ปทานุกรม..ความตาย


คุณรู้จักความตาย ดีแล้วหรือยัง

วันนี้ได้รับหนังสือเป็นของฝากจาก นพ.สมพนธ์ นวรัตน์ .... คุณหมอไป ประชุมที่กรุงเทพฯ ... ได้หนังสือเล่มนี้มาค่ะชื่อ "ปทานุกรมความตาย" ... เขียนโดย พรทวี ยอดมงคล, เอกภพ สิทธิวรรณธนะ, ฐนิดา อภิชนะกุลชัย ซึ่งได้รวมคำและความหมาย...เพื่อชีวิตที่ดีงามและความตายอย่างสงบ ... โดยแบ่งเป็น 7 ส่วน


ส่วนที่ 1 ความตายและการตาย

ส่วนที่ 2 หลังความตาย

ส่วนที่ 3 การตายกับการแพทย์

ส่วนที่ 4 ความตายกับอุปสรรค

ส่วนที่ 5 พุทธศาสนากับความตาย

ส่วนที่ 6 วัฒนธรรมกับความตาย

ส่วนที่ 7 การตายและการเตรียมตัวตาย

และ บทส่งท้าย


ส่วนที่ 1 ความตายและการตาย... มีเนื้อหา เช่น

- ตายดี

- ตายแบบพุทธ

- ตายสงบ

- ตายทางการแพทย์

- สัญญาณชีพ

- สมองตาย

- ตายอย่างมีศักดิ์ศรี

- ตายที่ไม่ดี

- ยูธานเชีย(Euthanasia)

- การุณยฆาต (Mercy Killing)

- แปลกแยกจากความตาย

- กลัวตาย

- เตรียมตัวตาย

- เฮือกสุดท้าย

- อุบัติเหตุ

- สัญญาณใกล้ตาย

ส่วนที่ 2 หลังความตา

- พิธีกรรมเกี่ยวกับศพ

- ฉลาดทำศพ

- พินัยกรรมมรดก

- แจ้งตาย

- ชันสูตรพลิกศพ

ส่วนที่ 3 การตายกับการแพทย์

- หนังสือแสดงเจตนาเกี่ยวกับการรักษา

- ในวาระสุดท้ายของชีวิต (Advance Directive)

- พินัยกรรมชีวิต

- คำสั่งเสีย

- ความเจ็บปวด

- ไม่อยากอาหาร

- การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative care)

- สถานดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Hospice)

- การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ/(ปฏิบัติ)การกู้ชีพ: Cardiopulmonary Resuscitation/CPR

- การไม่กู้ชีพ (No Resuscitation / NR)

- ระยะสุดท้ายของชีวิต (End of life)

- กระบวนการบอกข่าวร้าย

- การวางแผนดูแลรักษาตนเองล่วงหน้า (Advance care plan)

ส่วนที่ 4 ความตายกับอุปสรรค์

- ยื้อชีวิต-ยืดการตาย

- ปั๊มหัวใจ

- การใส่ท่อช่วยหายใจ

- แล้วแต่หมอ

- กตัญญูเฉียบพลัน

- ความเศร้าโศกและความสูญเสีย

- สิ่งค้างคาใจ

- ความขัดแย้ง

- การยึดติดในความสุข

- กลัวภพภูมิหน้า/กลัวชาติหน้า

- ความรู้สึกผิด

- กลัวตัวตนดับสูญ

ส่วนที่ 5 พุทธศาสนากับการตาย

- เวียนว่ายตายเกิด - สังสารวัฏ

- อาสันญกรรม-จิตสุดท้าย

- สังขาร

- ตายก่อนตาย

- นาทีทอง

- โพวา

- ทองเลน

ส่วนที่ 6 วัฒนธรรมกับการตาย

- ความเชื่อเรื่องเวลาตาย

- ตายฉับพลัน(ตายโหง)

- ตายตาหลับ

- คำเทียบเคียงต่อความตาย

- การเดินทาง

- เปลี่ยนบ้านใหม่

- เปลี่ยนภพภูมิ

ส่วนที่ 7 การตายและการเตรียมตัวตาย

- มรณานุสติ การเจริญมรณานุสติ

- อภัย-อโหสิกรรม

- นำทางบอกทาง

- สติ

- สถานที่ตาย

- บริจาคร่างกาย

- บริจาคอวัยวะ

- ความปรารถนาก่อนตาย

- การปล่อยวาง

- กล่าวอำลา


ที่สำคัญ.. คำนำของท่านพระไพศาล วิสาโล ... อ่านแล้ว น่าอ่านจริงๆ ค่ะ

ความตายเป็นสิ่งที่ไม่มีใครหนีพ้น แต่น้อยคนที่สนใจใฝ่รู้เรื่องความตายเพื่อเตรียมตัวให้พร้อมเมื่อวันนั้นมาถึง สาเหตุสำคัญเป็นเพราะคนส่วนใหญ่คิดว่าความตายเป็นเรื่องไกลตัว หรือไม่ก็แสร้งทำราวกับว่าตนเองจะไม่มีวันตาย จึงมีชีวิตเหมือนคนลืมตาย ครั้นความตายมาประชิดตัว จึงมีความทุกข์ทรมานเป็นอย่างยิ่งเพราะไม่เคยเตรียมตัวเตรียมใจไว้ก่อนเลย

ผู้คนทุกวันนี้คิดถึงแต่การมีชีวิตที่ดี แต่ลืมนึกถึงการตายดี ดังนั้นจึงทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่างเพื่อการมีชีวิตที่ดี โดยไม่ได้วางแผนใด ๆ สำหรับการตายดีเลย จึงนับว่าน่าเสียดายอย่างยิ่งที่ละทิ้งโอกาสที่จะได้ประสบสัมผัสสิ่งสำคัญ ณ ปลายสุดของชีวิต

สำหรับผู้เห็นความสำคัญของการเตรียมตัวตาย การศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับความตายในแง่มุมต่างๆ รวมทั้งภาวะใกล้ตายและเหตุปัจจัยที่ทำให้ตายดี ย่อมเป็นสิ่งที่มิอาจละเว้นได้ หนังสือเล่มนี้เป็นอีกเล่มหนึ่งที่เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการศึกษาดังกล่าว อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้เป็นคู่มือเพื่อการตายดีได้ด้วย โดยเฉพาะกรณีที่เป็นผู้ป่วยเรื้อรัง นอกจากนั้นยังเป็นประโยชน์สำหรับญาติผู้ป่วยที่ประสงค์จะช่วยเหลือคนรักของตนให้ผ่านพ้นความตายได้ด้วยใจสงบ

หนังสือเล่มนี้นำประเด็นสำคัญๆ เกี่ยวกับความตายและการตายดี มาเสนอในรูปปทานุกรม เพื่อง่ายต่อการศึกษาและปฏิบัติสำหรับผู้เริ่มต้นสนใจ รายละเอียดเพิ่มเติมนอกจากนี้สามารถศึกษาได้จากหนังสือเล่มอื่น ๆ ของเครือข่ายพุทธริกาและผู้รู้ท่านอื่น ๆ ดังระบุไว้ท้ายเล่ม


พระไพศาล วิสาโล
๖ ตุลาคม ๒๕๕๗




สรุป..คำโปรยในแต่ละส่วนค่ะ

ส่วนที่ 1 "คุณรู้จักความตาย ดีแล้วหรือยัง" ..

ส่วนที่ 2 "หลังจากใครคนหนึ่งหยุดหายใจ..เรื่องราวของผู้ที่อยู่เบื้องหลัง..ยังดำเนินต่อไป"....

ส่วนที่ 3 "ปัจจุบันทางการแพทย์มีบทบาทสำคัญมากต่อการตายของเรา สามารถเกื้อกูลหรือขัดขวางการตายอย่างสงบของผู้ป่วยได้" ...

ส่วนที่ 4 "แม้ความตายจะเป็นเส้นชัยที่เราทุกคนต้องไปถึง.. คงจะดีไม่น้อยหากเราได้สำรวจเส้นทางล่วงหน้าและกลับมาเตรียมตัว ณ. ก้าวปัจจุบัน"...

ส่วนที่ 5 "แม้ความตายจะเป็นวิกฤตของชีวิต..แต่พุทธศาสนา ได้ชี้ให้เห็นเป็นโอกาส..ในการพัฒนาจิตและปัญญา ผ่านการทำความรู้จักคำในส่วนที่ 5 นี้"

ส่วนที่ 6 "การรู้จักความตายในแง่มุมทางวัฒนธรรมซึ่งหมายถึงชุดความเชื่อ ความหมาย ตลอดจนแบบแผนประเพณี จะช่วยให้เราเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับความตายได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนแสดงความเคารพผู้ตายและญาติมิตรได้อย่างเหมาะสม"

ส่วนที่ 7 ... "หากความตายคือ การเดินทาง...ประเด็นต่างๆในส่วนที่ 7 ก็คือ การฝึกฝน เตรียมเสบียงสู่สภาวะใหม่ อย่างราบรื่นและปลอดภัย" ...คำโปรย ส่วนที่ 7 ค่ะ


ขอบคุณค่ะ

13 ตุลาคม 2558

หมายเลขบันทึก: 596166เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2015 14:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ตุลาคม 2015 14:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ตายคือตาย มิใช่ตายเพื่อเกิด ให้นิยามใหม่ครับหมอเปิ้ล

-สวัสดีครับ

-พึงระลึกถึงความตาย...นะครับพี่หมอ

-ขอบคุณครับ...

กล้วยไข่ เป็นกล้วยที่พี่ชอบมากๆ ค่ะ ... ขอบคุณค่ะ

นับเป็นคติธรรมที่สมควรได้รับความใส่ใจมากๆ ขอบคุณค่ะ

เป็นหนังสือที่น่าอ่านมาก

ขอบคุณพี่เปิ้นที่แนะนำหนังสือดีๆ

มีจำหน่ายด้วยไหมจ๊ะคุณหมอเปิ้น

น่าสนใจจ้ะ

เป็นหนังสือที่น่าอ่านมาก

แต่ละบทมีการเรียนเรียนรู้เสมอๆ

ขอบคุณพี่เปิ้นมากๆครับ

เป็นหนังสือที่ทุกคนควรอ่าน แต่หลายคนก็ยังไม่อยากอ่านนะคะ

ขอบคุณค่ะ :)

มรณานุสติเป็นกรรมฐานที่เราต้องนึกถึงภาวนาถึงครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท