึส.)


๕๒. กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ
ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้รับผลดี ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว
ที่มา: คัมภีร์สังยุตตนิกาย สคาถวรรค (สํ.ส.)

๕๓. กมฺมุนา วตฺตตี โลโก
สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม
ที่มา: คัมภีร์มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก (ม.ม.)


๕๔. นิสมฺม กรณํ เสยฺโย
บุคคลใคร่ครวญดีแล้ว จึงทำดีกว่า
ที่มา:สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (ว.ว.)


๕๕. จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเ? ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา
เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันหวังได้
ที่มา: คัมภีร์มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก (ม.มู)


๕๖. จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเ? สุคติ ปาฏิกงฺขา
เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้
ที่มา: คัมภีร์มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก (ม.มู)


๕๗. ชยํ เวรํ ปสวติ
ผู้ชนะ ย่อมก่อเวร
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๕๘. อกฺโกเธน ชิเน โกธํ
พึงชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๖๙. อสาธุํ สาธุนา ชิเน
พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดี
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๖๐. ชิเน กทริยํ ทาเนน
พึงชนะคนตระหนี่ ด้วยการให้
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๖๑. ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารี
ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย เถรคาถา (ขุ.เถร.)


๖๒. สงฺขารา สสฺสตา นตฺถิ
สังขารที่เที่ยงแท้ยั่งยืน ไม่มี
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๖๓. อนิจฺจา วต สงฺขารา
สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ
ที่มา: คัมภีร์ทีฆนิกาย มหาวรรค (ที.มหา.)


๖๔. อรติ โลกนาสิกา
ความริษยา เป็นเหตุทำให้โลกฉิบหาย
ที่มา:สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส (ว.ว.)


๖๕. ยโส ลทฺธา น มชฺเชยย
บุคคล ได้ยศแล้ว ไม่พึงมัวเมา
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ชาตก จตุกกนิกาย (ขุ.ชา.จตุกก.)


๖๖. ป??าย มคฺคํ อลโส น วินฺทติ
คนเกียจคร้าน ย่อมไม่พบทางแห่งปัญญา
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ.ธ.)


๖๗. สกมฺมุนา หญฺ?ติ ปาปธมฺโม
คนมีสันดานชั่ว ย่อมเดือดร้อน เพราะกรรม
ของตน
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย เถรคาถา (ขุ.เถร.)


๗๘. วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ
คนจะล่วงทุกข์ได้ เพราะความเพียร
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย สุตตนิบาต (ขุ.สุ.)


http://www.siri.ac.th/Article/dhamma/kratoo tree...


สำหรับนักธรรมโท:

ดูพุทธศาสนสุภาษิตฉบับเต็ม สำหรับนักธรรมโท

๑. ชีวเตวาปิ สปฺปญฺโญ อปิ วิตุตปริกฺขย
ปญญาย จ อลาเภน วิตฺตาปิ น วีวติ
ถึงสิ้นทรัพย์ ผู้มีปัญญาก็เป็นอยู่ได้ แต่อัปปัญญา แม้มีทรัพย์ก็เป็นอยู่ไม่ได้.
ที่มา: (มหากัปปินเถรคาถา) ขุททกนิกาย เถรคาถา


๒. ปาณิมฺหิ เจ วโณ นาสฺส หเรยฺย ปาณินา วิสํ
นาพฺพณํ วิสมนฺเวติ นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต
ถ้าฝ่ามือไม่มีแผล ก็พึงนำยาพิษไป ด้วยฝ่ามือที่ยาพิษซึมเข้าไปไม่ได้ ฉันใด บาปย่อมไม่ทำ
แก่คนผู้ไม่ทำ ฉันนั้น.
ที่มา: (พุทธภาษิต) ขุททกนิกาย ธรรมบทคาถา


๓. น หิ ปาปํ กตํ กมฺมํ สชฺชุขีรํว มุจฺจติ
ฑหนฺตํ พาลมนฺเวติ ภสฺมาจฺฉนฺโนว ปาวโก
บาปกรรมที่ทำแล้วย่อมไม่เปลี่ยนแปลง เหมือนนมสดที่รีดในวันนั้น บาปย่อมตามเผาเขลา
เหมือนไฟที่เถ้ากลบไว้.
ที่มา: (พุทธภาษิต) ขุททกนิกาย ธรรมบทคาถา


๔. เอวํ กิจฺฉาภโต โปโส ปิตุ อปริจารโก
ปิตริ มิจฺฉา จริตฺวาน นิรยํ โส อุปปชฺชติ
ผู้ที่มารดา บิดา เลี้ยงมาโดยยากอย่างนี้ ไม่บำรุงมารดา บิดาประพฤติผิดในมารดา บิดา ย่อมเข้าถึงนรก.
ที่มา: (โสณโพธิสัตว์ภาษิต) ขุททกนิกาย ชาดก สัตตตินิบาต


๕. พฺรหฺมาติ มาตาปิตโร ปุพฺพาจริยาติ วุจฺจเร
อาหุเนยฺยา จ ปุตฺตานํ ปชาย อนุกมฺปกา
มารดา บิดา ท่านว่าเป็นพรหม เป็นบุรพาจารย์ เป็นที่นับถือของบุตรและเป็นผู้อนุเคราะห์ บุตร.
ที่มา: (โสณโพธิสัตว์ภาษิต) ขุททกนิกาย ชาดก สัตตตินิบาต


๖. มธฺวา ม?ฺ?ตี พาโล ยาว ปาป น ปจฺจติ
ยทา จ ปจฺจตี ปาปํ อถ ทุกฺขํ นิคจฺฉติ
ตราบเท่าที่บาปยังไม่ไห้ผล คนเขลายังเข้าใจว่ามีรสหวาน แต่บาป ให้ผลเมื่อใด คนเขลาย่อมประสบ ทุกข์เมื่อนั้น.
ที่มา: (พุทธภาษิต) ขุททกนิกาย ธรรมปทคาถา


๗. โย จตฺตานํ สมุกฺกํเส ปเร จ อวชานติ
นิหิโน เสน มาเนน ตํ ช?ฺ?า วสโล อิติ
ผู้ใดยกย่องตนและดูหมิ่นผู้อื่น เป็นคนเลวเพราะการถือตัวเอง พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นคนเลว.
ที่มา: (พุทธภาษิต) ขุททกนิกาย สุตตนิบาต


๘. กลฺยาณเมว มุ?ฺเจยฺย น หิ มุ?ฺเจยฺย ปาปิปํ
โมกฺโข กลฺยาณิยา สาธุ มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ
พึงเปล่งวาจางามเท่านั้น ไม่พึงเปล่งวาจาชั่วเลย การเปล่งวาจา งามยังประโยชน์สำเร็จ คนเปล่ง วาจาชั่วย่อมเดือดร้อน.
ที่มา: (พุทธภาษิต) ขุททกนิกาย ชาดก เอกนิบาต


๙. อปฺปเกนปิ ปาภเฏน วิจกฺขโณ
สมฺฏฐาเปติ อตฺตานํ อณุ อคุคึว สนฺธมํ
ผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด ย่อมตั้งตนได้ด้วยทุนแม้น้อย เหมือนคน ก่อไฟกองน้อยขึ้น ฉะนั้น.
ที่มา: (พุทธภาษิต) ขุททกนิกาย ชาดก เอกนิบาต


๑๐. อโมฆํ ทิวสํ กยิรา อปฺเปน พหุเกน วา
ยํ ยํ วิวหเต รตฺติ ตทูนนฺตสฺส ชีวิตํ
ควรทำวันคืนไม่ให้เปล่าจากประโยชน์น้อยหรือมาก เพราะวันคืน ผ่านบุคคลใดไป ชีวิตของบุคคลนั้น ย่อมพร่องจากประโยชน์.
ที่มา: (สิริมัณฑเถรภาษิต) ขุททกนิกาย เถรคาถา


๑๑. อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณ?ฺจ มตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย เป็นประมุขของกัลยาณธรรม ทั้งปวง เพราะฉะนั้น ควรชำระศีลให้บริสุทธิ์.
ที่มา: (สีวลเถรภาษิต) ขุททกนิกาย เถรคาถา


๑๒. ปูติมจฺฉํ กุสคฺเคน โย นโร อุปนยฺหติ
กุสาปิ ปูติ วายนฺติ เอวํ พาลูปเสวนา
คนห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคน แม้หญ้าคาก็พลอยเหม็นเน่าไปด้วย ฉันใด การคบคนพาลก็ฉันนั้น.
ที่มา: (ราชธีตาภาษิต) ขุททกนิกาย ชาดก มหานิบาต


๑๓. อุทพินฺทุนิปาเตน อุทกุมฺโภปิ ปูรติ
อาปูรติ พาโล ปาปสฺส โถกํ โถํปิ อาจินํ
แม้หม้อน้ำย่อมเต็มด้วยหยาดน้ำ คนเขลาสั่งสมบาปแม้ทีละน้อยๆ ก็ย่อมเต็มด้วยบาป ฉันนั้น.
ที่มา: (พุทธภาษิต) ขุททกนิกาย ธรรมปทคาถา


๑๔. ยสฺส รุกฺขสฺส ฉายาย นิสีเทยฺย สเยยฺย วา
น ตสฺส สขํ ภุ?ฺเชยฺย มิตฺตทุพฺโภ หิ ปาปโก
บุคคลนั่งหรือนอนที่ร่มเงาต้นไม้ใด ไม่ควรหักกิ่งไม้นั้น เพราะผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวทราม.
ที่มา: (โพธิสัตว์ภาษิต) ขุททกนิกาย ชาดก มหานิบาต


๑๕. สเจ ภาเยถ ทุกฺขสฺส สเจ โว ทุกฺขมปฺปิยํ
มากตฺถ ปาปกํ กมฺมํ อาวี วา ยทิวา รโห
ถ้าท่านกลัวทุกข์ ถ้าท่านไม่รักทุกข์ ก็อย่าทำบาปทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ.
ที่มา: (พุทธภาษิต) ขุททกนิกาย อุทาน

http://www.siri.ac.th/Article/dhamma/kratoo tho....


สำหรับนักธรรมเอก:

ดูพุทธศาสนสุภาษิตฉบับเต็ม สำหรับนักธรรมเอก

๑. อัตตวรรค คือหมวดตน


๑. อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ โก หิ นาโถ ปโร สิยา
อตฺตนา หิ สทนฺเตน นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ (ขุ.ธ.๒๕/๒๖)
ตนแล เป็นที่พึ่งของตน คนอื่น ใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้ ก็บุคคลมีตนฝึกดีแล้ว
ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้ยาก. (พุทฺธ) ขุ.ธ.๒๕/๒๖

๒. นตฺถิ อตฺตสมํ เปมํ นตฺถิ ธญฺญสมํ ธนํ
นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา วุฏฺฐิ เว ปรมา สรา
สิ่งที่รัก (อื่น) เสมอด้วยตนไม่มี, ทรัพย์ (อื่น) เสมอด้วยข้าวเปลือก ไม่มี,
แสงสว่าง (อื่น) เสมอด้วยปัญญา ไม่มี, ฝนแล เป็นสระอย่างยิ่ง. (พุทฺธ) สํ.ส. ๑๕/๙


๓. ยสฺส อจฺจนฺตทุสฺสีลฺยํ มาลุวา สาลมิโวตฺถตํ
กโรติ โส ตถตฺตานํ ยถา นํ อิจฺฉตี ทิโส
ผู้ใดมีความไร้ศีลธรรมครอบคลุม เหมือนย่านทรายคลุมไม้สาละ
ผู้นั้นชื่อว่าทำตนเหมือนถูกผู้ร้ายคุมตัว (พุทฺธ) ขุ.ธ.๒๕/๓๗


๒. อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท


๔. อปฺปมตฺตา สตีมนฺโต สุสีลา โหถ ภิกฺขโว
สุสมาหิตสงฺกปฺปา สจิตฺตมนุรกฺขถ
ภิกฺษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีลดีงาม ตั้งความดำริไว้ให้ดี
คอยรักษาจิตใจของตน. (พุทฺธ) ที.มหา. ๑๐/๑๔๒


๕. อปฺปมาทรตา โหถ สจิตฺตมนุรกฺขถ
ทุคฺคา อุทฺธรถตฺตานํ ปงฺเก สนฺโนว กุญฺชโร
ท่านทั้งหลาย จงยินดีในความไม่ประมาท คอยรักษาจิตของตน จงถอนตนขึ้นจากหล่ม
เหมือนช้างที่ตกหล่มถอนตนขึ้น ฉะนั้น. (พุทฺธ) ขุ.ธ. ๒๕/๕๘


๖. อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ ปมาเท ภยทสฺสิ วา
สญฺโญชนํ อณุํ ถูลํ ฑหํ อคฺคีว คจฺฉติ
ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือเป็นภัยในความไม่ประมาท ย่อมเผาสังโยชน์น้อยใหญ่ไป
เหมือนไฟไหม้เชื้อน้อยใหญ่ไป ฉะนั้น. (พุทฺธ) ขุ.ธ. ๒๕/๑๙

๗. อุฏฺฐาเนนปฺปมาเทน สญฺญเมน ทเมน จ
ทีปํ กยิราถ เมธาวี ยํ โอโฆ นาภิกีรติ
คนมีปัญญา พึงสร้างเกาะ ที่น้ำหลากมาท่วมไม่ได้ ด้วยความหมั่น
ความไม่ประมาท ความสำรวม และความข่มใจ. (พุทฺธ) ขุ.ธ. มหา. ๒๕/๑๘


๓. กัมมวรรค คือหมวดกรรม


๑๐ อุฏฺฐาตา กมฺมเธยฺเยสุ อปฺปมตฺโต วิจกฺขโณ
สุสํวิหิตกมฺมนฺโต ส ราชวสตี วเส
ผู้หมั่นในการงาน ไม่ประมาท เป็นผู้รอบคอบ จัดการงานเรียบร้อย,
จึงควรอยู่ในราชการ. (พุทฺธ) ขุ.ชา มหา. ๒๘/๓๓๙


๑๑. ปาปญฺเจ ปุริโส กยิรา น นํ กยิรา ปุนปฺปุนํ
น ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ ทุกฺโข ปาปสฺส อุจจโย
ถ้าคนพึงทำบาป ก็ไม่ควรทำบาปนั้นบ่อยๆ ไม่ควรทำความพอใจในบาปนั้น
เพราะการสั่งสมบาป นำทุกข์มาให้. (พุทฺธ) ขุ.ธ. ๒๕/๓๐


๑๒. โยปุพฺเพ กตกลฺยาโณ กตตฺโถ นาวพุชฺฌติ
ปจฺฉา กิจฺเจ สมุปฺปนฺเน กตฺตารํ นาธิคจฺฉติ
ผู้อื่นทำความดีให้ ทำประโยชน์ให้ก่อน แต่ไม่สำนึกถึง(บุญคุณ) เมื่อมีกิจเกิดขึ้นภายหลัง
จะหาผู้ช่วยทำไม่ได้. (โพธิสตฺต) ขุ.ชา. เอก. ๒๗/๒๙


๑๓. สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส สพฺเพ ภายนฺติ มจฺจุโน
อตฺตานํ อุปมํ กตฺวา น หเนยฺย น ฆาตเย
สัตว์ทั้งปวง หวาดต่ออาญา ล้วนกลัวต่อความตาย ควรทำตนให้เป็นอุปมาแล้ว ไม่ฆ่าเขาเอง
ไม่พึงให้ผู้อื่นฆ่า (ผู้อื่น) (พุทฺธ) ขุ.ธ. ๒๕/๓๒


๔. กิเลสวรรค คือหมวดกิเลส


๑๔. อนิจฺจา อทฺธุวา กามา พหุทุกฺขา มหาวิสา
อโยคุโฬว สนฺตตฺโต อฆมูลา ทุกฺขปฺผลา
กามทั้งหลาย ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีทุกข์มาก ดังก้อนเหล็กที่ร้อนจัด เป็นต้นเค้าแห่งความคับแค้น มีทุกข์เป็นผล. (สุเมธาเถรี) ขู.เถรี. ๒๖/๕๐๓


๑๕. อวิชฺชาย นิวุโต โลโก เววิจฺฉา (ปมาทา) นปฺปกาสติ
ชปฺปาภิเลปนํ พฺรูมิ ทุกฺขมสฺส มหพฺพยํ
โลกถูกอวิชชาปิดบังแล้ว ไม่ปรากฏเพราะความตระหนี่ (และความประมาท) เรากล่าวความอยากว่า เป็นเครื่องฉาบทาโลก ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น. (พุทฺธ) ขุ,สุ. ๒๕/๕๓๐


๑๖. อิจฺฉาย พชฺฌตี โลโก อิจฺฉาวินยาย มุจฺจติ
อิจฺฉาย วิปฺปหาเนน สพฺพํ ฉินฺทติ พนฺธนํ
โลกถูกความอยากผูกมัดไว้ จะหลุดได้เพราะกำจัดความอยาก,
เพราะละความอยากได้เสีย จึงชื่อว่าตัดเครื่องผูกทั้งปวงได้. (พุทฺธ) สํ.ส. ๑๕/๕๖


๑๗. อิจฺฉา นรํ ปริถสฺสติ อิจฺฉา โลกสมิ ทุชฺชหา
อิจฺฉา พทฺธา ปุถู สตฺตา ปาเสน สกุณึ ยถา
ความอยากย่อมชักลากนรชนไป ความอยากละได้ยากในโลก, สัตว์เป็นอันมาก ถูกความอยาก
ผูกมัดไว้ ดุจนางนกถูกบ่วงรัดไว้ฉะนั้น. (พุทฺธ) สํ.ส. ๑๕/๖๑


๑๘. อุเปกฺขโก สทา สโต น โลเก มญฺญตี สมํ
น วิสเสสี น นีเจยฺโย ตสฺส โน สนฺติ อุสฺสทา
ผู้วางเฉย มีสติทุกเมื่อ ไม่สำคัญตนว่าเสมอเขา ว่าดีกว่าเขา ว่าต่ำกว่าเขาในโลก,
ผู้นั้นชื่อว่าไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้น. (พุทฺธ) ขุ. มหา. ๒๙/๒๘๙


๑๙. อุจฺฉินฺนภวตณฺหสฺส สนฺตจิตสฺส ภิกฺขุโน
วิกฺขีโณ ชาติสํสาโร นตฺถิ ตสฺส ปนพฺภโว
ภิกษุผู้ถอนภวตัณหาได้แล้ว มีจิตสงบแล้ว สิ้นความเวียนเกิดแล้ว
ย่อมไม่มีภพอีก. (พุทฺธ) ขุ.อุ. ๒๕/๑๔๓


๒๐. กามา หิ จิตฺรา มธุรา มโนรมา
วิรูปรูเปน มเถนฺติ จิตฺตํ
อาทีนวํ กามคุเณสุ ทิสฺวา
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป
กามทั้งหลาย ตระการหวานชื่นใจ ย่อย่ำยีจิตโดยรูปร่างต่างๆ กัน บุคคลพึงเห็นโทษในกามคุณแล้ว เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด. (พุทฺธ) ขุ.สุ. ๒๕/๓๓๔


๒๑. โกธํ ชเห วิปฺปชเหยฺย มานํ
สญฺโญชนํ สพฺพมติกฺกเมยฺย
ตํ นามรูปสฺมิมสชฺชมานํ
อกิญฺจนํ นานุปตนฺติ สงฺคา
บุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง (เพราะ) เครื่องข้องทั้งหลาย
ย่อมไม่ติดตามผู้ไม่ข้องในนามรูป ไม่มีกังวลนั้น. (พุทฺธ) สํ.ส. ๑๕/๓๕๐


๒๒. โกธํ ชเห วิปฺปชเหยฺย มานํ
สญฺโญชนํ สพฺพมติกฺกเมยฺย
ตนฺนามรูปสฺมึ อสชฺชมานํ
อกิญฺจนํ นานูปตนฺติ ทุกฺขา
บุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง (เพราะ) ทุกข์ทั้งหลายย่อมไม่
ติดตามผู้ไม่ข้องอยู่ในนามรูป ไม่มีกังวลนั้น. (พุทฺธ) ขุ.ธ. ๒๕/๔๔


๒๓. ตณฺหา ชเนติ ปุริสํ จิตฺตมสฺส วิธาวติ
สตฺโต สํสารมาปาทิ ทุกฺขา น ปริมุจฺจติ
ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไป
จึงไม่พ้นจากทุกข์. (พุทฺธ) สํ.ส. ๑๕/๕๑


๒๔. ตณฺหา ชเนติ ปุริสํ จิตฺตมสฺส วิธาวติ
สตฺโต สํสารมาปาทิ ทุกฺขมสฺส มหพฺภยํ
ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไปจึงมีทุกข์เป็นภัยใหญ่.
(พุทฺธ) สํ.ส. ๑๕/๕๑


๒๕. ตณฺหา ชเนติ ปุริสํ จิตฺตมสฺส วิธาวติ
สตฺโต สํสารมาปาทิ กมฺมํ ตสฺส ปรายนํ
ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไปจึงยังมีกรรมนำหน้า.
(พุทฺธ) สํ.ส. ๑๕/๕๑


๒๖. นิราสตฺตี อนาคเต อตีตํ นานุโสจติ
วิเวกทสฺสี ผสฺเสสุ ทุฏฺฐีสุ จ น นิยฺยติ
ผู้ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ผู้เห็นความสงัดในผัสสะทั้งหลาย ย่อมไม่ถูกชักนำไปในทิฏฐิทั้งหลาย. (พุทธ) ขุ.สุ. ๒๕/๕๐๐,
ขุ.มหา. ๒๙/๒๖๔,๒๖๗


๒๗. ปุราณํ นาภินนฺเทยฺย นเว ขนฺติมกุพฺพเย
หิยฺยมาเน น โสเจยฺย อากาสํ น สีโต สิยา
ไม่พึงเพลิดเพลินของเก่า ไม่พึงทำความพอใจในของใหม่ เมื่อสิ่งนั้นเสื่อมไป
ก็ไม่พึงเศร้าโศก ไม่พึงอาศัยตัณหา. (พุทธ) ขุ.สุ. ๒๕/๕๑๘


๒๘. มจฺจุนาพฺภาหโต โลโก ชราย ปริวาริโต
ตณฺหาสลฺเลน โอติณฺโณ อิจฺฉาธุปายิโต สทา
สัตว์โลกถูกมฤตยูขจัดแล้ว ถูกชราล้อมไว้ ถูกลูกศร คือตัณหาเสียบแล้ว
ถูกอิจฺฉาคุกรุ่นแล้วทุกเมื่อ. (พุทธ) สํ.ส. ๑๕/๕๕


๒๙. มุฬฺโห อตฺถํ น ชานาติ มูฬฺโห ธมฺมํ น ปสฺสติ
อนฺธตมํ ตทา โหติ ยํ โมโห สหเต นรํ
ผู้หลงย่อมไม่รู้อรรถ ผู้หลงย่อมไม่เห็นธรรม ความหลงครอบงำคนใดเมื่อใด
ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น. (พุทฺธ) ขุ.อิติ. ๒๕/๒๙๖


๓๐. ลุทฺโธ อตฺถํ น ชานาติ ลุทฺโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ
อนฺธตมํ ตทา โหติ ยํ โลโภ สหเต นรํ
ผู้โลภ ย่อมไม่รู้อรรถ ผู้โลภ ย่อมไม่เห็นธรรม, ความโลภเข้าครอบงำคนใด เมื่อใด ความมืดมิดย่อมมี เมื่อนั้น. (พุทฺโธ) ขุ.อิติ. ๒๕/๒๙๕, ขุ.มหา. ๒๙/๑๗


๓๑. วนํ ฉินฺทถ มา รุกฺขํ วนโต ชายตี ภยํ
เฉตฺวา วนญฺจ วนถญฺจ นิพฺพนา โหถ ภิกฺขโว
ท่านทั้งงหลายจงตัดป่า (กิเลส) อย่าตัดต้นไม้, ภัยย่อมเกิดจากป่า ภิกษุทั้งหลาย
พวกท่านจงตัดป่า และสิ่งที่ตั้งอยู่ในป่าแล้ว เป็นผู้ไม่มีป่าเถิด. (พุทฺธ) ขุ.ธ. ๒๕/๕๒


๕. ขันติวรรค คือหมวดอดทน


๓๒. ขนฺติ ธีรสฺส ลงฺกาโร ขนฺติ ตโป ตปสฺสิโน
ขนฺติ พลํ ว ยตีนํ ขนฺติ หิตสุขาวหา
ขันติ เป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์ ขันติเป็นตบะของผู้พากเพียร ขันติเป็นกำลังของนักพรต
ขันตินำประโยชน์สุขมาให้. ส.ม.๒๒


๓๓. น สุทฺธิ เสจเนน อตฺถิ นปิ เกวลี พฺราหฺมโณ
น เจว ขนฺติ โสรจฺจ นปิ โส ปรินิพฺพุโต
ความบริสุทธิ์ก็ดี ผู้ที่จะประเสริฐล้วนก็ดี ขันติและโสรัจจะก็ดี จะเป็นผู้เย็นสนิทก็ดี
ย่อมไม่มี เพราะการชำระล้าง (ด้วยน้ำ) (โพธิสตฺต) ขุ.ชา. ปกิณฺณก. ๒๗/๓๗๖


๓๔. นเหตมตฺถํ มหตีปิ เสนา
สราชิกา ยุชฺฌมานา ลเภถ
ยํ ขนฺติมา สปฺปุริโส ลเภถ
ขนฺติ ผลสฺสูปสมนฺติ เวรา
เสนาแม้หมู่ใหญ่ พร้อมด้วยพระราชา รบอยู่ ไม่พึงได้ประโยชน์ ที่สัตบุรุษผู้มีขันติพึงได้(เพราะว่า) เวรทั้งหลายของผู้มีขันติเป็นกำลังย่อมสงบระงับ (โพธิสตฺต) ขุ.ชา. จตฺตาฬีส. ๒๗/๕๓๘


๖. จิตตวรรค คือหมวดจิต


๓๕. อนวสฺสุตจิตฺตสฺส อนนฺวาหตเจตโส
ปุญฺญปาปปหีนสฺส นตฺถิ ชาครโต ภยํ
ผู้มีจิตอันไม่ชุ่มด้วยราคะ มีใจอันโทสะไม่กระทบแล้ว มีบุญและบาปอันละได้แล้ว ตื่นอยู่ ย่อมไม่
มีภัย. (พุทฺธ) ขุ.ธ. ๒๕/๒๐


๓๖. กุมฺภูปมํ กายมิมํ วิทิตฺวา
นครูปมํ จิตฺตมิทํ ถเกตฺวา
โยเธถ มารํ ปญฺญาวุเธน
ชิตญฺจ รกฺเข อนิเวสโน สิยา
บุคคลรู้กายนี้ที่เปรียบด้วยหม้อ กั้นจิตที่เปรียบด้วยเมืองนี้แล้ว พึงรบมารด้วยอาวุธ
คือปัญญา และพึงรักษาแนวที่ชนะไว้ ไม่พึงยับยั้งอยู่. (พุทฺธ) ขุ.ธ. ๒๕/๒๐


๓๗. จิตฺเตน นียติ โลโก จิตฺเตน ปริกสฺสติ
จิตฺตสฺส เอกธมฺมสฺส สพฺเพว วสมนฺวคู
โลกถูกจิตนำไป ถูกจิตชักไป, สัตว์ทั้งปวงไปสู่อำนาจแห่งจิตอย่างเดียว. (พุทฺธ) สํ.ส. ๑๕/๕๔


๓๘. ตณฺหาธิปนฺนา วตฺตสีลพทฺธา
ลูข ตป วสฺสสตํ จรนฺตา
จิตฺตญฺจ เนสํ น สมฺมา วิมุตฺตํ
หีนตฺตรูปา น ปารงฺคมา เต
ผู้ถูกตัณหาครอบงำ ถูกศีลพรตผูกมัด ประพฤติตบะอันเศร้าหมองตั้งร้อยปี,จิตของเขาก็หลุดพ้น
ด้วยดีไม่ได้ เขามีตนเลวจะถึงฝั่งไม่ได้. (พุทฺธ) สํ.ส. ๑๕/๔๐


๓๙. ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน ยตฺถ กามนิปาติโน
จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ
การฝึกจิตที่ข่มยาก ที่เบา มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่ เป็นความดี (เพราะว่า) จิตทีฝึกแล้วนำ
สุขมาให้. (พุทธ) ขุ.ธ. ๒๕/๑๙


๔๐. ปทุฏฺฐจิตฺตสฺส น ผาติ โหติ
น จาปิ นํ เทวตา ปูชยนฺติ
โย ภาตรํ เปตฺติกํ สาปเตยฺยํ
อวญฺจยี ทุกฺกฏกมฺมการี
ผู้ใดทำกรรมชั่ว ล่อลวงเอาทรัพย์สมบัติพี่น้องพ่อแม่ ผู้นั้น มีจิตชั่วร้าย ย่อมไม่มีความเจริญ
แม้เทวดาก็ไม่บูชาเขา. (นทีเทวดา) ขุ.ธ. ๒๗/๑๒๐


๔๑. โย อลีเนน จิตฺเตน อลีนมนโส นโร
ภาเวติ กุสลํ ธมฺมํ โยคคฺเขมสฺส ปตฺติยา
ปาปุเณ อนุปุพฺเพน สพฺพสํโยชนกฺขยํ
คนใดมีจิตไม่ท้อถอย มีใจไม่หดหู่ บำเพ็ญกุศลธรรม เพื่อบรรลุธรรมที่เกษมจากโยคะ
พึงบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นสังโยชน์ทั้งปวงได้. (พุทฺธ) ขุ.ชา.เอก ๒๗/๑๘

๔๒. สุทุทฺทสํ สุนิปุณํ ยตฺกามนิปาตินํ
จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ
ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่เห็นได้ยากนัก ละเอียดนัก มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่ (เพราะว่า) จิต
ที่คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้. (พุทฺธ) ขุ.ธ. ๒๕/๑๙


๗. ทานวรรค คือหมวดทาน


๔๓. อนฺนโท พลโท โหติ วตฺถโท โหติ วณฺณโท
ยานโท สุขโท โหติ ทีปโท โหติ จกฺขุโท
ผู้ให้ข้าว ชื่อว่าให้กำลัง ผู้ให้ผ้า ชื่อว่าให้ผิวพรรณ ผู้ให้ยานพาหนะ ชื่อว่าให้ความสุข ผู้ให้ประทีป
โคมไฟ ชื่อว่าให้จักษุ. (พุทฺธ) สํ.ส. ๑๕/๔๔


๔๔. มนาปทายี ลภเต มนาเป
อคฺคสฺส ทาตา ลภเต ปุนคฺคํ
วรสฺส ทาตา วรลาภี จ โหติ
เสฏฺฐนฺทโท เสฏฺฐมุเปโต ฐานํ
ผู้ให้ของชอบใจ ย่อมได้ของชอบใจ ผู้ให้ของเลิศ ย่อมได้ของเลิศ ผู้ให้ของดี ย่อมได้ของดี ผู้ให้
ของประเสริฐ ย่อมถึงฐานะอันปะเสริฐ. (พุทฺธ) องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๕๖


๘. ธัมมวรรค คือหมวดธรรม


๔๕. อาทานตณฺหํ วินเยถ สพฺพํ
อุทฺธํ อโธ ติริยํ วาปิ มชฺเฌ
ยํ ยํ หิ โลกสฺมึ อุปาทิยนฺติ
เตเนว มาโร อนฺเวติ ชนฺตุ
พึงขจัดตัณหาที่เป็นเหตุถือมั่นทั้งปวง ทั้งเบื้องสูงเบื้องต่ำ เบื้องขวาง ท่ามกลาง
เพราะเขาถือมั่นสิ่งใดๆในโลกไว้ มารย่อมติดตามเขาไป
เพราะสิ่งนั้นๆ. (พุทฺธ) ขุ.สุ. ๒๕/๕๔๖, ขุ.จู. ๓๐/๒๐๒


๔๖. โอวเทยฺยานุสาเสยฺย อสพฺภา จ นิวารเย
สตํ หิ โส ปิโย โหติ อสตํ โหติ อปฺปิโย
บุคคลควรเตือนกัน ควรสอนกัน และป้องกันจากคนไม่ดี เพราะเขาย่อมเป็นที่รักของคนดี
แต่ไม่เป็นที่รักของคนไม่ดี. (พุทธ) ขุ.ธ. ๒๕/๒๕


๔๗. จเช ธนํ องฺควรสฺส เหตุ
องฺคํ จเช ชีวิตํ รกฺขมาโน
องฺคํ ธนํ ชีวิตญฺจาปิ สพฺพํ
จเช นโร ธมฺมมนุสฺสรนฺโต
พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ, เมื่อรักษาชีวิตพึงสละอวัยวะ, เมื่อคำนึงถึงธรรม พึงสละอวัยวะ
ทรัพย์ และแม้ชีวิต ทุกอย่าง. (โพธิสตฺต) ขุ.ชา.อสีติ. ๒๘/๑๔๗


๔๘. ฉนฺทชาโต อนกฺขาเต มนสา จ ผุโฐ สิยา
กาเม จ อปฏิพทฺธจิตฺโต อุทฺธํโสโตติ วุจฺจติ
พึงเป็นผู้พอใจ และประทับใจในพระนิพพานที่บอกไม่ได้ ผู้มีจิตไม่ติดกาม ท่านเรียกว่า ผู้มี
กระแสอยู่เบื้องบน. (พุทฺธ) ขุ.ธ. ๒๕/๔๔


๔๙. ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
เอตํ ฆตฺวา ยถาภูตํ นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ
ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง รู้ข้อนั้นตามเป็นจริงแล้ว ดับเสียได้
เป็นสุขอย่างยิ่ง. (พุทฺธ) ขุ.ธ. ๒๕/๔๒


๕๐. ชีรนฺติ เว ราชรถา สุจิตฺตา
อโถ สรีรมฺปิ ชรํ อุเปติ
สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ
สนฺโต หเว สพฺภิ ปเวทยนฺติ
ราชรถอันงาม ย่อมคร่ำคร่า แม้ร่างกายก็เข้าถึงชรา ส่วนธรรมของสัตบุรุษย่อมไม่เข้าถึงชรา
สัตบุรุษกับสัตบุรุษเท่านั้น ย่อมรู้กันได้. (พุทธ) สํ.ส. ๑๕/๑๐๒


๕๑. ทุกฺขเมว หิ สมมฺโภติ ทุกฺขํ ติฏฺฐติ เวติ จ
นาญฺญตฺร ทุกฺขา สมฺโภติ นาญฺญตฺร ทุกฺขา นิรุชฺฌติ
ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และเสื่อมไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ. (วชิราภิกขุนี) สํ.ส. ๑๕/๑๙๙, ขุ.มหา. ๒๙/๕๓๖


๕๒. นนฺทิสญฺโญชโน โลโก วิตกฺกสฺส วิจารณา
ตณฺหาย วิปฺปหาเนน นิพฺพานํ อิติ วุจฺจติ
สัตว์โลกมีความเพลินเปแนเครื่องผูกพัน มีวิตกเป็นเครื่องเที่ยวไป ท่านเรียกว่านิพพาน เพราะละตัณหาได้. (พุทธ) ขุ.ส. ๒๕/๕๔๗


๕๓. ปตฺตา เต นิพฺพานํ เย ยุตฺตา ทสพลสฺส ปาวจเน
อปฺโปสฺสุกฺกา ฆเฏนฺติ ชาติมรณปิปหานาย
ผู้ใดประกอบในธรรมวินัยของพระทศพล มีความขวนขวายน้อย พากเพียร ละความเกิดความ
ตาย ผู้นั้นย่อมบรรลุพระนิพพาน. (สุเมธาเถร) ขุ.เถรี ๒๖/๕๐๒


๕๔. มคฺคานฏฺฐงฺคิโก เสฏฺโฐ สจฺจานํ จตุโร ปทา
วิราโค เสฏฺโฐ ธมฺมานํ ทิปาทานญฺจ จกฺขุมา
บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์๘ ประเสริฐ บรรดาสัจจะทั้งหลาย บท ๔ ประเสริฐสุด บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคธรรมประเสริฐสุด และบรรดาสัตว์ ๒ เท้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้มีจักษุ ประเสริฐสุด.
(พุทฺธ) ขุ.ธ. ๒๕/๕๑


๕๕. เย สนฺตจิตฺตา นิปกา สติมนฺโต จ ฌายิโน
สมฺมา ธมฺมํ วิปสฺสนฺติ กาเมสุ อนเปกฺขิโน
ผู้มีจิตสงบ มีปัญญารักษาตัว มีสติ เป็นผู้เพ่งพินิจ ไม่เยื่อใยในกาม ย่อมเห็นธรรมโดยชอบ.
(พุทฺธ) ขุ.อิติ.๒๕/๒๖๐


๕๖. หีนํ ธมฺมํ น เสเวยฺย ปมาเทน น สํวเส
มิจฺฉาทิฏฺฐิ น เสเวยฺย น สิยา โลกวพฺฒโน
ไม่ควรเสพธรรมที่เลว ไม่ควรอยู่ด้วยความไม่ประมาท ไม่ควรเสพมิจฉาทิฏฐิ ไม่ควรเป็นคนรกโลก.
(พุทฺธ) ขุ.ธ. ๒๕/๓๗


๕๗. อชฺฌตฺตญฺจ พหิทฺธา จ เวทนํ นาภินนฺทโต
เวํสตสฺส จรโต วิญฺญาณํ อุปรุชฺฌติ
บุคคลไม่เพลิดเพลินเวทนา ทั้งภายในทั้งภายนอก มีสติดำเนินอยู่อย่างนี้ วิญญาณย่อมดับ.
(พุทฺธ) ขุ.สุ. ๒๕/๕๔๗


๕๘. อปฺปสฺสาทา ทุกฺขา กามา นตฺถิ กามา ปรํ ทุกฺขํ
เย กาเม ปกิเสวนฺติ นิรยนฺเต อุปปชฺชเร
กามทั้งหลาย มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ทุกข์อันยิ่งกว่ากามไม่มี ผู้ใดซ่องเสพกาม ผู้นั้นย่อมเข้าถึงนรก. (โพธิสัตว์) ขุ.ชา.เอกาทสก. ๒๗/๓๑๕


๕๙. อพฺยาปชฺโฌ สิยา เอวํ สจฺวาที จ มาณโว
อสฺมา โลกา ปรํ โลกํ เอวํ เปจฺจ น โสจติ
พึงเป็นคนไม่เบียดเบียน (ผู้อื่น) และกล่าวคำสัตย์อย่างนี้ ละไปจากโลกนี้ ไปสู่โลกอื่นแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก. (พุทฺธ) ขุ.ชา. มหา. ๒๘/๓๓๒


๖๐. อลโส คิหี กามโภคี น สาธุ
อสญฺญโต ปพฺพชิโต น สาธุ
ราชา น สาธุ อนิสมฺมการี
โย ปณฺฑิโต โกธโน ตํ น สาธุ
คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเป็นผู้เกียจคร้าน ไม่ดี, บรรพชิตไม่สำรวม ก็ไม่ดี, พระราชาไม่ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วทำ ไม่ดี, บัณฑิตมักโกรธ ก็ไม่ดี. (โพธิสตฺต) ขุ.ชา.วีส. ๒๗/๔๔๖


๖๑. อตีตํ นานุโสจนฺติ นปฺปชปฺปนฺติ นาคตํ
ปจฺจุปฺปนฺเนน ยาเปนิติ เตน วณฺโณ ปสีทติ
บุคคลไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ใฝ่หาถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เพราะเหตุนั้นผิวพรรณย่อมผ่องใส. (พุทฺธ) สํ.ส. ๑๕/๗


๖๒. อิตฺถีธตฺโต สุราธุตฺโต อกฺขธุตฺโต จ โย นโร
ลทฺธํ ลทฺธํ วินาเสติ ตํ ปราภวโต มุขํ
คนใดเป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา และนักเลงการพนัน ย่อมล้างผลาญทรัพย์ที่ตนได้แล้วๆ ข้อนั้นเห็นเหตุแห่งความฉิบหาย. (พุทฺธ) ขุ.สุ. ๒๕/๓๔๗


๖๓. ทาเนน สมจริยาย สํยเมน ทเมน จ
ยํ กตฺวา สุขิโต โหติ น จ ปจฺฉานุตปฺปติ
คนทำกรรมใดด้วยทาน ด้วยความประพฤติสม่ำเสมอ ด้วยความสำรวม และด้วยการฝึกตน ย่อมมีความสุข เพราะกรรมนั้น ย่อมไม่ตามเผาผลาญในภายหลัง. (โพธิสตฺต) ขุ.ชา.ปกิณฺณก. ๒๗/๓๙๘


๖๔. นิทฺทาสีลี สภาสีลี อนุฏฺฐาตา จ โย นโร
อลโส โกธปญฺญาโณ ตํ ปราภวโต มุขํ
คนใดมักหลับ มักคุย และไม่ขยัน เกียจคร้าน มีความมุทะลุ ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งผู้ฉิบหาย.
(พุทฺธ) ขุ.ส.๒๕/๓๔๖


๖๕. นตฺถิ โลเก รโห นาม ปาปกมฺมํ ปกุพฺพโต
ปสฺสนฺติ วนภูตานิ ตํ พาโล มญฺญเต รโห
ชื่อว่าที่ลับของผู้ทำชั่วไม่มีอยู่ในโลก คนทั้งหลายเห็นเป็นป่า แต่คนเขลาสำคัญที่นั่นว่าเป็นที่ลับ.
(โพธิสตฺต) ขุ.ชา. จตุกฺก. ๒๗/๑๓๑


๖๖. โย เว ตํ สหตี ชมฺมี ตณฺห โลเก ทุรจฺจยํ
โสกา ตมฺหา ปปตนฺติ อุทพินฺทุว โปกขรา
ผู้ใดครอบงำตัณหาลามกอันล่วงได้ยากในโลก ความโศกทั้งหลาย ย่อมตกไปจากผู้นั้น เหมือนหยาดน้ำตกจากใบบัว ฉะนั้น. (พุทฺธ) ขุ.ธ. ๒๕/๖๐


๖๗. สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธานสาสนํ
การไม่ทำบาปทั้งปวง การยังกุศลให้ถึงพร้อม การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว, ๓ ข้อนี้เป็นคำสั่งสอนของท่านผู้รู้ทั้งหลาย. (พุทฺธ) ขุ.ธ. ๒๕/๓๙


๙. ปัญญาวรรค คือหมวดปัญญา


๖๘ คมฺภีรปญฺหํ มนสาภิจินฺตยํ
นจฺจาหิตํ กมฺม กโรติ สุทฺท
าลาคตํ อติถปทํ ริญฺจติ
ตถาวิธํ ปญฺญวนฺตํ วทนฺติ
ผู้ขบคิดปัญหาอันลึกซึ้งด้วยใจ ไม่ทำกรรมชั่ว อันไม่มีประโยชน์เกื้อกูลเลย, ไม่ละทางแห่งประโยชน์ที่มาถึงตามเวลา, บัณฑิตทั้งหลายเรียกคนอย่างนั้นว่า ผู้มีปัญญา. (สรภงฺคโพธิสตฺต)
ขุ.ชา. จตฺตาฬีส. ๒๗/๕๔๐


๖๙. ญฺญวนฺตํ ตถาวาที สีเลสุ สุสมาหิตํ
เจโตสมถมนุยุตฺตํ ตํ เว วิญฺญู ปสสเร
ผู้รู้ย่อมสรรเสริญเสริญคนมีปัญญา พูดจริง ตั้งมั่นในศีล ประกอบความสงบใจนั้นแล.
(มหากสฺสปเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๔๑๑


๑๐. ปุคคลวรรค คือหมวดบุคคล


๗๐. กฺโกธโน อนุปนาที อมกฺขี สุทฺธตํ คโต
สมฺปนฺนทิฏฺฐิ เมธาวี ตํ ชญฺญา อริโย อิติ
ผู้ใดไม่โกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่ ถึงความหมดจด มีทิฏฐิสมบูรณ์ด้วยปัญญา, พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นอริยะ. สารีปุตฺตเถร) ขุ.ปฏิ. ๓๑/๒๔๑


๗๑. อปฺปสฺสาทา ทุกฺขา กามา อิติ วิญฺญาย ปณฺฑิโต
อปิ ทิพฺเพสุ กาเมสุ รตี โส นาธิคจฺฉติ
กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก, บัณฑิตรู้ดังนี้แล้ว ไม่ยินดีในกามแม้เป็นทิพย์.
(พุทฺธ) ขุ.ธ. ๒๕/๔๐


๗๒. โกธโน อุปนาที จ ปาปมกฺขี จ โย นโร
วิปนฺนทิฏฺฐิ มายาวี ตํ ชญฺญา วสโล อิติ
ผู้ใดมักโกรธ ผูกโกรธไว้ ลบหลู่เขาด้วยความชั่ว มีความเห็นวิบัติ มีมายา พึงรู้ว่าคนนั้น เป็นคนเลว.
(พุทฺธ) ขุ.สุ. ๒๕/๓๔๙


๗๓. ชยํ เวรํ ปสวติ ทุกฺขํ เสติ ปราชิโต
อุปสนฺโต สุขํ เสติ หิตฺวา ชยปราชยํ
ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมนอนเป็นทุกข์ คนละความชนะและความแพ้ได้แล้ว สงบใจได้ ย่อมนอนเป็นสุข. (พุทฺธ) ขุ.ธ. ๒๕/๔๒


๑๑. มัจจุวรรค คือหมวดความตาย


๗๔. อจิเจนติ กาลา ตรยนฺติ รตฺตโย
วโยคุณา อนุปุพฺพํ ชหนฺติ
เอตํ ภยํ มรเณน เปกฺขมาโน
ปุญญานิ กยิราถ สุขาวหานิ
กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป ผู้เล็งเห็นภัยในมรณะนั้น พึงทำบุญอันนำสุขมาให้. นนฺทเทวปุตฺต) สํ.ส. ๑๕/๘๙


๗๕. ผลานมิว ปกฺกานํ ปาโต ปตนโต ภยํ
เอวํ ชาตาน มจฺจานํ นิจฺจํ มรณโต ภยํ
ภัยของสัตว์ผู้เกิดมาแล้ว ย่อมมีเพราะต้องตายแน่นอน เหมือนภัยของผลไม้สุก ย่อมมีเพราะต้องหล่นในเวลาเช้า ฉะนั้น. (พุทฺธ) ขุ.สุ. ๒๕/๔๔๘, ขุ.มหา. ๒๙/๑๔๕


๑๒. วาจาวรรค คือหมวดวาจา


๗๖. อกกฺกสํ วิญฺญาปนี คิรํ สจฺจํ อุทีรเย
ยาย นาภิสเช กญฺจิ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ
ผู้ใดพึงกล่าวถ้อยคำอันไม่เป็นเหตุให้ใครๆ ขัดใจ ไม่หยาบคาย เป็นเครื่องให้รู้ความได้และคำเป็นจริง เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์. (พุทฺธ) ขุ.ธ. ๒๕/๗๐


๗๗. อกฺโกธโน อสนฺตาสี อวิกตฺตี อกุกฺกุจฺโจ
มนฺตาภาณี อนุทฺธโต ส เว วาจายโต มุนิ
ผู้ใด ไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง ไม่โอ้อวด ไม่รำคาญ พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ผู้นั้นแลชื่อว่า เป็นมุนี มีวาจาสำรวมแล้ว. (พุทฺธ) ขุ.ส. ๒๕/๕๐๐, ขุ.มหา. ๒๙/๒๕๗


๗๘. สจฺจํ เว อมตา วาจา เอส ธมฺโม สนนฺตโน
สจฺเจ อตฺเถ จ ธมฺเม จ อหุ สนฺโต ปติฏฺฐิตา
คำสัตย์แล เป็นวาจาไม่ตาย นั่นเป็นธรรมเก่า สัตบุรุษทั้งหลาย เป็นผู้ตั้งมั่นในคำสัตย์ ที่เป็นอรรถและ
เป็นธรรม. (วงฺคีสเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๔๓๔


๑๓. วิริยวรรค คือหมวดความเพียร


๗๙. ตุมฺเหหิ กิจฺจํ อาตปฺป อกฺขาตาโร ตถาคตา
ปฏิปนฺนา ปโมกฺขนฺติ ฌายิโน มารพนฺธนา
ท่านทั้งหลายต้องทำความเพียรเอง ตถาคตเป็นแต่ผู้บอก ผู้มีปกติเพ่งพินิจดำเนินไปแล้ว จักพ้นจากเครื่องผูกของมาร. (พุทฺธ) ขุ.ธ. ๒๕/๕๑


๘๐. สพฺพทา สีลสมฺปนฺโน ปญฺญวา สุสมาหิโต
อารทฺธวิริโย ปหิตตฺโต โอฆํ ตรติ ทุตฺตรํ
ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล มีปัญญา มีใจมั่นคงดีแล้ว ปรารภความเพียร ตั้งตนไว้ในกาลทุกเมื่อ ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก. (พุทฺธ) สํ.ส. ๑๕/๗๔


๑๔.สามัคคีวรรค คือหมวดสามัคคี


๘๑. สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี สมคฺคานญจนุคฺคโห
สมคฺครโต ธมฺมฏฺโฐ โยคกฺเขมา น ธํสติ
ความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นสุข และการสนับสนุนคนผู้พร้อมเพรียงกันก็เป็นสุข, ผู้ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ. (พุทฺธ) ขุ.อิติ. ๒๕/๒๓๘


๑๕. สีลวรรค คือ หมวดศีล


๘๒. สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด ศีลเป้นเครื่องประดับ อย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกาะอย่าง
อัศจรรย์. (สีลวเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๓๕๘


๘๓. สีลเมว อิธ อคฺคํ ปญฺญวา ปน อุตตโม
มนุสฺเสสุ จ เทเวสุ สีลปญฺญาณโต ชยํ
ศีลเท่านั้นเป็นเลิศในโลกนี้ ส่วนผู้มีปัญญาเป็นผู้สูงสุด ความชนะในหมู่มนุษย์และเทวดา ย่อมมีเพราะ
ศีลและปัญญา. (สีลวเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๓๕๘

http://www.siri.ac.th/Article/dhamma/supasit eak...


คำสำคัญ (Tags): #เปรียญธรรม
หมายเลขบันทึก: 599236เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2016 16:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2018 12:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อะไรว่าเนี้ยผมไม่รผุ้

เป็นข้อมูลที่ดีมากเลยครับ

เป็นข้อมูลที่ดีมากเลยครับ

เป็นข้อมูลที่ดีมากเลยครับ

เป็นข้อมูลที่ดีมากเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท