005_แผนเตรียมการสอนรายสัปดาห์ ลงสู่รายคาบ (Lesson study)


วันที่ 12 ตค 2558

วันนี้ ได้เข้าร่วมประชุมเตรียมแผนการสอนรายคาบ ซึ่งจะได้ร่วมทำ lesson study ด้วย (การร่วมทำ lesson study ก็เป็นสาเหตุนึงที่คิดมาฝึกสอนที่นี่)

ช่วงเช้า ประชุมทีมคณิตศาสตร์ช่่วงชั้น 2 ทั้งหมด (ครูเลข ป.4-5-6 ทั้งหมด 8 คน) เพื่อทำ KM สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในเทอมที่ผ่านมา

  1. เปิดประชุมด้วยคลิปวิดีโอการสอนคณิตศาสตร์ในชั้นเรียนประถม ของประเทศญี่ปุ่น แลกเปลี่ยนความคิดกันว่า คลิปตัวอย่างเขากำลังทำอะไร และเราเห็นอะไรจากห้องเรียนตัวอย่างในคลิปนั้น
  2. แบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้กัน ตามห้วข้อการเรียนรู้ดังนี้
    1. ให้พิจารณา สิ่งที่ทำสำเร็จ/การขยายผล, สิ่งที่เป็นปัญหาติดขัด/แก้ไข, ประเด็นที่จะนำไปพัฒนาต่อไป ภายใต้บริบทเรื่องทรัพยากร (แผนการสอน,, สื่อ/อุปกรณ์, ใบงานในเวลา, การบ้าน/โครงงาน, แบบทดสอบ/การประเมินผล) ของเทอมที่ผ่านมา

ช่วงบ่าย ประชุมทำ lesson study ของคณิตศาสตร์ ป.6 เพื่อลงแผนการสอนรายคาบในอาทิตย์หน้า

หัวข้อที่เรียนของเด็กๆคือ ลำดับและการจัดกลุ่ม จำนวนสอน 5 คาบ/ห้อง

output --> ตกลงร่วมกันว่าจะมีกิจกรรมอะไรในห้องเรียนบ้าง, ใบงาน และการบ้านมีอะไรบ้าง


*******

สรุปสิ่งที่เรียนรู้ในวันที่ 12 ตค.2558

  1. สิ่งที่เรียนรู้ในวันนี้
    • What เรียนรู้เรื่องอะไร
      • เรียนรู้ ว่าการนำตัวอย่างคลิปวิดีโอการสอนมาให้ครูดูเป็นตัวอย่าง มีผลมากกับการเรียนรู้ของครูเพื่อที่จะสร้างห้องเรียนที่สนุก (อย่างน้อย ตัวผมเองรู้สึกว่า มันชัดเจนมากกว่าฟังจากเรื่องเล่าๆต่อกันมา และรู้สึกอยากสอนห้องเรียนสนุกๆแบบนี้บ้าง)
      • เรียนรู้ การทำ lesson study ร่วมคุณครูผู้มีประสบการณ์การทำ LS ในปีก่อนๆ มีผลให้เราสามารถพัฒนา/แก้ไขในปีนี้ได้อย่างชัดเจน ไม่คลุมเคลือ
      • เรียนรู้ว่า กระบวนการพัฒนาครู (ไม่ว่าจะเป็น KM, การให้ครูดูคลิปตัวอย่างการสอน) ต้องทำอย่างสม่าเสมอ บ่อยๆ เสมือนเป็นกิจกรรมประจำ แต่หากจัดสัมมนาครู อบรมครู เดือนละครั้ง จะทำให้ครูฮึดเป็นพักๆเท่านั้น
      • สังเกตว่า ครูจะพกแฟ้ม ซึ่งใส่บันทึกแผนการสอน หรือใบงานต่างๆเข้าร่วมประชุม เพราะข้อมูลในแฟ้มทั้งหมดคืองานที่คุณครูได้ทำจริงๆในเทอมที่ผ่านมา ดังนั้น การหมั่นจดบันทึก หรือมีระบบที่โน้มน้าวให้คุณครูบันทึกบ่อยๆ จะสะสมชุดความรู้ให้ครูได้สืบค้นและทบทวนตนเองได้เสมอๆ
    • Why เรียนรู้ไปทำไม
      • เรียนรู้ เพื่อที่เราจะได้เห็นว่า ห้องเรียนที่สนุก ควรเป็นเช่นไร และเราจะทำอย่างไรเพื่อไปถึงห้องเรียนที่สนุกแบบนั้น
      • เรียนรู้ LS เพราะ LS สามารถช่วยให้เราปรับปรุงกิจกรรมการสอนในห้องเรียนให้ดียิ่งๆขึ้นไป และสามารถช่วยให้ครูใหม่เกาะติดกับระบบการสอนได้เร็วกว่าการศึกษาด้วยตนเองเพียงคนเดียว หากครูท่านใหม่เป็นคนช่างสังเกต เขาจะพอเห็นภาพของห้องเรียนจากคำบอกเล่าของครูเก่าได้เลย
    • How ทำอย่างไร
      • การทำ LS ช่วยให้ครูเตรียมการสอนได้อย่างไม่โดดเดี่ยว และมั่นใจร่วมกันว่า เรานำเสนอแผนการสอนที่ดีให้กับนักเรียน โดยที่เพลินพัฒนา จะเตรียมแผนการสอนสำหรับทุกคาบ (สัปดาห์ละ 5 คาบทั้งหมด 9 สัปดาห์) ทุกการสอนจะมีการเตรียมตัวมากันก่อน มีการวางแผน และคิดเผื่อล่วงหน้าไว้มาก่อนเสมอ จะไม่มีการสอนสด
  2. ความคิดเห็นส่วนตัวต่อสิ่งที่เรียน
    • รู้สึกว่า การนำคลิปการสอนในห้องเรียนตัวอย่างมาให้คุณครูชม และแลกเปลี่ยนร่วมกัน มีส่วนช่วยครูท่านใหม่ให้เห็นภาพห้องเรียนที่สนุก สร้างแรงบันดาลใจให้ครูให้สม่ำเสมอ
    • รู้สึกตื่นเต้นกับแผนการสอนที่เตรียมไว้ ลุ้นว่า แผนดังกล่าวจะเป็นอย่างไรในห้องเรียนอาทิตย์หน้า (พอดีพวกเราเตรียมเกมส์ให้นักเรียนได้วิ่งผลัดแข่งขันกัน)
  3. ไอเดียที่อยากทดลอง/ปฏิบัติ
    • อยากเห็นการสอนตามแผนเรียน รวมถึงการจัดการห้องเรียน (เด็กที่ไม่เป็นไปตามแผนการสอน) ว่าจัดการอย่างไร
หมายเลขบันทึก: 596106เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2015 15:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ตุลาคม 2015 19:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท