ธาตุที่ ๕ : ธรรม และ บททดสอบธรรม ต้องเหมาะสมกัน



ผมเกิดมาเป็นเด็กบ้านนอกในยุคที่วิทยาศาสตร์กำลังเฟื่องฟู

ประมาณว่า สิ่งที่เรียนในโรงเรียนยุคนั้น เป็นวิทยาศาสตร์ แต่สังคมรอบข้างมีหลากหลายมากกว่าวิทยาศาสตร์


มองย้อนกลับไปวิทยาศาสตร์ได้เข้ามาเป็นเนื้อเป็นหนังในชีวิตมากกว่าศาสตร์อื่น ๆ

สิ่งใดที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วอายตนะ ผมก็จะปฏิเสธหรือแขวนไว้ก่อน


จนเวลาล่วงเลยมากว่าครึ่งชีวิต ตอนเรียนปริญญาเอกอยู่ปีที่ 2 (พ.ศ.2548)

ชีวิตก็เกิดการหักเห ให้หันมาสู่เส้นทาง พุทธธรรม โดยบังเอิญ หนอ

บนเส้นทางพุทธธรรมนั้น

ผมพยายามเขียนถอดบทเรียนทั้งการเดินเร็ว เดินช้า ผิดทาง ถูกทาง ไว้ในบันทึกนี้

แบบสด ๆ ร้อน ๆ เพื่อให้ผู้ที่ยังไม่ได้เริ่มเดิน และคิดอยากจะเดินได้ค่อย ๆ พิจารณาตาม

ในบันทึกเกือบทั้งหมด จึงไม่ใช่คำตอบสุดท้าย อันเป็นปรมัตถ์สูงสุด ที่ยากเกินจะเอื้อมถึง

แต่เป็นบันทึกธรรมดาของคนดิบคนหนึ่ง หนอ




มีผิดทางบ้าง ถูกทางบ้าง เป็นธรรมดา

และหลายครั้ง จะมีการปรับวงสวิงครั้งใหญ่อยู่เสมอ ๆ

ตุลาคม 2558 นี้ก็เหมือนกัน ผมสังเกตุว่า มีการปรับสวิงแบบปรับเล็กอีกครั้งแล้ว หนอ



ในการฝึกหัดกอล์ฟนั้น ถ้าเราพบว่า วงสวิง ของเรายังมีข้อผิดพลาดอยู่นั้น

ถ้าไม่ปรับเปลี่ยนวงสวิง ก็จะทำให้พัฒนาให้เป็นเลิศได้ยาก

การปรับวงสวิงเป็นการออกจากความคุ้นชินเดิม จึงทำให้ช่วงที่ปรับใหม่ ๆ นั้น

คะแนนอาจขึ้น ๆ ลง ๆ เพราะยังคุ้นชินกับของเก่า และใช้ของใหม่ยังไม่เก่ง

ทางธรรมก็เช่นเดียวกัน หนอ





ผมสังเกตุว่า เมื่อภูมิธรรมเราเพิ่มขึ้น โจทย์ธรรมใหม่ ๆ ก็จะเข้ามาทดสอบ

ถ้าภูมิธรรมใหญ่กว่าโจทย์ธรรม จิตใจเราก็ผ่านหรือเอาอยู่

แต่ถ้าโจทย์ธรรมนั้นใหญ่กว่าภูมิธรรมเรา ใจเราก็ต้องกระเด็นไปตามแรงเหวี่ยงเป็นธรรมดา หนอ




หมายเลขบันทึก: 596097เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2015 11:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ตุลาคม 2015 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท