การเลือกเมาส์พีชทรัมเป็ต (Trumpet Mouthpiece)


การเลือกเมาส์พีชทรัมเป็ต Trumpet Mouthpiece

ว่าด้วยเรื่องของเมาส์พีช (Mouthpiece) นั้นเป็นส่วนที่สำคัญที่มีผลต่อการเล่น trumpet เป็นอย่างมาก ดังนั้นเราจึงควรรู้เกี่ยวกับการเลือกเมาส์พีช อย่างไรให้เหมาะสมกับเราเพื่อช่วยในการเล่นที่ดีขึ้น เป่าเสียงสูงง่ายขึ้น ลงเสียงต่ำสบายขึ้นและสามารถดึงศักยภาพการเล่นของเราออกมาได้อย่างเต็มที่ ปัจจัยในการเลือกคืออะไรบ้าง ไม่ใช่เป็นสิ่งสวยงามที่ประดับประดาก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกับส่วนประกอบต่างๆของเมาส์พีชกันก่อนเพราะทุกๆส่วนนั้นมีความสำคัญและส่งผลกระทบต่อการผลิตเสียงเป็นอย่างมาก การเข้าใจส่วนประกอบจึงเป็นปัจจัยในการเลือกใช้เมาส์พีช ที่เรากำลังมองหาอยู่ เราทุกคนล้วนต้องการพัฒนาฝีมือของตนเองเพราะฉะนั้นเราจึงควรรู้ศักยภาพการเล่นของตนเองเพื่อการเลือกเมาส์พีชที่ถูกต้องเหมาะสมกับตัวเราด้วยเช่นกัน

ส่วนประกอบของ เมาส์พีช มีดังนี้

  • The Rim เป็นส่วนที่สัมผัสกับริมฝีปากของเรา rim มีหลายลักษณะดังนี้

A rounded rim ทำให้ผู้เล่นมีความยืดหยุ่น (Flexibility) แต่ก็ทำให้ริมฝีปากของเราเกิดความเหนื่อยล้าง่ายเช่นกัน

A wider rim ช่วยในเรื่องของความอึดความทนทาน (Endurance)

A narrow rim ช่วยในเรื่องของการเล่นช่วงเสียงได้กว้างขึ้น (Range)

A sharp rim bite จะทำให้ให้เสียงของเราสว่าง เสียงใส

A rounded rim bite เสียงไม่สว่างเท่า sharp rim bite แต่ให้ความสะดวกสบายในการเล่นมากกว่า

  • The Cup ในส่วนนี้เราวัดจากเส้นผ่าศูนย์กลาง (Diameter) และความลึก (Depth) ถ้า cup มีลักษณะที่ใหญ่ทั้งเส้นผ่าศูนย์กลางและความลึกนั้นจะส่งผลให้เสียงที่กังวาน (Resonant) แต่จะยากต่อการควบคุมในการเล่นรวมทั้งยังทำให้ยากต่อการเล่นเสียงสูงอีกด้วย
  • The throat shoulder คือส่วนที่ลมเป่าของเราผ่านจาก cup ไปยัง throat ในส่วนนี้มีอิทธิพลต่อคุณภาพเสียงและแรงต้าน ถ้าเมาส์พีชเล็กแรงต้านก็จะมากกว่าทำให้การปล่อยลมลำบากแต่เป่าเสียงสูงง่าย ถ้าเมาส์พีชใหญ่แรงต้านจะน้อยกว่าต้องใช้ลมมากขึ้นทำให้เป่าเสียงสูงยากกว่าแต่ให้เสียงที่กว้างกว่า
  • The throat คือส่วนที่แคบที่สุดของ เมาส์พีช ซึ่ง throat ที่มีขนาดเล็กเกินไปจะทำให้ผู้เล่นเป่าช่วงเสียงสูงเพี้ยนสูง และเป่าช่วงเสียงนั้นต่ำเพี้ยนต่ำ ส่วน throat ที่มีขนาดใหญ่จะให้เสียงที่เต็ม แต่ถ้าใหญ่มากเกินไปจะทำให้ยากต่อการเป่า dynamic ที่เบาๆ และยังทำให้เหนื่อยเร็วด้วย
  • The Backbore เป็นส่วนที่มีอิทธิพลต่อระดับเสียงที่ถูกต้อง (intonation) และคุณภาพของเสียง ได้แก่

A small backbore ให้เสียงที่สว่างแต่ค่อนข้างจะเพี้ยนต่ำและการเล่นช่วงเสียงสูงจะให้คุณภาพเสียงที่เล็ก

A large backbore ให้เสียงที่ดีกว่า แต่ถ้าใหญ่เกินไปก็จะทำให้การเล่นมีความแม่นยำลดลงและเหนื่อยง่าย


การเลือกทรัมเป็ตเมาส์พีช

สิ่งสำคัญที่สุดของการเลือกเมาส์พีช นั้นก็คือเมาส์พีชที่ให้ความสะดวกสบายในการเล่นของเรา และคำถามที่ตามมาหลังจากเลือกได้แล้วคือ มันเพี้ยนรึป่าว? จะรู้ได้อย่างไรว่าเพี้ยนไม่เพี้ยน Tuner เป็นสิ่งเดียวที่ตอบเราได้เพราะฉะนั้นในการเลือกซื้อควรมีทั้ง Trumpet ให้ลองและมี Tuner เพื่อวัดระดับเสียงที่ถูกต้องด้วยเช่นกัน

อะไรคือ 7C, 3C, 2B ที่แปะอยู่ตรง Mouthpiece ?

ตัวเลข แสดงถึงความลึกของ cup ค่าตัวเลขที่เยอะจะมีความตื้นกว่า ค่าตัวเลขที่น้อยจะมีความลึกกว่า เช่น Bach 7C จะมีความตื้นมากกว่าขนาด Bach 1C


ข้อคิด 10 ประการของการเลือกทรัมเปตเมาส์พีช

1.หลีกเลี่ยง เมาส์พีช ที่ Shank มีรอยบุบ ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงรอยบุบเล็กๆ แต่หารู้ไหมว่าทำให้เกิดผลกระทบต่อเสียงและการตอบสนองของการเล่น

2.เลือก rim ที่กว้างพอดีกับปากและความเร็วของลม (airflow)

3.สำหรับผู้หัดเริ่มเล่นใหม่ควรใช้ เมาส์พีช ขนาดกลางๆ ได้แก่ Bach 7C หรือ Schike 11C

4.สำหรับผู้เล่นระดับ Advance ควรได้ทดลอง เมาส์พีชในส่วนที่ Throat มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพตนเองในเรื่องของเสียงให้เต็มและกว้างมากขึ้น

5.ถ้าต้องการดัดแปลง เมาส์พีช ควรส่งให้กับช่างผู้ชำนาญ

6.เมื่อเราเสียบ เมาส์พีช กับตัวเครื่องแล้ว ควรเช็คดูว่าพอดีกันและไม่หลวมเกินไป

7.ถ้าในการเล่นช่วงเสียงต่ำค่อนข้างจะเพี้ยนสูงและช่วงเสียงสูงค่อนข้างเพี้ยนต่ำ แปลว่า backbore มีขนาดเล็กเกินไป

8.ถ้าในการเล่นช่วงเสียงต่ำค่อนข้างเพี้ยนต่ำและช่วงเสียงสูงค่อนข้างเพี้ยนสูง แปลว่า backbore มีขนาดใหญ่เกินไป

9. ไม่ควรใช้ เมาส์พีช ที่มสภาพลอกแล้ว

10.พึงคิดไว้ว่า ไม่มีเมาส์พีชใดที่เป็นเมาส์พีชที่ “เพอร์เฟค” ที่สุด เมาส์พีชถูกออกแบบขึ้นเพื่อช่วยเรื่องเนื้อเสียงและการตอบสนอง บวกกับช่วงเสียงที่กว้างขึ้นและความเบา-ดัง ส่วนเมาส์พีชที่ถูกออกแบบเป็นพิเศษอาจจะสามารถตอบสนองได้ถูกใจผู้เล่นมากกว่า แต่ก็ไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด


ขนาดของเมาส์พีชที่เหมาะสำหรับผู้เล่นในแต่ระดับ

Beginner

Intermediate

Advance

Bach

7C

6C, 5C

3C, 2C, 1C

Schilke

8, 9, 10, 11

10A4, 10B4, 13C4, 15B

18, 20, 20D2d

Wick

4B, 4C

3B

2W, 1CW, 1W

Yamaha

9C4, 11C4

13B4, 14C4

14B4, 15C4, 16C4, 17C4

Stork Vacchiano

7C, 5D, 5C

4C, 4B, 3C

3C, 3B, 2B





อ้างอิง

Mark C. Ely and Amy E. Van Deuren; Wind Talk for Brass (2009)

Jonathan Harnum; All About Trumpet (2008)

หมายเลขบันทึก: 598290เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2015 19:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มกราคม 2016 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ชยพัทธ์ เบญจาพิสุทธิ์

ขอบคุณสำหรับข้อมูล ได้ความรู้ดีมากๆเลยครับ จะเป็นแนวสอนนร.ต่อไป..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท