ทุนทางสังคม : ทุนมนุษย์ ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการขยะที่เกาะช้าง


ทุนทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทุนมนุษย์ เป็นกุญแจสู่ความสำเร็จ ไม่เพียงแต่ปัญหาการจัดการขยะ แต่สำหรับการหาทางออกให้ทุก ๆ ปัญหา ขอเพียงการขับเคลื่อนอย่างเข้าใจและเข้าถึงศักยภาพของมนุษย์เท่านั้น​

"ทุนทางสังคม" ความสำเร็จในการจัดการขยะอย่างยั่งยืน

: 09 ต.ค. 2558 เวลา 10:10:39 น.

คอลัมน์เปิดมุมมอง โดย ณพจักร สนธิเณร TEAM Group

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1444285558

เป็นที่ทราบกันดีว่า ขยะ เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่แก้ไขได้ยากยิ่งในสังคมไทย ไม่ว่าจะใช้วิธีการใด ก็มักถูกต่อต้านจากสังคมเสมอ เป็นที่น่ายินดีที่ขณะนี้มีหลายชุมชนที่ประสบผลสำเร็จในการจัดการขยะ โดยการแปรขยะให้เป็นพลังงาน หมุนเวียนใช้ในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ ทุนทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทุนมนุษย์

ทุกชุมชนของประเทศไทย ล้วนมีทุนทางสังคมอยู่แล้ว .........เครือข่ายทางสังคม ความรู้ ภูมิปัญญา ความเอื้ออาทร และความร่วมมือในชุมชน

บทความ "ทุนทางสังคม" ความสำเร็จในการจัดการขยะอย่างยั่งยืน โดยนพจักร สนธิเณร กล่าวถึง ความสำเร็จของการนำเทคโนโลยีเตาเผาไพโรไลซิส และระบบ Zero Waste มาใช้ในพื้นที่เกาะช้างว่า มีความเชื่อมโยงกับทุนทางสังคม (social capital) ของชุมชนในบริเวณเกาะช้าง โดยเฉพาะทุนทางสังคมในรูปบุคลากร กล่าวคือประชากรรุ่นใหม่ของเกาะช้างจำนวนไม่น้อยกลับมาทำงานในชุมชนแทนการทำงานในเมืองหลวง หรือการทำงานกับบริษัทขนาดใหญ่ หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาแล้ว บุคคลเหล่านี้ส่วนหนึ่งทำงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่งผลให้ หน่วยงานระดับท้องถิ่นประกอบไปด้วยบุคลากรที่มีความรู้และมีความผูกพัน มีความรักในถิ่นเกิด บุคลากรท้องถิ่นที่มีความรู้นำไปสู่ความเข้าใจและการยอมรับเทคโนโลยีการจัดการขยะที่ทันสมัย

ส่วนความรักในถิ่นเกิดนำไปสู่ความทุ่มเทในการทำงานเพื่อพัฒนาชุมชน แต่ความเข้าใจและการยอมรับต่อข้อเท็จจริง ต่อการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นคือพื้นฐานที่สำคัญที่ชุมชนจะเปิดรับเทคโนโลยี หรือวิทยาการต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้กับตนเองได้อย่างเหมาะสม

เกาะช้าง.ในอดีตเป็นชุมชนชาวประมงเล็ก ๆที่ กลายเป็นเมืองท่องเที่ยวในปัจจุบัน นอกฤดูกาลท่องเที่ยว(low season) จะมีปริมาณขยะประมาณวันละ12-17 ตัน แต่ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว (high season) เป็นประมาณวันละ 20-27 ตัน เกาะช้างถูกกำหนดให้นำเทคโนโลยีการจัดการขยะที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการขยะโดยหน่ายงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง แทนการต่อต้านอย่างเข้มข้น ชุมชนเกาะช้างกลับเปิดรับเทคโนโลยีนี้นำไปสู่การปฏิบัติที่ส่งผลในทางพัฒนาอย่างน่าชื่นชม


แนวคิด Zero Waste ในกระบวนการจัดการขยะ

เริ่มตั้งแต่การคัดแยกขยะสำหรับรีไซเคิล

การหมักขยะสดเพื่อทำปุ๋ยชีวภาพ

และการนำขยะประเภทพลาสติกไปกำจัดด้วยระบบ ไพโรไลซิส (pyrolysis) ที่เป็นการเผาไหม้สุญญากาศ ควบคู่กับการเติมตัวเร่งปฏิกิริยา (catalysis) เปลี่ยนขยะพลาสติกให้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง

กระบวนการดังกล่าวยังก่อให้เกิด "ก๊าซมีเทน" ที่เป็นผลพลอยได้และสามารถนำมาหมุนเวียนใช้เป็นเชื้อเพลิงในระบบเผาไหม้

ซึ่งกระบวนการเหล่านี้สามารถลดปริมาณขยะได้ ลดภาระในการหาสถานที่ทิ้งขยะ ไม่สูญเสียค่าใช้จ่ายสำหรับการขนย้าย และลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

ดูภาพระบบไพโรไลซิสได้ที่

https://www.google.co.th/search?q=ระบบไพโรไลซิส&bi...

ทุนทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทุนมนุษย์ เป็นกุญแจสู่ความสำเร็จ ไม่เพียงแต่ปัญหาการจัดการขยะ แต่สำหรับการหาทางออกให้ทุก ๆ ปัญหา ขอเพียงการขับเคลื่อนอย่างเข้าใจและเข้าถึงศักยภาพของมนุษย์เท่านั้น


หมายเลขบันทึก: 596096เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2015 11:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ตุลาคม 2015 11:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอพระคุณอาจารย์ที่เล่าเรื่องนี้ค่ะ

เห็นด้วยจริงๆ ว่า ทุนมนุษย์ เป็นต้นทุนสำคัญที่สุด ถ้ามนุษย์เข้าใจ และเห็นคุณค่า ย่อมทำได้ทุกสิ่ง

น่าดีใจที่คนรุ่นใหม่ชาวเกาะช้างกลับไปพัฒนาถิ่นตน และทำสำเร็จในเรื่องกำจัดขยะที่แต่ก่อนต้องขนออกจากเกาะมาทิ้ง

ทุกครั้งที่เข้ากรุงเทพ และได้เห็นความแออัด คุณภาพชีวิตคนกรุงเทพแย่ลงเรื่อยๆ ค่าครองชีพสูง เดินทางเยอะ พักผ่อนน้อย มลพิษสูง

ดิฉันถามในใจทุกครั้งที่ขับรถอยู่บนสะพานพระราม 9 แล้วมองเห็นภาพกว้างของเมืองที่ท้องฟ้าเป็นสีเทาขมุกขมัวว่า "ทำไมทุกคนจึงต้องมาแออัดกันอยู่ในเมืองที่ไม่น่าอยู่นี้"

ทำไมไม่กลับไปบ้านเกิดเมืองนอนตัวเอง มาอยู่กรุงเทพกันมากมายทำไม?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท